คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. …. ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) เสนอ
ทั้งนี้ เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายที่ให้มีการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ แห่งละ 1 ล้านบาท เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนสำหรับประชาชนในหมู่บ้านและชุมชนเมืองใช้ในการประกอบอาชีพ และพัฒนาการเรียนรู้ร่วมกันในการพึ่งพาตนเอง เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม ในการดำเนินการตามนโยบายดังกล่าว รัฐบาลได้ประกาศใช้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2544 และต่อมาคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ได้ประกาศใช้ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการจัดตั้งและการบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2544 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2544 เพื่อให้การดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติมีกฎหมายรองรับการปฎิบัติงานให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และมีสถานะถาวรตามกฎหมาย จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. …. ดังมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ให้มีกฎหมายว่าด้วยกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ เนื่องจากได้พิจารณาเห็นว่าการเสริมสร้างกระบวนการพึ่งพาตนเองของหมู่บ้านและชุมชนเมืองในด้านการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาความคิดริเริ่ม เพื่อการแก้ไขปัญหา และเสริมสร้างศักยภาพทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในหมู่บ้านและชุมชนเมือง ภายใต้ปรัชญา "เสริมสร้างสำนึกความเป็นชุมชนท้องถิ่น โดยชุมชนเป็นผู้กำหนดอนาคตและจัดการหมู่บ้านและชุมชนด้วย คุณค่าและภูมิปัญญาของตนเอง เกื้อกูลประโยชน์ต่อผู้ด้อยโอกาสในหมู่บ้านและชุมชน เชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างชุมชน ราชการ เอกชน และกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นและพัฒนาประชาธิปไตยพื้นฐาน" นั้น รัฐพึงเสริมสร้างและพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนเมืองให้มีขีดความสามารถในการจัดระบบบริหารจัดการเงินทุนหมุนเวียนในหมู่บ้านและชุมชนเมือง โดยจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
2. ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่ง เรียกว่า "กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ" มีฐานะเป็นนิติบุคคล และมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินการ ดังนี้
1) เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในหมู่บ้านและชุมชนเมือง สำหรับการลงทุนเพื่อพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้หรือเพิ่มรายได้ การลดรายจ่าย การบรรเทาเหตุฉุกเฉินและจำเป็นเร่งด่วน และสำหรับการนำไปสู่การสร้างกองทุนสวัสดิภาพที่ดีแก่ประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชน
2) ส่งเสริมและพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนเมือง ให้มีขีดความสามารถในการจัดระบบและบริหารจัดการเงินทุนของตนเอง
3) เสริมสร้างกระบวนการพึ่งพาตนเองของหมู่บ้านและชุมชนเมืองทั้งในด้านการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาความคิดริเริ่ม เพื่อการแก้ไขปัญหา เสริมสร้างศักยภาพ และส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงในหมู่บ้านและชุมชนเมือง
4) กระตุ้นเศรษฐกิจในระดับฐานรากของประเทศ รวมทั้งเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในอนาคต
5) เสริมสร้างศักยภาพ และความเข้มแข็ง ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมให้แก่ประชาชนในหมู่บ้าน หรือชุมชนเมือง
3. กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ประกอบด้วยเงินและทรัพย์สิน ดังนี้
1) เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้
2) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้
3) เงินกู้ยืม ซึ่งกระทรวงการคลังค้ำประกัน
4) ดอกผลหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่เกิดจากกองทุน
5) เงินหรือทรัพย์สินอื่นที่กองทุนได้รับ โดยไม่มีเงื่อนไขผูกพันหรือภาระติดพันอื่นใด
4. ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า "คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ" โดยมีชื่อย่อว่า กทบช. ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรี ที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นรองประธานคนที่หนึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นรองประธานคนที่สอง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นรองประธานคนที่สาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นรองประธานคนที่สี่ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง จำนวนไม่เกิน 10 คน เป็นกรรมการ เลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ
การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้พิจารณาแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ มีผลงานและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการการเงิน ธนาคาร หรือกองทุนหมุนเวียน และให้มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้
5. คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1) กำหนดนโยบาย การจัดตั้ง และแนวทางการบริหารกองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมือง
2) กำหนดแผนการจัดหาเงินทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง และแผนการจัดสรรให้แก่กองทุน
3) กำหนดแผนงาน และออกระเบียบ ข้อบังคับและประกาศในการจัดตั้ง และแนวทางการบริหารงานกองทุน
4) ออกระเบียบเกี่ยวกับการจดทะเบียนเพื่อรับรองกองทุนหมู่บ้าน หรือชุมชนเมือง ให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล ตลอดจนการเพิกถอนทะเบียน และฐานะเป็นนิติบุคคลของกองทุน
5) ออกระเบียบเกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน จัดหา และจัดสรรผลประโยชน์ของกองทุน
6) ออกระเบียบเกี่ยวกับคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน และการบริหารกองทุน
7) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน เพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
8) ออกระเบียบ คำสั่ง และประกาศอื่น ๆ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
9) รายงานผลการดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งฐานะการเงินของกองทุนให้คณะรัฐมนตรีทราบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
6. ให้แต่ละหมู่บ้านและชุมชนเมืองมีกองทุนหนึ่ง เรียกว่า "กองทุนหมู่บ้าน" หรือ "กองทุนชุมชนเมือง" เมื่อจดทะเบียนต่อคณะกรรมการแล้ว ให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล และให้กองทุนมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกองทุนหมุนเวียนในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
7. ให้กองทุนแต่ละกองทุนมีคณะกรรมการกองทุน จำนวนเก้า - สิบห้าคน ประกอบด้วยกรรมการซึ่งมาจากการคัดเลือกกันเองโดยสมาชิกจากบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ และมีความรับผิดชอบที่จะบริหารจัดการกองทุน และเป็นที่ยอมรับของประชาชนในหมู่บ้านและชุมชนเมือง โดยมีอายุให้เกิน 65 ปี และมีสุขภาพแข็งแรง ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1) บริหารจัดการกองทุน รวมทั้งตรวจสอบ กำกับ ดูแล จัดสรรผลประโยชน์ของเงินกองทุนหมู่บ้าน เพื่อสอดรับและเกื้อกูลกับกองทุนอื่น ๆ ที่มีอยู่แล้วในหมู่บ้าน
2) ออกระเบียบข้อบังคับหรือหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบริหารกองทุนหมู่บ้าน ภายใต้กรอบระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
3) รับสมาชิกและจัดทำทะเบียนสมาชิก ทั้งที่เป็นกลุ่มหรือองค์กรชุมชน หรือปัจเจกบุคคลในหมู่บ้าน
4) กำหนดวัตถุประสงค์ ประเภท การออมทรัพย์ การกู้ยืม เงื่อนไขระยะเวลาการกู้ยืม ผลตอบแทน อัตราดอกเบี้ย ฯลฯ ภายใต้กรอบระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
5) สำรวจ และจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ อุตสาหกรรมครัวเรือน และวิสาหกิจชุมชน ในเขตท้องที่หมู่บ้านนั้น ตลอดจนข้อมูลและการดำเนินการเกี่ยวกับกองทุนอื่น ๆ ที่มีอยู่แล้วในหมู่บ้าน
6) พิจารณาเงินกู้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
7) ทำนิติกรรมสัญญา หรือดำเนินการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับภาระผูกพันของกองทุน
8) ปฏิบัติหน้าที่อื่น ตามระเบียบคณะกรรมการกำหนดหรือมอบหมาย
8. การทำบัญชีและการตรวจสอบ ภายในกำหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี ให้คณะกรรมการเสนองบดุลแสดงฐานะการเงินและทำรายงานแสดงผลการปฏิบัติงานของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติและกองทุน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการซึ่งได้รับความเห็นชอบจากระทรวงการคลังเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
9. ให้คณะกรรมการกองทุนรายงานผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรคและฐานะการเงินกองทุนให้สมาชิกในหมู่บ้านทราบ ตามที่คณะกรรมการกำหนด
ในกรณีปรากฏแน่ชัดว่ากองทุนใดไม่ได้ดำเนินการตามระเบียบข้อบังคับของคณะกรรมการ หรือดำเนินการส่อไปในทางทุจริต หรือดำเนินการที่อาจก่อให้เกิดผลเสียหายต่อกองทุน ให้เลขาธิการพิจารณาระงับการจ่ายเงินจากบัญชีกองทุนหรือให้กองทุนชดใช้หรือให้ส่งคืนเงินในกรณีที่เบิกจ่ายไปแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 5 มิ.ย. 2544
