คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานความก้าวหน้าโครงการโทรศัพท์สาธารณะทางไกลชนบทระดับหมู่บ้าน พ.ศ. 2539 - 2541 ณ วันที่ 30 กันยายน 2544 ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. การจัดหาอุปกรณ์ที่ใช้ติดตั้งให้บริการ 5 ประเภท มีผลการดำเนินงานคือ
1.1 อุปกรณ์วิทยุระบบ TDMA (Time Division Multiple Access) ส่วน Repeat Order จำนวนประมาณ 15,045 แห่ง ๆ ละ 3 เลขหมาย ได้ติดตั้งและเปิดให้บริการแล้ว 15,148 แห่ง จำนวน 22,978 เลขหมาย ซึ่งขณะนี้ผลการดำเนินงานได้ปริมาณงานสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ คือ คิดเป็นอัตราร้อยละ 100.68 และคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2544
1.2 อุปกรณ์ระบบ TDMA/CDMA และ Wireless Local Loop (WLL) จำนวนประมาณ 15,621 แห่ง ๆ ละ 3 เลขหมาย เปิดให้บริการแล้ว 11,079 แห่ง คิดเป็นอัตราร้อยละ 70.92 ของเป้าหมายที่กำหนดไว้
1) ส่วนที่ 1 องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยดำเนินการเองจำนวน 5,771 แห่ง ใน 14 จังหวัดใช้ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ 470 MHz และเลขหมายที่เหลือจากระบบ TDMA ของโครงการเดิมมาใช้ประโยชน์ให้เต็มขีดความสามารถ และได้จัดซื้อพร้อมติดตั้งอุปกรณ์ระบบ TDMA & WLL เพิ่มเติม ขณะนี้สำรวจแล้วเสร็จ 5,790 แห่ง โดยได้เปิดให้บริการแล้ว 4,134 แห่ง จำนวน 4,147 เลขหมาย คิดเป็นอัตราร้อยละ 71.63 ของเป้าหมายที่กำหนดไว้
2) ส่วนที่ 2 จ้างบริษัทเอกชนดำเนินการ จำนวน 5,040 แห่ง ใน 26 จังหวัด ขณะนี้สำรวจแล้วเสร็จ 5,095 แห่ง โดยได้เปิดบริการแล้ว 4,015 แห่ง จำนวน 7,057 เลขหมาย คาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งหมดเดือนธันวาคม2544 คิดเป็นอัตราร้อยละ 79.66 ของเป้าหมายที่กำหนดไว้
3) ส่วนที่ 3 จ้างบริษัทเอกชนดำเนินการ จำนวน 4,810 แห่ง ใน 15 จังหวัด ขณะนี้สำรวจแล้ว3,211 หมู่บ้าน โดยได้เปิดให้บริการแล้ว 2,930 แห่ง จำนวน 5,209 เลขหมาย คาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งหมดเดือนธันวาคม2544 คิดเป็นอัตราร้อยละ 60.91 ของเป้าหมายที่กำหนดไว้
1.3 อุปกรณ์วิทยุระบบดาวเทียม (Satellite) จำนวนประมาณ 8,906 แห่ง ได้ติดตั้งและเปิดให้บริการครบทั้งหมด 8,906 แห่ง จำนวน 17,812 เลขหมาย แล้วเสร็จเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2541
1.4 อุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ย่านความถี่ 470 MHz (Cellular Mobile 470 MHz) จำนวนประมาณ1,000 แห่ง ๆ ละ 1 เลขหมาย ได้ติดตั้งและเปิดให้บริการครบทั้งหมด 1,000 แห่ง จำนวน 1,000 เลขหมาย แล้วเสร็จเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2541
