ทำเนียบรัฐบาล--18 เม.ย--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2541 เกี่ยวกับเรื่อง มาตรการแก้ไขปัญหาของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) งวดที่ 1/2543 (ตุลาคม - ธันวาคม 2542) ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. การเพิ่มประสิทธิภาพในการหารายได้
1.1 การจัดเก็บค่าโดยสารและค่าระวางสินค้า มีรายได้การโดยสาร 945.60 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมาย จำนวน 44.40 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.48 และมีรายได้การสินค้า 394.8 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมาย จำนวน 27.20 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.45 รายได้ต่ำกว่าเป้าหมาย เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจยังตกต่ำ ผู้โดยสารและปริมาณขนส่งน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ ตลอดจนมีอุบัติเหตุรถตกรางและน้ำท่วมจึงต้องงดเดินขบวนรถจำนวนมาก ทำให้ขาดรายได้
1.2 การให้เอกชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการ รฟท. ได้ว่างจ้างเอกชนดำเนินงานแล้ว เช่น การรักษาความปลอดภัย การจ้างเหมาซักรีดเครื่องผ้า การทำความสะอาดกิจการรถเสบียงและการปรับปรุงพื้นที่สถานี เป็นต้น
1.3 การบริหารทรัพย์สิน มีรายได้จากการบริหารทรัพย์สิน 238.75 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมาย จำนวน 41.95 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 21.32 เนื่องจาก รฟท. ได้รับค่าเช่าและค่าธรรมเนียมจากผู้เช่าที่ดินรายใหม่เพิ่มขึ้น
1.4 ประสิทธิภาพในการใช้รถจักรและล้อเลื่อนที่มีอยู่ ทั้งในด้านการใช้งานและซ่อมบำรุง มีอัตราส่วนของรถจักรและล้อเลื่อนที่นำมาใช้งานได้จริง เปรียบเทียบกับเป้าหมายที่กำหนดที่สูงกว่าเป้าหมาย คือ รถจักร GEA,HID, ALS, GE, KP และรถสินค้า ส่วนที่ต่ำกว่าเป้าหมาย คือ รถดีเซลราง และรถโดยสาร เนื่องจากรถจักรมีอายุการใช้งานมานาน มีสภาพชำรุด และครบวาระที่จะซ่อมหนัก รวมทั้งรถอุบัติเหตุรอการซ่อมมีจำนวนมาก ประกอบกับปัญหาอะไหล่มีค่าใช้จ่ายสูงจนไม่อาจจัดหาได้ ดังนั้น รฟท. จึงได้แก้ปัญหาระยะสั้น โดยว่าจ้างซ่อมอุปกรณ์ต่าง ๆ
1.5 จัดทำต้นทุนการโดยสารและค่าขนส่งสินค้าที่เหมาะสม ได้จัดทำตารางการคำนวณต้นทุนด้านสินค้า ด้านโดยสารและธุรกรรมอื่น ๆ และกลุ่มค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเดินรถขนส่งและกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน ผลลัพธ์ที่ได้สามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณาปรับปรุงอัตราค่าโดยสารและค่าระวางที่เหมาะสมได้
2. การลดค่าใช้จ่าย
2.1 ด้านบุคลากร สามารถควบคุมให้อยู่ในกรอบที่กำหนดได้ โดยงดรับพนักงานใหม่ยกเว้นตำแหน่งที่เกี่ยวกับการเดินรถและที่ใช้คุณวุฒิพิเศษ งดแต่งตั้งในตำแหน่งที่ว่าง พร้อมทั้งลดลูกจ้างในจำนวนที่เหมาะสม ส่วนการยุบอัตราพนักงานที่เกษียณอายุยังไม่สามารถยกเลิกได้ทุกอัตรา เนื่องจากบางอัตรายังมีความจำเป็นที่ต้องคงไว้ ปัจจุบันมีพนักงาน 18,448 คน และลูกจ้าง 3,599 คน
2.2 อัตราเงินเดือนประจำปี ให้ขึ้นได้ไม่เกินร้อยละ 4.83 ของจำนวนเงินเดือนของผู้มีสิทธิ์เลื่อนขั้นประจำปี และอนุมัติให้ รฟท. เลื่อนขั้นเงินเดือนตามระบบแรงจูงใจเช่นเดียวกับรัฐวิสาหกิจอื่น ตามระบบประเมินผลสำหรับการเลื่อนขั้นเงินเดือนของปี 2543 เป็นต้นไป