-สส-
ทั้งนี้ เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายที่ให้มีการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ แห่งละ 1 ล้านบาท เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนสำหรับประชาชนในหมู่บ้านและชุมชนเมืองใช้ในการประกอบอาชีพ และพัฒนาการเรียนรู้ร่วมกันในการพึ่งพาตนเอง เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม ในการดำเนินการตามนโยบายดังกล่าว รัฐบาลได้ประกาศใช้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2544 และต่อมาคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ได้ประกาศใช้ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการจัดตั้งและการบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2544 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2544 เพื่อให้การดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติมีกฎหมายรองรับการปฎิบัติงานให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และมีสถานะถาวรตามกฎหมาย จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. …. ดังมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ให้มีกฎหมายว่าด้วยกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ เนื่องจากได้พิจารณาเห็นว่าการเสริมสร้างกระบวนการพึ่งพาตนเองของหมู่บ้านและชุมชนเมืองในด้านการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาความคิดริเริ่ม เพื่อการแก้ไขปัญหา และเสริมสร้างศักยภาพทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในหมู่บ้านและชุมชนเมือง ภายใต้ปรัชญา "เสริมสร้างสำนึกความเป็นชุมชนท้องถิ่น โดยชุมชนเป็นผู้กำหนดอนาคตและจัดการหมู่บ้านและชุมชนด้วย คุณค่าและภูมิปัญญาของตนเอง เกื้อกูลประโยชน์ต่อผู้ด้อยโอกาสในหมู่บ้านและชุมชน เชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างชุมชน ราชการ เอกชน และกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นและพัฒนาประชาธิปไตยพื้นฐาน" นั้น รัฐพึงเสริมสร้างและพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนเมืองให้มีขีดความสามารถในการจัดระบบบริหารจัดการเงินทุนหมุนเวียนในหมู่บ้านและชุมชนเมือง โดยจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
2. ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่ง เรียกว่า "กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ" มีฐานะเป็นนิติบุคคล และมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินการ ดังนี้
1) เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในหมู่บ้านและชุมชนเมือง สำหรับการลงทุนเพื่อพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้หรือเพิ่มรายได้ การลดรายจ่าย การบรรเทาเหตุฉุกเฉินและจำเป็นเร่งด่วน และสำหรับการนำไปสู่การสร้างกองทุนสวัสดิภาพที่ดีแก่ประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชน
2) ส่งเสริมและพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนเมือง ให้มีขีดความสามารถในการจัดระบบและบริหารจัดการเงินทุนของตนเอง
3) เสริมสร้างกระบวนการพึ่งพาตนเองของหมู่บ้านและชุมชนเมืองทั้งในด้านการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาความคิดริเริ่ม เพื่อการแก้ไขปัญหา เสริมสร้างศักยภาพ และส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงในหมู่บ้านและชุมชนเมือง
4) กระตุ้นเศรษฐกิจในระดับฐานรากของประเทศ รวมทั้งเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในอนาคต
5) เสริมสร้างศักยภาพ และความเข้มแข็ง ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมให้แก่ประชาชนในหมู่บ้าน หรือชุมชนเมือง
3. กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ประกอบด้วยเงินและทรัพย์สิน ดังนี้
1) เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้
2) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้
3) เงินกู้ยืม ซึ่งกระทรวงการคลังค้ำประกัน
4) ดอกผลหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่เกิดจากกองทุน
5) เงินหรือทรัพย์สินอื่นที่กองทุนได้รับ โดยไม่มีเงื่อนไขผูกพันหรือภาระติดพันอื่นใด
4. ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า "คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ" โดยมีชื่อย่อว่า กทบช. ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรี ที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นรองประธานคนที่หนึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นรองประธานคนที่สอง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นรองประธานคนที่สาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นรองประธานคนที่สี่ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง จำนวนไม่เกิน 10 คน เป็นกรรมการ เลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ
การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้พิจารณาแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ มีผลงานและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการการเงิน ธนาคาร หรือกองทุนหมุนเวียน และให้มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้
5. คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1) กำหนดนโยบาย การจัดตั้ง และแนวทางการบริหารกองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมือง
2) กำหนดแผนการจัดหาเงินทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง และแผนการจัดสรรให้แก่กองทุน
3) กำหนดแผนงาน และออกระเบียบ ข้อบังคับและประกาศในการจัดตั้ง และแนวทางการบริหารงานกองทุน
4) ออกระเบียบเกี่ยวกับการจดทะเบียนเพื่อรับรองกองทุนหมู่บ้าน หรือชุมชนเมือง ให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล ตลอดจนการเพิกถอนทะเบียน และฐานะเป็นนิติบุคคลของกองทุน
5) ออกระเบียบเกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน จัดหา และจัดสรรผลประโยชน์ของกองทุน
6) ออกระเบียบเกี่ยวกับคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน และการบริหารกองทุน
7) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน เพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
8) ออกระเบียบ คำสั่ง และประกาศอื่น ๆ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
9) รายงานผลการดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งฐานะการเงินของกองทุนให้คณะรัฐมนตรีทราบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
6. ให้แต่ละหมู่บ้านและชุมชนเมืองมีกองทุนหนึ่ง เรียกว่า "กองทุนหมู่บ้าน" หรือ "กองทุนชุมชนเมือง" เมื่อจดทะเบียนต่อคณะกรรมการแล้ว ให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล และให้กองทุนมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกองทุนหมุนเวียนในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
7. ให้กองทุนแต่ละกองทุนมีคณะกรรมการกองทุน จำนวนเก้า - สิบห้าคน ประกอบด้วยกรรมการซึ่งมาจากการคัดเลือกกันเองโดยสมาชิกจากบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ และมีความรับผิดชอบที่จะบริหารจัดการกองทุน และเป็นที่ยอมรับของประชาชนในหมู่บ้านและชุมชนเมือง โดยมีอายุให้เกิน 65 ปี และมีสุขภาพแข็งแรง ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1) บริหารจัดการกองทุน รวมทั้งตรวจสอบ กำกับ ดูแล จัดสรรผลประโยชน์ของเงินกองทุนหมู่บ้าน เพื่อสอดรับและเกื้อกูลกับกองทุนอื่น ๆ ที่มีอยู่แล้วในหมู่บ้าน
2) ออกระเบียบข้อบังคับหรือหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบริหารกองทุนหมู่บ้าน ภายใต้กรอบระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
3) รับสมาชิกและจัดทำทะเบียนสมาชิก ทั้งที่เป็นกลุ่มหรือองค์กรชุมชน หรือปัจเจกบุคคลในหมู่บ้าน
4) กำหนดวัตถุประสงค์ ประเภท การออมทรัพย์ การกู้ยืม เงื่อนไขระยะเวลาการกู้ยืม ผลตอบแทน อัตราดอกเบี้ย ฯลฯ ภายใต้กรอบระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
5) สำรวจ และจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ อุตสาหกรรมครัวเรือน และวิสาหกิจชุมชน ในเขตท้องที่หมู่บ้านนั้น ตลอดจนข้อมูลและการดำเนินการเกี่ยวกับกองทุนอื่น ๆ ที่มีอยู่แล้วในหมู่บ้าน
6) พิจารณาเงินกู้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
7) ทำนิติกรรมสัญญา หรือดำเนินการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับภาระผูกพันของกองทุน
8) ปฏิบัติหน้าที่อื่น ตามระเบียบคณะกรรมการกำหนดหรือมอบหมาย
8. การทำบัญชีและการตรวจสอบ ภายในกำหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี ให้คณะกรรมการเสนองบดุลแสดงฐานะการเงินและทำรายงานแสดงผลการปฏิบัติงานของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติและกองทุน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการซึ่งได้รับความเห็นชอบจากระทรวงการคลังเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
9. ให้คณะกรรมการกองทุนรายงานผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรคและฐานะการเงินกองทุนให้สมาชิกในหมู่บ้านทราบ ตามที่คณะกรรมการกำหนด
ในกรณีปรากฏแน่ชัดว่ากองทุนใดไม่ได้ดำเนินการตามระเบียบข้อบังคับของคณะกรรมการ หรือดำเนินการส่อไปในทางทุจริต หรือดำเนินการที่อาจก่อให้เกิดผลเสียหายต่อกองทุน ให้เลขาธิการพิจารณาระงับการจ่ายเงินจากบัญชีกองทุนหรือให้กองทุนชดใช้หรือให้ส่งคืนเงินในกรณีที่เบิกจ่ายไปแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 5 มิ.ย. 2544
-สส-