คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงคมนาคมรายงานผลการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับเรื่องมาตรการแก้ไขปัญหาของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) งวดที่ 1/2544 (ตุลาคม - ธันวาคม 2543) สรุปได้ดังนี้
1. มาตรการที่ 1 การเพิ่มประสิทธิภาพในการหารายได้ มีผลการดำเนินงานโดยสรุปคือ
- มีรายได้จากการโดยสารและการบริหารทรัพย์สินต่ำกว่าเป้าหมาย ส่วนรายได้จากการขนส่งสินค้าสูงกว่าเป้าหมาย
- อยู่ระหว่างว่าจ้างเอกชนดำเนินการ Station Trading โดยกำหนดเงื่อนไขการประกวดราคาแล้ว2 โครงการ และอยู่ระหว่างการตรวจสอบพื้นที่ 8 โครงการ
- สามารถนำรถจัก GEA HID รถดีเซลราง และรถสินค้ามาใช้งานได้สูงกว่าเป้าหมาย ส่วนรถจักร ALS GE KP และรถโดยสาร ใช้งานได้ต่ำกว่าเป้าหมาย
- ดำเนินการจัดทำตารางการคำนวณต้นทุนด้านสินค้า ด้านโดยสาร และธุรกรรมอื่น ๆ แล้วเสร็จตั้งแต่เดือนตุลาคม 2541
2. มาตรการที่ 2 การลดค่าใช้จ่าย มีผลการดำเนินงาน โดยสรุปคือ
- สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรให้อยู่ในกรอบที่กำหนดได้
- ใช้วิธีการเลื่อนขั้นเงินเดือนตามระบบแรงจูงใจเช่นเดียวกับรัฐวิสาหกิจอื่น ๆ
- การปรับโครงสร้างเงินเดือน ยังคงใช้บัญชีเดิมตามข้อบังคับของการรถไฟแห่งประเทศไทย
- ให้ยกเลิกระบบบำนาญสำหรับพนักงานใหม่ และให้ผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับการบรรจุหลังวันที่ 24 พฤศจิกายน 2542 ได้รับเงินสงเคราะห์ครั้งเดียวเท่านั้น
- การประหยัดดอกเบี้ยจ่าย โดยได้เร่งปิดบัญชีประจำปี 2542 และ 2543 และนำส่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินแล้ว
- ยกเลิกขบวนรถโดยสารที่ไม่มีความจำเป็นในการให้บริการเชิงสังคม จำนวน 32 ขบวน
- แก้ไขระเบียบการจ้าง พ.ศ. 2527 และระเบียบการพัสดุ พ.ศ. 2533 ของ รฟท. ให้สอดคล้องกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีแล้ว
- กำหนดแบบและมาตรฐานของรถจักร และล้อเลื่อน ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อการประหยัดและใช้ประโยชน์สูงสุด
3. มาตรการที่ 3 การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน และลดภาระการลงทุนของ รฟท. และรัฐบาลมีผลการดำเนินงาน โดยสรุปคือ
- กำลังเร่งดำเนินการขยาย ICD ที่ลาดกระบัง ให้สามารถรองรับตู้คอนเทนเนอร์ได้ 1 ล้าน ที.อี.ยู. และกำลังจัดทำรายงานเสนอกระทรวงคมนาคม เพื่อปรับกลยุทธ์ใหม่ในการให้เอกชนร่วมลงทุนและบริหารย่านสถานีขนส่งที่ย่านสถานีทุกภาคทั่วประเทศ
- กำหนดเป้าหมายให้เอกชนร่วมเดินขบวนรถสินค้าในปี 2544 - 2551 รวม 70 ขบวน แต่ขณะนี้ยังติดปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งต้องรอการก่อสร้างทางคู่แล้วเสร็จก่อน
- ได้จ้างเอกชนซ่อมบำรุงรักษารถจักร และล้อเลื่อน รวมทั้งการซ่อมบำรุงด้านโยธาและอาณัติสัญญาณแล้ว
4. มาตรการที่ 4 การกำหนดบทบาทของ รฟท. ให้ชัดเจน มีผลการดำเนินงาน โดยสรุปคือ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้ รฟท. ปรับโครงสร้างออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนการให้บริการรถไฟ และส่วนกิจการที่นอกเหนือจากการให้บริการรถไฟ โดยให้เริ่มดำเนินการตามโครงสร้างใหม่ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2543 เป็นต้นไป ซึ่งขณะนี้ รฟท. ได้ทำการศึกษาเพื่อจัดทำแผนกลยุทธ์ด้านการเงินระยะสั้นเสร็จแล้ว และได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อจัดทำแผนกลยุทธ์ในการปรับโครงสร้าง รฟท. ด้วย ซึ่งได้จัดทำรายงานการศึกษาขั้นสุดท้ายแล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการตรวจรับ
5. มาตรการที่ 5 การรายงานผลการปฏิบัติงาน รฟท. ได้กำหนดเวลาการรายงานผลความก้าวหน้าของการดำเนินงานตามมาตรการที่ 1 - 4 และผลการปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติการของแผนวิสาหกิจ พ.ศ. 2540 -2544 เป็นรายไตรมาสต่อคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) ภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 15 พฤษภาคม 15 สิงหาคม และ 15 พฤศจิกายน ตามลำดับ สำหรับแผนปฏิบัติการของแผนวิสาหกิจ ซึ่งได้กำหนดแผนย่อยที่จะต้องดำเนินการในปีงบประมาณ 2544 รวมทั้งสิ้น 78 แผนงาน มีผลการดำเนินงานคิดเป็นร้อยละ 67ของเป้าหมายที่กำหนด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 1 พ.ค.2544
