คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงสาธารณสุขรายงานสถานการณ์โรคไข้หวัดนกในคน และการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกในคน ดังนี้
1. ผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่หรือปอดบวมอยู่ในข่ายเฝ้าระวังโรค คือ
1.1 วันที่ 1 มกราคม — 5 พฤศจิกายน 2548 เฝ้าระวังรวม 1,640 ราย จาก 73 จังหวัด
1.2 วันที่ 6 พฤศจิกายน 2548 มีผู้ป่วย 42 ราย จากจังหวัดสุพรรณบุรี กาญจนบุรี พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี สระบุรี อ่างทอง นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรปราการ ปราจีนบุรี นครนายก เชียงราย แม่ฮ่องสอน สุโขทัย พิษณุโลก นครสวรรค์ อุดรธานี
2. พบผู้ป่วยเป็นโรคไข้หวัดนกในคน รวม 3 ราย คือ
2.1 เสียชีวิต จำนวน 1 ราย เพศชาย มีอาชีพรับจ้างทั่วไป อาศัยอยู่ หมู่ที่ 9 ตำบลพังตรุ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี
2.2 ได้รับการรักษา จำนวน 2 ราย เป็นเด็กชายอายุ 7 ปี เป็นบุตรของผู้เสียชีวิตตามข้อ 2.1 หายป่วยได้รับอนุญาตจากแพทย์ให้กลับบ้านได้แล้ว และเป็นเพศหญิง อายุ 50 ปี อาศัยอยู่เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร พ้นขีดอันตรายอาการดีขึ้นมาก และยังคงรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช
3. การป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ได้มอบหมายให้สาธารณสุขจังหวัดและบุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่รับผิดชอบประสานงานและสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
3.1 ให้ผู้บริหารสาธารณสุขในทุกพื้นที่ดำเนินมาตรการการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขได้มอบหมายไว้อย่างเข้มข้นทุกขั้นตอน โดยให้ทำงานเชิงรุกออกตรวจพื้นที่ตลอดเวลา โดยตั้ง เป้าหมายต้องไม่มีผู้ป่วยโรคไข้หวัดนกเสียชีวิตอีก
3.2 ในพื้นที่ที่พบเชื้อไข้หวัดนกในสัตว์ปีก หรือมีการติดเชื้อในคนให้กำชับเจ้าหน้าที่และอาสาสมัคร สาธารณสุขดำเนินการสำรวจทุกหลังคาเรือนทุกวัน หากพบสัตว์ปีกป่วยหรือตายผิดปกติ แม้ไม่ถึงร้อยละ 5 ให้เจ้าหน้าที่ สาธารณสุขและปศุสัตว์ในพื้นที่ทันทีและหากพบผู้ป่วยต้องสงสัยเป็นไข้หวัดนกให้นำตัวไปรักษาทันที และเฝ้าระวังบุคคลที่ใกล้ชิดกับการชำแหละหรือสัมผัสสัตว์ปีกที่ป่วยหรือตาย แล้วรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบทันที่เพื่อให้รายงานต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขทราบภายใน 1 ชั่วโมง
3.3 เมื่อพบผู้ป่วยที่มีอาการขอโรคไข้หวัดนกในพื้นที่ที่ซึ่งเคยมีการตรวจพบเชื้อไข้หวัดนกในสัตว์ปีก หรือมีการติดเชื้อในคนให้รับตัวผู้ป่วยเข้ารับการดูแลรักษาเป็นผู้ป่วยใน และให้การดูแลรักษาตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ รวมทั้งตามคำอธิบายเพิ่มเติมการใช้ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ในโรคไข้หวัดนกอย่างรวดเร็วและเคร่งครัด
3.4 ให้สถานบริการสาธารณสุขเอาใจใส่เฝ้าระวังผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่และดูแลรักษาผู้ป่วยไข้หวัดนกอย่างเต็มที่เพื่อลดความรุนแรงและรักษาชีวิตของผู้ป่วยอย่างดีที่สุด
4. การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนเกี่ยวกับโรคไข้หวัดนก อาการผู้ติดเชื้อ การดูแลผู้ป่วย การป้องกัน การควบคุม และการแจ้งให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ได้แก่
4.1 ประชาสัมพันธ์วิธีการสังเกตลักษณะการป่วยของสัตว์ปีก ซึ่งสามารถมองเห็นได้ง่าย
4.2 ให้ประชาชนเป็นหูเป็นตาช่วยแจ้งอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทันที หากพบว่ามีไก่หรือสัตว์ปีกป่วยตายผิดปกติ
4.3 อย่าทิ้งสัตว์ปีกที่ป่วยลงน้ำ อย่ารับประทานหรือนำไปให้สัตว์อื่นกินให้กำจัดซากสัตว์ด้วยการฝังอย่างถูกวิธี
4.4 การบริโภคไก่และไข่สามารถรับประทานได้ตามปกติ แต่ต้องทำให้สุกไม่น้อยกว่า 70 องศาเซนติเกรด
4.5 หลีกเลี่ยงการสัมผัสไก่และสัตว์ปีกอย่างใกล้ชิด หากมีความจำเป็นให้สวมถุงมือและเครื่องปิดปากและจมูก ห้ามใช้ปากดูดเสมหะให้ไก่ชนอย่างเด็ดขาด
4.6 หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัดและอย่าไอ จาม รดกัน ผู้ป่วยไข้หวัดควรมีเครื่องปิดปากและจมูก และหากมีอาการไข้หวัดร่วมกับประวัติสัมผัสไก่หรือสัตว์ปีกหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคปอดบวมให้รีบพบแพทย์ในทันที
4.7 ให้เร่งจัดทำคู่เอกสารคู่มือโดยแยกเป็นประชาชนทั่วไป ผู้ปฏิบัติการในพื้นที่ และบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุข ให้ทั่วถึงในทุกท้องที่และโรงพยาบาล
5. กระทรวงสาธารณสุขจะพิจารณาประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารสาธารณสุขทุกระดับจากการปฏิบัติงานเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุม และการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไข้หวัดนก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 พฤศจิกายน 2548--จบ--
1. ผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่หรือปอดบวมอยู่ในข่ายเฝ้าระวังโรค คือ
1.1 วันที่ 1 มกราคม — 5 พฤศจิกายน 2548 เฝ้าระวังรวม 1,640 ราย จาก 73 จังหวัด
1.2 วันที่ 6 พฤศจิกายน 2548 มีผู้ป่วย 42 ราย จากจังหวัดสุพรรณบุรี กาญจนบุรี พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี สระบุรี อ่างทอง นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรปราการ ปราจีนบุรี นครนายก เชียงราย แม่ฮ่องสอน สุโขทัย พิษณุโลก นครสวรรค์ อุดรธานี
2. พบผู้ป่วยเป็นโรคไข้หวัดนกในคน รวม 3 ราย คือ
2.1 เสียชีวิต จำนวน 1 ราย เพศชาย มีอาชีพรับจ้างทั่วไป อาศัยอยู่ หมู่ที่ 9 ตำบลพังตรุ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี
2.2 ได้รับการรักษา จำนวน 2 ราย เป็นเด็กชายอายุ 7 ปี เป็นบุตรของผู้เสียชีวิตตามข้อ 2.1 หายป่วยได้รับอนุญาตจากแพทย์ให้กลับบ้านได้แล้ว และเป็นเพศหญิง อายุ 50 ปี อาศัยอยู่เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร พ้นขีดอันตรายอาการดีขึ้นมาก และยังคงรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช
3. การป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ได้มอบหมายให้สาธารณสุขจังหวัดและบุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่รับผิดชอบประสานงานและสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