2.3 การปรับโครงสร้างเงินเดือน ยังคงใช้บัญชีเดิมตามข้อบังคับ รฟท. ฉบับที่ 4.1 ลงวันที่ 10 สิงหาคม 2538
2.4 ระบบบำนาญ ยกเลิกระบบบำนาญสำหรับพนักงานใหม่ โดยเสนอขอจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงาน โดยแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ รฟท. ฉบับที่ 49 ว่าด้วยกองทุนผู้ปฏิบัติงานของ รฟท. กำหนดให้ผู้ปฎิบัติงานที่ได้รับการบรรจุหลังวันที่ 24 พฤศจิกายน 2542 ได้รับเงินสงเคราะห์ครั้งเดียวเท่านั้น
2.5 การลดค่าใช้จ่ายพนักงานบำนาญ อยู่ระหว่างการพิจารณาของกระทรวงการคลัง และ รฟท. กำลังพิจารณาเพิ่มผลตอบแทนเพื่อเป็นการจูงใจพนักงานที่เกษียณอายุและลาออกก่อนเกษียณ
2.6 การประหยัดดอกเบี้ยจ่าย ได้เร่งดำเนินการปิดบัญชีงบการเงินประจำปี 2542 ให้แล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2542 เพื่อให้สำนักงบประมาณตั้งงบประมาณอุดหนุนได้ตามกำหนด และได้นำงบการเงินฯ เสนอสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเรียบร้อยแล้ว
2.7 การปรับลดการเดินขบวนรถโดยสาร ยกเลิกเดินขบวนรถโดยสารแล้ว 18 ขบวน ในช่วงเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2541 ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อขอยกเลิกอีก 24 ขบวน และพิจารณารายละเอียดเพื่อขอทบทวนเป้าหมายการปรับลดการเดินขบวนรถโดยสาร (50 ขบวน) ใหม่
2.8 การปรับปรุงระบบการบริหารพัสดุคงคลัง ได้พิจารณาแก้ไขระเบียบการจ้าง พ.ศ. 2527 และระเบียบการพัสดุ พ.ศ. 2533 ของ รฟท. ให้สอดคล้องกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ ยังได้ปรับปรุงระบบการบริหารพัสดุเพื่อเป็นกรอบดำเนินการควบคุมพัสดุของ รฟท. ไว้ด้วย
2.9 การกำหนดแบบรถจักร ล้อเลื่อน ได้กำหนดแบบของรถจักรและล้อเลื่อนที่เป็นมาตรฐานของ รฟท. โดยผู้ผลิตจะต้องผลิตตามมาตรฐานที่กำหนด และจัดให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อเป็นการประหยัดและใช้ประโยชน์สูงสุด
3. การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและลดภาระการลงทุนของ รฟท. และรัฐบาล สามารถดำเนินการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในด้านต่าง ๆ ได้ดังนี้
3.1 บริหารย่านสถานีขนถ่ายสินค้า ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบการขนส่งคอนเทนเนอร์ และบริษัทที่ปรึกษาได้จัดส่งรายงานฉบับสมบูรณ์แล้ว และ รฟท. ได้ศึกษาในรายละเอียดเพิ่มเติมในส่วนของการจัดตั้งสถานีขนส่งคอนเทนเนอร์ โดยเฉพาะการคาดคะเนปริมาณขนส่งสินค้าที่ ICD แห่งใหม่ และ CT รวมทั้งเสนอรายงานการศึกษาดังกล่าวให้คณะกรรมการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก (กพอ.) พิจารณาให้ความเห็นด้วย ขณะเดียวกัน รฟท. ได้เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายปี 2543 เพิ่มเติม เพื่อว่าจ้างที่ปรึกษาสำรวจออกแบบ งานศึกษาความเหมาะสมของโครงการขยายย่านสถานี ICD ลาดกระบัง และโครงการก่อสร้างสถานี ICD แห่งที่ 2 ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงบประมาณ
3.2 เดินขบวนรถโดยสาร กำหนดให้เริ่มดำเนินการปี 2544 ได้จำหน่ายเอกสารประกาศเชิญชวน มีผู้สนใจซื้อเอกสาร 6 ราย แต่ไม่มีรายใดยื่นซองข้อเสนอ จึงระงับการดำเนินกงานตามแผนไว้ก่อน
3.3 เดินขบวนรถสินค้าเพิ่มขึ้น กำหนดให้เริ่มดำเนินการปี 2544 ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการของ รฟท.
