ทำเนียบรัฐบาล--25 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีพิจารณาแผนการก่อหนี้จากต่างประเทศ ประจำปีงบประมาณ 2544 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. อนุมัติแผนการก่อหนี้จากต่างประเทศ ประจำปีงบประมาณ 2544 ซึ่งประกอบด้วย โครงการรัฐบาลกู้โดยตรง จำนวน 7 โครงการ วงเงินเทียบเท่า 625.66 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และโครงการรัฐบาลค้ำประกัน จำนวน 5 โครงการ วงเงินเทียบเท่า 1,140.75 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
2. อนุมัติการกำหนดเพดานเงินกู้ในแผนการก่อหนี้ฯ ประจำปีงบประมาณ 2544 วงเงินเทียบเท่าไม่เกิน 2,300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
3. อนุมัติในหลักการให้คณะกรรมการนโยบายหนี้ของประเทศมีอำนาจปรับปรุง แก้ไข และทบทวนแผนการก่อหนี้ฯ ดังกล่าวได้เป็นระยะ ๆ ตามความจำเป็นและเหมาะสมภายในกรอบเพดานเงินกู้ที่กำหนด แล้วรายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป
4. อนุมัติในหลักการให้รัฐวิสาหกิจที่มีภาระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศ สามารถบริหารความเสี่ยงในอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยได้เอง เฉพาะในส่วนที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ยกเว้นธุรกรรมที่มีผลกระทบต่อค่าเงินบาทโดยตรง
ทั้งนี้ คณะกรรมการนโยบายหนี้ของประเทศได้พิจารณาแผนการก่อหนี้จากต่างประเทศ ประจำปีงบประมาณ 2544 แล้ว ดังนี้
1. โครงการที่จะบรรจุในแผนการก่อหนี้ฯ ประจำปีงบประมาณ 2544
1.1 โครงการหลัก
- เป็นโครงการที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) อนุมัติเป็นโครงการเงินกู้จากต่างประเทศแล้ว
- เป็นโครงการที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติเป็นโครงการเงินกู้จากต่างประเทศ
- เป็นโครงการที่ได้รับความเห็นชอบจากแหล่งเงินกู้ทางการในเบื้องต้นแล้ว
1.2 โครงการสำรอง
- เป็นโครงการที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการแล้วแต่ยังมีสถานะความพร้อมและความจำเป็นไม่เพียงพอที่จะเป็นโครงการหลัก
- เป็นโครงการที่คณะรัฐมนตรียังไม่ได้อนุมัติโครงการหรืออยู่ในระหว่างการนำเสนอของหน่วยงาน หรือการพิจารณารายละเอียดโครงการของ สศช. ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป ซึ่งมีสถานะความพร้อมไม่เพียงพอที่จะบรรจุเป็นโครงการหลักได้ในขณะนี้ แต่มีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการเร่งด่วน และจะมีความพร้อมจนถึงขั้นปรับเป็นโครงการหลักได้ในระหว่างปีงบประมาณ
1.3 เป็นโครงการที่ได้ผ่านการพิจารณาขอความเห็นชอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว เช่น หากเป็นโครงการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ หรือ หากเป็นโครงการที่มีผลดำเนินงานกระทบต่อส่วนรวม ก็จะต้องมีการจัดทำประชาพิจารณ์ (Public Hearing) เป็นต้น สำหรับรัฐวิสหกิจได้พิจารณาให้ความสำคัญกับฐานะทางการเงินในปัจจุบันด้วย
1.4 ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจได้แจ้งความประสงค์ขอบรรจุโครงการเงินกู้ในแผนการก่อหนี้จากต่างประเทศ ประจำปีงบประมาณ 2544 เป็นจำนวนมาก และคณะกรรมการฯ ได้เห็นชอบโครงการเงินกู้ฯ ประจำปีงบประมาณ 2544 จำนวน 12 โครงการ วงเงิน 1,766.41 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
