ทำเนียบรัฐบาล--28 มี.ค.--รอยเตอร์
คณะรัฐมนตรีรับทราบกรณีกรมอุตุนิยมวิทยารายงานการโอนที่ตั้งและความรับผิดชอบหน่วยงานสนับสนุนทางวิชาการ (Technical Support Unit : TSU) ให้แก่กรมอุตุนิยมวิทยาของประเทศปากีสถาน ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
1. หน่วยงานสนับสนุนทางวิชาการ (TSU) เป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการพายุไซโคลนเขตร้อน ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกทั้งสิ้น 8 ประเทศ คือ บังคลาเทศ พม่า อินเดีย ปากีสถาน มัลดีฟส์ โอมาน ศรีลังกา และประเทศไทย
2. ประเทศสมาชิกคณะกรรมการพายุไซโคลนเขตร้อนจะหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพจัดตั้งหน่วยงาน TSU โดยไม่มีกฎหมายรองรับในการเป็นเจ้าภาพ เป็นเพียงธรรมเนียมที่ปฏิบัติต่อกันมา และไม่มีวาระในการเป็นเจ้าภาพ ทั้งนี้ จะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความพร้อมของแต่ละประเทศ ที่ผ่านมามีการหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพมาแล้ว 4 ประเทศ คือ อินเดีย ศรีลังกา บังคลาเทศ และประเทศไทย
3. การดำเนินการขอให้มีการหมุนเวียนการเป็นเจ้าภาพจัดตั้งหน่วยงาน TSU เป็นระบบหมุนเวียนเพื่อประโยชน์ของประเทศสมาชิก และเพื่อเป็นการสนองนโยบายของรัฐบาลตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2542 ที่ให้หน่วยงานราชการทบทวนสถานภาพการเป็นสมาชิกองค์กรหรือสถาบันระหว่างประเทศ กรมอุตุนิยมวิทยาจึงได้แจ้งต่อประเทศสมาชิกคณะกรรมการพายุไซโคลนเขตร้อนให้มีการหมุนเวียนการเป็นเจ้าภาพ TSU และผู้แทน WMO ได้หารือเกี่ยวกับประเทศที่จะเป็นเจ้าภาพจัดตั้งหน่วยงาน TSU ต่อจากประเทศไทย สรุปว่าให้ประเทศที่ยังไม่เคยเป็นเจ้าภาพมาก่อนคือปากีสถาน รับไปพิจารณาและรัฐบาลปากีสถานได้ตกลงที่จะเป็นเจ้าภาพจัดตั้งหน่วยงาน TSU ต่อจากประเทศไทย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 28 มีนาคม 2543--
คณะรัฐมนตรีรับทราบกรณีกรมอุตุนิยมวิทยารายงานการโอนที่ตั้งและความรับผิดชอบหน่วยงานสนับสนุนทางวิชาการ (Technical Support Unit : TSU) ให้แก่กรมอุตุนิยมวิทยาของประเทศปากีสถาน ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
1. หน่วยงานสนับสนุนทางวิชาการ (TSU) เป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการพายุไซโคลนเขตร้อน ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกทั้งสิ้น 8 ประเทศ คือ บังคลาเทศ พม่า อินเดีย ปากีสถาน มัลดีฟส์ โอมาน ศรีลังกา และประเทศไทย
2. ประเทศสมาชิกคณะกรรมการพายุไซโคลนเขตร้อนจะหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพจัดตั้งหน่วยงาน TSU โดยไม่มีกฎหมายรองรับในการเป็นเจ้าภาพ เป็นเพียงธรรมเนียมที่ปฏิบัติต่อกันมา และไม่มีวาระในการเป็นเจ้าภาพ ทั้งนี้ จะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความพร้อมของแต่ละประเทศ ที่ผ่านมามีการหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพมาแล้ว 4 ประเทศ คือ อินเดีย ศรีลังกา บังคลาเทศ และประเทศไทย
3. การดำเนินการขอให้มีการหมุนเวียนการเป็นเจ้าภาพจัดตั้งหน่วยงาน TSU เป็นระบบหมุนเวียนเพื่อประโยชน์ของประเทศสมาชิก และเพื่อเป็นการสนองนโยบายของรัฐบาลตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2542 ที่ให้หน่วยงานราชการทบทวนสถานภาพการเป็นสมาชิกองค์กรหรือสถาบันระหว่างประเทศ กรมอุตุนิยมวิทยาจึงได้แจ้งต่อประเทศสมาชิกคณะกรรมการพายุไซโคลนเขตร้อนให้มีการหมุนเวียนการเป็นเจ้าภาพ TSU และผู้แทน WMO ได้หารือเกี่ยวกับประเทศที่จะเป็นเจ้าภาพจัดตั้งหน่วยงาน TSU ต่อจากประเทศไทย สรุปว่าให้ประเทศที่ยังไม่เคยเป็นเจ้าภาพมาก่อนคือปากีสถาน รับไปพิจารณาและรัฐบาลปากีสถานได้ตกลงที่จะเป็นเจ้าภาพจัดตั้งหน่วยงาน TSU ต่อจากประเทศไทย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 28 มีนาคม 2543--