ทำเนียบรัฐบาล--26 ก.ค.--นิวส์สแตนด์
ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ให้แก่ลูกหนี้
ของสถาบันการเงิน เพื่อส่งเสริมให้มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ให้แก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน เพื่อส่งเสริมให้มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาด้วย และให้ดำเนินการต่อไปได้
ร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้การประนอมหนี้ระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน สามารถบรรลุผลในการเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และเพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับลูกหนี้ในการที่จะหาบุคคลอื่นมารับซื้ออสังหาริมทรัพย์ของตน เพื่อจะได้นำเงินมาชำระหนี้ได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ในส่วนของภาครัฐจะได้ประโยชน์จากการลดปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ซึ่งจะมีผลทำให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ และจะส่งผลต่อการจัดเก็บภาษีในระยะยาวสำหรับร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ให้แก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน สำหรับเงินได้จากการโอนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิได้เป็นเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน เพื่อนำเงินได้นั้นไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน ซึ่งได้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
2. ให้ยกเว้นภาษีตามข้อ 1 เฉพาะการโอนอสังหาริมทรัพย์และการกระทำตราสารที่ได้กระทำในระหว่างวันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544 และเฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่าหนี้ที่ค้างชำระอยู่กับสถาบันการเงินหรือมีภาระผูกพันตามสัญญาประกันหนี้กับสถาบันการเงิน
3. การโอนอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับยกเว้นตามข้อ 1 จะต้องเป็นการโอนอสังหาริมทรัพย์ที่ลูกหนี้นำมาจำนองเป็นประกันหนี้ของสถาบันการเงินอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ
ทั้งนี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีข้อสังเกตว่า 1. การโอนอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับยกเว้นภาษีต้องเป็นการโอนอสังหาริมทรัพย์ที่ลูกหนี้นำมาจำนองเป็นประกันหนี้ของสถาบันการเงินก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ นั้น มิได้กำหนดให้ชัดเจนว่าเป็นการโอนก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับตั้งแต่เมื่อใด จึงเห็นว่าเมื่อร่างพระราชกฤษฎีกานี้เป็นการให้ประโยชน์ลูกหนี้เพิ่มเติมจากพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 360) พ.ศ. 2542 น่าจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2542 ซึ่งเป็นวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว โดยควรแก้ไขคำว่า "ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ" เป็น "ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2542 ถึงวันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ"
2. เงินได้จากการโอนอสังหาริมทรัพย์ที่นำมาจำนองเป็นประกันหนี้ให้แก่ผู้อื่นนั้น ไม่ชัดเจนว่าเป็นการโอนอสังหาริมทรัพย์ก่อนหรือหลังการบังคับจำนอง หากร่างพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้มีเจตนารมณ์จะใช้บังคับเฉพาะการโอนอสังหาริมทรัพย์ก่อนการบังคับจำนอง น่าจะกำหนดให้ชัดเจนกว่านี้
3. ในทางปฏิบัติเมื่อมีการโอนอสังหาริมทรัพย์ให้ผู้อื่นและได้รับเงินจากการโอน โดยได้รับยกเว้นภาษีตามร่างพระราชกฤษฎีกานี้แล้ว จะมีวิธีการตรวจสอบการนำเงินได้นั้นไปชำระหนี้ให้สถาบันการเงินตามเจตนารมณ์ของร่างพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้อย่างไร ทั้งนี้ เพื่อป้องกันมิให้มีการหลีกเลี่ยงนำเงินไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น ซึ่งจะไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 25 ก.ค. 2543--
-สส-
ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ให้แก่ลูกหนี้
ของสถาบันการเงิน เพื่อส่งเสริมให้มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ให้แก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน เพื่อส่งเสริมให้มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาด้วย และให้ดำเนินการต่อไปได้
ร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้การประนอมหนี้ระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน สามารถบรรลุผลในการเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และเพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับลูกหนี้ในการที่จะหาบุคคลอื่นมารับซื้ออสังหาริมทรัพย์ของตน เพื่อจะได้นำเงินมาชำระหนี้ได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ในส่วนของภาครัฐจะได้ประโยชน์จากการลดปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ซึ่งจะมีผลทำให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ และจะส่งผลต่อการจัดเก็บภาษีในระยะยาวสำหรับร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ให้แก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน สำหรับเงินได้จากการโอนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิได้เป็นเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน เพื่อนำเงินได้นั้นไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน ซึ่งได้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
2. ให้ยกเว้นภาษีตามข้อ 1 เฉพาะการโอนอสังหาริมทรัพย์และการกระทำตราสารที่ได้กระทำในระหว่างวันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544 และเฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่าหนี้ที่ค้างชำระอยู่กับสถาบันการเงินหรือมีภาระผูกพันตามสัญญาประกันหนี้กับสถาบันการเงิน
3. การโอนอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับยกเว้นตามข้อ 1 จะต้องเป็นการโอนอสังหาริมทรัพย์ที่ลูกหนี้นำมาจำนองเป็นประกันหนี้ของสถาบันการเงินอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ
ทั้งนี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีข้อสังเกตว่า 1. การโอนอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับยกเว้นภาษีต้องเป็นการโอนอสังหาริมทรัพย์ที่ลูกหนี้นำมาจำนองเป็นประกันหนี้ของสถาบันการเงินก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ นั้น มิได้กำหนดให้ชัดเจนว่าเป็นการโอนก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับตั้งแต่เมื่อใด จึงเห็นว่าเมื่อร่างพระราชกฤษฎีกานี้เป็นการให้ประโยชน์ลูกหนี้เพิ่มเติมจากพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 360) พ.ศ. 2542 น่าจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2542 ซึ่งเป็นวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว โดยควรแก้ไขคำว่า "ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ" เป็น "ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2542 ถึงวันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ"
2. เงินได้จากการโอนอสังหาริมทรัพย์ที่นำมาจำนองเป็นประกันหนี้ให้แก่ผู้อื่นนั้น ไม่ชัดเจนว่าเป็นการโอนอสังหาริมทรัพย์ก่อนหรือหลังการบังคับจำนอง หากร่างพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้มีเจตนารมณ์จะใช้บังคับเฉพาะการโอนอสังหาริมทรัพย์ก่อนการบังคับจำนอง น่าจะกำหนดให้ชัดเจนกว่านี้
3. ในทางปฏิบัติเมื่อมีการโอนอสังหาริมทรัพย์ให้ผู้อื่นและได้รับเงินจากการโอน โดยได้รับยกเว้นภาษีตามร่างพระราชกฤษฎีกานี้แล้ว จะมีวิธีการตรวจสอบการนำเงินได้นั้นไปชำระหนี้ให้สถาบันการเงินตามเจตนารมณ์ของร่างพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้อย่างไร ทั้งนี้ เพื่อป้องกันมิให้มีการหลีกเลี่ยงนำเงินไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น ซึ่งจะไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 25 ก.ค. 2543--
-สส-