คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 (คกก. 5) เสนอเรื่อง การขายยางโครงการแทรกแซงตลาดยางพารา ซึ่งคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 5 มีมติเห็นชอบในหลักการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (องค์การสวนยาง) ระบายสต็อกยางพารา โดยให้ทบทวนมาตรการ วิธีการระบายเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด สรุปได้ดังนี้
1. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยองค์การสวนยาง (อสย.) เสนอขออนุมัติขายยางโครงการแทรกแซงตลาดยางพาราชั้น 3 - ชั้น 5 จำนวน 66,000 ตัน ในราคาตันละ 510 เหรียญสหรัฐ (51 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม) และยางคัตติ้งในราคาตันละ 311.80 เหรียญสหรัฐ โดยราคาดังกล่าวเป็นไปตามราคาที่คณะอนุกรรมการกำหนดราคาขายยางโครงการแทรกแซงตลาดยางพารากำหนด ซึ่งสูงกว่าราคากลางขั้นต่ำ
2. อนุกรรมการกำหนดราคาขายยางโครงการแทรกแซงตลาดยางพารา มีผู้อำนวยการ อสย. เป็นประธานผู้แทนกรมการค้าต่างประเทศ กรมการค้าภายใน และกรมวิชาการเกษตรเข้าร่วมเป็นกรรมการ โดยในการกำหนดราคาได้ปฏิบัติตามมติคณะกรรมการบริหารกิจการองค์การสวนยาง ซึ่งคณะอนุกรรมการการกำหนดราคาขายยางโครงการแทรกแซงตลาดยางพาราได้กำหนดกฎเกณฑ์และการบริหารการขายยางโครงการแทรกแซงตลาดยางพาราไว้ ดังนี้
2.1 ให้คณะอนุกรรมการกำหนดราคาขายยางโครงการแทรกแซงตลาดยางพารา กำหนดราคาขายตามกฎเกณฑ์และการบริหารการขายยาง
2.2 หากราคาเสนอซื้อเท่ากับหรือสูงกว่าราคากลางที่อนุกรรมการฯ กำหนด ให้เสนอคณะกรรมการบริหารกิจการของ อสย. เพื่อทราบ และให้ อสย. ขออนุมัติการขายยางต่อรัฐมนตรีว่าการหรือรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ได้รับมอบหมาย เพื่อทำสัญญาขายและส่งมอบยางต่อไป
ทั้งนี้ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (องค์การสวนยาง) รับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 ไปพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
1. การแทรกแซงราคายางพาราในอดีตเป็นแนวทางดำเนินการที่ส่งผลขาดทุนเป็นจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ในระยะต่อไปจำเป็นต้องปรับปรุงนโยบายและวิธีการแทรกแซงราคายางพาราใหม่ให้มีความเหมาะสมและมีเป้าหมายที่ชัดเจนเพื่อประโยชน์ในระยะยาว เช่น การแทรกแซงเพื่อเพิ่มคุณภาพ เพื่อการแปรรูป หรือเพื่อลดพื้นที่ปลูก เป็นต้น
2. ในการระบายสต็อกยางควรพิจารณาว่าจะส่งผลกระทบต่อตลาดภายในประเทศและตลาดโลกอย่างไรรวมทั้งจะส่งผลให้ผู้ซื้อต้องหยุดซื้อไปชั่วคราวหรือไม่
3. ในหลักการสมควรระบายสต็อกดังกล่าวออกไป แต่ไม่ควรดำเนินการในลักษณะเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ควรพิจารณาหาวิธีการและมาตรการทางเลือกอื่น ๆ เช่น การเจรจาขายแบบรัฐต่อรัฐ การขายตรงให้กับประเทศต่าง ๆ หรือการรวมกลุ่มกับประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม เพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรองเป็นต้น รวมทั้งควรที่จะได้มีการเร่งพิจารณาวางแผนแก้ไขปัญหานี้ในระยะยาวอย่างครบวงจรที่จะไม่ส่งผลกระทบต่อราคาในตลาดในภายหลัง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 10 เม.ย.2544