2. เพดานเงินกู้ต่างประเทศ
คณะกรรมการนโยบายหนี้ของประเทศเห็นสมควรกำหนดเพดานเงินกู้ต่างประเทศ ประจำปีงบประมาณ 2544 จำนวนไม่เกิน 2,300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีปัจจัยในการพิจารณา ดังนี้
2.1 ข้อกำหนดตามพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและค้ำประกันฯ
2.2 อัตราส่วนภาระหนี้ต่อรายได้จากการส่งออก (Debt Service Ratio) ระเบียบการก่อหนี้ของประเทศ พ.ศ. 2528 กำหนดว่าจะต้องแสดงวงเงินกู้ตามแผนก่อหนี้ เมื่อรวมกับวงเงินกู้ที่คาดว่าจะกู้ในช่วง 5 ปีต่อไปแล้ว ภาระหนี้เงินกู้ต่างประเทศภาครัฐบาลเมื่อเทียบเป็นสัดส่วนกับรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศที่คาดว่าจะหาได้จากการขายสินค้าและบริการในปีต่อ ๆ ไป จะต้องมีอัตราส่วนไม่เกินร้อยละ 9
2.3 ยอดหนี้คงค้างของภาครัฐ ยอดหนี้ภาครัฐเทียบกับ GDP ได้เพิ่มจากร้อยละ 14.8 ในปี 2539 เป็นประมาณร้อยละ 52 ในปี 2543 ขณะที่ภาระหนี้ต่องบประมาณรายจ่ายเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.7 ในปี 2539 เป็นประมาณร้อยละ 9.1 ในปี 2543 และจากการประมาณการใน 5 ปีข้างหน้า (2544 - 2548) พบว่าภาระหนี้ต่องบประมาณจะเพิ่มสูงขึ้นถึงประมาณร้อยละ 17 ในปีงบประมาณ 2547 ในกรณีที่มีการชดเชยความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เพิ่มเติม 800,000 ล้านบาท ในช่วงเวลาดังกล่าว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการเพื่อลดภาระหนี้ของรัฐบาลในอนาคต
2.4 การก่อหนี้กับเพดานเงินกู้ เพดานเงินกู้ของภาครัฐที่ผ่านมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2540 - 2543 อยู่ในระดับ 4,000 - 7,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่การกู้จริงอยู่ระหว่าง 2,300 ถึง 4,300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 50 ถึง ร้อยละ 72 ของเพดานเงินกู้ ทั้งนี้ ช่วงที่มีการก่อหนี้จำนวนมากเป็นผลมาจากวิกฤติเศรษฐกิจและความต้องการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจในระหว่างปีงบประมาณ 2540 - 2542 อย่างไรก็ตาม นับจากปีงบประมาณ 2543 ได้มีการลดเพดานเงินกู้ลง และมีการกู้จริงเพียงครึ่งหนึ่งของเพดานที่ตั้งไว้ และสำหรับปีงบประมาณ 2544 ได้ลดเพดานเงินกู้ลงมาใกล้เคียงกับการกู้จริงในปีก่อน และคาดว่าจะมีการก่อหนี้ใกล้เคียงกับเพดานที่ตั้งไว้
2.5 ภาวะเศรษฐกิจ การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2544 คาดว่าจะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง และเงินสำรองระหว่างประเทศมีเพียงพอ ในขณะที่ฐานะเงินคงคลังของรัฐบาลมีความมั่นคงพอควร ถึงแม้ว่าการเบิกจ่ายเงินกู้จากต่างประเทศสุทธิของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจในปีงบประมาณ 2544 คาดว่าจะเป็นลบ กล่าวคือ การชำระหนี้จะเริ่มสูงกว่าการเบิกจ่ายเงินกู้ต่างประเทศเล็กน้อย
