ทำเนียบรัฐบาล--1 ส.ค.--นิวส์สแตนด์
6. เรื่อง มาตรการป้องกันและควบคุมสารพิษตกค้างในใบอยาสูบไทย
คณะรัฐมนตรีอนุมัติมาตรการป้องกันและควบคุมสารพิษตกค้างในใบอยาสูบไทย ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้แจ้งส่วนราชการที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติต่อไป
กระทรวงการคลังรายงานว่า ได้กำหนดมาตรการป้องกันและควบคุมสารพิษตกค้างในใบยาสูบ กรณีบริษัท R J Reynolds U.S.A. ผู้ผลิตบุหรี่รายใหญ่ ตรวจพบสารพิษตกค้างจากการใช้สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชในใบยาพันธุ์เบอร์เล่ย์ที่นำเข้าจากประเทศไทย มีปริมาณเกินระดับที่กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกากำหนด และหากปัญหาดังกล่าวไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง จะยกเลิกการนำเข้าใบยาสูบไทยทั้งหมด ซึ่งกระทรวงการคลังพิจารณาแล้วได้ประชุมร่วมกับหน่วยงาน รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้ และได้กำหนดแนวปฏิบัติของมาตรการป้องกันและควบคุมสารพิษตกค้างในใบยาสูบ กำหนดหน้าที่รับผิดชอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งมาตรการดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. การกำหนดแนวปฏิบัติของมาตรการป้องกันและควบคุมสารพิษตกค้างในใบยาสูบ
1.1 ประชาสัมพันธ์ และประชุมชี้แจงให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งชาวไร่ที่ปลูกยาสูบให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชนิดของสารเคมีที่ควรใช้ และสารเคมีต้องห้ามในใบยาสูบ และเพิ่มความเข้มงวดในการติดตามควบคุมดูแลการใช้ปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชของชาวไร่อยางใกล้ชิดยิ่งขึ้น
1.2 สนับสนุนด้านสินเชื่อและการจัดหาปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชให้ผู้ซื้อใบยา โดยเฉพาะบริษัทเอกชนประสานงานกับธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. เพื่อให้การสนับสนุนสินเชื่อแก่ชาวไร่ในสังกัด พร้อมทั้งจัดหาปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชที่ถูกต้องและมีมาตรฐานให้แก่ชาวไร่
1.3 ควบคุมคุณภาพใบยาสูบ และสารพิษตกค้างในใบยาสูบ ตลอดจนทำให้การซื้อขายเกิดความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย ควรให้มีการซื้อขายใบยาเฉพาะในสถานที่ที่ได้รับอนุญาต โดยกำหนดเป็นตลาดกลางเท่านั้น ห้ามผู้ซื้อรับซื้อใบยาสูบโดยตรงจากชาวไร่
1.4 ก่อนการรับซื้อ ให้ผู้ซื้อสุ่มเก็บตัวอย่างใบยาสูบของชาวไร่ ตรวจสอบหาสารพิษตกค้างก่อนการรับซื้อ หากพบว่าใบยาของชาวไร่รายใดมีสารพิษตกค้างเกินค่าที่กำหนด ให้งดรับซื้อใบยาของชาวไร่รายนั้น และให้ยกเลิกการเพาะปลูกในฤดูต่อไป
1.5 ก่อนการส่งออก ให้บริษัทผู้ส่งออก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสุ่มเก็บตัวอย่างใบยา ตรวจหาสารพิษตกค้างก่อนการส่งออก
1.6 ให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือในการวิเคราะห์หาสารพิษตกค้างในใบยาสูบ ทั้งในส่วนของโรงงานยาสูบ และบริษัทผู้ส่งออก
2. การกำหนดหน้าที่รับผิดชอบให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนดำเนินการ มีดังนี้
2.1 กรมสรรพามิต
- เป็นต้นเรื่องในการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหาในภาพรวมและหากมีปัญหาและอุปสรรค ให้รายงานกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาหาทางแก้ไข
