ทำเนียบรัฐบาล--29 ส.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการขอทำ Refinance เงินกู้ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยอนุมัติให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กู้เงินในประเทศโดยการออกพันธบัตร อายุระหว่าง 3 - 5 ปี เพื่อทำ Refinance ทดแทนเงินกู้ต่างประเทศ และให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาเงื่อนไข และรายละเอียดต่าง ๆ ของการกู้เงิน ตลอดจนการค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ยจากการกู้เงินดังกล่าว
รายการเงินกู้ต่างประเทศที่ กฟผ. จะทำ Refinance โดยการกู้เงินในประเทศ มีดังนี้
1. เงินกู้เงินเยนจาก Japan Bank for International Cooperation (JBIC) จำนวน 13,842 ล้านเยน กำหนดชำระคืนวันที่ 30 พฤษภาคม 2543
2. เงินกู้เงินเหรียญสหรัฐจากธนาคารพัฒนาเอเชีย ธนาคารโลก และสถาบันผู้ให้เงินกู้ในรูปสินเชื่อเพื่อการส่งออกจากประเทศแคนาดา จำนวน 6.06 ล้านเหรียญสหรัฐฯ กำหนดชำระคืนวันที่ 17 กรกฎาคม 2543 และจำนวน 3.20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ กำหนดชำระคืนวันที่ 21 สิงหาคม 2543
3. เงินกู้สกุลเงินฟรังค์ในรูปสินเชื่อเพื่อการส่งออกจากประเทศฝรั่งเศส จำนวน 1.46 ล้านฟรังค์ กำหนดชำระคืนวันที่ 27 กรกฎาคม 2543 และจำนวน 0.01 ล้านฟรังค์ ที่กำหนดชำระคืนวันที่ 27 พฤศจิกายน 2543
การขอทำ Refinance หนี้เงินกู้ต่างประเทศของ กฟผ. เป็นการขอกู้เงินใหม่ในรูปสกุลเงินบาทเพื่อนำมาชำระหนี้เงินกู้ต่างประเทศเดิมที่มีต้นสูง เพื่อเป็นการลดต้นทุนเงินกู้ เนื่องจากขณะนี้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ และเพื่อลดภาระหนี้เงินตราต่างประเทศที่มีอยู่สูงถึงประมาณร้อยละ 68 ของหนี้ทั้งหมด แต่โดยที่ภายใต้แผนก่อหนี้จากต่างประเทศประจำปี 2543 คณะกรรมการนโยบายหนี้ของประเทศได้อนุมัติในหลักการให้กู้เงินในประเทศเพื่อทดแทนการกู้เงินจากต่างประเทศในวงเงิน 20,000 ล้านบาท และปัจจุบัน กฟผ. ได้มีวงเงินกู้ทดแทนที่ได้รับอนุมัติไว้แล้วเป็นจำนวนประมาณ 13,882 ล้านบาท ดังนั้นจึงยังคงเหลือวงเงินกู้ทดแทนที่ กฟผ. จะสามารถทำ Refinance เงินกู้ต่างประเทศในรูปสกุลเงินบาทได้อีกจำนวนไม่เกิน 6,118 ล้านบาท และการทำ Refinance ทดแทนเงินกู้ต่างประเทศในครั้งนี้ จะทำให้ กฟผ. สามารถประหยัดต้นทุนการกู้เงินได้ประมาณ 1,048 ล้านบาท อีกทั้งเพื่อเป็นการลดภาระหนี้เงินตราต่างประเทศที่มีอยู่ค่อนข้างสูงให้สอดคล้องกับสินทรัพย์และรายได้ของ กฟผ. ที่มีเป็นเงินบาทเท่านั้น เพื่อลดภาระความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ จึงเห็นชอบให้ กฟผ. กู้เงินในประเทศเพื่อทำ Refinance ทดแทนเงินกู้ต่างประเทศที่มีต้นทุนสูง ทั้งนี้ ให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติในการดำเนินการกู้เงินบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 29 ส.