ทำเนียบรัฐบาล--4 ก.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการรัฐมนตรีดว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์รายงานภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยในระยะ 7 เดือนแรกของปี 2543 ดังมีสาระสรุปได้ดังนี้
1. การส่งออกในเดือนกรกฎาคม มีมูลค่า 6,139 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปี 2542 ร้อยละ 21.4 เพิ่มขึ้นในอัตราสูงอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่เจ็ดในระยะ 7 เดือนแรกของปี 2543 (ม.ค.-ก.ค.) การส่งออกมีมูลค่า 39,001 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2542 ร้อยละ 21.3 และคิดเป็นร้อยละ 62.9 ของเป้าหมายการส่งออก
1.1 ปัจจัยที่ทำให้การส่งออกขยายตัวในอัตราสูง ได้แก่
- การขยายตัวของความต้องการในตลาดโลกทีเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจและการค้าของโลกและตลาดส่งออกสำคัญของไทย
- สินค้าอุตสาหกรรมสำคัญหลายรายการยังคงได้รับความช่วยเหลือจากบริษัทแม่ในต่างประเทศในการหาตลาด โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เป็นการลงทุนหรือร่วมทุนกับต่างประเทศ เช่นเครื่องใช้ไฟฟ้าเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์
- การขยายตัวและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ความต้องการสินค้าเครื่องอิเล็กทรอนิกส์อุปกรณ์และส่วนประกอบเพิ่มขึ้นมาก
ความร่วมมือระหว่างภาคราชการและเอกชนในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งการเจาะและขยายตลาดอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
1.2 การส่งออกเพิ่มขึ้นในทุกหมวดสินค้า รวมทั้งสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรที่ส่งออกลดลงในช่วงต้นปีก็กลับมาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ตามการขยายตัวของการส่งออกผลิตภัณฑ์ยาง รวมทั้งอาหารทะเลกระป๋องและน้ำทรายที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ
- สินค้าเกษตรกรรมส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 โดยเป็นการขยายตัวของยางพารา กุ้งสดแช่แข็ง ไก่แช่แข็งและแปรรูป และผลไม้แช่เย็นที่เพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและมูลค่า ตามการขยายตัวและความต้องการของตลาด
- สินค้าอุตสาหกรรมส่งออกเพิ่มขึ้นในอัตราสูงต่อเนื่องถึงร้อยละ 24.1 ที่สำคัญได้แก่เครื่องใช้ ไฟฟ้า เครื่องอิเล็กทรอกนิกส์ สิ่งทอ รถยนต์และส่วนประกอบ อัญมนีและเครื่องประดับ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า หนังและผลิตภัณฑ์ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ผลิตภัณฑ์เซรามิก เคมีภัณฑ์
1.3 สินค้าสำคัญที่ส่งออกลดลง ได้แก่
- ข้าว ปริมาณลดลงร้อยละ 15.0 มูลค่าลดลงร้อยละ 15.5 เนื่องจากความต้องการของาตลาดที่ลดลง
- มันอัดเม็ดและมันเส้น ลดลงทั้งปริมาณและมูลค่าร้อยละ 34.1 และ 42.1 ตามลำดับ
- อาหารทะเลกระป๋อง และ อาหารทะเลแช่แข็ง โดยเฉพาะปลาสดและปลาทูน่ากระป๋อง ซึ่งลดลงทั้งปริมาณและมูลค่า
- สับปะรดกระป๋อง มูลค่าลดลงร้อยละ 37.1 ปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เป็นผลจากการกีดกันในสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป และการแข่งขันด้านราคากับคู่แข่งสำคัญคือ อินโดนีเซีย และ ฟิลิปปินส์
- น้ำตาลทราย ปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.0 แต่มูลค่าลดลงร้อยละ 2.8 ตามการทดลองของราคาน้ำตาลในตลาดโลก ตลาดที่ส่งออกลดลงได้แก่ รัสเซีย และกัมพูชา
1.4 ภาวะการส่งออกไปยังตลาดสำคัญ
- การส่งออกไปยังตลาดหลักและตลาดอื่น ๆ ยังมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราสูง การส่งออกไปยังตลาดหลัก 4 ตลาดขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 19.8 โดยเฉพาะญี่ปุ่นและอาเซี่ยนที่ขยายตัวในอัตราสูงอย่างต่อเนื่องขณะที่สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป การส่งออกก็มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ
- การส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆ ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25.0 โดยเฉพาะตลาดในแถบเอเซียที่ยังขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่การส่งออกไปตะวันออกกลาง และยุโรปตะวันออก ขยายตัวในอัตราที่ต่ำกว่าคือร้อยละ 8.8 และ 11.0 ตามลำดับ
- ตะวันออกกลางเป็นผลจากการลดลงของการส่งออกอาหารทะเลกระป๋อง (ลดลงร้อยละ 34.2 เป็นการลดลงในซาอุดิอาระเบียและสหรัฐอาหรับฯ) สำหรับสินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้นได้แก่ ข้าว อัญมณี เครื่องปรับอากาศ เสื้อผ้า น้ำตาล รองเท้า วิทยุและโทรทัศน์
- การส่งออกไปยุโรปตะวันออกมีแนวโน้มที่ชะลอตัวลง โดยเป็นผลมาจากการส่งออกน้ำตาลทรายไปยังรัสเซียซึ่งลดลงร้อยละ 51.9 (มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 20 ของมูลค่าการส่งออกไปยังยุโรปตะวันออก) ขณะที่การส่งออกสินค้าอื่น ๆ ยังขยายตัวเพิ่มขึ้น ที่สำคัญ ได้แก่ มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เสื้อผ้า เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบอาหารทะเลกระป๋อง ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
2. การนำเข้าเดือน กรกฎาคม มีมูลค่า 5,261 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปี 2542 ถึงร้อยละ 32.0 เป็นการนำเข้าเพิ่มขึ้นในทุกหมวด โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 72.2 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในต่างประเทศ การนำเข้าในระยะ 7 เดือนแรกของปี 2543 (ม.ค.-ก.ค.) มีมูลค่า 34.071 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2542 ร้อยละ 25.0 ตามการขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจและการส่งออกที่ยังขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันจากต่างประเทศ โดยเป็นการนำเข้าเพิ่มขึ้นในอัตราสูงในทุกหมวด (การนำสินค้าทุนจะขยายตัวถึงร้อยละ 25.5 หากหักการนำเข้าเครื่องบินออก)
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง สินค้าทุน และสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปที่นำเข้ามาใช้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกยังคงมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ที่สำคัญและเพิ่มขึ้นในอัตราสูง ได้แก่ ส่วนประกอบ อุปกรณ์โครงรถและตัวถัง แผงวงจรไฟฟ้า ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ เคมีภัณฑ์ เหล็กและเหล็กกล้า เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ เพชร พลอยและอัญมณี หนังดิบและหนังฟอก ไม้ซุงหและไม้แปรรูป ผ้าผืน ด้ายและเส้นใย เป็นต้น
การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคยังมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปลายปี 2542 สินค้าที่นำเข้าเพิ่มขึ้นมากได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์เวชกรรม เสื้อผ้า รองเท้าและสิ่งทออื่น ๆ สบู่ ผงซักฟอกและเครื่องสำอาง ผัก ผลไม้และของปรุงแต่ง และเครื่องดื่มประเภท น้ำแร่ น้ำอัดลมและสุรา
3. ดุลการค้า เกิดดุลต่อเนื่องเป็นเดือนที่สามสิบหก ใหนเดือนกรกฎาคมดุลการค้าเกินดุลมูลค่า 878 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในระยะ 7 เดือนแรกของปี 2543 (ม.ค.- ก.ค.) ดุลการค้าเกินดุล มีมูลค่า 4,930 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2542 ร้อยละ 0.6 ประเทศคู่ค้าสำคัญที่ไทยมีดุลการค้าเกินดุล คือสหรัฐฯ อเมริกา สหภาพยุโรป อาเซียน ฮ่องกง แอฟริกา ออสเตรเลีย และลาตินอเมริกา และประเทศที่ไทยขาดดุลการค้า ได้แก่ ญี่ปุ่น มาเลเซีย ตะวันออกกลาง เกาหลีใต้ จีน ไต้หวัน และ ยุโรปตะวันออก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 4 ก.ย. 2543--
