ทำเนียบรัฐบาล--17 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ รายงานปัญหาแรงงาน บริษัท ไทยเกรียงสิ่งทอ จำกัด (มหาชน) ว่า ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทแรงงานรายนี้อย่างต่อเนื่องตลอดมา เป็นผลให้ฝ่ายนายจ้างเสนอขอยุติปัญหา โดยจะรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน 200 คน ส่วนที่ไม่รับกลับเข้าทำงาน 190 คน จะจ่ายเงินช่วยเหลือให้เท่ากับค่าชดเชยกรณีเลิกจ้างโดยให้เวลาลูกจ้างตัดสินใจภายในวันที่ 25 กันยายน 2543 และต่อมาได้ขยายเวลาให้ถึงวันที่ 30 กันยายน 2543 แต่ฝ่ายลูกจ้างขอให้รับกลับเข้าทำงานทั้งหมด เว้นแต่ผู้ไม่ประสงค์จะกลับเข้าทำงานอีกจึงทำความตกลงกันไม่ได้แม้เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2543 นายกรัฐมนตรีได้เป็นประธานในการเจรจากับผู้แทนของทั้งสองฝ่ายก็ตาม
สำหรับแนวทางแก้ไข มีดังนี้
1. การแก้ไขปัญหาโดยวิธีการเจรจาต่อรองระหว่างนายจ้างและลูกจ้างในประเด็นปัญหาดังกล่าว คาดว่าคงไม่สามารถหาข้อยุติได้ในระยะเวลาอันใกล้ เนื่องจากทั้งสองฝ่ายยังไม่ยอมลดจุดยืนของตนเอง และหาทางประนีประนอมในการเจรจาเพื่อหาข้อยุติ แต่อย่างไรก็ดี กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมก็จะไม่ละความพยายามในการไกล่เกลี่ย โดยประสานงานให้นายจ้างและลูกจ้างเจรจาต่อรองอย่างต่อเนื่องเพื่อหาข้อยุติให้ได้ต่อไป
2. ข้อพิพาทแรงงานที่เกิดจากการขอขึ้นค่าจ้างและการจ่ายเงินโบนัสที่ยังตกลงกันไม่ได้ ยังมีลูกจ้างอีกประมาณ 600 คน นัดหยุดงาน ฝ่ายลูกจ้างเสนอขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม หรือคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ชี้ขาด ฝ่ายนายจ้างขอให้เป็นดุลพินิจของนายจ้างที่จะพิจารณาฝ่ายเดียวนั้น มีวิธีดำเนินการ2 ทาง ดังนี้
2.1 ใช้ความพยายามไกล่เกลี่ยเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายตกลงกันต่อไป
2.2 เนื่องจากข้อพิพาทแรงงานรายนี้เกี่ยวข้องกับลูกจ้างจำนวนมาก มีการนัดหยุดงานมาเป็นเวลา4 เดือนเศษแล้ว และมีการเคลื่อนไหวที่อาจขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนได้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม อาจใช้อำนาจตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 สั่งให้ลูกจ้างที่นัดหยุดงานกลับเข้าทำงาน (ไม่รวมลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง 390 คน) และสั่งให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน ให้ทั้งสองฝ่ายปฏิบัติตามคำชี้ขาดได้ ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะทำให้ลูกจ้างที่ใช้สิทธินัดหยุดงานต้องกลับเข้าทำงานและนายจ้างต้องรับกลับเข้าทำงาน โดยใช้สภาพการจ้างเดิม สหภาพแรงงานฯ และลูกจ้างจะไม่สามารถอ้างเหตุการชุมนุมเคลื่อนไหวเพื่อกดดันรัฐบาลได้ต่อไป และในขณะเดียวกันข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานฯ เรื่องการปรับค่าจ้างประจำปีเงินโบนัส ก็ได้รับการชี้ขาด ซึ่งตรงกับความประสงค์ของสหภาพแรงงานฯ ส่วนลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างก็อาจจะใช้กระบวนการตามกฎหมายต่อไป แต่ลูกจ้างที่นัดหยุดงาน ซึ่งคิดว่าวิธีการนัดหยุดงานจะทำให้นายจ้างยินยอมตามข้อเสนอของตนได้อาจโจมตีรัฐบาลว่าเข้าไปแทรกแซงกระบวนการต่อรองของสหภาพแรงงานฯ แต่อย่างไรก็ตาม กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมจะได้ใช้กระบวนการตามข้อ 2.1 ก่อน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 17 ต.