3.4 ซ่อมบำรุงรถจักรและล้อเลื่อน เริ่มจ้างเอกชนซ่อมบำรุงรักษารถจักรล้อเลื่อนเมื่อปี 2541 เป็นต้นมา โดยระหว่างเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2542 ได้ดำเนินการแล้ว จำนวน 9.38 ล้านบาท ขณะนี้กำลังเร่งดำเนินการส่วนที่เหลือ นอกจากนี้ รฟท. ได้จัดทำแผนงานจ้างเอกชนซ่อมรถจักรดีเซลไฟฟ้า HID และ GEA ในลักษณะ Full Service ตามผลการศึกษาเรื่องการร่วมกับภาคเอกชนซ่อมรถจักรดีเซลของบริษัทที่ปรึกษา
3.5 ซ่อมบำรุงด้านโยธา และอาณัติสัญญาณ เริ่มจ้างเอกชนร่วมดำเนินการซ่อมบำรุงด้านโยธา และอาณัติสัญญาณ ตั้งแต่ปี 2541 และปี 2543 มีเป้าหมายว่าจ้างซ่อมฯ จำนวน 363.90 ล้านบาท โดยระหว่างเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2542 ได้ดำเนินการแล้ว จำนวน 86.90 ล้านบาท
3.6 แก้ไขพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้มีผลบังคับใช้ภายในปี 2543 เพื่อให้สามารถจัดตั้งบริษัทลูกได้และเสนอร่างแก้ไขให้ ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
4. การกำหนดบทบาทของ รฟท. ให้ชัดเจน ได้ดำเนินการตามแผนการปรับปรุงโครงการสร้างใหม่ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2543 เป็นต้นไป ซึ่งมีผลการดำเนินงาน ดังนี้คือ ได้จ้างมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ทำการศึกษาด้านการเงินระยะสั้น และคณะกรรมการกำกับการศึกษาได้ตรวจรับรายงานผลการศึกษาแล้ว นอกจากนี้ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการปรับปรุงโครงสร้าง รฟท. โดยมีรองปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธานกรรมการจัดทำแผนการดำเนินงานปรับปรุงโครงสร้างเพื่อพิจารณาจัดทำข้อกำหนด คัดเลือกและดำเนินการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา เพื่อศึกษาแผนกลยุทธ์ในการปรับโครงสร้าง รฟท. ให้เหมาะสม โดยให้เอกชนมีส่วนร่วมในธุรกิจรถไฟมากขึ้น ซึ่งธนาคารโลกให้ความเห็นชอบและลงนามในสัญญาว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาดังกล่าวเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2543 มีระยะเวลาดำเนินการ 8 เดือน
5. การรายงานผลการปฏิบัติงาน ผลการดำเนินงาน งวดที่ 1/2543 (ตุลาคม - ธันวาคม 2542) ดำเนินการได้ร้อยละ 84 ของเป้าหมายที่กำหนดในงวดเดียวกัน และตั้งแต่เริ่มดำเนินงาน (กรกฎาคม 2541) จนถึง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2542 ดำเนินการได้คิดเป็นร้อยละ 87
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 18 เมษายน 2543--
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2541 เกี่ยวกับเรื่อง มาตรการแก้ไขปัญหาของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) งวดที่ 1/2543 (ตุลาคม - ธันวาคม 2542) ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. การเพิ่มประสิทธิภาพในการหารายได้