-สส-
1. มาตรการที่ 1 การเพิ่มประสิทธิภาพในการหารายได้ มีผลการดำเนินงานโดยสรุปคือ
- มีรายได้จากการโดยสารและการบริหารทรัพย์สินต่ำกว่าเป้าหมาย ส่วนรายได้จากการขนส่งสินค้าสูงกว่าเป้าหมาย
- อยู่ระหว่างว่าจ้างเอกชนดำเนินการ Station Trading โดยกำหนดเงื่อนไขการประกวดราคาแล้ว2 โครงการ และอยู่ระหว่างการตรวจสอบพื้นที่ 8 โครงการ
- สามารถนำรถจัก GEA HID รถดีเซลราง และรถสินค้ามาใช้งานได้สูงกว่าเป้าหมาย ส่วนรถจักร ALS GE KP และรถโดยสาร ใช้งานได้ต่ำกว่าเป้าหมาย
- ดำเนินการจัดทำตารางการคำนวณต้นทุนด้านสินค้า ด้านโดยสาร และธุรกรรมอื่น ๆ แล้วเสร็จตั้งแต่เดือนตุลาคม 2541
2. มาตรการที่ 2 การลดค่าใช้จ่าย มีผลการดำเนินงาน โดยสรุปคือ
- สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรให้อยู่ในกรอบที่กำหนดได้
- ใช้วิธีการเลื่อนขั้นเงินเดือนตามระบบแรงจูงใจเช่นเดียวกับรัฐวิสาหกิจอื่น ๆ
- การปรับโครงสร้างเงินเดือน ยังคงใช้บัญชีเดิมตามข้อบังคับของการรถไฟแห่งประเทศไทย
- ให้ยกเลิกระบบบำนาญสำหรับพนักงานใหม่ และให้ผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับการบรรจุหลังวันที่ 24 พฤศจิกายน 2542 ได้รับเงินสงเคราะห์ครั้งเดียวเท่านั้น
- การประหยัดดอกเบี้ยจ่าย โดยได้เร่งปิดบัญชีประจำปี 2542 และ 2543 และนำส่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินแล้ว
- ยกเลิกขบวนรถโดยสารที่ไม่มีความจำเป็นในการให้บริการเชิงสังคม จำนวน 32 ขบวน
- แก้ไขระเบียบการจ้าง พ.ศ. 2527 และระเบียบการพัสดุ พ.ศ. 2533 ของ รฟท. ให้สอดคล้องกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีแล้ว
- กำหนดแบบและมาตรฐานของรถจักร และล้อเลื่อน ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อการประหยัดและใช้ประโยชน์สูงสุด
3. มาตรการที่ 3 การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน และลดภาระการลงทุนของ รฟท. และรัฐบาลมีผลการดำเนินงาน โดยสรุปคือ
- กำลังเร่งดำเนินการขยาย ICD ที่ลาดกระบัง ให้สามารถรองรับตู้คอนเทนเนอร์ได้ 1 ล้าน ที.อี.ยู. และกำลังจัดทำรายงานเสนอกระทรวงคมนาคม เพื่อปรับกลยุทธ์ใหม่ในการให้เอกชนร่วมลงทุนและบริหารย่านสถานีขนส่งที่ย่านสถานีทุกภาคทั่วประเทศ
- กำหนดเป้าหมายให้เอกชนร่วมเดินขบวนรถสินค้าในปี 2544 - 2551 รวม 70 ขบวน แต่ขณะนี้ยังติดปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งต้องรอการก่อสร้างทางคู่แล้วเสร็จก่อน
- ได้จ้างเอกชนซ่อมบำรุงรักษารถจักร และล้อเลื่อน รวมทั้งการซ่อมบำรุงด้านโยธาและอาณัติสัญญาณแล้ว
4. มาตรการที่ 4 การกำหนดบทบาทของ รฟท. ให้ชัดเจน มีผลการดำเนินงาน โดยสรุปคือ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้ รฟท. ปรับโครงสร้างออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนการให้บริการรถไฟ และส่วนกิจการที่นอกเหนือจากการให้บริการรถไฟ โดยให้เริ่มดำเนินการตามโครงสร้างใหม่ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2543 เป็นต้นไป ซึ่งขณะนี้ รฟท. ได้ทำการศึกษาเพื่อจัดทำแผนกลยุทธ์ด้านการเงินระยะสั้นเสร็จแล้ว และได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อจัดทำแผนกลยุทธ์ในการปรับโครงสร้าง รฟท. ด้วย ซึ่งได้จัดทำรายงานการศึกษาขั้นสุดท้ายแล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการตรวจรับ
5. มาตรการที่ 5 การรายงานผลการปฏิบัติงาน รฟท. ได้กำหนดเวลาการรายงานผลความก้าวหน้าของการดำเนินงานตามมาตรการที่ 1 - 4 และผลการปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติการของแผนวิสาหกิจ พ.ศ. 2540 -2544 เป็นรายไตรมาสต่อคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) ภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 15 พฤษภาคม 15 สิงหาคม และ 15 พฤศจิกายน ตามลำดับ สำหรับแผนปฏิบัติการของแผนวิสาหกิจ ซึ่งได้กำหนดแผนย่อยที่จะต้องดำเนินการในปีงบประมาณ 2544 รวมทั้งสิ้น 78 แผนงาน มีผลการดำเนินงานคิดเป็นร้อยละ 67ของเป้าหมายที่กำหนด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 1 พ.ค.2544
-สส-