คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานความคืบหน้าของการดำเนินการตามแนวทางการชดเชยสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของธนาคาร ไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) ตามที่กระทรวงการคลัง เสนอดังนี้
1. ความเป็นมา การคืนทุนหุ้นบุริมสิทธิให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ธนาคาร ไทยธนาคารฯ ไม่สามารถจ่ายคืนทุนให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ได้ในวันลงนามในสัญญาการชดเชยสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ เนื่องจากตามกระบวนการลดทุนเพื่อคืนทุนจะต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 180 วัน คณะกรรมการจัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จึงได้มีมติให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ชดเชยรายได้ที่ขาดหายไปจากสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Yield maintenance) ให้แก่ธนาคารไทยธนาคารฯ ก่อนที่ธนาคารไทยธนาคารฯ จะคืนทุนหุ้นบุริมสิทธิให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ โดยให้ธนาคารไทยธนาคารฯ จ่ายชดเชยรายได้ดอกเบี้ยจากการคืนทุนล่าช้ากว่าวันลงนามในสัญญาให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ กระทรวงการคลังเห็นว่าการกำหนดเงื่อนไขนี้ไม่ได้ทำให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เสียประโยชน์ ประกอบกับตามมติคณะรัฐมนตรีไม่ได้กำหนดให้การคืนทุนหุ้นบุริมสิทธิเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนการลงนามในสัญญาการชดเชยสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ดังนั้นการที่คณะกรรมการจัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ได้กำหนดเงื่อนไขดังกล่าว จึงถือว่าอยู่ในกรอบที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้แล้ว กระทรวงการคลังจึงเห็นควรรายงานเรื่องดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีทราบด้วย
2. การซื้อคืนหุ้นกู้ด้อยสิทธินั้น มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2543 ได้กำหนดให้ธนาคารไทยธนาคารฯ ดำเนินการซื้อคืนหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่รับโอนจากบริษัทเงินทุน 12 แห่ง ซึ่งมีมูลค่าตามราคาที่ตราไว้ 4,346 ล้านบาท ในราคาไม่เกินร้อยละ 80 ของราคาที่ตราไว้ก่อนประกาศคืนทุน ทั้งนี้ มีเงื่อนไขว่าการซื้อคืนจะดำเนินการได้ต่อเมื่อผู้ถือหุ้นกู้ด้อยสิทธิทุกรายยินยอมขายคืนในราคาไม่เกินร้อยละ 80 แต่เนื่องจากธนาคารไทยธนาคารฯ ไม่สามารถติดต่อผู้ถือหุ้นได้ทุกราย เพราะบางส่วนไม่ยอมขายและบางส่วนไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้ถือหุ้น ดังนั้น กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จึงได้มีมติอนุมัติให้ธนาคารไทยธนาคารฯ ซื้อคืนหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่รับโอนจากบริษัทเงินทุน 12 แห่ง ซึ่งมีมูลค่าตามราคาที่ตราไว้ 4,346 ล้านบาท โดยทุกรายที่มีนิติกรรมขายคืนให้ซื้อคืนในราคาไม่เกินร้อยละ 80 รายใดที่ไม่ขายคืนแต่ไม่คัดค้านการลดทุน ก็ให้จ่ายคืนครบจำนวนเมื่อหุ้นกู้ครบกำหนด ส่วนรายที่ไม่ขายคืนและคัดค้านการลดทุน ก็ให้ธนาคารไทยธนาคารฯ วางประกันเต็มจำนวน ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปจากที่กำหนดไว้ในมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว อย่างไรก็ตามคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอด้วยว่า อาจมีการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียด โดยกระทรวงการคลังจะรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นกระทรวงการคลังจึงขอรายงานมาเพื่อคณะรัฐมนตรีทราบในครั้งนี้ด้วย
3. นอกจากนี้ กระทรวงการคลังเห็นสมควรชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อความในหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนมาก ที่ กค 0303/18945 ลงวันที่ 18 สิงหาคม 2543 ในหน้า 4 และ 5 ที่ได้ระบุเหตุผลของการออกตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเงินทุน 12 แห่งให้แก่ธนาคารไทยธนาคารฯ ว่า "ให้ธนาคารไทยธนาคารฯ คืนเงินที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ได้ลงทุนใน 12 บริษัทเงินทุน จำนวน 28,215 ล้านบาท ซึ่งได้ถูกนำไปใช้ในการกันสำรองกลับมาให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ด้วยวิธีกลับเงินสำรองสำหรับสินทรัพย์ด้อยคุณภาพเป็นจำนวนเท่ากัน โดยให้ใช้การหักกลบกับตั๋วสัญญาใช้เงินรวมดอกเบี้ยค้างรับที่ 12 บริษัทเงินทุนออกให้แก่ธนาคารไทยธนาคารฯ อันเนื่องมาจากการโอนสินทรัพย์มีมูลค่ามากกว่าหนี้สิน" นั้น กระทรวงการคลังของแก้ไขเป็น "...อันเนื่องมาจากการโอนสินทรัพย์มีมูลค่าต่ำกว่าหนี้สิน" เพื่อให้การอธิบายในเรื่องดังกล่าวตรงตามข้อเท็จจริงมาพร้อมกันในครั้งนี้ด้วย ซึ่งการแก้ไขดังกล่าวไม่มีผลต่อสาระสำคัญของเรื่องที่เสนอแต่อย่างใด
4. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2544 กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และธนาคารไทยธนาคารฯ ได้ร่วมลงนามในสัญญาการบริหารและชดเชยสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ซึ่งได้ผ่านการตรวจร่างสัญญาจากสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 29 พ.ค.2544