1.1 การจัดเก็บค่าโดยสารและค่าระวางสินค้า มีรายได้การโดยสาร 945.60 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมาย จำนวน 44.40 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.48 และมีรายได้การสินค้า 394.8 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมาย จำนวน 27.20 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.45 รายได้ต่ำกว่าเป้าหมาย เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจยังตกต่ำ ผู้โดยสารและปริมาณขนส่งน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ ตลอดจนมีอุบัติเหตุรถตกรางและน้ำท่วมจึงต้องงดเดินขบวนรถจำนวนมาก ทำให้ขาดรายได้
1.2 การให้เอกชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการ รฟท. ได้ว่างจ้างเอกชนดำเนินงานแล้ว เช่น การรักษาความปลอดภัย การจ้างเหมาซักรีดเครื่องผ้า การทำความสะอาดกิจการรถเสบียงและการปรับปรุงพื้นที่สถานี เป็นต้น
1.3 การบริหารทรัพย์สิน มีรายได้จากการบริหารทรัพย์สิน 238.75 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมาย จำนวน 41.95 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 21.32 เนื่องจาก รฟท. ได้รับค่าเช่าและค่าธรรมเนียมจากผู้เช่าที่ดินรายใหม่เพิ่มขึ้น
1.4 ประสิทธิภาพในการใช้รถจักรและล้อเลื่อนที่มีอยู่ ทั้งในด้านการใช้งานและซ่อมบำรุง มีอัตราส่วนของรถจักรและล้อเลื่อนที่นำมาใช้งานได้จริง เปรียบเทียบกับเป้าหมายที่กำหนดที่สูงกว่าเป้าหมาย คือ รถจักร GEA,HID, ALS, GE, KP และรถสินค้า ส่วนที่ต่ำกว่าเป้าหมาย คือ รถดีเซลราง และรถโดยสาร เนื่องจากรถจักรมีอายุการใช้งานมานาน มีสภาพชำรุด และครบวาระที่จะซ่อมหนัก รวมทั้งรถอุบัติเหตุรอการซ่อมมีจำนวนมาก ประกอบกับปัญหาอะไหล่มีค่าใช้จ่ายสูงจนไม่อาจจัดหาได้ ดังนั้น รฟท. จึงได้แก้ปัญหาระยะสั้น โดยว่าจ้างซ่อมอุปกรณ์ต่าง ๆ
1.5 จัดทำต้นทุนการโดยสารและค่าขนส่งสินค้าที่เหมาะสม ได้จัดทำตารางการคำนวณต้นทุนด้านสินค้า ด้านโดยสารและธุรกรรมอื่น ๆ และกลุ่มค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเดินรถขนส่งและกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน ผลลัพธ์ที่ได้สามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณาปรับปรุงอัตราค่าโดยสารและค่าระวางที่เหมาะสมได้
2. การลดค่าใช้จ่าย
2.1 ด้านบุคลากร สามารถควบคุมให้อยู่ในกรอบที่กำหนดได้ โดยงดรับพนักงานใหม่ยกเว้นตำแหน่งที่เกี่ยวกับการเดินรถและที่ใช้คุณวุฒิพิเศษ งดแต่งตั้งในตำแหน่งที่ว่าง พร้อมทั้งลดลูกจ้างในจำนวนที่เหมาะสม ส่วนการยุบอัตราพนักงานที่เกษียณอายุยังไม่สามารถยกเลิกได้ทุกอัตรา เนื่องจากบางอัตรายังมีความจำเป็นที่ต้องคงไว้ ปัจจุบันมีพนักงาน 18,448 คน และลูกจ้าง 3,599 คน
2.2 อัตราเงินเดือนประจำปี ให้ขึ้นได้ไม่เกินร้อยละ 4.83 ของจำนวนเงินเดือนของผู้มีสิทธิ์เลื่อนขั้นประจำปี และอนุมัติให้ รฟท. เลื่อนขั้นเงินเดือนตามระบบแรงจูงใจเช่นเดียวกับรัฐวิสาหกิจอื่น ตามระบบประเมินผลสำหรับการเลื่อนขั้นเงินเดือนของปี 2543 เป็นต้นไป
2.3 การปรับโครงสร้างเงินเดือน ยังคงใช้บัญชีเดิมตามข้อบังคับ รฟท. ฉบับที่ 4.1 ลงวันที่ 10 สิงหาคม 2538