เมื่อได้พิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว การกำหนดเพดานเงินกู้ต่างประเทศในปีงบประมาณ 2544 ในระดับ 2,300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นการลดเพดานลงมาครึ่งหนึ่งจากปีก่อนถือว่ามีความเหมาะสม ปัจจัยที่คณะกรรมการฯ ให้ความสำคัญที่สุดคือ เพื่อลดภาระหนี้ของภาครัฐ นอกจากนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับวงเงินกู้ในแผนการก่อหนี้ฯ ข้างต้นที่มี 12 โครงการ โดยมีวงเงินรัฐบาลกู้ตรง 625.66 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และวงเงินรัฐบาลค้ำประกัน 1,140.75 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รวมทั้งสิ้น 1,766.41 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อหักออกจากเพดานเงินกู้ 2,300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แล้ว ยังมีกรอบวงเงินเพดานเหลือประมาณ 500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเพียงพอที่จะให้รัฐวิสาหกิจที่มีสถานะโครงการพร้อมจะขอกู้เงินในระหว่างปีได้ โดยไม่ต้องขออนุมัติคณะรัฐมนตรีพิจารณาปรับเพิ่มเพดานเงินกู้อีก
3. คณะกรรมการฯ ได้มีการพิจารณาเพิ่มเติม ดังนี้
3.1 ให้ความเห็นชอบโครงการเงินกู้จากต่างประเทศที่บรรจุเป็นโครงการนอกแผนการก่อหนี้ฯ ประจำปีงบประมาณ 2544 ซึ่งเป็นเงินกู้ของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่กระทรวงการคลังมีพันธะในการค้ำประกันเงินกู้ตามกฎหมาย จำนวน 1 โครงการ วงเงิน 4.98 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
3.2 ให้ความเห็นชอบให้รัฐวิสาหกิจที่มีภาระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศสามารถดำเนินการได้เองแล้วรับผิดชอบเองในเรื่องบริหารความเสี่ยงในอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ย โดยการทำ Hedging ในส่วนที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ยกเว้นธุรกรรมที่มีผลกระทบต่อค่าเงินบาทโดยตรง หากจำเป็นจะต้องดำเนินการให้ทำความตกลงกับธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นกรณี ๆ ไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 24 ต.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีพิจารณาแผนการก่อหนี้จากต่างประเทศ ประจำปีงบประมาณ 2544 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. อนุมัติแผนการก่อหนี้จากต่างประเทศ ประจำปีงบประมาณ 2544 ซึ่งประกอบด้วย โครงการรัฐบาลกู้โดยตรง จำนวน 7 โครงการ วงเงินเทียบเท่า 625.66 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และโครงการรัฐบาลค้ำประกัน จำนวน 5 โครงการ วงเงินเทียบเท่า 1,140.75 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
2. อนุมัติการกำหนดเพดานเงินกู้ในแผนการก่อหนี้ฯ ประจำปีงบประมาณ 2544 วงเงินเทียบเท่าไม่เกิน 2,300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
3. อนุมัติในหลักการให้คณะกรรมการนโยบายหนี้ของประเทศมีอำนาจปรับปรุง แก้ไข และทบทวนแผนการก่อหนี้ฯ ดังกล่าวได้เป็นระยะ ๆ ตามความจำเป็นและเหมาะสมภายในกรอบเพดานเงินกู้ที่กำหนด แล้วรายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป
4. อนุมัติในหลักการให้รัฐวิสาหกิจที่มีภาระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศ สามารถบริหารความเสี่ยงในอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยได้เอง เฉพาะในส่วนที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ยกเว้นธุรกรรมที่มีผลกระทบต่อค่าเงินบาทโดยตรง
ทั้งนี้ คณะกรรมการนโยบายหนี้ของประเทศได้พิจารณาแผนการก่อหนี้จากต่างประเทศ ประจำปีงบประมาณ 2544 แล้ว ดังนี้
1. โครงการที่จะบรรจุในแผนการก่อหนี้ฯ ประจำปีงบประมาณ 2544
1.1 โครงการหลัก
- เป็นโครงการที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) อนุมัติเป็นโครงการเงินกู้จากต่างประเทศแล้ว