-สส-
1. ความเป็นมา การคืนทุนหุ้นบุริมสิทธิให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ธนาคาร ไทยธนาคารฯ ไม่สามารถจ่ายคืนทุนให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ได้ในวันลงนามในสัญญาการชดเชยสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ เนื่องจากตามกระบวนการลดทุนเพื่อคืนทุนจะต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 180 วัน คณะกรรมการจัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จึงได้มีมติให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ชดเชยรายได้ที่ขาดหายไปจากสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Yield maintenance) ให้แก่ธนาคารไทยธนาคารฯ ก่อนที่ธนาคารไทยธนาคารฯ จะคืนทุนหุ้นบุริมสิทธิให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ โดยให้ธนาคารไทยธนาคารฯ จ่ายชดเชยรายได้ดอกเบี้ยจากการคืนทุนล่าช้ากว่าวันลงนามในสัญญาให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ กระทรวงการคลังเห็นว่าการกำหนดเงื่อนไขนี้ไม่ได้ทำให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เสียประโยชน์ ประกอบกับตามมติคณะรัฐมนตรีไม่ได้กำหนดให้การคืนทุนหุ้นบุริมสิทธิเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนการลงนามในสัญญาการชดเชยสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ดังนั้นการที่คณะกรรมการจัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ได้กำหนดเงื่อนไขดังกล่าว จึงถือว่าอยู่ในกรอบที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้แล้ว กระทรวงการคลังจึงเห็นควรรายงานเรื่องดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีทราบด้วย
2. การซื้อคืนหุ้นกู้ด้อยสิทธินั้น มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2543 ได้กำหนดให้ธนาคารไทยธนาคารฯ ดำเนินการซื้อคืนหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่รับโอนจากบริษัทเงินทุน 12 แห่ง ซึ่งมีมูลค่าตามราคาที่ตราไว้ 4,346 ล้านบาท ในราคาไม่เกินร้อยละ 80 ของราคาที่ตราไว้ก่อนประกาศคืนทุน ทั้งนี้ มีเงื่อนไขว่าการซื้อคืนจะดำเนินการได้ต่อเมื่อผู้ถือหุ้นกู้ด้อยสิทธิทุกรายยินยอมขายคืนในราคาไม่เกินร้อยละ 80 แต่เนื่องจากธนาคารไทยธนาคารฯ ไม่สามารถติดต่อผู้ถือหุ้นได้ทุกราย เพราะบางส่วนไม่ยอมขายและบางส่วนไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้ถือหุ้น ดังนั้น กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จึงได้มีมติอนุมัติให้ธนาคารไทยธนาคารฯ ซื้อคืนหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่รับโอนจากบริษัทเงินทุน 12 แห่ง ซึ่งมีมูลค่าตามราคาที่ตราไว้ 4,346 ล้านบาท โดยทุกรายที่มีนิติกรรมขายคืนให้ซื้อคืนในราคาไม่เกินร้อยละ 80 รายใดที่ไม่ขายคืนแต่ไม่คัดค้านการลดทุน ก็ให้จ่ายคืนครบจำนวนเมื่อหุ้นกู้ครบกำหนด ส่วนรายที่ไม่ขายคืนและคัดค้านการลดทุน ก็ให้ธนาคารไทยธนาคารฯ วางประกันเต็มจำนวน ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปจากที่กำหนดไว้ในมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว อย่างไรก็ตามคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอด้วยว่า อาจมีการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียด โดยกระทรวงการคลังจะรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นกระทรวงการคลังจึงขอรายงานมาเพื่อคณะรัฐมนตรีทราบในครั้งนี้ด้วย
3. นอกจากนี้ กระทรวงการคลังเห็นสมควรชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อความในหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนมาก ที่ กค 0303/18945 ลงวันที่ 18 สิงหาคม 2543 ในหน้า 4 และ 5 ที่ได้ระบุเหตุผลของการออกตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเงินทุน 12 แห่งให้แก่ธนาคารไทยธนาคารฯ ว่า "ให้ธนาคารไทยธนาคารฯ คืนเงินที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ได้ลงทุนใน 12 บริษัทเงินทุน จำนวน 28,215 ล้านบาท ซึ่งได้ถูกนำไปใช้ในการกันสำรองกลับมาให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ด้วยวิธีกลับเงินสำรองสำหรับสินทรัพย์ด้อยคุณภาพเป็นจำนวนเท่ากัน โดยให้ใช้การหักกลบกับตั๋วสัญญาใช้เงินรวมดอกเบี้ยค้างรับที่ 12 บริษัทเงินทุนออกให้แก่ธนาคารไทยธนาคารฯ อันเนื่องมาจากการโอนสินทรัพย์มีมูลค่ามากกว่าหนี้สิน" นั้น กระทรวงการคลังของแก้ไขเป็น "...อันเนื่องมาจากการโอนสินทรัพย์มีมูลค่าต่ำกว่าหนี้สิน" เพื่อให้การอธิบายในเรื่องดังกล่าวตรงตามข้อเท็จจริงมาพร้อมกันในครั้งนี้ด้วย ซึ่งการแก้ไขดังกล่าวไม่มีผลต่อสาระสำคัญของเรื่องที่เสนอแต่อย่างใด
4. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2544 กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และธนาคารไทยธนาคารฯ ได้ร่วมลงนามในสัญญาการบริหารและชดเชยสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ซึ่งได้ผ่านการตรวจร่างสัญญาจากสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 29 พ.ค.2544
-สส-