-สส-
1. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยองค์การสวนยาง (อสย.) เสนอขออนุมัติขายยางโครงการแทรกแซงตลาดยางพาราชั้น 3 - ชั้น 5 จำนวน 66,000 ตัน ในราคาตันละ 510 เหรียญสหรัฐ (51 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม) และยางคัตติ้งในราคาตันละ 311.80 เหรียญสหรัฐ โดยราคาดังกล่าวเป็นไปตามราคาที่คณะอนุกรรมการกำหนดราคาขายยางโครงการแทรกแซงตลาดยางพารากำหนด ซึ่งสูงกว่าราคากลางขั้นต่ำ
2. อนุกรรมการกำหนดราคาขายยางโครงการแทรกแซงตลาดยางพารา มีผู้อำนวยการ อสย. เป็นประธานผู้แทนกรมการค้าต่างประเทศ กรมการค้าภายใน และกรมวิชาการเกษตรเข้าร่วมเป็นกรรมการ โดยในการกำหนดราคาได้ปฏิบัติตามมติคณะกรรมการบริหารกิจการองค์การสวนยาง ซึ่งคณะอนุกรรมการการกำหนดราคาขายยางโครงการแทรกแซงตลาดยางพาราได้กำหนดกฎเกณฑ์และการบริหารการขายยางโครงการแทรกแซงตลาดยางพาราไว้ ดังนี้
2.1 ให้คณะอนุกรรมการกำหนดราคาขายยางโครงการแทรกแซงตลาดยางพารา กำหนดราคาขายตามกฎเกณฑ์และการบริหารการขายยาง
2.2 หากราคาเสนอซื้อเท่ากับหรือสูงกว่าราคากลางที่อนุกรรมการฯ กำหนด ให้เสนอคณะกรรมการบริหารกิจการของ อสย. เพื่อทราบ และให้ อสย. ขออนุมัติการขายยางต่อรัฐมนตรีว่าการหรือรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ได้รับมอบหมาย เพื่อทำสัญญาขายและส่งมอบยางต่อไป
ทั้งนี้ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (องค์การสวนยาง) รับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 ไปพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
1. การแทรกแซงราคายางพาราในอดีตเป็นแนวทางดำเนินการที่ส่งผลขาดทุนเป็นจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ในระยะต่อไปจำเป็นต้องปรับปรุงนโยบายและวิธีการแทรกแซงราคายางพาราใหม่ให้มีความเหมาะสมและมีเป้าหมายที่ชัดเจนเพื่อประโยชน์ในระยะยาว เช่น การแทรกแซงเพื่อเพิ่มคุณภาพ เพื่อการแปรรูป หรือเพื่อลดพื้นที่ปลูก เป็นต้น
2. ในการระบายสต็อกยางควรพิจารณาว่าจะส่งผลกระทบต่อตลาดภายในประเทศและตลาดโลกอย่างไรรวมทั้งจะส่งผลให้ผู้ซื้อต้องหยุดซื้อไปชั่วคราวหรือไม่
3. ในหลักการสมควรระบายสต็อกดังกล่าวออกไป แต่ไม่ควรดำเนินการในลักษณะเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ควรพิจารณาหาวิธีการและมาตรการทางเลือกอื่น ๆ เช่น การเจรจาขายแบบรัฐต่อรัฐ การขายตรงให้กับประเทศต่าง ๆ หรือการรวมกลุ่มกับประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม เพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรองเป็นต้น รวมทั้งควรที่จะได้มีการเร่งพิจารณาวางแผนแก้ไขปัญหานี้ในระยะยาวอย่างครบวงจรที่จะไม่ส่งผลกระทบต่อราคาในตลาดในภายหลัง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 10 เม.ย.2544
-สส-