- เป็นโครงการที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติเป็นโครงการเงินกู้จากต่างประเทศ
- เป็นโครงการที่ได้รับความเห็นชอบจากแหล่งเงินกู้ทางการในเบื้องต้นแล้ว
1.2 โครงการสำรอง
- เป็นโครงการที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการแล้วแต่ยังมีสถานะความพร้อมและความจำเป็นไม่เพียงพอที่จะเป็นโครงการหลัก
- เป็นโครงการที่คณะรัฐมนตรียังไม่ได้อนุมัติโครงการหรืออยู่ในระหว่างการนำเสนอของหน่วยงาน หรือการพิจารณารายละเอียดโครงการของ สศช. ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป ซึ่งมีสถานะความพร้อมไม่เพียงพอที่จะบรรจุเป็นโครงการหลักได้ในขณะนี้ แต่มีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการเร่งด่วน และจะมีความพร้อมจนถึงขั้นปรับเป็นโครงการหลักได้ในระหว่างปีงบประมาณ
1.3 เป็นโครงการที่ได้ผ่านการพิจารณาขอความเห็นชอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว เช่น หากเป็นโครงการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ หรือ หากเป็นโครงการที่มีผลดำเนินงานกระทบต่อส่วนรวม ก็จะต้องมีการจัดทำประชาพิจารณ์ (Public Hearing) เป็นต้น สำหรับรัฐวิสหกิจได้พิจารณาให้ความสำคัญกับฐานะทางการเงินในปัจจุบันด้วย
1.4 ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจได้แจ้งความประสงค์ขอบรรจุโครงการเงินกู้ในแผนการก่อหนี้จากต่างประเทศ ประจำปีงบประมาณ 2544 เป็นจำนวนมาก และคณะกรรมการฯ ได้เห็นชอบโครงการเงินกู้ฯ ประจำปีงบประมาณ 2544 จำนวน 12 โครงการ วงเงิน 1,766.41 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
2. เพดานเงินกู้ต่างประเทศ
คณะกรรมการนโยบายหนี้ของประเทศเห็นสมควรกำหนดเพดานเงินกู้ต่างประเทศ ประจำปีงบประมาณ 2544 จำนวนไม่เกิน 2,300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีปัจจัยในการพิจารณา ดังนี้
2.1 ข้อกำหนดตามพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและค้ำประกันฯ
2.2 อัตราส่วนภาระหนี้ต่อรายได้จากการส่งออก (Debt Service Ratio) ระเบียบการก่อหนี้ของประเทศ พ.ศ. 2528 กำหนดว่าจะต้องแสดงวงเงินกู้ตามแผนก่อหนี้ เมื่อรวมกับวงเงินกู้ที่คาดว่าจะกู้ในช่วง 5 ปีต่อไปแล้ว ภาระหนี้เงินกู้ต่างประเทศภาครัฐบาลเมื่อเทียบเป็นสัดส่วนกับรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศที่คาดว่าจะหาได้จากการขายสินค้าและบริการในปีต่อ ๆ ไป จะต้องมีอัตราส่วนไม่เกินร้อยละ 9
2.3 ยอดหนี้คงค้างของภาครัฐ ยอดหนี้ภาครัฐเทียบกับ GDP ได้เพิ่มจากร้อยละ 14.8 ในปี 2539 เป็นประมาณร้อยละ 52 ในปี 2543 ขณะที่ภาระหนี้ต่องบประมาณรายจ่ายเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.7 ในปี 2539 เป็นประมาณร้อยละ 9.1 ในปี 2543 และจากการประมาณการใน 5 ปีข้างหน้า (2544 - 2548) พบว่าภาระหนี้ต่องบประมาณจะเพิ่มสูงขึ้นถึงประมาณร้อยละ 17 ในปีงบประมาณ 2547 ในกรณีที่มีการชดเชยความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เพิ่มเติม 800,000 ล้านบาท ในช่วงเวลาดังกล่าว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการเพื่อลดภาระหนี้ของรัฐบาลในอนาคต