- ประสานงานกับกรมวิชาการเกษตร โรงงานยาสูบและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาสารเคมีและปริมาณพิษตกค้างที่ยอมให้มีได้สูงสุด และจัดทำเป็นประกาศรายชื่อยากำจัดศัตรูพืชที่ห้ามใช้ แล้วแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วย และเกษตรกรผู้ใช้ทราบโดยทั่วกัน
- กำหนดบทลงโทษชาวไร่ที่ผลิตใบยาสูบมีสารพิษตกค้างเกินค่ากำหนดอย่างจริงจัง
- ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการสุ่มเก็บตัวอย่างใบยาสูบเพื่อตรวจสอบหาพิษตกค้างทั้งก่อนการรับซื้อจากชาวไร่และก่อนการส่งออก
2.2 โรงงานยาสูบ
- ถือปฏิบัติตามแนวทางการแนะนำส่งเสริม และควบคุมชาวไร่ในสังกัด ซึ่งใช้ได้ผลมาแล้วอย่างเคร่งครัดต่อไป และต้องให้ครอบคลุมในส่วนที่ผลิตเกินโควต้าที่กำหนดด้วย
- ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันและควบคุมปัญหาสารพิษตกค้างในใบยาสูบอย่างจริงจังต่อไป
- ประชาสัมพันธ์และจัดทำเอกสารเกี่ยวกับชนิดของสารเคมีที่ห้ามใช้กับยาสูบ พร้อมชี้ให้เห็นถึงปัญหาที่จะตามมา นำออกเผยแพร่แจกจ่ายให้ชาวไร่อย่างทั่วถึง
- สุ่มเก็บตัวอย่างใบยาของชาวไร่ก่อนการรับซื้อ วิเคราะห์หาสารพิษตกค้างให้มากขึ้น หากพบว่าเกษตรกรรายใดใช้ปุ๋ยหรือสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชไม่ถูกต้อง หรือมีสารพิษตกค้างในใบยาเกินปริมาณที่กำหนด ให้งดการรับซื้อใบยาของชาวไร่รายนั้น และยกเลิกการผลิตในปีต่อไป
- หาแนวทางแนะนำและควบคุมการใช้ปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชของชาวไร่ในสังกัดที่ผลิตใบยาเกินโควตา เพื่อขายให้กับบริษัทเอกชนให้ถูกต้อง
- ในระยะแรกของการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ ให้โรงงานยาสูบเป็นศูนย์ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้โดยเร็ว
2.3 กรมส่งเสริมการเกษตร
- ให้ความร่วมมือในการสอดส่องดูแลปัญหานี้ โดยให้เกษตรจังหวัด และเกษตรอำเภอในพื้นที่ที่มีการเพาะปลูกยาสูบ แนะนำส่งเสริมการเพาะปลูก ตลอดจนแนะนำการใช้สารเคมีที่ถูกต้องให้แก่ชาวไร่ โดยเน้นไม่ให้มีสารพิษตกค้างในใบยาสูบ
2.4 กรมวิชาการเกษตร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่
- ให้ความร่วมมือในการตรวจวิเคราะห์หาสารพิษตกค้างในใบยาสูบ ทั้งในส่วนของบริษัทผู้ส่งออกและโรงงานยาสูบ
2.5 ผู้ว่าราชการจังหวัด
- ขอความร่วมมือผู้ว่าราชการจังหวัดของจังหวัดที่มีการเพาะปลูกยาสูบ ติดตามควบคุมดูแลการเพาะปลูกยาสูบ ทั้งด้านปริมาณ คุณภาพ และสารพิษตกค้างในใบยาสูบ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สรรพสามิตจังหวัด เกษตรจังหวัด และสมาคมชาวไร่ เป็นต้น ช่วยติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด
2.6 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
- ที่ผ่านมาได้ให้สินเชื่อแก่เกษตรกรทั่วไป และชาวไร่ของโรงงานยาสูบบางส่วนอยู่แล้ว จึงให้ประสานงานกับกรมสรรพสามิต และบริษัทผู้ส่งออก เพื่อพิจารณาให้สินเชื่อแก่ชาวไร่ที่อยู่นอกสังกัดของโรงงานยาสูบโดยเน้นการให้สินเชื่อในรูปวัสดุที่จำเป็นในการเพาะปลูกยาสูบ เช่น ปุ๋ย และยาปราบศัตรูพืชตามแนวดำเนินการของโรงงานยาสูบ
2.7 ธนาคารออมสิน
- ที่ผ่านมาได้ให้สินเชื่อแก่ชาวไร่ที่มีโควตาผลิตของโรงงานยาสูบ ซึ่งการดำเนินงานที่ผ่านมาประสบความสำเร็จด้วยดี จึงให้พิจารณาหาแนวทางให้สินเชื่อแก่ชาวไร่ในสังกัดของบริษัทเอกชน โดยใช้แนวทางปฏิบัติเช่นเดียวกับชาวไร่ในสังกัดของโรงงานยาสูบ