1.5 ระบบข่ายสายเคเบิลจากชุมสายใกล้เคียง (ข่ายสายท้องถิ่น) จำนวน 4,428 แห่ง ได้ติดตั้งและเปิดให้บริการครบทั้งหมด 4,428 แห่ง จำนวน 4,996 เลขหมาย แล้วเสร็จเมื่อเดือนกันยายน 2542
2. การจัดหาอุปกรณ์ประกอบโครงการ มีผลการดำเนินงาน คือ
2.1 อุปกรณ์เครื่องชุมสาย ซื้อพร้อมติดตั้งอุปกรณ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2543
2.2 อุปกรณ์ปลายทาง
- ซื้อเครื่องโทรศัพท์สาธารณะชนิดหยอดเหรียญ จำนวน 12,000 เครื่อง ส่งมอบเรียบร้อยแล้วเมื่อเดือนพฤษภาคม 2544
- ซื้อเครื่องโทรศัพท์สาธารณะชนิดหยอดเหรียญ จำนวน 8,000 เครื่อง ส่งมอบเรียบร้อยแล้วเมื่อเดือนพฤษภาคม 2544
- ซื้อเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ 470 MHz สาธารณะ จำนวน 35,000 เครื่อง ได้ติดตั้งให้บริการริมทางหลวงสายหลักเสร็จเรียบร้อยแล้ว 500 เครื่อง ส่วนที่เหลือ 34,500 เครื่อง ได้ลงนามในสัญญาเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2543 กำหนดส่งมอบ 10 งวด ระหว่างเดือนมีนาคม - ธันวาคม 2544 ขณะนี้ส่งมอบแล้ว จำนวน 25,800เครื่อง คิดเป็นอัตราร้อยละ 74.78 ของจำนวนเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ในส่วนที่เหลือ
- ซื้อเครื่องโทรศัพท์สาธารณะแบบผสม (Combination) ใช้ได้ทั้งแบบหยอดเหรียญ และแบบใช้บัตร CHIP CARD จำนวน 13,000 เครื่อง ส่งมอบเรียบร้อยแล้วเมื่อเดือนมกราคม 2544
- จ้างผลิตเครื่องใช้โทรศัพท์สาธารณะแบบใช้บัตร CHIP CARD จำนวน 32,000 เครื่อง พร้อมระบบการจัดการ (PMS) อุปกรณ์เสริม และอุปกรณ์สำรองหลัก ลงนามในสัญญาเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2543 กำหนดส่งมอบ 11 งวด ระหว่างเดือนมีนาคม 2544 - มกราคม 2545 ขณะนี้ส่งมอบแล้ว 5,370 เครื่อง คิดเป็นอัตราร้อยละ16.78 ของจำนวนเครื่องใช้โทรศัพท์ฯ ที่จ้างผลิต
- จ้างทำตู้โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 16,000 ตู้ พร้อมฐานคอนกรีต ลงนามในสัญญาเมื่อวันที่6 กุมภาพันธ์ 2544 กำหนดส่งมอบ 10 งวด ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2544 - เมษายน 2545 ขณะนี้ส่งมอบแล้ว จำนวน9,184 เครื่อง คิดเป็นอัตราร้อยละ 57.40 ของจำนวนตู้โทรศัพท์สาธารณะที่จ้างทำ
3. ผลการดำเนินงานโดยรวม เมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการจำนวน45,000 แห่ง โดยได้เปิดให้บริการแล้ว 40,561 แห่ง จำนวน 63,199 เลขหมาย คิดเป็นอัตราร้อยละ 90.14 ของเป้าหมายที่กำหนดไว้ คาดว่าจะดำเนินการให้แล้วเสร็จทั้งหมดเดือนธันวาคม 2544
4. ปัญหาอุปสรรค ขาดแคลนตู้โทรศัพท์สาธารณะเพื่อใช้เปิดบริการ
5. แนวทางแก้ไข องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้แก้ไขโดยจัดหาเครื่องและตู้โทรศัพท์สาธารณะเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังได้จัดหาสถานที่ที่สามารถติดตั้งโทรศัพท์สาธารณะโดยไม่ใช้ตู้โทรศัพท์ เช่น สถานีรถไฟ และสถานีอนามัย เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 ธ.ค. 44--จบ--
