คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานผลการเดินทางเยือนประเทศไทยของกรรมาธิการสหภาพยุโรปด้านสาธารณสุขและการคุ้มครองผู้บริโภค (EC Commissioner for Health and Consumer Protection) ระหว่างวันที่ 8 — 16 พฤศจิกายน 2548 และได้มีการประชุมหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2548 สรุปผลการหารือดังนี้
1. สถานการณ์ และความร่วมมือด้านไข้หวัดนก
1.1) ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนสถานการณ์การระบาดของไข้หวัดนก โดยฝ่ายไทยได้ชี้แจงว่าการระบาดของโรคไข้หวัดนกในปี 2548 พบเพียง 10 อำเภอเท่านั้น เนื่องจากฝ่ายไทยได้เตรียมการเรื่องการควบคุมการระบาดจากประสบการณ์ในปี 2547 ที่ผ่านมา ซึ่งมีการระบาดถึง 21 จังหวัด โดยปัจจุบันนี้ได้มีการควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกและการทำลายในกรณีที่พบการระบาดอย่างเข้มงวด นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดทำโครงการอาสาสมัครซึ่งจะมีการรายงานข้อมูลจากอาสาสมัครประจำหมู่บ้านต่าง ๆ กว่า 600,000 คนทั่วประเทศทุกวัน ทำให้ได้รับข้อมูลอย่างทันท่วงทีและสามารถเข้าไปควบคุมสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็วเพื่อป้องกันไม่ให้มีการกระจายตัวของการระบาด ทั้งนี้ ฝ่ายสหภาพยุโรปให้ความสนใจในเรื่องของการดำเนินการควบคุมสถานการณ์ในสัตว์ปีกพื้นเมืองรายย่อยและการตรวจพบเชื้อในนกอพยพ
1.2) กรรมาธิการยุโรปฯ ได้แสดงความชื่นชมการควบคุมโรคไข้หวัดนกของประเทศไทย และการที่ไทยเป็นแกนนำในเรื่องนี้ในระดับภูมิภาค โดยฝ่ายไทยได้ให้ความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านภายใต้กรอบ ACMECS ซึ่งสหภาพยุโรปก็มีโครงการที่จะให้เงินทุนสนับสนุนการป้องกันโรคไข้หวัดนกในภูมิภาคเอเชียเช่นกัน ดังนั้น สองฝ่ายเห็นพ้องให้ร่วมกันดำเนินการในเรื่องควบคุมไข้หวัดนกในระดับภูมิภาคอย่างใกล้ชิดโดยมีไทยเป็นศูนย์กลาง ซึ่งจะมีการหารือกันในระดับเจ้าหน้าที่ต่อไป
1.3) สำหรับเรื่องวัคซีนป้องกันไข้หวัดนกในสัตว์ปีกนั้น สหภาพยุโรปมีความเห็นว่ายังไม่ใช่เครื่องมือที่มีความจำเป็นในขณะนี้ แต่เห็นด้วยกับข้อเสนอฝ่ายไทยที่จะให้มีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดในเรื่องการศึกษาและวิจัยการใช้วัคซีน ทั้งนี้ สหภาพยุโรปมีประสบการณ์การใช้วัคซีนบ้างในบางประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปและมีกฎระเบียบอนุญาตให้ใช้ได้ในสัตว์ปีกในสวนสัตว์และนกหายาก
2. ความปลอดภัยอาหาร
สหภาพยุโรปแสดงความชื่นชมในนโยบายด้านความปลอดภัยอาหารของไทย และเห็นว่าไทยดำเนินนโยบายเรื่องนี้มาอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความสำคัญกับมาตรฐานสินค้าและการดำเนินงานในลักษณะตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ในการนี้ฝ่ายไทยยินดีที่จะเชิญเจ้าหน้าที่จากสหภาพยุโรปมาดูระบบการจัดการและการควบคุมการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารที่ดีได้มาตรฐานสูงสุด ซึ่งเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในสหภาพยุโรปมากขึ้น เพื่อขยายโอกาสการส่งออกของประเทศไทย
สำหรับโครงการระบบเตือนภัยเร่งด่วนอาหารมนุษย์และอาหารสัตว์ (Rapid Alert System on Food and Feed — RASFF) ซึ่งเป็นโครงการที่สหภาพยุโรปดำเนินการประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่งในการเป็นกลไกการดำเนินงานที่สำคัญในระบบการควบคุมอาหารของสหภาพยุโรป ฝ่ายไทยเห็นว่าหากนำโครงการนี้มาประยุกต์ใช้จะสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคของไทย ซึ่งสหภาพยุโรปยินดีให้ความร่วมมือกับประเทศไทยในการจัดทำโครงการ RASFF นี้ และเห็นว่าควรจัดทำเป็นต้นแบบในภูมิภาคอาเซียน โดยมีประเทศเริ่มต้น 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม ให้ไทยเป็นศูนย์กลางของระบบนี้ ซึ่งจะสอดคล้องกับการดำเนินงานเครือข่ายความปลอดภัยด้านอาหารของอาเซียนที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการอยู่ ทั้งนี้ สหภาพยุโรปจะร่วมสนับสนุนด้านงบประมาณโครงการด้วย หากโครงการนี้ประสบผลสำเร็จในภูมิภาค จะได้ขยายผลเชื่อมต่อระบบเพื่อเตือนภัยระหว่างสหภาพยุโรปและอาเซียนต่อไป
