แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงานอัยการสูงสุด
ร่างพระราชบัญญัติ
ประมวลกฎหมายอาญา
คณะรัฐมนตรี
ประหารชีวิต
ทำเนียบรัฐบาล--12 ธ.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาต่อไป
สำหรับสาระสำคัญร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวคือ ห้ามมิให้ลงโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิตแก่ผู้กระทำความผิดที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี และในกรณีความผิดที่มีระวางโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต ก็ให้เปลี่ยนโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิตเป็นจำคุก 50 ปี
ทั้งนี้ สำนักงานอัยการสูงสุดรายงานว่า
1. ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ. 1966ซึ่งมีผลตามกฎหมายตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2540 และโดยที่บทบัญญัติบทที่ 6 ของกติกาดังกล่าวบัญญัติว่า จะไม่มีการพิพากษาให้ประหารชีวิตในคดีอาญาที่กระทำโดยบุคคลผู้ที่อายุต่ำกว่า 18 ปี และจะลงโทษต่อหญิงมีครรภ์มิได้ ประกอบกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ. 1989 บทที่ 37 ก กำหนดให้รัฐภาคีประกันว่าจะไม่มีเด็กคนใดได้รับการทรมานหรือถูกปฏิบัติหรือลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือต่ำช้า จะไม่มีการลงโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิตที่จะไม่มีโอกาสจะได้รับการปล่อยตัวสำหรับความผิดที่กระทำโดยบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี
2. เพื่อให้การปฏิบัติในการพิจารณาโทษในคดีอาญาของประเทศไทยเป็นไปตามกติการะหว่างประเทศและอนุสัญญาดังกล่าว และเพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลให้มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม จึงสมควรที่จะแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาในส่วนที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกติการะหว่างประเทศและอนุสัญญาดังกล่าวข้างต้น จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 12 ธ.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาต่อไป
สำหรับสาระสำคัญร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวคือ ห้ามมิให้ลงโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิตแก่ผู้กระทำความผิดที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี และในกรณีความผิดที่มีระวางโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต ก็ให้เปลี่ยนโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิตเป็นจำคุก 50 ปี
ทั้งนี้ สำนักงานอัยการสูงสุดรายงานว่า
1. ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ. 1966ซึ่งมีผลตามกฎหมายตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2540 และโดยที่บทบัญญัติบทที่ 6 ของกติกาดังกล่าวบัญญัติว่า จะไม่มีการพิพากษาให้ประหารชีวิตในคดีอาญาที่กระทำโดยบุคคลผู้ที่อายุต่ำกว่า 18 ปี และจะลงโทษต่อหญิงมีครรภ์มิได้ ประกอบกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ. 1989 บทที่ 37 ก กำหนดให้รัฐภาคีประกันว่าจะไม่มีเด็กคนใดได้รับการทรมานหรือถูกปฏิบัติหรือลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือต่ำช้า จะไม่มีการลงโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิตที่จะไม่มีโอกาสจะได้รับการปล่อยตัวสำหรับความผิดที่กระทำโดยบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี
2. เพื่อให้การปฏิบัติในการพิจารณาโทษในคดีอาญาของประเทศไทยเป็นไปตามกติการะหว่างประเทศและอนุสัญญาดังกล่าว และเพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลให้มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม จึงสมควรที่จะแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาในส่วนที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกติการะหว่างประเทศและอนุสัญญาดังกล่าวข้างต้น จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 12 ธ.ค. 2543--
-สส-