คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ดังนี้
1. การปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับผู้ประกอบการขนาดย่อมเฉพาะกรณีที่ผู้ประกอบการมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท ดังนี้
กำไรสุทธิ อัตราภาษี
1 - 1,000,000 บาท 20%
1,000,001 - 3,000,000 25%
3,000,001 บาทขึ้นไป 30%
สำหรับกรณีมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วเกิน 5 ล้านบาทขึ้นไป ยังคงต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 30 ตามปกติ
มาตรการนี้กำหนดให้ใช้บังคับสำหรับกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
2. การให้ผู้ประกอบการ SMEs หักค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นในอัตราพิเศษ สำหรับทรัพย์สินบางประเภทเพื่อเป็นการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ SMEs มีการลงทุนในทรัพย์สินบางประเภท โดยสามารถหักค่าใช้จ่ายในรูปค่าสึกหรอหรือค่าเสื่อมราคาได้เร็วขึ้น จึงเห็นควรให้มีการหักค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นในปีแรกเป็นกรณีพิเศษ ดังนี้
2.1 ทรัพย์สินประเภทคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ปัจจุบันกำหนดให้หักค่าสึกหรอหรือค่าเสื่อมราคาได้ภายในระยะเวลา 5 ปี แต่เพื่อเป็นการสนับสนุนให้มีการใช้ทรัพย์สินประเภทนี้มากขึ้น และเป็นการกำหนดการหักค่าสึกหรอหรือค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินประเภทดังกล่าวให้สอดคล้องกับอายุการใช้งาน จึงเห็นควรปรับปรุงการหักค่าสึกหรอหรือค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินประเภทนี้โดยให้หักได้ภายในระยะเวลา 3 ปี สำหรับกรณีทั่วไป และเพื่อเป็นการส่งเสริมกิจการ SMEs จึงกำหนดให้หักค่าสึกหรอหรือค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นในปีแรกได้ร้อยละ 40 ส่วนที่เหลือให้ทยอยหักภายในระยะเวลา 3 ปี ฉะนั้นในกรณีที่ SMEs หักค่าสึกหรอหรือค่าเสื่อมราคาด้วยวิธีเส้นตรง จะหักในปีแรกได้เท่ากับร้อยละ 60ของมูลค่าทรัพย์สิน สำหรับปีที่ 2 และปีที่ 3 จะหักได้อีกปีละร้อยละ 20 ของมูลค่าทรัพย์สิน
2.2 ทรัพย์สินประเภทโรงงาน (Plant) ปัจจุบันกำหนดให้หักค่าสึกหรอหรือค่าเสื่อมราคาได้ภายในระยะเวลา 20 ปี แต่เพื่อเป็นการสนับสนุน SMEs จึงเห็นควรกำหนดให้หักค่าสึกหรอหรือค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นในปีแรกได้ร้อยละ 25 ของมูลค่าทรัพย์สิน ส่วนที่เหลือให้ทยอยหักภายในระยะเวลา 20 ปี
2.3 ทรัพย์สินประเภทเครื่องจักร (Machinery) ปัจจุบันกำหนดให้หักค่าสึกหรอหรือค่าเสื่อมราคาได้ภายในระยะเวลา 5 ปี แต่เพื่อเป็นการสนับสนุน SMEs จึงเห็นควรกำหนดให้หักค่าสึกหรอหรือค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นในปีแรกได้ร้อยละ 40 ของมูลค่าทรัพย์สิน ส่วนที่เหลือให้ทยอยหักภายในระยะเวลา 5 ปี
ผู้ประกอบการ SMEs ที่จะมีสิทธิหักค่าสึกหรอหรือค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นได้ในอัตราพิเศษตามมาตรการนี้ หมายถึงผู้ประกอบการที่มีทรัพย์สินถาวร (ไม่รวมที่ดิน) ไม่เกิน 200 ล้านบาท และมีการจ้างแรงงานไม่เกิน200 คน
มาตรการนี้ กำหนดให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
3. การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital, VC) โดยที่ธุรกิจเงินร่วมลงทุน (VC) คือ ธุรกิจที่ระดมทุนจากแหล่งต่าง ๆ มาเพื่อนำไปลงทุนในกิจการที่มีศักยภาพในการเติบโต ดังนั้นหากสนับสนุนให้ VC เข้าไปลงทุนระยะยาวในธุรกิจ SMEs ให้มากขึ้น ก็จะเป็นการช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านเงินทุนให้ SMEs ได้ ซึ่งจะเป็นรากฐานสำคัญในการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต ดังนั้นจึงเห็นควรสนับสนุนให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับธุรกิจนี้ โดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้
3.1 สิทธิประโยชน์ จำแนกเป็น
1) ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้สำหรับรายได้ที่เป็นเงินปันผลหรือผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้นที่ VC ได้รับ
2) ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินปันผลและผลประโยชน์จากการโอนหุ้น ที่ผู้ลงทุนได้รับจากการลงทุนใน VC
3.2 หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ผู้ประกอบการธุรกิจเงินร่วมลงทุน (VC) ต้องมีลักษณะและปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้