-สส-
คณะกรรมการรัฐมนตรีดว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์รายงานภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยในระยะ 7 เดือนแรกของปี 2543 ดังมีสาระสรุปได้ดังนี้
1. การส่งออกในเดือนกรกฎาคม มีมูลค่า 6,139 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปี 2542 ร้อยละ 21.4 เพิ่มขึ้นในอัตราสูงอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่เจ็ดในระยะ 7 เดือนแรกของปี 2543 (ม.ค.-ก.ค.) การส่งออกมีมูลค่า 39,001 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2542 ร้อยละ 21.3 และคิดเป็นร้อยละ 62.9 ของเป้าหมายการส่งออก
1.1 ปัจจัยที่ทำให้การส่งออกขยายตัวในอัตราสูง ได้แก่
- การขยายตัวของความต้องการในตลาดโลกทีเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจและการค้าของโลกและตลาดส่งออกสำคัญของไทย
- สินค้าอุตสาหกรรมสำคัญหลายรายการยังคงได้รับความช่วยเหลือจากบริษัทแม่ในต่างประเทศในการหาตลาด โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เป็นการลงทุนหรือร่วมทุนกับต่างประเทศ เช่นเครื่องใช้ไฟฟ้าเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์
- การขยายตัวและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ความต้องการสินค้าเครื่องอิเล็กทรอนิกส์อุปกรณ์และส่วนประกอบเพิ่มขึ้นมาก
ความร่วมมือระหว่างภาคราชการและเอกชนในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งการเจาะและขยายตลาดอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
1.2 การส่งออกเพิ่มขึ้นในทุกหมวดสินค้า รวมทั้งสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรที่ส่งออกลดลงในช่วงต้นปีก็กลับมาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ตามการขยายตัวของการส่งออกผลิตภัณฑ์ยาง รวมทั้งอาหารทะเลกระป๋องและน้ำทรายที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ
- สินค้าเกษตรกรรมส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 โดยเป็นการขยายตัวของยางพารา กุ้งสดแช่แข็ง ไก่แช่แข็งและแปรรูป และผลไม้แช่เย็นที่เพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและมูลค่า ตามการขยายตัวและความต้องการของตลาด
- สินค้าอุตสาหกรรมส่งออกเพิ่มขึ้นในอัตราสูงต่อเนื่องถึงร้อยละ 24.1 ที่สำคัญได้แก่เครื่องใช้ ไฟฟ้า เครื่องอิเล็กทรอกนิกส์ สิ่งทอ รถยนต์และส่วนประกอบ อัญมนีและเครื่องประดับ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า หนังและผลิตภัณฑ์ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ผลิตภัณฑ์เซรามิก เคมีภัณฑ์
1.3 สินค้าสำคัญที่ส่งออกลดลง ได้แก่
- ข้าว ปริมาณลดลงร้อยละ 15.0 มูลค่าลดลงร้อยละ 15.5 เนื่องจากความต้องการของาตลาดที่ลดลง
- มันอัดเม็ดและมันเส้น ลดลงทั้งปริมาณและมูลค่าร้อยละ 34.1 และ 42.1 ตามลำดับ
- อาหารทะเลกระป๋อง และ อาหารทะเลแช่แข็ง โดยเฉพาะปลาสดและปลาทูน่ากระป๋อง ซึ่งลดลงทั้งปริมาณและมูลค่า
- สับปะรดกระป๋อง มูลค่าลดลงร้อยละ 37.1 ปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เป็นผลจากการกีดกันในสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป และการแข่งขันด้านราคากับคู่แข่งสำคัญคือ อินโดนีเซีย และ ฟิลิปปินส์
- น้ำตาลทราย ปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.0 แต่มูลค่าลดลงร้อยละ 2.8 ตามการทดลองของราคาน้ำตาลในตลาดโลก ตลาดที่ส่งออกลดลงได้แก่ รัสเซีย และกัมพูชา
1.4 ภาวะการส่งออกไปยังตลาดสำคัญ
- การส่งออกไปยังตลาดหลักและตลาดอื่น ๆ ยังมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราสูง การส่งออกไปยังตลาดหลัก 4 ตลาดขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 19.8 โดยเฉพาะญี่ปุ่นและอาเซี่ยนที่ขยายตัวในอัตราสูงอย่างต่อเนื่องขณะที่สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป การส่งออกก็มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ
- การส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆ ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25.0 โดยเฉพาะตลาดในแถบเอเซียที่ยังขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่การส่งออกไปตะวันออกกลาง และยุโรปตะวันออก ขยายตัวในอัตราที่ต่ำกว่าคือร้อยละ 8.8 และ 11.0 ตามลำดับ
- ตะวันออกกลางเป็นผลจากการลดลงของการส่งออกอาหารทะเลกระป๋อง (ลดลงร้อยละ 34.2 เป็นการลดลงในซาอุดิอาระเบียและสหรัฐอาหรับฯ) สำหรับสินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้นได้แก่ ข้าว อัญมณี เครื่องปรับอากาศ เสื้อผ้า น้ำตาล รองเท้า วิทยุและโทรทัศน์
- การส่งออกไปยุโรปตะวันออกมีแนวโน้มที่ชะลอตัวลง โดยเป็นผลมาจากการส่งออกน้ำตาลทรายไปยังรัสเซียซึ่งลดลงร้อยละ 51.9 (มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 20 ของมูลค่าการส่งออกไปยังยุโรปตะวันออก) ขณะที่การส่งออกสินค้าอื่น ๆ ยังขยายตัวเพิ่มขึ้น ที่สำคัญ ได้แก่ มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เสื้อผ้า เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบอาหารทะเลกระป๋อง ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
2. การนำเข้าเดือน กรกฎาคม มีมูลค่า 5,261 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปี 2542 ถึงร้อยละ 32.0 เป็นการนำเข้าเพิ่มขึ้นในทุกหมวด โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 72.2 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในต่างประเทศ การนำเข้าในระยะ 7 เดือนแรกของปี 2543 (ม.ค.-ก.ค.) มีมูลค่า 34.071 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2542 ร้อยละ 25.0 ตามการขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจและการส่งออกที่ยังขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันจากต่างประเทศ โดยเป็นการนำเข้าเพิ่มขึ้นในอัตราสูงในทุกหมวด (การนำสินค้าทุนจะขยายตัวถึงร้อยละ 25.5 หากหักการนำเข้าเครื่องบินออก)
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง สินค้าทุน และสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปที่นำเข้ามาใช้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกยังคงมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ที่สำคัญและเพิ่มขึ้นในอัตราสูง ได้แก่ ส่วนประกอบ อุปกรณ์โครงรถและตัวถัง แผงวงจรไฟฟ้า ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ เคมีภัณฑ์ เหล็กและเหล็กกล้า เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ เพชร พลอยและอัญมณี หนังดิบและหนังฟอก ไม้ซุงหและไม้แปรรูป ผ้าผืน ด้ายและเส้นใย เป็นต้น
การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคยังมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปลายปี 2542 สินค้าที่นำเข้าเพิ่มขึ้นมากได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์เวชกรรม เสื้อผ้า รองเท้าและสิ่งทออื่น ๆ สบู่ ผงซักฟอกและเครื่องสำอาง ผัก ผลไม้และของปรุงแต่ง และเครื่องดื่มประเภท น้ำแร่ น้ำอัดลมและสุรา
3. ดุลการค้า เกิดดุลต่อเนื่องเป็นเดือนที่สามสิบหก ใหนเดือนกรกฎาคมดุลการค้าเกินดุลมูลค่า 878 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในระยะ 7 เดือนแรกของปี 2543 (ม.ค.- ก.ค.) ดุลการค้าเกินดุล มีมูลค่า 4,930 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2542 ร้อยละ 0.6 ประเทศคู่ค้าสำคัญที่ไทยมีดุลการค้าเกินดุล คือสหรัฐฯ อเมริกา สหภาพยุโรป อาเซียน ฮ่องกง แอฟริกา ออสเตรเลีย และลาตินอเมริกา และประเทศที่ไทยขาดดุลการค้า ได้แก่ ญี่ปุ่น มาเลเซีย ตะวันออกกลาง เกาหลีใต้ จีน ไต้หวัน และ ยุโรปตะวันออก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 4 ก.ย. 2543--
-สส-