คณะรัฐมนตรีเห็นชอบหลักการโครงการจัดตั้งระบบเตือนภัยการเกิดอุทกภัยในพื้นที่เสี่ยงภัย ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ โดยมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) ดูแลเรื่องระบบข้อมูลข่าวสารสารสนเทศ และมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์) ดูแลพิจารณาตรวจสอบพื้นที่ล่อแหลม ตลอดถึงการซักซ้อมการอพยพบุคคลจากพื้นที่ดังกล่าว ดังนี้
ตามที่เกิดอุทกภัยอย่างรุนแรงโดยเฉพาะที่ในจังหวัดเพชรบูรณ์ นั้น สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ภัยธรรมชาติสร้างความเสียหายมาก คือราษฎรไม่รู้ตัวล่วงหน้าเพราะขาดระบบเตือนภัยล่วงหน้าในพื้นที่ ทำให้ชุมชนไม่สามารถอพยพหรือเตรียมการป้องกันตนเองได้ทันเวลา ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงเห็นสมควรให้มีการจัดตั้งระบบเตือนภัยการเกิดอุทกภัยขึ้นในพื้นที่ที่มีโอกาสเสี่ยงภัยสูง จึงเสนอโครงการจัดตั้งระบบเตือนภัยการเกิดอุทกภัยในพื้นที่เสี่ยงภัย เพื่อดำเนินการในพื้นที่เป็นลักษณะนำร่อง จำนวน 20 แห่ง
โครงการดังกล่าว สรุปได้ดังนี้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อจัดทำฐานข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในบริเวณพื้นที่ล่อแหลมต่อการเกิดอุทกภัย โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน
2. เพื่อแจ้งเตือนภัยให้แก่ราษฎรที่อาศัยอยู่ในเขนพื้นที่เสี่ยงภัย ได้ทราบเหตุการณ์ล่วงหน้าถึงภัยธรรมชาติ (อุทกภัย วาตภัย และความแห้งแล้ง) ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อป้องกันและบรรเทาความรุนแรง และความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย
พื้นที่เป้าหมาย จะดำเนินการในพื้นที่นำร่อง 20 แห่ง (20 อำเภอ 200 ตำบล)
ผู้รับผิดชอบดำเนินการ คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
อุปกรณ์ของสถานีเตือนภัย การติดตั้งชุดอุปกรณ์ในการตรวจสภาพอากาศเพื่อการเตือนภัย จะติดตั้งใน
อุปกรณ์ของสถานีเตือนภัย การติดตั้งชุดอุปกรณ์ในการตรวจสภาพอากาศเพื่อการเตือนภัย จะติดตั้งใน2 ระดับคือ ระดับอำเภอ และระดับพื้นที่ (ตำบล/หมู่บ้าน) ซึ่งมีรายละเอียดของอุปกรณ์ดังต่อไปนี้
1. ระดับอำเภอ ประกอบไปด้วย ชุดสถานีตรวจอากาศแบบใช้ Data logger ที่สามารถเก็บข้อมูล และส่งข้อมูลระยะไกลได้ ประกอบด้วยเครื่องวัดปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ความเร็วและทิศทางลม สำหรับติดตั้งและตรวจข้อมูลทุกอำเภอ
2. ระดับพื้นที่ (ตำบล/หมู่บ้าน) ประกอบไปด้วย เครื่องวัดน้ำฝนมาตรฐานขนาด 8 นิ้ว พร้อมกระบอกตวงวัดน้ำฝน เครื่องวัดอุณหภูมิ การระเหยของน้ำ ความชื้นสัมพัทธ์ ความเร็วและทิศทางลม สำหรับติดตั้งในพื้นที่ อาจจะอยู่ที่ตั้งของ อบต. หรือในหมู่บ้าน
วิธีการดำเนินการ
1. คัดเลือกพื้นที่ที่เสี่ยงภัยเพื่อจัดตั้งระบบเตือนภัยในพื้นที่ดังกล่าว โดยคัดเลือกพื้นที่จากระบบข้อมูล GIS ที่มีอยู่ อาทิเช่น สภาพภูมิประเทศ ลำห้วย ร่องน้ำธรรมชาติ สภาพป่า ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน ข้อมูลดิน ข้อมูลธรณีวิทยา และข้อมูลด้านภูมิอากาศ จำนวนหมู่บ้าน/ชุมชน ข้อมูลการเกิดอุทกภัยที่ผ่านมา ฯลฯ เป็นต้น โดยการร่วมดำเนินของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมพัฒนาที่ดิน กรมป่าไม้ กรมชลประทาน) กระทรวงมหาดไทย กรมอุตุนิยมวิทยา เป็นต้น
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ประชาชนและหน่วยงานรัฐที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยต่อการเกิดอุทกภัยได้รับทราบถึงภัยธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้น สามารถเตรียมการป้องกันได้ทันเหตุการณ์
2. ชาวบ้านได้รับการแจ้งเตือนภัยทั้งจากชาวบ้านด้วยกันเอง และเจ้าหน้าที่รัฐได้อย่างรวดเร็ว สามารถเตรียมการอพยพและหลีกหนีอุทกภัยได้ทัน สามารถบรรเทาความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ชาวบ้านส่วนใหญ่ซึ่งเป็นเกษตรกร สามารถใช้ข้อมูลที่ได้จากสถานีตรวจอากาศนี้ใช้ประโยชน์ในการวางแผนการพัฒนาการเกษตรของตนเองได้อีกทางหนึ่งด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 14 ส.ค.44--
