ทำเนียบรัฐบาล--19 ก.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอ แนวทางการชดเชยสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) แนวทางที่ 3 ทางเลือกที่ 4 ซึ่งเป็นขั้นตอนอีกขั้นตอนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจของสถาบันการเงินต่าง ๆ ซึ่งการแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลและบทบัญญัติของกฎหมาย
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้กำหนดหลักการและแนวทางชดเชยตามข้อเสนอของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเพื่อชดเชยรายได้ที่ขาดไป ดังนี้
1. ให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ มีภาระทางการเงินน้อยที่สุด โดยคำนึงถึงผลขาดทุนจากสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จะต้องชดเชยให้ ตลอดจนมูลค่าหุ้นในอนาคตของธนาคารไทยธนาคารฯ ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ถืออยู่เป็นสัดส่วนร้อยละ 98.94
2. ภายหลังจากที่ธนาคารไทยธนาคารฯ ได้รับการชดเชยสินทรัพย์ด้อยคุณภาพแล้ว ให้ธนาคารมีสัดส่วนลูกหนี้ด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวมอยู่ในระดับต่ำ มีการขาดทุนสะสมลดลง สามารถกันสำรองสำหรับสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่เหลืออยู่ครบถ้วนตามเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด และมีทุนเพียงพอ โดยทางการไม่ต้องเพิ่มทุนให้อีกในระยะอันใกล้ ทั้งนี้ เพื่อให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ สามารถขายหุ้นที่ถืออยู่ในราคาสูงที่สุด
3. ให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ได้รับเงินที่ได้ลงทุนใน 12 บริษัทเงินทุนและธนาคารสหธนาคาร ซึ่งถูกนำไปใช้รองรับการกันสำรองกลับคืนมาให้มากที่สุด เนื่องจากเมื่อกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เข้ารับประกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากสินทรัพย์ด้อยคุณภาพให้แก่ธนาคารไทยธนาคารฯ แล้ว สินทรัพย์ด้อยคุณภาพส่วนนี้จึงควรนับว่าไม่มีความเสี่ยง และธนาคารไทยธนาคารฯ ไม่จำเป็นต้องกันสำรอง ทำให้สามารถลดเงินสำรองที่ได้กันไปแล้วสำหรับสินทรัพย์ด้อยคุณภาพส่วนนี้ลงได้
สำหรับแนวทางการชดเชยสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) ตามข้อเสนอของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ แนวทางที่ 3 คือ เก็บสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของ 12 บริษัทเงินทุนและธนาคารสหธนาคารไว้ที่ธนาคารไทยธนาคารฯ และให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ชดเชยสินทรัพย์ด้อยคุณภาพส่วนนี้ให้ธนาคารไทยธนาคารฯ ด้วยวิธี Yield Maintenance และ Gain/Loss Sharing ตามแนวทางที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2542 ซึ่งเป็นแนวทางที่เหมาะสมที่สุดและจะก่อภาระทางการเงินให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ น้อยที่สุด
ส่วนทางเลือกที่ 4 คือ โอนสำรองกลับเท่ากับเงินที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลงทุนใน 12 บริษัทเงินทุนจำนวน 28,215 ล้านบาท และคืนเงินให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ในจำนวนที่เท่ากันแล้วโอนสำรองกลับเป็นรายได้เพื่อลดยอดผลขาดทุนสะสมในส่วนของธนาคารสหธนาคาร และ 12 บริษัทเงินทุน คงเหลือแต่ผลขาดทุนสะสมของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ หลังจากนั้นจึงคืนทุนหุ้นบุริมสิทธิจำนวน 37,068 ล้านบาท พร้อมทั้งให้ออกใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นบุริมสิทธิ (warrant) อายุ 10 ปี ซึ่งมี exercise price 10 บาท เท่ากับจำนวนทุนที่คืนให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ซึ่งตามทางเลือกนี้ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จะมีภาระเพิ่มสุทธิในอนาคตประมาณ 43,405 ล้านบาท เมื่อคิดเป็นมูลค่าปัจจุบัน และคิดมูลค่าหุ้นที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูถืออยู่ในธนาคารไทยธนาคารฯ ในอนาคตตามราคาตามบัญชี
สำหรับการดำเนินการตามแนวทางที่ 3 ทางเลือกที่ 4 นั้น คณะกรรมการจัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯได้กำหนดวิธีการไว้เรียบร้อยแล้ว คือ วิธีการคืนเงินที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลงทุนใน 12 บริษัทเงินทุน วิธีการคืนทุนหุ้นบุริมสิทธิให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ และวิธีการชดเชยสินทรัพย์ด้อยคุณภาพให้ธนาคารไทยธนาคาร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 19 ก.ย. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอ แนวทางการชดเชยสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) แนวทางที่ 3 ทางเลือกที่ 4 ซึ่งเป็นขั้นตอนอีกขั้นตอนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจของสถาบันการเงินต่าง ๆ ซึ่งการแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลและบทบัญญัติของกฎหมาย
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้กำหนดหลักการและแนวทางชดเชยตามข้อเสนอของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเพื่อชดเชยรายได้ที่ขาดไป ดังนี้
1. ให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ มีภาระทางการเงินน้อยที่สุด โดยคำนึงถึงผลขาดทุนจากสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จะต้องชดเชยให้ ตลอดจนมูลค่าหุ้นในอนาคตของธนาคารไทยธนาคารฯ ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ถืออยู่เป็นสัดส่วนร้อยละ 98.94
2. ภายหลังจากที่ธนาคารไทยธนาคารฯ ได้รับการชดเชยสินทรัพย์ด้อยคุณภาพแล้ว ให้ธนาคารมีสัดส่วนลูกหนี้ด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวมอยู่ในระดับต่ำ มีการขาดทุนสะสมลดลง สามารถกันสำรองสำหรับสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่เหลืออยู่ครบถ้วนตามเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด และมีทุนเพียงพอ โดยทางการไม่ต้องเพิ่มทุนให้อีกในระยะอันใกล้ ทั้งนี้ เพื่อให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ สามารถขายหุ้นที่ถืออยู่ในราคาสูงที่สุด
3. ให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ได้รับเงินที่ได้ลงทุนใน 12 บริษัทเงินทุนและธนาคารสหธนาคาร ซึ่งถูกนำไปใช้รองรับการกันสำรองกลับคืนมาให้มากที่สุด เนื่องจากเมื่อกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เข้ารับประกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากสินทรัพย์ด้อยคุณภาพให้แก่ธนาคารไทยธนาคารฯ แล้ว สินทรัพย์ด้อยคุณภาพส่วนนี้จึงควรนับว่าไม่มีความเสี่ยง และธนาคารไทยธนาคารฯ ไม่จำเป็นต้องกันสำรอง ทำให้สามารถลดเงินสำรองที่ได้กันไปแล้วสำหรับสินทรัพย์ด้อยคุณภาพส่วนนี้ลงได้
สำหรับแนวทางการชดเชยสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) ตามข้อเสนอของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ แนวทางที่ 3 คือ เก็บสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของ 12 บริษัทเงินทุนและธนาคารสหธนาคารไว้ที่ธนาคารไทยธนาคารฯ และให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ชดเชยสินทรัพย์ด้อยคุณภาพส่วนนี้ให้ธนาคารไทยธนาคารฯ ด้วยวิธี Yield Maintenance และ Gain/Loss Sharing ตามแนวทางที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2542 ซึ่งเป็นแนวทางที่เหมาะสมที่สุดและจะก่อภาระทางการเงินให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ น้อยที่สุด
ส่วนทางเลือกที่ 4 คือ โอนสำรองกลับเท่ากับเงินที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลงทุนใน 12 บริษัทเงินทุนจำนวน 28,215 ล้านบาท และคืนเงินให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ในจำนวนที่เท่ากันแล้วโอนสำรองกลับเป็นรายได้เพื่อลดยอดผลขาดทุนสะสมในส่วนของธนาคารสหธนาคาร และ 12 บริษัทเงินทุน คงเหลือแต่ผลขาดทุนสะสมของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ หลังจากนั้นจึงคืนทุนหุ้นบุริมสิทธิจำนวน 37,068 ล้านบาท พร้อมทั้งให้ออกใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นบุริมสิทธิ (warrant) อายุ 10 ปี ซึ่งมี exercise price 10 บาท เท่ากับจำนวนทุนที่คืนให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ซึ่งตามทางเลือกนี้ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จะมีภาระเพิ่มสุทธิในอนาคตประมาณ 43,405 ล้านบาท เมื่อคิดเป็นมูลค่าปัจจุบัน และคิดมูลค่าหุ้นที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูถืออยู่ในธนาคารไทยธนาคารฯ ในอนาคตตามราคาตามบัญชี
สำหรับการดำเนินการตามแนวทางที่ 3 ทางเลือกที่ 4 นั้น คณะกรรมการจัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯได้กำหนดวิธีการไว้เรียบร้อยแล้ว คือ วิธีการคืนเงินที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลงทุนใน 12 บริษัทเงินทุน วิธีการคืนทุนหุ้นบุริมสิทธิให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ และวิธีการชดเชยสินทรัพย์ด้อยคุณภาพให้ธนาคารไทยธนาคาร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 19 ก.ย. 2543--
-สส-