2.8 บริษัทปุ๋ยแห่งชาติ ให้ช่วยดูแลเรื่องปุ๋ยที่ใช้ในยาสูบให้ถูกต้อง และช่วยวิเคราะห์หาสารพิษตกค้างในดินและน้ำ
2.9 บริษัทผู้ซื้อและส่งออก
- ให้มีการแนะนำส่งเสริมชาวไร่ในสังกัดอย่างจริงจัง รวมทั้งควบคุมดูแลการใช้ปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ
- ให้รับซื้อใบยาของชาวไร่ในสถานที่ที่ได้รับอนุญาต โดยกำหนดเป็นตลาดกลางเท่านั้น เพื่อแก้ไขปัญหาพ่อค้าคนกลางออกไปรับซื้อใบยาโดยตรงจากชาวไร่ตามหมู่บ้าน
- ให้สุ่มเก็บตัวอย่างใบยาเพื่อวิเคราะห์หาสารพิษตกค้างทั้งก่อนการรับซื้อจากชาวไร่และก่อนการส่งออก
- ให้ประสานงานกับกรมสรรพสามิต ธนาคารที่ให้สินเชื่อ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดหาสินเชื่อให้เกษตรกรชาวไร่ยาสูบในสังกัด นำไปซื้อปุ๋ยและสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชที่ถูกต้อง
2.10 สถาบันเกษตรกรและชาวไร่ยาสูบ
- ให้เพาะปลูกยาสูบตามที่ได้รับอนุญาตจากกรมสรรพสามิตเท่านั้น และต้องใช้ปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืช ตามคำแนะนำส่งเสริมของผู้ซื้อคือโรงงานยาสูบ และบริษัทเอกชนอย่างเคร่งครัด
3. การดำเนินการตามมาตรการป้องกันและควบคุมสารพิษตกค้างในใบยาสูบ
3.1 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรมสรรพสามิต
1) ออกประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการขออนุญาต การออกใบอนุญาตและเงื่อนไขว่าด้วยการเพาะปลูกต้นยาสูบ ฉบับลงวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2542 ทั้งนี้ เพื่อกำหนดรายชื่อยากำจัดศัตรูพืชที่ห้ามชาวไร่ยาสูบใช้เด็ดขาด
2) ได้ขอความร่วมมือให้ผู้ส่งออกเป็นผู้ส่งเสริมการเพาะปลูกใบยาสูบ โดยจัดหาปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชให้แก่ชาวไร่ยาสูบ ทั้งนี้ เพื่อให้ชาวไร่ยาสูบได้ใช้ปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชที่ถูกต้องเพื่อป้องกันสารพิษตกค้างในใบยาสูบ
3) ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งมีโรงงานยาสูบ กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตรกรมวิทยาศาตร์การแพทย์ เจ้าหน้าที่สรรพสามิตที่อยู่เขตท้องที่เพาะปลูก และผู้ส่งออก เข้าร่วมประชุมเพื่อเตรียมการและวางแผนการเก็บตัวอย่างใบยาสูบเพื่อตรวจวิเคราะห์หาสารพิษตกค้าง
3.2 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโรงงานยาสูบ
1) การห้ามใช้สารเคมีบางชนิดในยาสูบ และไม่แนะนำให้ชาวไร่ใช้สารเคมีที่มีพิษรุนแรง และเป็นอันตรายต่อผู้ใช้สูง
2) การสั่งระงับการใช้สารเคมี และสารป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อราบางชนิดหลังจากที่ตรวจพบพิษตกค้างของสารเคมีดังกล่าวในยาเบอร์เล่ย์ไทย
3) การตรวจสอบหาสารพิษตกค้างในดินและน้ำก่อนเริ่มฤดูเพาะปลูกในแต่ละปีโดยการสุ่มเก็บตัวอย่างดินและน้ำ ในพื้นที่เพาะปลูกยาสูบ เพื่อวิเคราะห์หาพิษตกค้าง รวมทั้งเก็บตัวอย่างปุ๋ยเพื่อตรวจ วิเคราะห์ปริมาณคลอไรด์ให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
4) จัดประชุมชี้แจงชาวไร่เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชนิดของสารเคมีที่ควรใช้ และสารเคมีต้องห้ามใบยาสูบ และเพิ่มความเข้มงวดในการติดตามควบคุมดูแลการใช้ปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชของชาวไร่อย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 1 ส.ค. 2543--
