ทำเนียบรัฐบาล--29 ส.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎทบวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ ทบวงมหาวิทยาลัยรายงานว่า
1. เนื่องจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 15 ได้กำหนดให้การจัดการศึกษามี3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย และให้มีการเทียบโอนผลการเรียนที่ผู้เรียนสะสมไว้ในระหว่างรูปแบบเดียวกันหรือต่างรูปแบบได้ ไม่ว่าจะเป็นผลการเรียนจากสถานศึกษาเดียวกันหรือไม่ก็ตามโดยผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้มาจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ มาใช้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรที่ต้องการศึกษาในระดับอุดมศึกษาได้
2. ปัจจุบันสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งในประเทศไทยทั้งสถาบันศึกษาของรัฐและเอกชนยังไม่มีการรับเทียบโอนผลการเรียนจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ เพราะสถาบันอุดมศึกษาจะเทียบโอนผลการเรียนจากการศึกษาในระบบมหาวิทยาลัยเท่านั้น ส่วนการเทียบโอนผลการเรียนในรูปแบบใหม่นี้ เป็นการยึดผู้เรียนเป็นหลักว่า ผู้เรียนได้เรียนรู้อะไรมาบ้างที่สามารถเทียบได้กับสิ่งที่มีการสอนอยู่ในการศึกษาในระบบ จึงต้องมีการประเมินเพื่อเทียบความรู้ ซึ่งสถาบันอุดมศึกษาที่รับเทียบโอนจะต้องมีระบบการบริหาร การประเมินที่เป็นมาตรฐาน มีคุณภาพ มีความเชื่อถือได้ให้เป็นที่ยอมรับแก่บุคคลทั่วไป
3. โดยที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 16 วรรคสี่ ได้บัญญัติว่าการแบ่งระดับหรือการเทียบระดับการศึกษานอกระบบ หรือการศึกษาตามอัธยาศัยให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง และมาตรา72 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ได้บัญญัติว่า ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ดำเนินการออกกฎกระทรวงตามมาตรา 16 วรรคสอง และวรรคสี่ ให้แล้วเสร็จ ทบวงมหาวิทยาลัยจึงได้เสนอร่างกฎทบวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาเพื่อดำเนินการ โดยในร่างกฎกระทรวงดังกล่าวได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแบ่งระดับหรือการเทียบระดับการศึกษานอกระบบ หรือการศึกษาตามอัธยาศัยระดับอุดมศึกษา
ร่างกฎทบวงดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดคำนิยามของการเทียบระดับการศึกษาไว้ทั้งนอกระบบ หรือตามอัธยาศัย เพื่อกำหนดว่าอยู่ในระดับใดของระดับอุดมศึกษา
2. ให้มีคณะกรรมการเทียบระดับการศึกษาในระดับอุดมศึกษาประกอบด้วย ปลัดทบวงมหาวิทยาลัยเป็นประธาน ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาการและวิชาชีพ จำนวนไม่เกิน 9 คน เป็นกรรมการ และผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานอุดมศึกษา สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัยเป็นกรรมการและเลขานุการ
3. กำหนดให้คณะกรรมการเทียบระดับการศึกษาในระดับอุดมศึกษามีอำนาจหน้าที่ในการออกระเบียบข้อบังคับ ประกาศที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์และวิธีการเทียบระดับ มอบอำนาจให้สถาบันอุดมศึกษาดำเนินการเทียบระดับการศึกษา ตลอดจนกำกับและตรวจสอบการดำเนินการเทียบระดับการศึกษาให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
4. ให้มีการแบ่งการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเป็น 2 ระดับ คือ ระดับต่ำกว่าปริญญา และระดับปริญญา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 29 ส.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎทบวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ ทบวงมหาวิทยาลัยรายงานว่า
1. เนื่องจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 15 ได้กำหนดให้การจัดการศึกษามี3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย และให้มีการเทียบโอนผลการเรียนที่ผู้เรียนสะสมไว้ในระหว่างรูปแบบเดียวกันหรือต่างรูปแบบได้ ไม่ว่าจะเป็นผลการเรียนจากสถานศึกษาเดียวกันหรือไม่ก็ตามโดยผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้มาจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ มาใช้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรที่ต้องการศึกษาในระดับอุดมศึกษาได้
2. ปัจจุบันสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งในประเทศไทยทั้งสถาบันศึกษาของรัฐและเอกชนยังไม่มีการรับเทียบโอนผลการเรียนจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ เพราะสถาบันอุดมศึกษาจะเทียบโอนผลการเรียนจากการศึกษาในระบบมหาวิทยาลัยเท่านั้น ส่วนการเทียบโอนผลการเรียนในรูปแบบใหม่นี้ เป็นการยึดผู้เรียนเป็นหลักว่า ผู้เรียนได้เรียนรู้อะไรมาบ้างที่สามารถเทียบได้กับสิ่งที่มีการสอนอยู่ในการศึกษาในระบบ จึงต้องมีการประเมินเพื่อเทียบความรู้ ซึ่งสถาบันอุดมศึกษาที่รับเทียบโอนจะต้องมีระบบการบริหาร การประเมินที่เป็นมาตรฐาน มีคุณภาพ มีความเชื่อถือได้ให้เป็นที่ยอมรับแก่บุคคลทั่วไป
3. โดยที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 16 วรรคสี่ ได้บัญญัติว่าการแบ่งระดับหรือการเทียบระดับการศึกษานอกระบบ หรือการศึกษาตามอัธยาศัยให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง และมาตรา72 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ได้บัญญัติว่า ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ดำเนินการออกกฎกระทรวงตามมาตรา 16 วรรคสอง และวรรคสี่ ให้แล้วเสร็จ ทบวงมหาวิทยาลัยจึงได้เสนอร่างกฎทบวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาเพื่อดำเนินการ โดยในร่างกฎกระทรวงดังกล่าวได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแบ่งระดับหรือการเทียบระดับการศึกษานอกระบบ หรือการศึกษาตามอัธยาศัยระดับอุดมศึกษา
ร่างกฎทบวงดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดคำนิยามของการเทียบระดับการศึกษาไว้ทั้งนอกระบบ หรือตามอัธยาศัย เพื่อกำหนดว่าอยู่ในระดับใดของระดับอุดมศึกษา
2. ให้มีคณะกรรมการเทียบระดับการศึกษาในระดับอุดมศึกษาประกอบด้วย ปลัดทบวงมหาวิทยาลัยเป็นประธาน ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาการและวิชาชีพ จำนวนไม่เกิน 9 คน เป็นกรรมการ และผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานอุดมศึกษา สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัยเป็นกรรมการและเลขานุการ
3. กำหนดให้คณะกรรมการเทียบระดับการศึกษาในระดับอุดมศึกษามีอำนาจหน้าที่ในการออกระเบียบข้อบังคับ ประกาศที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์และวิธีการเทียบระดับ มอบอำนาจให้สถาบันอุดมศึกษาดำเนินการเทียบระดับการศึกษา ตลอดจนกำกับและตรวจสอบการดำเนินการเทียบระดับการศึกษาให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
4. ให้มีการแบ่งการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเป็น 2 ระดับ คือ ระดับต่ำกว่าปริญญา และระดับปริญญา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 29 ส.ค. 2543--
-สส-