2.4 ระบบบำนาญ ยกเลิกระบบบำนาญสำหรับพนักงานใหม่ โดยเสนอขอจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงาน โดยแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ รฟท. ฉบับที่ 49 ว่าด้วยกองทุนผู้ปฏิบัติงานของ รฟท. กำหนดให้ผู้ปฎิบัติงานที่ได้รับการบรรจุหลังวันที่ 24 พฤศจิกายน 2542 ได้รับเงินสงเคราะห์ครั้งเดียวเท่านั้น
2.5 การลดค่าใช้จ่ายพนักงานบำนาญ อยู่ระหว่างการพิจารณาของกระทรวงการคลัง และ รฟท. กำลังพิจารณาเพิ่มผลตอบแทนเพื่อเป็นการจูงใจพนักงานที่เกษียณอายุและลาออกก่อนเกษียณ
2.6 การประหยัดดอกเบี้ยจ่าย ได้เร่งดำเนินการปิดบัญชีงบการเงินประจำปี 2542 ให้แล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2542 เพื่อให้สำนักงบประมาณตั้งงบประมาณอุดหนุนได้ตามกำหนด และได้นำงบการเงินฯ เสนอสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเรียบร้อยแล้ว
2.7 การปรับลดการเดินขบวนรถโดยสาร ยกเลิกเดินขบวนรถโดยสารแล้ว 18 ขบวน ในช่วงเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2541 ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อขอยกเลิกอีก 24 ขบวน และพิจารณารายละเอียดเพื่อขอทบทวนเป้าหมายการปรับลดการเดินขบวนรถโดยสาร (50 ขบวน) ใหม่
2.8 การปรับปรุงระบบการบริหารพัสดุคงคลัง ได้พิจารณาแก้ไขระเบียบการจ้าง พ.ศ. 2527 และระเบียบการพัสดุ พ.ศ. 2533 ของ รฟท. ให้สอดคล้องกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ ยังได้ปรับปรุงระบบการบริหารพัสดุเพื่อเป็นกรอบดำเนินการควบคุมพัสดุของ รฟท. ไว้ด้วย
2.9 การกำหนดแบบรถจักร ล้อเลื่อน ได้กำหนดแบบของรถจักรและล้อเลื่อนที่เป็นมาตรฐานของ รฟท. โดยผู้ผลิตจะต้องผลิตตามมาตรฐานที่กำหนด และจัดให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อเป็นการประหยัดและใช้ประโยชน์สูงสุด
3. การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและลดภาระการลงทุนของ รฟท. และรัฐบาล สามารถดำเนินการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในด้านต่าง ๆ ได้ดังนี้
3.1 บริหารย่านสถานีขนถ่ายสินค้า ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบการขนส่งคอนเทนเนอร์ และบริษัทที่ปรึกษาได้จัดส่งรายงานฉบับสมบูรณ์แล้ว และ รฟท. ได้ศึกษาในรายละเอียดเพิ่มเติมในส่วนของการจัดตั้งสถานีขนส่งคอนเทนเนอร์ โดยเฉพาะการคาดคะเนปริมาณขนส่งสินค้าที่ ICD แห่งใหม่ และ CT รวมทั้งเสนอรายงานการศึกษาดังกล่าวให้คณะกรรมการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก (กพอ.) พิจารณาให้ความเห็นด้วย ขณะเดียวกัน รฟท. ได้เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายปี 2543 เพิ่มเติม เพื่อว่าจ้างที่ปรึกษาสำรวจออกแบบ งานศึกษาความเหมาะสมของโครงการขยายย่านสถานี ICD ลาดกระบัง และโครงการก่อสร้างสถานี ICD แห่งที่ 2 ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงบประมาณ
3.2 เดินขบวนรถโดยสาร กำหนดให้เริ่มดำเนินการปี 2544 ได้จำหน่ายเอกสารประกาศเชิญชวน มีผู้สนใจซื้อเอกสาร 6 ราย แต่ไม่มีรายใดยื่นซองข้อเสนอ จึงระงับการดำเนินกงานตามแผนไว้ก่อน
3.3 เดินขบวนรถสินค้าเพิ่มขึ้น กำหนดให้เริ่มดำเนินการปี 2544 ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการของ รฟท.
