ทำเนียบรัฐบาล--14 พ.ย..--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้รายงานการแก้ไขปัญหาแรงงาน บริษัท ไทยเกรียงสิ่งทอ จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยเอโร่ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยเอโร่ การ์เม้นต์ จำกัด เพิ่มเติมสรุปได้ดังนี้
1. กรณี บริษัท ไทยเกรียงสิ่งทอ จำกัด (มหาชน)
หลังจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้ใช้อำนาจตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 สั่งให้ลูกจ้างที่นัดหยุดงานกลับเข้าทำงานและให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน ซึ่งนายจ้างได้รับลูกจ้างเข้าทำงานเฉพาะผู้ที่นายจ้างยังไม่ได้เลิกจ้าง ส่วนลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างจำนวน 390 คน ไม่รับเข้าทำงาน นั้น
การดำเนินการ
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหา ดังนี้
1. พยายามติดต่อประสานงานกับนายจ้างให้มีการเจรจาเพื่อให้นายจ้างรับลูกจ้างจำนวน 390 คน กลับเข้าทำงานทั้งหมด หรือขอให้นายจ้างจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ลูกจ้างที่บริษัทฯ ไม่รับกลับเข้าทำงาน ซึ่งวิธีการดังกล่าวนายจ้างและลูกจ้างจะได้ยุติปัญหาการฟ้องร้องคดีต่อกันทั้งทางแพ่ง และทางอาญา โดยได้นัดนายจ้างให้มาเจรจาในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2543 ปรากฏว่านายจ้างไม่มาเจรจาตามนัด ซึ่งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้นัดใหม่ในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2543 เพื่อให้ได้ข้อยุติ แต่ปรากฏว่านายจ้างไม่มาเจรจาตามนัด ซึ่งเจ้าหน้าที่จะได้ประสานงานให้มีการเจรจาต่อไป
2. นอกเหนือจากการเจรจาเพื่อยุติปัญหาตามข้อ 1 แล้ว ขณะนี้ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างจำนวน 390 คน ได้ส่งผู้แทนไปขอความช่วยเหลือจากสภาทนายความ เพื่อฟ้องร้องนายจ้างต่อศาลแรงงานกลาง กรณีที่ไม่รับกลับเข้าทำงาน และเลิกจ้างโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
3. จำนวนลูกจ้างที่ไม่ถูกเลิกจ้างได้ไปรายงานตัวเข้าทำงาน และนายจ้างรับเข้าทำงานถึงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2543 รวมทั้งสิ้น 585 คน นายจ้างได้จัดให้เข้าทำงาน 137 คน ส่วนที่เหลือให้รออยู่ที่โรงอาหาร และจะทยอยจัดให้เข้าทำงานทุกคนต่อไป
2. กรณี บริษัท ไทยเอโร่ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยเอโร่ การ์เม้นต์ จำกัด
2.1 วันที่ 7 พฤศจิกายน 2543 กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม โดยกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้จ่ายเงินสงเคราะห์ให้กับลูกจ้างบริษัททั้งสองเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน จำนวน 1,016 คน ๆ ละ 4,860 บาท รวมเป็นเงิน 4,937,760 บาท
2.2 วันที่ 10 พฤศจิกายน 2543 บริษัททั้งสองได้จ่ายเงินค่าชดเชยเพิ่มเติมให้กับลูกจ้างทั้งสองบริษัทอีกคนละ 2,000 บาท โดยจ่ายให้กับลูกจ้างที่ชุมนุมอยู่ที่บริษัทส่วนหนึ่ง และจ่ายให้กับลูกจ้างที่ชุมนุมภายในกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ส่วนหนึ่งเป็นเงินรวม 2,078,000 บาท โดยเงินที่บริษัทฯ นำมาจ่ายนั้นเป็นเงินได้มาจากการขายเสื้อผ้าในสต๊อกของบริษัทฯ รวมเป็นเงินค่าชดเชยที่บริษัทฯ ได้จ่ายไปแล้วทั้งสิ้น 25,622,257 บาท ยังคงเหลือเงินค่าชดเชยที่ค้างจ่ายอีกเป็นเงินทั้งสิ้น 40,607,160 บาท