-สส-
6. เรื่อง มาตรการป้องกันและควบคุมสารพิษตกค้างในใบอยาสูบไทย
คณะรัฐมนตรีอนุมัติมาตรการป้องกันและควบคุมสารพิษตกค้างในใบอยาสูบไทย ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้แจ้งส่วนราชการที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติต่อไป
กระทรวงการคลังรายงานว่า ได้กำหนดมาตรการป้องกันและควบคุมสารพิษตกค้างในใบยาสูบ กรณีบริษัท R J Reynolds U.S.A. ผู้ผลิตบุหรี่รายใหญ่ ตรวจพบสารพิษตกค้างจากการใช้สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชในใบยาพันธุ์เบอร์เล่ย์ที่นำเข้าจากประเทศไทย มีปริมาณเกินระดับที่กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกากำหนด และหากปัญหาดังกล่าวไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง จะยกเลิกการนำเข้าใบยาสูบไทยทั้งหมด ซึ่งกระทรวงการคลังพิจารณาแล้วได้ประชุมร่วมกับหน่วยงาน รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้ และได้กำหนดแนวปฏิบัติของมาตรการป้องกันและควบคุมสารพิษตกค้างในใบยาสูบ กำหนดหน้าที่รับผิดชอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งมาตรการดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. การกำหนดแนวปฏิบัติของมาตรการป้องกันและควบคุมสารพิษตกค้างในใบยาสูบ
1.1 ประชาสัมพันธ์ และประชุมชี้แจงให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งชาวไร่ที่ปลูกยาสูบให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชนิดของสารเคมีที่ควรใช้ และสารเคมีต้องห้ามในใบยาสูบ และเพิ่มความเข้มงวดในการติดตามควบคุมดูแลการใช้ปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชของชาวไร่อยางใกล้ชิดยิ่งขึ้น
1.2 สนับสนุนด้านสินเชื่อและการจัดหาปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชให้ผู้ซื้อใบยา โดยเฉพาะบริษัทเอกชนประสานงานกับธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. เพื่อให้การสนับสนุนสินเชื่อแก่ชาวไร่ในสังกัด พร้อมทั้งจัดหาปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชที่ถูกต้องและมีมาตรฐานให้แก่ชาวไร่
1.3 ควบคุมคุณภาพใบยาสูบ และสารพิษตกค้างในใบยาสูบ ตลอดจนทำให้การซื้อขายเกิดความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย ควรให้มีการซื้อขายใบยาเฉพาะในสถานที่ที่ได้รับอนุญาต โดยกำหนดเป็นตลาดกลางเท่านั้น ห้ามผู้ซื้อรับซื้อใบยาสูบโดยตรงจากชาวไร่
1.4 ก่อนการรับซื้อ ให้ผู้ซื้อสุ่มเก็บตัวอย่างใบยาสูบของชาวไร่ ตรวจสอบหาสารพิษตกค้างก่อนการรับซื้อ หากพบว่าใบยาของชาวไร่รายใดมีสารพิษตกค้างเกินค่าที่กำหนด ให้งดรับซื้อใบยาของชาวไร่รายนั้น และให้ยกเลิกการเพาะปลูกในฤดูต่อไป
1.5 ก่อนการส่งออก ให้บริษัทผู้ส่งออก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสุ่มเก็บตัวอย่างใบยา ตรวจหาสารพิษตกค้างก่อนการส่งออก
1.6 ให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือในการวิเคราะห์หาสารพิษตกค้างในใบยาสูบ ทั้งในส่วนของโรงงานยาสูบ และบริษัทผู้ส่งออก
2. การกำหนดหน้าที่รับผิดชอบให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนดำเนินการ มีดังนี้
2.1 กรมสรรพามิต
- เป็นต้นเรื่องในการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหาในภาพรวมและหากมีปัญหาและอุปสรรค ให้รายงานกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาหาทางแก้ไข
