ทำเนียบรัฐบาล--5 ก.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
ร่างกฎกระทรวงดังกล่าว มีสาระสำคัญคือ กำหนดให้ผู้ประสงค์จะขอรับอาชญาบัตรหากเรือนั้นมีขนาดความยาวตั้งแต่ 14 เมตรลงมา สามารถใช้สำเนาใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน ผู้มีอาชีพในการประมง การค้าสินค้าสัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ ซึ่งเป็นใบสำคัญซึ่งออกตามความในมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 แทนสำเนาใบอนุญาตใช้เรือ หรือสำเนาทะเบียนเรือไทยได้
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอว่า ปัจจุบันเครื่องมือในพิกัด (เครื่องมือทำการประมง) ที่ใช้ประกอบกับเรือประมงขนาดเล็กซึ่งเป็นของชาวประมงพื้นบ้าน ไม่สามารถมาขอรับอาชญาบัตร (ใบอนุญาตให้ใช้เครื่องมือทำการประมง)ได้ เนื่องจากตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 กำหนดให้ใช้ใบทะเบียนเรือและใบอนุญาตใช้เรือของกรมเจ้าท่าเป็นหลักฐานประกอบคำขออาชญาบัตร ทำให้เรือประมงเหล่านี้อยู่ในการกำกับดูแลของทางราชการหลายหน่วยงาน กรมประมงจึงไม่มีข้อมูลที่ครบถ้วนเพื่อสามารถดำเนินการบริหารและจัดการทรัพยากรประมงให้มีประสิทธิภาพได้ จำเป็นต้องทำให้การควบคุมกำลังลงแรงประมงในส่วนของเรือประมงซึ่งถือเป็นเครื่องมือทำการประมงให้เหมาะสมแก่ศักยภาพการผลิตของสัตว์น้ำตามธรรมชาติอยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานเดียวกัน สมควรแก้ไขข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักฐานประกอบคำขออาชญาบัตรของเรือประมงขนาดเล็กเสียใหม่ ให้สามารถมาขอรับอาชญาบัตรให้ถูกต้องตามกฎหมาย
กรณีที่กรมประมงกำหนดการวัดขนาดความยาวเรือเป็นเมตร แต่กรมเจ้าท่ากำหนดเป็นตันกรอสส์นั้น จะไม่เกิดปัญหาในการปฏิบัติแต่ประการใด เนื่องจากกฎหมายมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน และการวัดขนาดความยาวเรือเป็นเมตรนั้น เป็นวิธีการวัดตามปกติไม่มีหลักเกณฑ์ในทางวิชาการที่ยุ่งยาก ชาวประมงและพนักงานเจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการได้ง่ายเป็นที่ยอมรับด้วยกันทั้งสองฝ่าย ขจัดข้อโต้แย้งในทางปฏิบัติ และเหตุที่กรมประมงกำหนดให้ใช้ความยาว 14 เมตร เป็นหลักเกณฑ์ในการแบ่งแยกเรือประมงพื้นบ้านกับเรือประมงพาณิชย์เพื่อขอรับอาชญาบัตรนั้น มีที่มาจากผลการสำรวจพบว่าเรือประมงพื้นบ้านส่วนใหญ่มีขนาดความยาวไม่เกิน 14 เมตร ซึ่งเป็นเรือประมงขนาดเล็กทำการประมงใกล้ฝั่งมีประสิทธิภาพในการจับสัตว์น้ำต่ำ ประกอบกับการกำหนดมาตรการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะใช้ขนาดความยาวเรือเป็นเกณฑ์ในการบริหารจัดการทรัพยากรประมง เช่น การห้ามเรืออวนลากเข้าไปทำการประมงในฤดูปิดอ่าว 3 จังหวัด (ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี) ยกเว้นเรืออวนลากที่มีขนาดความยาว 14 เมตรลงมา เป็นต้น
ในส่วนของการดำเนินการควบคุมเรือที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายจะมาขอรับอาชญาบัตรนั้น เนื่องจากตามพระราชบัญญัติเรือไทย พ.ศ. 2481 มิได้บังคับให้เรือทุกลำต้องจดทะเบียนเรือไทย จึงทำให้เกิดช่องว่างในทางปฏิบัติ ดังนั้น การแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงโดยใช้ขนาดความยาวเรือเป็นเกณฑ์ในการควบคุมเรือทั้งสองขนาด จะเป็นผลดีในการอุดช่องว่างข้างต้น ประกอบกับในการตรวจสอบเรือประมง กรมประมงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยเรือไทย และกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย มีอำนาจหน้าที่ในการบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายร่วมกับกรมเจ้าท่าอยู่แล้ว จึงไม่เกิดปัญหาในทางปฏิบัติแต่อย่างใด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 5 ก.ย. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