1) ต้องเป็นบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชน (จำกัด) ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและมีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาท เรียกชำระครั้งแรกไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง และต้องเรียกชำระทั้งหมดภายใน 3 ปี นับแต่วันจดทะเบียน
2) บริษัทฯ ดังกล่าวต้องเป็นบริษัทที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และต้องมอบหมายให้ผู้ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เป็นผู้จัดการเงินลงทุนในการประกอบกิจการของบริษัท
3) ต้องลงทุนใน SMEs โดยมีสัดส่วนของเงินลงทุน ดังนี้
- รอบระยะเวลาบัญชีแรก เงินลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของทุนจดทะเบียนชำระแล้ว
- รอบระยะเวลาบัญชีที่ 2 เงินลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของทุนจดทะเบียนชำระแล้ว
- รอบระยะเวลาบัญชีที่ 3 เงินลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของทุนจดทะเบียนชำระแล้ว
- รอบระยะเวลาบัญชีที่ 4 เงินลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วและต้องรักษาสัดส่วนการลงทุนดังกล่าว จนครบกำหนดระยะเวลาปีที่ 7
4) SMEs ที่ VC เข้าไปลงทุนจะต้องมีสินทรัพย์ถาวรไม่เกิน 200 ล้านาท (ไม่นับรวมที่ดิน) และมีการจ้างแรงงาน ไม่เกิน 200 คน
5) ต้องลงทุนใน SMEs เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 7 ปีต่อเนื่องกัน แต่ระยะเวลาดังกล่าวอาจลดลงเป็นไม่น้อยกว่า 5 ปี หากธุรกิจเงินร่วมลงทุนสามารถนำธุรกิจที่ตนร่วมลงทุน เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือตลาด MAI ได้
มาตรการนี้กำหนดให้มีผลบังคับใช้กับบริษัทฯ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เฉพาะภายในช่วง 3 ปี นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ
ทั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อเป็นการลดภาระภาษีให้กับผู้ประกอบการ SMEs ทั้งในส่วนของอัตราภาษีที่เรียกเก็บจากกำไรสุทธิ และในส่วนของการให้หักค่าสึกหรอหรือค่าเสื่อมราคาได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ก็เพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการระดมทุน เพื่อมาใช้ในกิจการของ SMEs ให้มากขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ก.ย.44--
-สส-
1. การปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับผู้ประกอบการขนาดย่อมเฉพาะกรณีที่ผู้ประกอบการมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท ดังนี้
กำไรสุทธิ อัตราภาษี
1 - 1,000,000 บาท 20%
1,000,001 - 3,000,000 25%
3,000,001 บาทขึ้นไป 30%
สำหรับกรณีมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วเกิน 5 ล้านบาทขึ้นไป ยังคงต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 30 ตามปกติ
มาตรการนี้กำหนดให้ใช้บังคับสำหรับกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
2. การให้ผู้ประกอบการ SMEs หักค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นในอัตราพิเศษ สำหรับทรัพย์สินบางประเภทเพื่อเป็นการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ SMEs มีการลงทุนในทรัพย์สินบางประเภท โดยสามารถหักค่าใช้จ่ายในรูปค่าสึกหรอหรือค่าเสื่อมราคาได้เร็วขึ้น จึงเห็นควรให้มีการหักค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นในปีแรกเป็นกรณีพิเศษ ดังนี้
2.1 ทรัพย์สินประเภทคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ปัจจุบันกำหนดให้หักค่าสึกหรอหรือค่าเสื่อมราคาได้ภายในระยะเวลา 5 ปี แต่เพื่อเป็นการสนับสนุนให้มีการใช้ทรัพย์สินประเภทนี้มากขึ้น และเป็นการกำหนดการหักค่าสึกหรอหรือค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินประเภทดังกล่าวให้สอดคล้องกับอายุการใช้งาน จึงเห็นควรปรับปรุงการหักค่าสึกหรอหรือค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินประเภทนี้โดยให้หักได้ภายในระยะเวลา 3 ปี สำหรับกรณีทั่วไป และเพื่อเป็นการส่งเสริมกิจการ SMEs จึงกำหนดให้หักค่าสึกหรอหรือค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นในปีแรกได้ร้อยละ 40 ส่วนที่เหลือให้ทยอยหักภายในระยะเวลา 3 ปี ฉะนั้นในกรณีที่ SMEs หักค่าสึกหรอหรือค่าเสื่อมราคาด้วยวิธีเส้นตรง จะหักในปีแรกได้เท่ากับร้อยละ 60ของมูลค่าทรัพย์สิน สำหรับปีที่ 2 และปีที่ 3 จะหักได้อีกปีละร้อยละ 20 ของมูลค่าทรัพย์สิน