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมจะได้ดำเนินการเพื่อให้ได้ข้อยุติในปัญหาแรงงานทั้งสามบริษัทฯ ผลเป็นประการใดจะรายงานให้ทราบต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 14 พ.ย. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้รายงานการแก้ไขปัญหาแรงงาน บริษัท ไทยเกรียงสิ่งทอ จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยเอโร่ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยเอโร่ การ์เม้นต์ จำกัด เพิ่มเติมสรุปได้ดังนี้
1. กรณี บริษัท ไทยเกรียงสิ่งทอ จำกัด (มหาชน)
หลังจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้ใช้อำนาจตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 สั่งให้ลูกจ้างที่นัดหยุดงานกลับเข้าทำงานและให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน ซึ่งนายจ้างได้รับลูกจ้างเข้าทำงานเฉพาะผู้ที่นายจ้างยังไม่ได้เลิกจ้าง ส่วนลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างจำนวน 390 คน ไม่รับเข้าทำงาน นั้น
การดำเนินการ
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหา ดังนี้
1. พยายามติดต่อประสานงานกับนายจ้างให้มีการเจรจาเพื่อให้นายจ้างรับลูกจ้างจำนวน 390 คน กลับเข้าทำงานทั้งหมด หรือขอให้นายจ้างจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ลูกจ้างที่บริษัทฯ ไม่รับกลับเข้าทำงาน ซึ่งวิธีการดังกล่าวนายจ้างและลูกจ้างจะได้ยุติปัญหาการฟ้องร้องคดีต่อกันทั้งทางแพ่ง และทางอาญา โดยได้นัดนายจ้างให้มาเจรจาในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2543 ปรากฏว่านายจ้างไม่มาเจรจาตามนัด ซึ่งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้นัดใหม่ในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2543 เพื่อให้ได้ข้อยุติ แต่ปรากฏว่านายจ้างไม่มาเจรจาตามนัด ซึ่งเจ้าหน้าที่จะได้ประสานงานให้มีการเจรจาต่อไป
2. นอกเหนือจากการเจรจาเพื่อยุติปัญหาตามข้อ 1 แล้ว ขณะนี้ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างจำนวน 390 คน ได้ส่งผู้แทนไปขอความช่วยเหลือจากสภาทนายความ เพื่อฟ้องร้องนายจ้างต่อศาลแรงงานกลาง กรณีที่ไม่รับกลับเข้าทำงาน และเลิกจ้างโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
3. จำนวนลูกจ้างที่ไม่ถูกเลิกจ้างได้ไปรายงานตัวเข้าทำงาน และนายจ้างรับเข้าทำงานถึงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2543 รวมทั้งสิ้น 585 คน นายจ้างได้จัดให้เข้าทำงาน 137 คน ส่วนที่เหลือให้รออยู่ที่โรงอาหาร และจะทยอยจัดให้เข้าทำงานทุกคนต่อไป
2. กรณี บริษัท ไทยเอโร่ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยเอโร่ การ์เม้นต์ จำกัด
2.1 วันที่ 7 พฤศจิกายน 2543 กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม โดยกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้จ่ายเงินสงเคราะห์ให้กับลูกจ้างบริษัททั้งสองเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน จำนวน 1,016 คน ๆ ละ 4,860 บาท รวมเป็นเงิน 4,937,760 บาท
2.2 วันที่ 10 พฤศจิกายน 2543 บริษัททั้งสองได้จ่ายเงินค่าชดเชยเพิ่มเติมให้กับลูกจ้างทั้งสองบริษัทอีกคนละ 2,000 บาท โดยจ่ายให้กับลูกจ้างที่ชุมนุมอยู่ที่บริษัทส่วนหนึ่ง และจ่ายให้กับลูกจ้างที่ชุมนุมภายในกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ส่วนหนึ่งเป็นเงินรวม 2,078,000 บาท โดยเงินที่บริษัทฯ นำมาจ่ายนั้นเป็นเงินได้มาจากการขายเสื้อผ้าในสต๊อกของบริษัทฯ รวมเป็นเงินค่าชดเชยที่บริษัทฯ ได้จ่ายไปแล้วทั้งสิ้น 25,622,257 บาท ยังคงเหลือเงินค่าชดเชยที่ค้างจ่ายอีกเป็นเงินทั้งสิ้น 40,607,160 บาท
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมจะได้ดำเนินการเพื่อให้ได้ข้อยุติในปัญหาแรงงานทั้งสามบริษัทฯ ผลเป็นประการใดจะรายงานให้ทราบต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 14 พ.ย. 2543--
-สส-