2.4 การก่อหนี้กับเพดานเงินกู้ เพดานเงินกู้ของภาครัฐที่ผ่านมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2540 - 2543 อยู่ในระดับ 4,000 - 7,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่การกู้จริงอยู่ระหว่าง 2,300 ถึง 4,300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 50 ถึง ร้อยละ 72 ของเพดานเงินกู้ ทั้งนี้ ช่วงที่มีการก่อหนี้จำนวนมากเป็นผลมาจากวิกฤติเศรษฐกิจและความต้องการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจในระหว่างปีงบประมาณ 2540 - 2542 อย่างไรก็ตาม นับจากปีงบประมาณ 2543 ได้มีการลดเพดานเงินกู้ลง และมีการกู้จริงเพียงครึ่งหนึ่งของเพดานที่ตั้งไว้ และสำหรับปีงบประมาณ 2544 ได้ลดเพดานเงินกู้ลงมาใกล้เคียงกับการกู้จริงในปีก่อน และคาดว่าจะมีการก่อหนี้ใกล้เคียงกับเพดานที่ตั้งไว้
2.5 ภาวะเศรษฐกิจ การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2544 คาดว่าจะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง และเงินสำรองระหว่างประเทศมีเพียงพอ ในขณะที่ฐานะเงินคงคลังของรัฐบาลมีความมั่นคงพอควร ถึงแม้ว่าการเบิกจ่ายเงินกู้จากต่างประเทศสุทธิของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจในปีงบประมาณ 2544 คาดว่าจะเป็นลบ กล่าวคือ การชำระหนี้จะเริ่มสูงกว่าการเบิกจ่ายเงินกู้ต่างประเทศเล็กน้อย
เมื่อได้พิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว การกำหนดเพดานเงินกู้ต่างประเทศในปีงบประมาณ 2544 ในระดับ 2,300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นการลดเพดานลงมาครึ่งหนึ่งจากปีก่อนถือว่ามีความเหมาะสม ปัจจัยที่คณะกรรมการฯ ให้ความสำคัญที่สุดคือ เพื่อลดภาระหนี้ของภาครัฐ นอกจากนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับวงเงินกู้ในแผนการก่อหนี้ฯ ข้างต้นที่มี 12 โครงการ โดยมีวงเงินรัฐบาลกู้ตรง 625.66 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และวงเงินรัฐบาลค้ำประกัน 1,140.75 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รวมทั้งสิ้น 1,766.41 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อหักออกจากเพดานเงินกู้ 2,300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แล้ว ยังมีกรอบวงเงินเพดานเหลือประมาณ 500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเพียงพอที่จะให้รัฐวิสาหกิจที่มีสถานะโครงการพร้อมจะขอกู้เงินในระหว่างปีได้ โดยไม่ต้องขออนุมัติคณะรัฐมนตรีพิจารณาปรับเพิ่มเพดานเงินกู้อีก
3. คณะกรรมการฯ ได้มีการพิจารณาเพิ่มเติม ดังนี้
3.1 ให้ความเห็นชอบโครงการเงินกู้จากต่างประเทศที่บรรจุเป็นโครงการนอกแผนการก่อหนี้ฯ ประจำปีงบประมาณ 2544 ซึ่งเป็นเงินกู้ของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่กระทรวงการคลังมีพันธะในการค้ำประกันเงินกู้ตามกฎหมาย จำนวน 1 โครงการ วงเงิน 4.98 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
3.2 ให้ความเห็นชอบให้รัฐวิสาหกิจที่มีภาระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศสามารถดำเนินการได้เองแล้วรับผิดชอบเองในเรื่องบริหารความเสี่ยงในอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ย โดยการทำ Hedging ในส่วนที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ยกเว้นธุรกรรมที่มีผลกระทบต่อค่าเงินบาทโดยตรง หากจำเป็นจะต้องดำเนินการให้ทำความตกลงกับธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นกรณี ๆ ไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 24 ต.ค. 2543--
-สส-