2.2 ทรัพย์สินประเภทโรงงาน (Plant) ปัจจุบันกำหนดให้หักค่าสึกหรอหรือค่าเสื่อมราคาได้ภายในระยะเวลา 20 ปี แต่เพื่อเป็นการสนับสนุน SMEs จึงเห็นควรกำหนดให้หักค่าสึกหรอหรือค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นในปีแรกได้ร้อยละ 25 ของมูลค่าทรัพย์สิน ส่วนที่เหลือให้ทยอยหักภายในระยะเวลา 20 ปี
2.3 ทรัพย์สินประเภทเครื่องจักร (Machinery) ปัจจุบันกำหนดให้หักค่าสึกหรอหรือค่าเสื่อมราคาได้ภายในระยะเวลา 5 ปี แต่เพื่อเป็นการสนับสนุน SMEs จึงเห็นควรกำหนดให้หักค่าสึกหรอหรือค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นในปีแรกได้ร้อยละ 40 ของมูลค่าทรัพย์สิน ส่วนที่เหลือให้ทยอยหักภายในระยะเวลา 5 ปี
ผู้ประกอบการ SMEs ที่จะมีสิทธิหักค่าสึกหรอหรือค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นได้ในอัตราพิเศษตามมาตรการนี้ หมายถึงผู้ประกอบการที่มีทรัพย์สินถาวร (ไม่รวมที่ดิน) ไม่เกิน 200 ล้านบาท และมีการจ้างแรงงานไม่เกิน200 คน
มาตรการนี้ กำหนดให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
3. การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital, VC) โดยที่ธุรกิจเงินร่วมลงทุน (VC) คือ ธุรกิจที่ระดมทุนจากแหล่งต่าง ๆ มาเพื่อนำไปลงทุนในกิจการที่มีศักยภาพในการเติบโต ดังนั้นหากสนับสนุนให้ VC เข้าไปลงทุนระยะยาวในธุรกิจ SMEs ให้มากขึ้น ก็จะเป็นการช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านเงินทุนให้ SMEs ได้ ซึ่งจะเป็นรากฐานสำคัญในการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต ดังนั้นจึงเห็นควรสนับสนุนให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับธุรกิจนี้ โดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้
3.1 สิทธิประโยชน์ จำแนกเป็น
1) ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้สำหรับรายได้ที่เป็นเงินปันผลหรือผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้นที่ VC ได้รับ
2) ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินปันผลและผลประโยชน์จากการโอนหุ้น ที่ผู้ลงทุนได้รับจากการลงทุนใน VC
3.2 หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ผู้ประกอบการธุรกิจเงินร่วมลงทุน (VC) ต้องมีลักษณะและปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้
1) ต้องเป็นบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชน (จำกัด) ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและมีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาท เรียกชำระครั้งแรกไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง และต้องเรียกชำระทั้งหมดภายใน 3 ปี นับแต่วันจดทะเบียน
2) บริษัทฯ ดังกล่าวต้องเป็นบริษัทที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และต้องมอบหมายให้ผู้ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เป็นผู้จัดการเงินลงทุนในการประกอบกิจการของบริษัท
3) ต้องลงทุนใน SMEs โดยมีสัดส่วนของเงินลงทุน ดังนี้
- รอบระยะเวลาบัญชีแรก เงินลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของทุนจดทะเบียนชำระแล้ว
- รอบระยะเวลาบัญชีที่ 2 เงินลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของทุนจดทะเบียนชำระแล้ว
- รอบระยะเวลาบัญชีที่ 3 เงินลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของทุนจดทะเบียนชำระแล้ว
- รอบระยะเวลาบัญชีที่ 4 เงินลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วและต้องรักษาสัดส่วนการลงทุนดังกล่าว จนครบกำหนดระยะเวลาปีที่ 7
4) SMEs ที่ VC เข้าไปลงทุนจะต้องมีสินทรัพย์ถาวรไม่เกิน 200 ล้านาท (ไม่นับรวมที่ดิน) และมีการจ้างแรงงาน ไม่เกิน 200 คน
5) ต้องลงทุนใน SMEs เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 7 ปีต่อเนื่องกัน แต่ระยะเวลาดังกล่าวอาจลดลงเป็นไม่น้อยกว่า 5 ปี หากธุรกิจเงินร่วมลงทุนสามารถนำธุรกิจที่ตนร่วมลงทุน เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือตลาด MAI ได้
มาตรการนี้กำหนดให้มีผลบังคับใช้กับบริษัทฯ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เฉพาะภายในช่วง 3 ปี นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ
ทั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อเป็นการลดภาระภาษีให้กับผู้ประกอบการ SMEs ทั้งในส่วนของอัตราภาษีที่เรียกเก็บจากกำไรสุทธิ และในส่วนของการให้หักค่าสึกหรอหรือค่าเสื่อมราคาได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ก็เพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการระดมทุน เพื่อมาใช้ในกิจการของ SMEs ให้มากขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ก.ย.44--
-สส-