ทำเนียบรัฐบาล--12 ก.ย.--นิวส์สแตนด์
ร่างความตกลงระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับการโอนทรัพย์สินที่ถูกยึด (Agreement between theGovernment of the United States of America and the Government of the Kingdom of Thailand Regarding the Transfer of Forfeited Assets)
คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างความตกลงระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับการโอนทรัพย์สินที่ถูกยึด (Agreement between the Government of the United States of America and the Government of the Kingdom of Thailand Regarding the Transfer of Forfeited Assets) ตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) สั่งและปฏิบัติราชการแทนคณะรัฐมนตรีในสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) เสนอ และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ลงนามในความตกลงดังกล่าว
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) รายงานว่า สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทยได้มีหนังสือถึงกระทรวงการต่างประเทศแจ้งว่า รัฐบาลสหรัฐฯ ได้อนุมัติให้แบ่งปันรายได้สุทธิ จำนวน 19,360 เหรียญสหรัฐฯ ซึ่งได้ยึดมาจากคดีกรณีองค์กรลักลอบขนส่งยาเสพติดแฟน (Phan) ซึ่งมีนาย Cheng Phan หรือ AKA Mason Phanz เป็นผู้นำองค์กรฯ ให้แก่รัฐบาลไทย เพื่อเป็นการตอบสนองความช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่ตำรวจไทยเกี่ยวกับการสืบสวนสอบสวนในรูปของความตกลงระหว่างรัฐบาลสหรัฐฯ กับรัฐบาลไทย โดยได้ยกร่างความตกลงฯ เพื่อการโอนเงินดังกล่าวด้วย ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศเห็นว่า การทำความตกลงใด ๆ ในระดับรัฐบาลจะต้องได้รับการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อนเสมอ ดังนั้น จึงต้องเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการทำความตกลง และขออนุมัติตัวบุคคลที่จะเป็นผู้ลงนามในความตกลง ในกรณีที่ผู้ลงนามเป็นบุคคลอื่นซึ่งมิใช่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ก็จะต้องขอให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจ (full powers) และความตกลงฯ ระบุว่า รัฐบาลไทยจะต้องประกันว่า จะนำทรัพย์สินหรือเงินทุนที่รัฐบาลสหรัฐฯ โอนให้ภายใต้ความตกลงนี้ ไปใช้เพื่อการจัดตั้งและการดำเนินงานของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และภายใน 6 เดือน นับแต่ได้รับโอนเงินทุน รัฐบาลไทยจะต้องจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ที่ระบุว่า ได้นำเงินทุนที่โอนมาให้ไปใช้หรือจะนำไปใช้อย่างไรรวมทั้งข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นเรื่องที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินจะต้องพิจารณาว่าจะสามารถปฏิบัติตามพันธกรณีดังกล่าวได้หรือไม่ และหากจะต้องมีการตราหรือแก้ไขกฎหมายเพื่อรองรับพันธกรณี สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินก็จะต้องนำเรื่องเสนอต่อรัฐสภาเพื่อให้ความเห็นชอบด้วย ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 224
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 12 ก.ย. 2543--
-สส-
ร่างความตกลงระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับการโอนทรัพย์สินที่ถูกยึด (Agreement between theGovernment of the United States of America and the Government of the Kingdom of Thailand Regarding the Transfer of Forfeited Assets)
คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างความตกลงระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับการโอนทรัพย์สินที่ถูกยึด (Agreement between the Government of the United States of America and the Government of the Kingdom of Thailand Regarding the Transfer of Forfeited Assets) ตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) สั่งและปฏิบัติราชการแทนคณะรัฐมนตรีในสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) เสนอ และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ลงนามในความตกลงดังกล่าว
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) รายงานว่า สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทยได้มีหนังสือถึงกระทรวงการต่างประเทศแจ้งว่า รัฐบาลสหรัฐฯ ได้อนุมัติให้แบ่งปันรายได้สุทธิ จำนวน 19,360 เหรียญสหรัฐฯ ซึ่งได้ยึดมาจากคดีกรณีองค์กรลักลอบขนส่งยาเสพติดแฟน (Phan) ซึ่งมีนาย Cheng Phan หรือ AKA Mason Phanz เป็นผู้นำองค์กรฯ ให้แก่รัฐบาลไทย เพื่อเป็นการตอบสนองความช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่ตำรวจไทยเกี่ยวกับการสืบสวนสอบสวนในรูปของความตกลงระหว่างรัฐบาลสหรัฐฯ กับรัฐบาลไทย โดยได้ยกร่างความตกลงฯ เพื่อการโอนเงินดังกล่าวด้วย ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศเห็นว่า การทำความตกลงใด ๆ ในระดับรัฐบาลจะต้องได้รับการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อนเสมอ ดังนั้น จึงต้องเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการทำความตกลง และขออนุมัติตัวบุคคลที่จะเป็นผู้ลงนามในความตกลง ในกรณีที่ผู้ลงนามเป็นบุคคลอื่นซึ่งมิใช่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ก็จะต้องขอให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจ (full powers) และความตกลงฯ ระบุว่า รัฐบาลไทยจะต้องประกันว่า จะนำทรัพย์สินหรือเงินทุนที่รัฐบาลสหรัฐฯ โอนให้ภายใต้ความตกลงนี้ ไปใช้เพื่อการจัดตั้งและการดำเนินงานของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และภายใน 6 เดือน นับแต่ได้รับโอนเงินทุน รัฐบาลไทยจะต้องจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ที่ระบุว่า ได้นำเงินทุนที่โอนมาให้ไปใช้หรือจะนำไปใช้อย่างไรรวมทั้งข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นเรื่องที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินจะต้องพิจารณาว่าจะสามารถปฏิบัติตามพันธกรณีดังกล่าวได้หรือไม่ และหากจะต้องมีการตราหรือแก้ไขกฎหมายเพื่อรองรับพันธกรณี สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินก็จะต้องนำเรื่องเสนอต่อรัฐสภาเพื่อให้ความเห็นชอบด้วย ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 224
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 12 ก.ย. 2543--
-สส-