3. เรื่องอื่น ๆ
3.1 การค้าสินค้าประมง
ปัจจุบันฝ่ายไทยได้ดำเนินโครงการนำร่องระบบตรวจสอบย้อนกลับสำหรับการผลิตกุ้ง ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างไทยและสหภาพยุโรป โครงการนี้จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคทั้งของไทยและสหภาพยุโรปและจะทำให้ไทยสามารถส่งออกกุ้งและผลิตภัณฑ์กุ้งไปยังสหภาพยุโรปมากขึ้น
3.2) โครงการเลี้ยงไก่และหมูระบบ Compartmentalization
ฝ่ายไทยได้แจ้งให้สหภาพยุโรปทราบว่าปัจจุบันฝ่ายไทยกำลังดำเนินโครงการเลี้ยงไก่และหมูระบบ Compartmentalization เพื่อจัดระบบเขตเฉพาะที่มี Biosecurity สูงสุด สามารถควบคุมป้องกันโรคได้จากภายนอก โดยฝ่ายไทยจะได้ออกประกาศระเบียบในเรื่องนี้และดำเนินการโครงการนำร่องเพื่อการเปิดตลาดสินค้าจาก Compartment ในระยะต่อไป
3.3) สินค้าเทคโนโลยีชีวภาพ (GMOs)
สองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในเรื่องสินค้าเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งฝ่ายไทยได้ชี้แจงข้อเท็จจริงว่าประเทศไทยยังไม่อนุญาตให้มีการปลูกพืช GMOs เชิงพาณิชย์แต่อย่างใด แต่อนุญาตให้มีการทดลองเพื่อการศึกษาและวิจัย สำหรับการติดฉลากนั้น ประเทศไทยได้ออกระเบียบการติดฉลากเพื่อให้สินค้าที่มีส่วนประกอบจากผลิตภัณฑ์ GMOs ในส่วนของสหภาพยุโรปได้ชี้แจงว่า ปัจจุบันอนุญาตให้มีการผลิต GMOs เชิงพาณิชย์ และต้องมีการติดฉลากภายใต้กฎระเบียบที่เข้มงวด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 15 พฤศจิกายน 2548--จบ--
1. สถานการณ์ และความร่วมมือด้านไข้หวัดนก
1.1) ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนสถานการณ์การระบาดของไข้หวัดนก โดยฝ่ายไทยได้ชี้แจงว่าการระบาดของโรคไข้หวัดนกในปี 2548 พบเพียง 10 อำเภอเท่านั้น เนื่องจากฝ่ายไทยได้เตรียมการเรื่องการควบคุมการระบาดจากประสบการณ์ในปี 2547 ที่ผ่านมา ซึ่งมีการระบาดถึง 21 จังหวัด โดยปัจจุบันนี้ได้มีการควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกและการทำลายในกรณีที่พบการระบาดอย่างเข้มงวด นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดทำโครงการอาสาสมัครซึ่งจะมีการรายงานข้อมูลจากอาสาสมัครประจำหมู่บ้านต่าง ๆ กว่า 600,000 คนทั่วประเทศทุกวัน ทำให้ได้รับข้อมูลอย่างทันท่วงทีและสามารถเข้าไปควบคุมสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็วเพื่อป้องกันไม่ให้มีการกระจายตัวของการระบาด ทั้งนี้ ฝ่ายสหภาพยุโรปให้ความสนใจในเรื่องของการดำเนินการควบคุมสถานการณ์ในสัตว์ปีกพื้นเมืองรายย่อยและการตรวจพบเชื้อในนกอพยพ
1.2) กรรมาธิการยุโรปฯ ได้แสดงความชื่นชมการควบคุมโรคไข้หวัดนกของประเทศไทย และการที่ไทยเป็นแกนนำในเรื่องนี้ในระดับภูมิภาค โดยฝ่ายไทยได้ให้ความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านภายใต้กรอบ ACMECS ซึ่งสหภาพยุโรปก็มีโครงการที่จะให้เงินทุนสนับสนุนการป้องกันโรคไข้หวัดนกในภูมิภาคเอเชียเช่นกัน ดังนั้น สองฝ่ายเห็นพ้องให้ร่วมกันดำเนินการในเรื่องควบคุมไข้หวัดนกในระดับภูมิภาคอย่างใกล้ชิดโดยมีไทยเป็นศูนย์กลาง ซึ่งจะมีการหารือกันในระดับเจ้าหน้าที่ต่อไป