3.4 ซ่อมบำรุงรถจักรและล้อเลื่อน เริ่มจ้างเอกชนซ่อมบำรุงรักษารถจักรล้อเลื่อนเมื่อปี 2541 เป็นต้นมา โดยระหว่างเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2542 ได้ดำเนินการแล้ว จำนวน 9.38 ล้านบาท ขณะนี้กำลังเร่งดำเนินการส่วนที่เหลือ นอกจากนี้ รฟท. ได้จัดทำแผนงานจ้างเอกชนซ่อมรถจักรดีเซลไฟฟ้า HID และ GEA ในลักษณะ Full Service ตามผลการศึกษาเรื่องการร่วมกับภาคเอกชนซ่อมรถจักรดีเซลของบริษัทที่ปรึกษา
3.5 ซ่อมบำรุงด้านโยธา และอาณัติสัญญาณ เริ่มจ้างเอกชนร่วมดำเนินการซ่อมบำรุงด้านโยธา และอาณัติสัญญาณ ตั้งแต่ปี 2541 และปี 2543 มีเป้าหมายว่าจ้างซ่อมฯ จำนวน 363.90 ล้านบาท โดยระหว่างเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2542 ได้ดำเนินการแล้ว จำนวน 86.90 ล้านบาท
3.6 แก้ไขพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้มีผลบังคับใช้ภายในปี 2543 เพื่อให้สามารถจัดตั้งบริษัทลูกได้และเสนอร่างแก้ไขให้ ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
4. การกำหนดบทบาทของ รฟท. ให้ชัดเจน ได้ดำเนินการตามแผนการปรับปรุงโครงการสร้างใหม่ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2543 เป็นต้นไป ซึ่งมีผลการดำเนินงาน ดังนี้คือ ได้จ้างมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ทำการศึกษาด้านการเงินระยะสั้น และคณะกรรมการกำกับการศึกษาได้ตรวจรับรายงานผลการศึกษาแล้ว นอกจากนี้ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการปรับปรุงโครงสร้าง รฟท. โดยมีรองปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธานกรรมการจัดทำแผนการดำเนินงานปรับปรุงโครงสร้างเพื่อพิจารณาจัดทำข้อกำหนด คัดเลือกและดำเนินการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา เพื่อศึกษาแผนกลยุทธ์ในการปรับโครงสร้าง รฟท. ให้เหมาะสม โดยให้เอกชนมีส่วนร่วมในธุรกิจรถไฟมากขึ้น ซึ่งธนาคารโลกให้ความเห็นชอบและลงนามในสัญญาว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาดังกล่าวเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2543 มีระยะเวลาดำเนินการ 8 เดือน
5. การรายงานผลการปฏิบัติงาน ผลการดำเนินงาน งวดที่ 1/2543 (ตุลาคม - ธันวาคม 2542) ดำเนินการได้ร้อยละ 84 ของเป้าหมายที่กำหนดในงวดเดียวกัน และตั้งแต่เริ่มดำเนินงาน (กรกฎาคม 2541) จนถึง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2542 ดำเนินการได้คิดเป็นร้อยละ 87
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 18 เมษายน 2543--