3.1 ให้ผู้บริหารสาธารณสุขในทุกพื้นที่ดำเนินมาตรการการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขได้มอบหมายไว้อย่างเข้มข้นทุกขั้นตอน โดยให้ทำงานเชิงรุกออกตรวจพื้นที่ตลอดเวลา โดยตั้ง เป้าหมายต้องไม่มีผู้ป่วยโรคไข้หวัดนกเสียชีวิตอีก
3.2 ในพื้นที่ที่พบเชื้อไข้หวัดนกในสัตว์ปีก หรือมีการติดเชื้อในคนให้กำชับเจ้าหน้าที่และอาสาสมัคร สาธารณสุขดำเนินการสำรวจทุกหลังคาเรือนทุกวัน หากพบสัตว์ปีกป่วยหรือตายผิดปกติ แม้ไม่ถึงร้อยละ 5 ให้เจ้าหน้าที่ สาธารณสุขและปศุสัตว์ในพื้นที่ทันทีและหากพบผู้ป่วยต้องสงสัยเป็นไข้หวัดนกให้นำตัวไปรักษาทันที และเฝ้าระวังบุคคลที่ใกล้ชิดกับการชำแหละหรือสัมผัสสัตว์ปีกที่ป่วยหรือตาย แล้วรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบทันที่เพื่อให้รายงานต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขทราบภายใน 1 ชั่วโมง
3.3 เมื่อพบผู้ป่วยที่มีอาการขอโรคไข้หวัดนกในพื้นที่ที่ซึ่งเคยมีการตรวจพบเชื้อไข้หวัดนกในสัตว์ปีก หรือมีการติดเชื้อในคนให้รับตัวผู้ป่วยเข้ารับการดูแลรักษาเป็นผู้ป่วยใน และให้การดูแลรักษาตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ รวมทั้งตามคำอธิบายเพิ่มเติมการใช้ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ในโรคไข้หวัดนกอย่างรวดเร็วและเคร่งครัด
3.4 ให้สถานบริการสาธารณสุขเอาใจใส่เฝ้าระวังผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่และดูแลรักษาผู้ป่วยไข้หวัดนกอย่างเต็มที่เพื่อลดความรุนแรงและรักษาชีวิตของผู้ป่วยอย่างดีที่สุด
4. การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนเกี่ยวกับโรคไข้หวัดนก อาการผู้ติดเชื้อ การดูแลผู้ป่วย การป้องกัน การควบคุม และการแจ้งให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ได้แก่
4.1 ประชาสัมพันธ์วิธีการสังเกตลักษณะการป่วยของสัตว์ปีก ซึ่งสามารถมองเห็นได้ง่าย
4.2 ให้ประชาชนเป็นหูเป็นตาช่วยแจ้งอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทันที หากพบว่ามีไก่หรือสัตว์ปีกป่วยตายผิดปกติ
4.3 อย่าทิ้งสัตว์ปีกที่ป่วยลงน้ำ อย่ารับประทานหรือนำไปให้สัตว์อื่นกินให้กำจัดซากสัตว์ด้วยการฝังอย่างถูกวิธี
4.4 การบริโภคไก่และไข่สามารถรับประทานได้ตามปกติ แต่ต้องทำให้สุกไม่น้อยกว่า 70 องศาเซนติเกรด
4.5 หลีกเลี่ยงการสัมผัสไก่และสัตว์ปีกอย่างใกล้ชิด หากมีความจำเป็นให้สวมถุงมือและเครื่องปิดปากและจมูก ห้ามใช้ปากดูดเสมหะให้ไก่ชนอย่างเด็ดขาด
4.6 หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัดและอย่าไอ จาม รดกัน ผู้ป่วยไข้หวัดควรมีเครื่องปิดปากและจมูก และหากมีอาการไข้หวัดร่วมกับประวัติสัมผัสไก่หรือสัตว์ปีกหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคปอดบวมให้รีบพบแพทย์ในทันที
4.7 ให้เร่งจัดทำคู่เอกสารคู่มือโดยแยกเป็นประชาชนทั่วไป ผู้ปฏิบัติการในพื้นที่ และบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุข ให้ทั่วถึงในทุกท้องที่และโรงพยาบาล
5. กระทรวงสาธารณสุขจะพิจารณาประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารสาธารณสุขทุกระดับจากการปฏิบัติงานเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุม และการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไข้หวัดนก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 พฤศจิกายน 2548--จบ--