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการขอทำ Refinance เงินกู้ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยอนุมัติให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กู้เงินในประเทศโดยการออกพันธบัตร อายุระหว่าง 3 - 5 ปี เพื่อทำ Refinance ทดแทนเงินกู้ต่างประเทศ และให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาเงื่อนไข และรายละเอียดต่าง ๆ ของการกู้เงิน ตลอดจนการค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ยจากการกู้เงินดังกล่าว
รายการเงินกู้ต่างประเทศที่ กฟผ. จะทำ Refinance โดยการกู้เงินในประเทศ มีดังนี้
1. เงินกู้เงินเยนจาก Japan Bank for International Cooperation (JBIC) จำนวน 13,842 ล้านเยน กำหนดชำระคืนวันที่ 30 พฤษภาคม 2543
2. เงินกู้เงินเหรียญสหรัฐจากธนาคารพัฒนาเอเชีย ธนาคารโลก และสถาบันผู้ให้เงินกู้ในรูปสินเชื่อเพื่อการส่งออกจากประเทศแคนาดา จำนวน 6.06 ล้านเหรียญสหรัฐฯ กำหนดชำระคืนวันที่ 17 กรกฎาคม 2543 และจำนวน 3.20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ กำหนดชำระคืนวันที่ 21 สิงหาคม 2543
3. เงินกู้สกุลเงินฟรังค์ในรูปสินเชื่อเพื่อการส่งออกจากประเทศฝรั่งเศส จำนวน 1.46 ล้านฟรังค์ กำหนดชำระคืนวันที่ 27 กรกฎาคม 2543 และจำนวน 0.01 ล้านฟรังค์ ที่กำหนดชำระคืนวันที่ 27 พฤศจิกายน 2543
การขอทำ Refinance หนี้เงินกู้ต่างประเทศของ กฟผ. เป็นการขอกู้เงินใหม่ในรูปสกุลเงินบาทเพื่อนำมาชำระหนี้เงินกู้ต่างประเทศเดิมที่มีต้นสูง เพื่อเป็นการลดต้นทุนเงินกู้ เนื่องจากขณะนี้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ และเพื่อลดภาระหนี้เงินตราต่างประเทศที่มีอยู่สูงถึงประมาณร้อยละ 68 ของหนี้ทั้งหมด แต่โดยที่ภายใต้แผนก่อหนี้จากต่างประเทศประจำปี 2543 คณะกรรมการนโยบายหนี้ของประเทศได้อนุมัติในหลักการให้กู้เงินในประเทศเพื่อทดแทนการกู้เงินจากต่างประเทศในวงเงิน 20,000 ล้านบาท และปัจจุบัน กฟผ. ได้มีวงเงินกู้ทดแทนที่ได้รับอนุมัติไว้แล้วเป็นจำนวนประมาณ 13,882 ล้านบาท ดังนั้นจึงยังคงเหลือวงเงินกู้ทดแทนที่ กฟผ. จะสามารถทำ Refinance เงินกู้ต่างประเทศในรูปสกุลเงินบาทได้อีกจำนวนไม่เกิน 6,118 ล้านบาท และการทำ Refinance ทดแทนเงินกู้ต่างประเทศในครั้งนี้ จะทำให้ กฟผ. สามารถประหยัดต้นทุนการกู้เงินได้ประมาณ 1,048 ล้านบาท อีกทั้งเพื่อเป็นการลดภาระหนี้เงินตราต่างประเทศที่มีอยู่ค่อนข้างสูงให้สอดคล้องกับสินทรัพย์และรายได้ของ กฟผ. ที่มีเป็นเงินบาทเท่านั้น เพื่อลดภาระความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ จึงเห็นชอบให้ กฟผ. กู้เงินในประเทศเพื่อทำ Refinance ทดแทนเงินกู้ต่างประเทศที่มีต้นทุนสูง ทั้งนี้ ให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติในการดำเนินการกู้เงินบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 29 ส.ค. 2543--
-สส-