ร่างกฎกระทรวงดังกล่าว มีสาระสำคัญคือ กำหนดให้ผู้ประสงค์จะขอรับอาชญาบัตรหากเรือนั้นมีขนาดความยาวตั้งแต่ 14 เมตรลงมา สามารถใช้สำเนาใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน ผู้มีอาชีพในการประมง การค้าสินค้าสัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ ซึ่งเป็นใบสำคัญซึ่งออกตามความในมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 แทนสำเนาใบอนุญาตใช้เรือ หรือสำเนาทะเบียนเรือไทยได้
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอว่า ปัจจุบันเครื่องมือในพิกัด (เครื่องมือทำการประมง) ที่ใช้ประกอบกับเรือประมงขนาดเล็กซึ่งเป็นของชาวประมงพื้นบ้าน ไม่สามารถมาขอรับอาชญาบัตร (ใบอนุญาตให้ใช้เครื่องมือทำการประมง)ได้ เนื่องจากตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 กำหนดให้ใช้ใบทะเบียนเรือและใบอนุญาตใช้เรือของกรมเจ้าท่าเป็นหลักฐานประกอบคำขออาชญาบัตร ทำให้เรือประมงเหล่านี้อยู่ในการกำกับดูแลของทางราชการหลายหน่วยงาน กรมประมงจึงไม่มีข้อมูลที่ครบถ้วนเพื่อสามารถดำเนินการบริหารและจัดการทรัพยากรประมงให้มีประสิทธิภาพได้ จำเป็นต้องทำให้การควบคุมกำลังลงแรงประมงในส่วนของเรือประมงซึ่งถือเป็นเครื่องมือทำการประมงให้เหมาะสมแก่ศักยภาพการผลิตของสัตว์น้ำตามธรรมชาติอยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานเดียวกัน สมควรแก้ไขข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักฐานประกอบคำขออาชญาบัตรของเรือประมงขนาดเล็กเสียใหม่ ให้สามารถมาขอรับอาชญาบัตรให้ถูกต้องตามกฎหมาย
กรณีที่กรมประมงกำหนดการวัดขนาดความยาวเรือเป็นเมตร แต่กรมเจ้าท่ากำหนดเป็นตันกรอสส์นั้น จะไม่เกิดปัญหาในการปฏิบัติแต่ประการใด เนื่องจากกฎหมายมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน และการวัดขนาดความยาวเรือเป็นเมตรนั้น เป็นวิธีการวัดตามปกติไม่มีหลักเกณฑ์ในทางวิชาการที่ยุ่งยาก ชาวประมงและพนักงานเจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการได้ง่ายเป็นที่ยอมรับด้วยกันทั้งสองฝ่าย ขจัดข้อโต้แย้งในทางปฏิบัติ และเหตุที่กรมประมงกำหนดให้ใช้ความยาว 14 เมตร เป็นหลักเกณฑ์ในการแบ่งแยกเรือประมงพื้นบ้านกับเรือประมงพาณิชย์เพื่อขอรับอาชญาบัตรนั้น มีที่มาจากผลการสำรวจพบว่าเรือประมงพื้นบ้านส่วนใหญ่มีขนาดความยาวไม่เกิน 14 เมตร ซึ่งเป็นเรือประมงขนาดเล็กทำการประมงใกล้ฝั่งมีประสิทธิภาพในการจับสัตว์น้ำต่ำ ประกอบกับการกำหนดมาตรการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะใช้ขนาดความยาวเรือเป็นเกณฑ์ในการบริหารจัดการทรัพยากรประมง เช่น การห้ามเรืออวนลากเข้าไปทำการประมงในฤดูปิดอ่าว 3 จังหวัด (ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี) ยกเว้นเรืออวนลากที่มีขนาดความยาว 14 เมตรลงมา เป็นต้น
ในส่วนของการดำเนินการควบคุมเรือที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายจะมาขอรับอาชญาบัตรนั้น เนื่องจากตามพระราชบัญญัติเรือไทย พ.ศ. 2481 มิได้บังคับให้เรือทุกลำต้องจดทะเบียนเรือไทย จึงทำให้เกิดช่องว่างในทางปฏิบัติ ดังนั้น การแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงโดยใช้ขนาดความยาวเรือเป็นเกณฑ์ในการควบคุมเรือทั้งสองขนาด จะเป็นผลดีในการอุดช่องว่างข้างต้น ประกอบกับในการตรวจสอบเรือประมง กรมประมงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยเรือไทย และกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย มีอำนาจหน้าที่ในการบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายร่วมกับกรมเจ้าท่าอยู่แล้ว จึงไม่เกิดปัญหาในทางปฏิบัติแต่อย่างใด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 5 ก.ย. 2543--
-สส-