ทำเนียบรัฐบาล--12 เม.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติเห็นชอบการแก้ไขปัญหาความยากจนในระยะยาว ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เสนอ ดังนี้
1. กรอบยุทธศาสตร์และแนวทางในการแก้ไขปัญหาความยากจนในระยะยาว ซึ่งประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์หลัก ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาเศรษฐกิจของคนจน ประกอบด้วย
1) แนวทางการส่งเสริมการทำมาหากินและระบบเศรษฐกิจของคนจน
2) แนวทางการปรับปรุงการถือครองและการใช้ประโยชน์ที่ดิน สิทธิในการจัดการทรัพยากร
3) แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การแก้ไขกลไกทางเศรษฐกิจที่บิดเบือนหรือเป็นปัญหากับคนจน ประกอบด้วย แนวทางการปรับปรุงนโยบายด้านราคาสินค้าเกษตร ปัจจัยการผลิต การลงทุนและการค้า
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การปรับปรุงระบบบริการพื้นฐานทางสังคมแก่คนจน ประกอบด้วย
1) แนวทางการพัฒนาระบบข้อมูลท้องถิ่นเกี่ยวกับคนจนให้เชื่อมโยงกับข้อมูลระดับชาติ
2) แนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดบริการพื้นฐานทางสังคมเพื่อช่วยเหลือคนจน
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การปรับปรุงระบบและกลไกภาครัฐ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อแก้ปัญหาความยากจน ประกอบด้วย
1) แนวทางการปรับปรุงโครงสร้าง กลไกและระบบการทำงานภาครัฐ
2) แนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อแก้ปัญหาความยากจน
3) แนวทางการเสริมสร้างสิทธิการรวมกลุ่มของชุมชน
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การศึกษาวิจัยเพื่อช่วยเหลือคนจน
1) การศึกษาวิจัยด้านการพัฒนาเศรษฐกิจของคนจน
2) การศึกษาวิจัยด้านการแก้ไขกลไกทางเศรษฐกิจที่บิดเบือนหรือเป็นปัญหา
3) การศึกษาวิจัยด้านการรวมตัวเป็นกลุ่มของคนจน
4) การศึกษาวิจัยด้านระบบสวัสดิการของคนจน
5) การศึกษาวิจัยด้านระบบและกลไกภาครัฐในการพัฒนาชนบทแบบเน้นพื้นที่
2. การศึกษาวิจัยเพื่อช่วยเหลือคนจน เห็นควรให้ความสำคัญในระยะเร่งด่วน 2 เรื่อง คือ
2.1 การศึกษาชุมชนที่ประสบความสำเร็จในการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน รวมทั้งปัญหาและอุปสรรค และการขยายผลการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนจากชุมชนที่ประสบความสำเร็จไปยังชุมชนอื่น
2.2 การศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำดัชนีชี้วัดความเข้มแข็งของชุมชน
3. เนื่องจากยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาความยากจนในระยะยาวนี้เกี่ยวข้องกับหน่วยงานทุกกระทรวง จึงเห็นควรแต่งตั้งคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาความยากจนในระยะยาวขึ้น เพื่อจัดทำรายละเอียดยุทธศาสตร์ และนำเสนอคณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติอย่างต่อเนื่อง โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนจากทุกกระทรวงเป็นอนุกรรมการ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นเลขานุการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 10 เมษายน 2543--
คณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติเห็นชอบการแก้ไขปัญหาความยากจนในระยะยาว ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เสนอ ดังนี้
1. กรอบยุทธศาสตร์และแนวทางในการแก้ไขปัญหาความยากจนในระยะยาว ซึ่งประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์หลัก ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาเศรษฐกิจของคนจน ประกอบด้วย
1) แนวทางการส่งเสริมการทำมาหากินและระบบเศรษฐกิจของคนจน
2) แนวทางการปรับปรุงการถือครองและการใช้ประโยชน์ที่ดิน สิทธิในการจัดการทรัพยากร
3) แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การแก้ไขกลไกทางเศรษฐกิจที่บิดเบือนหรือเป็นปัญหากับคนจน ประกอบด้วย แนวทางการปรับปรุงนโยบายด้านราคาสินค้าเกษตร ปัจจัยการผลิต การลงทุนและการค้า
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การปรับปรุงระบบบริการพื้นฐานทางสังคมแก่คนจน ประกอบด้วย
1) แนวทางการพัฒนาระบบข้อมูลท้องถิ่นเกี่ยวกับคนจนให้เชื่อมโยงกับข้อมูลระดับชาติ
2) แนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดบริการพื้นฐานทางสังคมเพื่อช่วยเหลือคนจน
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การปรับปรุงระบบและกลไกภาครัฐ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อแก้ปัญหาความยากจน ประกอบด้วย
1) แนวทางการปรับปรุงโครงสร้าง กลไกและระบบการทำงานภาครัฐ
2) แนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อแก้ปัญหาความยากจน
3) แนวทางการเสริมสร้างสิทธิการรวมกลุ่มของชุมชน
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การศึกษาวิจัยเพื่อช่วยเหลือคนจน
1) การศึกษาวิจัยด้านการพัฒนาเศรษฐกิจของคนจน
2) การศึกษาวิจัยด้านการแก้ไขกลไกทางเศรษฐกิจที่บิดเบือนหรือเป็นปัญหา
3) การศึกษาวิจัยด้านการรวมตัวเป็นกลุ่มของคนจน
4) การศึกษาวิจัยด้านระบบสวัสดิการของคนจน
5) การศึกษาวิจัยด้านระบบและกลไกภาครัฐในการพัฒนาชนบทแบบเน้นพื้นที่
2. การศึกษาวิจัยเพื่อช่วยเหลือคนจน เห็นควรให้ความสำคัญในระยะเร่งด่วน 2 เรื่อง คือ
2.1 การศึกษาชุมชนที่ประสบความสำเร็จในการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน รวมทั้งปัญหาและอุปสรรค และการขยายผลการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนจากชุมชนที่ประสบความสำเร็จไปยังชุมชนอื่น
2.2 การศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำดัชนีชี้วัดความเข้มแข็งของชุมชน
3. เนื่องจากยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาความยากจนในระยะยาวนี้เกี่ยวข้องกับหน่วยงานทุกกระทรวง จึงเห็นควรแต่งตั้งคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาความยากจนในระยะยาวขึ้น เพื่อจัดทำรายละเอียดยุทธศาสตร์ และนำเสนอคณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติอย่างต่อเนื่อง โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนจากทุกกระทรวงเป็นอนุกรรมการ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นเลขานุการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 10 เมษายน 2543--