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ รายงานปัญหาแรงงาน บริษัท ไทยเกรียงสิ่งทอ จำกัด (มหาชน) ว่า ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทแรงงานรายนี้อย่างต่อเนื่องตลอดมา เป็นผลให้ฝ่ายนายจ้างเสนอขอยุติปัญหา โดยจะรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน 200 คน ส่วนที่ไม่รับกลับเข้าทำงาน 190 คน จะจ่ายเงินช่วยเหลือให้เท่ากับค่าชดเชยกรณีเลิกจ้างโดยให้เวลาลูกจ้างตัดสินใจภายในวันที่ 25 กันยายน 2543 และต่อมาได้ขยายเวลาให้ถึงวันที่ 30 กันยายน 2543 แต่ฝ่ายลูกจ้างขอให้รับกลับเข้าทำงานทั้งหมด เว้นแต่ผู้ไม่ประสงค์จะกลับเข้าทำงานอีกจึงทำความตกลงกันไม่ได้แม้เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2543 นายกรัฐมนตรีได้เป็นประธานในการเจรจากับผู้แทนของทั้งสองฝ่ายก็ตาม
สำหรับแนวทางแก้ไข มีดังนี้
1. การแก้ไขปัญหาโดยวิธีการเจรจาต่อรองระหว่างนายจ้างและลูกจ้างในประเด็นปัญหาดังกล่าว คาดว่าคงไม่สามารถหาข้อยุติได้ในระยะเวลาอันใกล้ เนื่องจากทั้งสองฝ่ายยังไม่ยอมลดจุดยืนของตนเอง และหาทางประนีประนอมในการเจรจาเพื่อหาข้อยุติ แต่อย่างไรก็ดี กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมก็จะไม่ละความพยายามในการไกล่เกลี่ย โดยประสานงานให้นายจ้างและลูกจ้างเจรจาต่อรองอย่างต่อเนื่องเพื่อหาข้อยุติให้ได้ต่อไป
2. ข้อพิพาทแรงงานที่เกิดจากการขอขึ้นค่าจ้างและการจ่ายเงินโบนัสที่ยังตกลงกันไม่ได้ ยังมีลูกจ้างอีกประมาณ 600 คน นัดหยุดงาน ฝ่ายลูกจ้างเสนอขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม หรือคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ชี้ขาด ฝ่ายนายจ้างขอให้เป็นดุลพินิจของนายจ้างที่จะพิจารณาฝ่ายเดียวนั้น มีวิธีดำเนินการ2 ทาง ดังนี้
2.1 ใช้ความพยายามไกล่เกลี่ยเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายตกลงกันต่อไป
2.2 เนื่องจากข้อพิพาทแรงงานรายนี้เกี่ยวข้องกับลูกจ้างจำนวนมาก มีการนัดหยุดงานมาเป็นเวลา4 เดือนเศษแล้ว และมีการเคลื่อนไหวที่อาจขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนได้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม อาจใช้อำนาจตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 สั่งให้ลูกจ้างที่นัดหยุดงานกลับเข้าทำงาน (ไม่รวมลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง 390 คน) และสั่งให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน ให้ทั้งสองฝ่ายปฏิบัติตามคำชี้ขาดได้ ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะทำให้ลูกจ้างที่ใช้สิทธินัดหยุดงานต้องกลับเข้าทำงานและนายจ้างต้องรับกลับเข้าทำงาน โดยใช้สภาพการจ้างเดิม สหภาพแรงงานฯ และลูกจ้างจะไม่สามารถอ้างเหตุการชุมนุมเคลื่อนไหวเพื่อกดดันรัฐบาลได้ต่อไป และในขณะเดียวกันข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานฯ เรื่องการปรับค่าจ้างประจำปีเงินโบนัส ก็ได้รับการชี้ขาด ซึ่งตรงกับความประสงค์ของสหภาพแรงงานฯ ส่วนลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างก็อาจจะใช้กระบวนการตามกฎหมายต่อไป แต่ลูกจ้างที่นัดหยุดงาน ซึ่งคิดว่าวิธีการนัดหยุดงานจะทำให้นายจ้างยินยอมตามข้อเสนอของตนได้อาจโจมตีรัฐบาลว่าเข้าไปแทรกแซงกระบวนการต่อรองของสหภาพแรงงานฯ แต่อย่างไรก็ตาม กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมจะได้ใช้กระบวนการตามข้อ 2.1 ก่อน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 17 ต.ค. 2543--
-สส-