1.3) สำหรับเรื่องวัคซีนป้องกันไข้หวัดนกในสัตว์ปีกนั้น สหภาพยุโรปมีความเห็นว่ายังไม่ใช่เครื่องมือที่มีความจำเป็นในขณะนี้ แต่เห็นด้วยกับข้อเสนอฝ่ายไทยที่จะให้มีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดในเรื่องการศึกษาและวิจัยการใช้วัคซีน ทั้งนี้ สหภาพยุโรปมีประสบการณ์การใช้วัคซีนบ้างในบางประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปและมีกฎระเบียบอนุญาตให้ใช้ได้ในสัตว์ปีกในสวนสัตว์และนกหายาก
2. ความปลอดภัยอาหาร
สหภาพยุโรปแสดงความชื่นชมในนโยบายด้านความปลอดภัยอาหารของไทย และเห็นว่าไทยดำเนินนโยบายเรื่องนี้มาอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความสำคัญกับมาตรฐานสินค้าและการดำเนินงานในลักษณะตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ในการนี้ฝ่ายไทยยินดีที่จะเชิญเจ้าหน้าที่จากสหภาพยุโรปมาดูระบบการจัดการและการควบคุมการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารที่ดีได้มาตรฐานสูงสุด ซึ่งเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในสหภาพยุโรปมากขึ้น เพื่อขยายโอกาสการส่งออกของประเทศไทย
สำหรับโครงการระบบเตือนภัยเร่งด่วนอาหารมนุษย์และอาหารสัตว์ (Rapid Alert System on Food and Feed — RASFF) ซึ่งเป็นโครงการที่สหภาพยุโรปดำเนินการประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่งในการเป็นกลไกการดำเนินงานที่สำคัญในระบบการควบคุมอาหารของสหภาพยุโรป ฝ่ายไทยเห็นว่าหากนำโครงการนี้มาประยุกต์ใช้จะสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคของไทย ซึ่งสหภาพยุโรปยินดีให้ความร่วมมือกับประเทศไทยในการจัดทำโครงการ RASFF นี้ และเห็นว่าควรจัดทำเป็นต้นแบบในภูมิภาคอาเซียน โดยมีประเทศเริ่มต้น 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม ให้ไทยเป็นศูนย์กลางของระบบนี้ ซึ่งจะสอดคล้องกับการดำเนินงานเครือข่ายความปลอดภัยด้านอาหารของอาเซียนที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการอยู่ ทั้งนี้ สหภาพยุโรปจะร่วมสนับสนุนด้านงบประมาณโครงการด้วย หากโครงการนี้ประสบผลสำเร็จในภูมิภาค จะได้ขยายผลเชื่อมต่อระบบเพื่อเตือนภัยระหว่างสหภาพยุโรปและอาเซียนต่อไป
3. เรื่องอื่น ๆ
3.1 การค้าสินค้าประมง
ปัจจุบันฝ่ายไทยได้ดำเนินโครงการนำร่องระบบตรวจสอบย้อนกลับสำหรับการผลิตกุ้ง ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างไทยและสหภาพยุโรป โครงการนี้จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคทั้งของไทยและสหภาพยุโรปและจะทำให้ไทยสามารถส่งออกกุ้งและผลิตภัณฑ์กุ้งไปยังสหภาพยุโรปมากขึ้น
3.2) โครงการเลี้ยงไก่และหมูระบบ Compartmentalization
ฝ่ายไทยได้แจ้งให้สหภาพยุโรปทราบว่าปัจจุบันฝ่ายไทยกำลังดำเนินโครงการเลี้ยงไก่และหมูระบบ Compartmentalization เพื่อจัดระบบเขตเฉพาะที่มี Biosecurity สูงสุด สามารถควบคุมป้องกันโรคได้จากภายนอก โดยฝ่ายไทยจะได้ออกประกาศระเบียบในเรื่องนี้และดำเนินการโครงการนำร่องเพื่อการเปิดตลาดสินค้าจาก Compartment ในระยะต่อไป
3.3) สินค้าเทคโนโลยีชีวภาพ (GMOs)
สองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในเรื่องสินค้าเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งฝ่ายไทยได้ชี้แจงข้อเท็จจริงว่าประเทศไทยยังไม่อนุญาตให้มีการปลูกพืช GMOs เชิงพาณิชย์แต่อย่างใด แต่อนุญาตให้มีการทดลองเพื่อการศึกษาและวิจัย สำหรับการติดฉลากนั้น ประเทศไทยได้ออกระเบียบการติดฉลากเพื่อให้สินค้าที่มีส่วนประกอบจากผลิตภัณฑ์ GMOs ในส่วนของสหภาพยุโรปได้ชี้แจงว่า ปัจจุบันอนุญาตให้มีการผลิต GMOs เชิงพาณิชย์ และต้องมีการติดฉลากภายใต้กฎระเบียบที่เข้มงวด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 15 พฤศจิกายน 2548--จบ--