-สส-
1. การจัดหาอุปกรณ์ที่ใช้ติดตั้งให้บริการ 5 ประเภท มีผลการดำเนินงานคือ
1.1 อุปกรณ์วิทยุระบบ TDMA (Time Division Multiple Access) ส่วน Repeat Order จำนวนประมาณ 15,045 แห่ง ๆ ละ 3 เลขหมาย ได้ติดตั้งและเปิดให้บริการแล้ว 15,148 แห่ง จำนวน 22,978 เลขหมาย ซึ่งขณะนี้ผลการดำเนินงานได้ปริมาณงานสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ คือ คิดเป็นอัตราร้อยละ 100.68 และคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2544
1.2 อุปกรณ์ระบบ TDMA/CDMA และ Wireless Local Loop (WLL) จำนวนประมาณ 15,621 แห่ง ๆ ละ 3 เลขหมาย เปิดให้บริการแล้ว 11,079 แห่ง คิดเป็นอัตราร้อยละ 70.92 ของเป้าหมายที่กำหนดไว้
1) ส่วนที่ 1 องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยดำเนินการเองจำนวน 5,771 แห่ง ใน 14 จังหวัดใช้ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ 470 MHz และเลขหมายที่เหลือจากระบบ TDMA ของโครงการเดิมมาใช้ประโยชน์ให้เต็มขีดความสามารถ และได้จัดซื้อพร้อมติดตั้งอุปกรณ์ระบบ TDMA & WLL เพิ่มเติม ขณะนี้สำรวจแล้วเสร็จ 5,790 แห่ง โดยได้เปิดให้บริการแล้ว 4,134 แห่ง จำนวน 4,147 เลขหมาย คิดเป็นอัตราร้อยละ 71.63 ของเป้าหมายที่กำหนดไว้
2) ส่วนที่ 2 จ้างบริษัทเอกชนดำเนินการ จำนวน 5,040 แห่ง ใน 26 จังหวัด ขณะนี้สำรวจแล้วเสร็จ 5,095 แห่ง โดยได้เปิดบริการแล้ว 4,015 แห่ง จำนวน 7,057 เลขหมาย คาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งหมดเดือนธันวาคม2544 คิดเป็นอัตราร้อยละ 79.66 ของเป้าหมายที่กำหนดไว้
3) ส่วนที่ 3 จ้างบริษัทเอกชนดำเนินการ จำนวน 4,810 แห่ง ใน 15 จังหวัด ขณะนี้สำรวจแล้ว3,211 หมู่บ้าน โดยได้เปิดให้บริการแล้ว 2,930 แห่ง จำนวน 5,209 เลขหมาย คาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งหมดเดือนธันวาคม2544 คิดเป็นอัตราร้อยละ 60.91 ของเป้าหมายที่กำหนดไว้
1.3 อุปกรณ์วิทยุระบบดาวเทียม (Satellite) จำนวนประมาณ 8,906 แห่ง ได้ติดตั้งและเปิดให้บริการครบทั้งหมด 8,906 แห่ง จำนวน 17,812 เลขหมาย แล้วเสร็จเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2541
1.4 อุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ย่านความถี่ 470 MHz (Cellular Mobile 470 MHz) จำนวนประมาณ1,000 แห่ง ๆ ละ 1 เลขหมาย ได้ติดตั้งและเปิดให้บริการครบทั้งหมด 1,000 แห่ง จำนวน 1,000 เลขหมาย แล้วเสร็จเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2541
1.5 ระบบข่ายสายเคเบิลจากชุมสายใกล้เคียง (ข่ายสายท้องถิ่น) จำนวน 4,428 แห่ง ได้ติดตั้งและเปิดให้บริการครบทั้งหมด 4,428 แห่ง จำนวน 4,996 เลขหมาย แล้วเสร็จเมื่อเดือนกันยายน 2542