- ประสานงานกับกรมวิชาการเกษตร โรงงานยาสูบและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาสารเคมีและปริมาณพิษตกค้างที่ยอมให้มีได้สูงสุด และจัดทำเป็นประกาศรายชื่อยากำจัดศัตรูพืชที่ห้ามใช้ แล้วแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วย และเกษตรกรผู้ใช้ทราบโดยทั่วกัน
- กำหนดบทลงโทษชาวไร่ที่ผลิตใบยาสูบมีสารพิษตกค้างเกินค่ากำหนดอย่างจริงจัง
- ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการสุ่มเก็บตัวอย่างใบยาสูบเพื่อตรวจสอบหาพิษตกค้างทั้งก่อนการรับซื้อจากชาวไร่และก่อนการส่งออก
2.2 โรงงานยาสูบ
- ถือปฏิบัติตามแนวทางการแนะนำส่งเสริม และควบคุมชาวไร่ในสังกัด ซึ่งใช้ได้ผลมาแล้วอย่างเคร่งครัดต่อไป และต้องให้ครอบคลุมในส่วนที่ผลิตเกินโควต้าที่กำหนดด้วย
- ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันและควบคุมปัญหาสารพิษตกค้างในใบยาสูบอย่างจริงจังต่อไป
- ประชาสัมพันธ์และจัดทำเอกสารเกี่ยวกับชนิดของสารเคมีที่ห้ามใช้กับยาสูบ พร้อมชี้ให้เห็นถึงปัญหาที่จะตามมา นำออกเผยแพร่แจกจ่ายให้ชาวไร่อย่างทั่วถึง
- สุ่มเก็บตัวอย่างใบยาของชาวไร่ก่อนการรับซื้อ วิเคราะห์หาสารพิษตกค้างให้มากขึ้น หากพบว่าเกษตรกรรายใดใช้ปุ๋ยหรือสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชไม่ถูกต้อง หรือมีสารพิษตกค้างในใบยาเกินปริมาณที่กำหนด ให้งดการรับซื้อใบยาของชาวไร่รายนั้น และยกเลิกการผลิตในปีต่อไป
- หาแนวทางแนะนำและควบคุมการใช้ปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชของชาวไร่ในสังกัดที่ผลิตใบยาเกินโควตา เพื่อขายให้กับบริษัทเอกชนให้ถูกต้อง
- ในระยะแรกของการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ ให้โรงงานยาสูบเป็นศูนย์ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้โดยเร็ว
2.3 กรมส่งเสริมการเกษตร
- ให้ความร่วมมือในการสอดส่องดูแลปัญหานี้ โดยให้เกษตรจังหวัด และเกษตรอำเภอในพื้นที่ที่มีการเพาะปลูกยาสูบ แนะนำส่งเสริมการเพาะปลูก ตลอดจนแนะนำการใช้สารเคมีที่ถูกต้องให้แก่ชาวไร่ โดยเน้นไม่ให้มีสารพิษตกค้างในใบยาสูบ
2.4 กรมวิชาการเกษตร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่
- ให้ความร่วมมือในการตรวจวิเคราะห์หาสารพิษตกค้างในใบยาสูบ ทั้งในส่วนของบริษัทผู้ส่งออกและโรงงานยาสูบ
2.5 ผู้ว่าราชการจังหวัด
- ขอความร่วมมือผู้ว่าราชการจังหวัดของจังหวัดที่มีการเพาะปลูกยาสูบ ติดตามควบคุมดูแลการเพาะปลูกยาสูบ ทั้งด้านปริมาณ คุณภาพ และสารพิษตกค้างในใบยาสูบ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สรรพสามิตจังหวัด เกษตรจังหวัด และสมาคมชาวไร่ เป็นต้น ช่วยติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด
2.6 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
- ที่ผ่านมาได้ให้สินเชื่อแก่เกษตรกรทั่วไป และชาวไร่ของโรงงานยาสูบบางส่วนอยู่แล้ว จึงให้ประสานงานกับกรมสรรพสามิต และบริษัทผู้ส่งออก เพื่อพิจารณาให้สินเชื่อแก่ชาวไร่ที่อยู่นอกสังกัดของโรงงานยาสูบโดยเน้นการให้สินเชื่อในรูปวัสดุที่จำเป็นในการเพาะปลูกยาสูบ เช่น ปุ๋ย และยาปราบศัตรูพืชตามแนวดำเนินการของโรงงานยาสูบ
2.7 ธนาคารออมสิน
- ที่ผ่านมาได้ให้สินเชื่อแก่ชาวไร่ที่มีโควตาผลิตของโรงงานยาสูบ ซึ่งการดำเนินงานที่ผ่านมาประสบความสำเร็จด้วยดี จึงให้พิจารณาหาแนวทางให้สินเชื่อแก่ชาวไร่ในสังกัดของบริษัทเอกชน โดยใช้แนวทางปฏิบัติเช่นเดียวกับชาวไร่ในสังกัดของโรงงานยาสูบ