-สส-
ตามที่เกิดอุทกภัยอย่างรุนแรงโดยเฉพาะที่ในจังหวัดเพชรบูรณ์ นั้น สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ภัยธรรมชาติสร้างความเสียหายมาก คือราษฎรไม่รู้ตัวล่วงหน้าเพราะขาดระบบเตือนภัยล่วงหน้าในพื้นที่ ทำให้ชุมชนไม่สามารถอพยพหรือเตรียมการป้องกันตนเองได้ทันเวลา ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงเห็นสมควรให้มีการจัดตั้งระบบเตือนภัยการเกิดอุทกภัยขึ้นในพื้นที่ที่มีโอกาสเสี่ยงภัยสูง จึงเสนอโครงการจัดตั้งระบบเตือนภัยการเกิดอุทกภัยในพื้นที่เสี่ยงภัย เพื่อดำเนินการในพื้นที่เป็นลักษณะนำร่อง จำนวน 20 แห่ง
โครงการดังกล่าว สรุปได้ดังนี้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อจัดทำฐานข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในบริเวณพื้นที่ล่อแหลมต่อการเกิดอุทกภัย โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน
2. เพื่อแจ้งเตือนภัยให้แก่ราษฎรที่อาศัยอยู่ในเขนพื้นที่เสี่ยงภัย ได้ทราบเหตุการณ์ล่วงหน้าถึงภัยธรรมชาติ (อุทกภัย วาตภัย และความแห้งแล้ง) ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อป้องกันและบรรเทาความรุนแรง และความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย
พื้นที่เป้าหมาย จะดำเนินการในพื้นที่นำร่อง 20 แห่ง (20 อำเภอ 200 ตำบล)
ผู้รับผิดชอบดำเนินการ คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
อุปกรณ์ของสถานีเตือนภัย การติดตั้งชุดอุปกรณ์ในการตรวจสภาพอากาศเพื่อการเตือนภัย จะติดตั้งใน
อุปกรณ์ของสถานีเตือนภัย การติดตั้งชุดอุปกรณ์ในการตรวจสภาพอากาศเพื่อการเตือนภัย จะติดตั้งใน2 ระดับคือ ระดับอำเภอ และระดับพื้นที่ (ตำบล/หมู่บ้าน) ซึ่งมีรายละเอียดของอุปกรณ์ดังต่อไปนี้
1. ระดับอำเภอ ประกอบไปด้วย ชุดสถานีตรวจอากาศแบบใช้ Data logger ที่สามารถเก็บข้อมูล และส่งข้อมูลระยะไกลได้ ประกอบด้วยเครื่องวัดปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ความเร็วและทิศทางลม สำหรับติดตั้งและตรวจข้อมูลทุกอำเภอ
2. ระดับพื้นที่ (ตำบล/หมู่บ้าน) ประกอบไปด้วย เครื่องวัดน้ำฝนมาตรฐานขนาด 8 นิ้ว พร้อมกระบอกตวงวัดน้ำฝน เครื่องวัดอุณหภูมิ การระเหยของน้ำ ความชื้นสัมพัทธ์ ความเร็วและทิศทางลม สำหรับติดตั้งในพื้นที่ อาจจะอยู่ที่ตั้งของ อบต. หรือในหมู่บ้าน
วิธีการดำเนินการ
1. คัดเลือกพื้นที่ที่เสี่ยงภัยเพื่อจัดตั้งระบบเตือนภัยในพื้นที่ดังกล่าว โดยคัดเลือกพื้นที่จากระบบข้อมูล GIS ที่มีอยู่ อาทิเช่น สภาพภูมิประเทศ ลำห้วย ร่องน้ำธรรมชาติ สภาพป่า ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน ข้อมูลดิน ข้อมูลธรณีวิทยา และข้อมูลด้านภูมิอากาศ จำนวนหมู่บ้าน/ชุมชน ข้อมูลการเกิดอุทกภัยที่ผ่านมา ฯลฯ เป็นต้น โดยการร่วมดำเนินของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมพัฒนาที่ดิน กรมป่าไม้ กรมชลประทาน) กระทรวงมหาดไทย กรมอุตุนิยมวิทยา เป็นต้น
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ประชาชนและหน่วยงานรัฐที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยต่อการเกิดอุทกภัยได้รับทราบถึงภัยธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้น สามารถเตรียมการป้องกันได้ทันเหตุการณ์
2. ชาวบ้านได้รับการแจ้งเตือนภัยทั้งจากชาวบ้านด้วยกันเอง และเจ้าหน้าที่รัฐได้อย่างรวดเร็ว สามารถเตรียมการอพยพและหลีกหนีอุทกภัยได้ทัน สามารถบรรเทาความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ชาวบ้านส่วนใหญ่ซึ่งเป็นเกษตรกร สามารถใช้ข้อมูลที่ได้จากสถานีตรวจอากาศนี้ใช้ประโยชน์ในการวางแผนการพัฒนาการเกษตรของตนเองได้อีกทางหนึ่งด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 14 ส.ค.44--
-สส-