2. การจัดหาอุปกรณ์ประกอบโครงการ มีผลการดำเนินงาน คือ
2.1 อุปกรณ์เครื่องชุมสาย ซื้อพร้อมติดตั้งอุปกรณ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2543
2.2 อุปกรณ์ปลายทาง
- ซื้อเครื่องโทรศัพท์สาธารณะชนิดหยอดเหรียญ จำนวน 12,000 เครื่อง ส่งมอบเรียบร้อยแล้วเมื่อเดือนพฤษภาคม 2544
- ซื้อเครื่องโทรศัพท์สาธารณะชนิดหยอดเหรียญ จำนวน 8,000 เครื่อง ส่งมอบเรียบร้อยแล้วเมื่อเดือนพฤษภาคม 2544
- ซื้อเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ 470 MHz สาธารณะ จำนวน 35,000 เครื่อง ได้ติดตั้งให้บริการริมทางหลวงสายหลักเสร็จเรียบร้อยแล้ว 500 เครื่อง ส่วนที่เหลือ 34,500 เครื่อง ได้ลงนามในสัญญาเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2543 กำหนดส่งมอบ 10 งวด ระหว่างเดือนมีนาคม - ธันวาคม 2544 ขณะนี้ส่งมอบแล้ว จำนวน 25,800เครื่อง คิดเป็นอัตราร้อยละ 74.78 ของจำนวนเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ในส่วนที่เหลือ
- ซื้อเครื่องโทรศัพท์สาธารณะแบบผสม (Combination) ใช้ได้ทั้งแบบหยอดเหรียญ และแบบใช้บัตร CHIP CARD จำนวน 13,000 เครื่อง ส่งมอบเรียบร้อยแล้วเมื่อเดือนมกราคม 2544
- จ้างผลิตเครื่องใช้โทรศัพท์สาธารณะแบบใช้บัตร CHIP CARD จำนวน 32,000 เครื่อง พร้อมระบบการจัดการ (PMS) อุปกรณ์เสริม และอุปกรณ์สำรองหลัก ลงนามในสัญญาเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2543 กำหนดส่งมอบ 11 งวด ระหว่างเดือนมีนาคม 2544 - มกราคม 2545 ขณะนี้ส่งมอบแล้ว 5,370 เครื่อง คิดเป็นอัตราร้อยละ16.78 ของจำนวนเครื่องใช้โทรศัพท์ฯ ที่จ้างผลิต
- จ้างทำตู้โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 16,000 ตู้ พร้อมฐานคอนกรีต ลงนามในสัญญาเมื่อวันที่6 กุมภาพันธ์ 2544 กำหนดส่งมอบ 10 งวด ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2544 - เมษายน 2545 ขณะนี้ส่งมอบแล้ว จำนวน9,184 เครื่อง คิดเป็นอัตราร้อยละ 57.40 ของจำนวนตู้โทรศัพท์สาธารณะที่จ้างทำ
3. ผลการดำเนินงานโดยรวม เมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการจำนวน45,000 แห่ง โดยได้เปิดให้บริการแล้ว 40,561 แห่ง จำนวน 63,199 เลขหมาย คิดเป็นอัตราร้อยละ 90.14 ของเป้าหมายที่กำหนดไว้ คาดว่าจะดำเนินการให้แล้วเสร็จทั้งหมดเดือนธันวาคม 2544
4. ปัญหาอุปสรรค ขาดแคลนตู้โทรศัพท์สาธารณะเพื่อใช้เปิดบริการ
5. แนวทางแก้ไข องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้แก้ไขโดยจัดหาเครื่องและตู้โทรศัพท์สาธารณะเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังได้จัดหาสถานที่ที่สามารถติดตั้งโทรศัพท์สาธารณะโดยไม่ใช้ตู้โทรศัพท์ เช่น สถานีรถไฟ และสถานีอนามัย เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 ธ.ค. 44--จบ--
-สส-