2.8 บริษัทปุ๋ยแห่งชาติ ให้ช่วยดูแลเรื่องปุ๋ยที่ใช้ในยาสูบให้ถูกต้อง และช่วยวิเคราะห์หาสารพิษตกค้างในดินและน้ำ
2.9 บริษัทผู้ซื้อและส่งออก
- ให้มีการแนะนำส่งเสริมชาวไร่ในสังกัดอย่างจริงจัง รวมทั้งควบคุมดูแลการใช้ปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ
- ให้รับซื้อใบยาของชาวไร่ในสถานที่ที่ได้รับอนุญาต โดยกำหนดเป็นตลาดกลางเท่านั้น เพื่อแก้ไขปัญหาพ่อค้าคนกลางออกไปรับซื้อใบยาโดยตรงจากชาวไร่ตามหมู่บ้าน
- ให้สุ่มเก็บตัวอย่างใบยาเพื่อวิเคราะห์หาสารพิษตกค้างทั้งก่อนการรับซื้อจากชาวไร่และก่อนการส่งออก
- ให้ประสานงานกับกรมสรรพสามิต ธนาคารที่ให้สินเชื่อ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดหาสินเชื่อให้เกษตรกรชาวไร่ยาสูบในสังกัด นำไปซื้อปุ๋ยและสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชที่ถูกต้อง
2.10 สถาบันเกษตรกรและชาวไร่ยาสูบ
- ให้เพาะปลูกยาสูบตามที่ได้รับอนุญาตจากกรมสรรพสามิตเท่านั้น และต้องใช้ปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืช ตามคำแนะนำส่งเสริมของผู้ซื้อคือโรงงานยาสูบ และบริษัทเอกชนอย่างเคร่งครัด
3. การดำเนินการตามมาตรการป้องกันและควบคุมสารพิษตกค้างในใบยาสูบ
3.1 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรมสรรพสามิต
1) ออกประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการขออนุญาต การออกใบอนุญาตและเงื่อนไขว่าด้วยการเพาะปลูกต้นยาสูบ ฉบับลงวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2542 ทั้งนี้ เพื่อกำหนดรายชื่อยากำจัดศัตรูพืชที่ห้ามชาวไร่ยาสูบใช้เด็ดขาด
2) ได้ขอความร่วมมือให้ผู้ส่งออกเป็นผู้ส่งเสริมการเพาะปลูกใบยาสูบ โดยจัดหาปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชให้แก่ชาวไร่ยาสูบ ทั้งนี้ เพื่อให้ชาวไร่ยาสูบได้ใช้ปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชที่ถูกต้องเพื่อป้องกันสารพิษตกค้างในใบยาสูบ
3) ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งมีโรงงานยาสูบ กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตรกรมวิทยาศาตร์การแพทย์ เจ้าหน้าที่สรรพสามิตที่อยู่เขตท้องที่เพาะปลูก และผู้ส่งออก เข้าร่วมประชุมเพื่อเตรียมการและวางแผนการเก็บตัวอย่างใบยาสูบเพื่อตรวจวิเคราะห์หาสารพิษตกค้าง
3.2 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโรงงานยาสูบ
1) การห้ามใช้สารเคมีบางชนิดในยาสูบ และไม่แนะนำให้ชาวไร่ใช้สารเคมีที่มีพิษรุนแรง และเป็นอันตรายต่อผู้ใช้สูง
2) การสั่งระงับการใช้สารเคมี และสารป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อราบางชนิดหลังจากที่ตรวจพบพิษตกค้างของสารเคมีดังกล่าวในยาเบอร์เล่ย์ไทย
3) การตรวจสอบหาสารพิษตกค้างในดินและน้ำก่อนเริ่มฤดูเพาะปลูกในแต่ละปีโดยการสุ่มเก็บตัวอย่างดินและน้ำ ในพื้นที่เพาะปลูกยาสูบ เพื่อวิเคราะห์หาพิษตกค้าง รวมทั้งเก็บตัวอย่างปุ๋ยเพื่อตรวจ วิเคราะห์ปริมาณคลอไรด์ให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
4) จัดประชุมชี้แจงชาวไร่เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชนิดของสารเคมีที่ควรใช้ และสารเคมีต้องห้ามใบยาสูบ และเพิ่มความเข้มงวดในการติดตามควบคุมดูแลการใช้ปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชของชาวไร่อย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 1 ส.ค. 2543--
-สส-