ทำเนียบรัฐบาล--22 ส.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการดำเนินงานตามแผนฟื้นฟูผู้ประสบอุทกภัย ปี 2543 ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ โดยรายละเอียดด้านงบประมาณให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ดังนี้
1. จากการเกิดสถานการณ์อุทกภัยโดยทั่วไปในภาคตะวันออกเฉียงหนือ ภาคเหนือ และภาคตะวันออก รวม 23 จังหวัด ทำให้พื้นที่การเกษตรกว่า 9 แสนไร่ ได้รับความเสียหาย รวมทั้งบ้านเรือนราษฎร อุปกรณ์ไฟฟ้า ยานพาหนะ ตลอดจนเครื่องยนต์เพื่อการเกษตรได้รับความเสียหายด้วย (ข้อมูล ณ วันที่ 18 กรกฎาคม 2543 กรมการปกครอง) และหลังน้ำลด ราษฎรในพื้นที่ 8 จังหวัด คือ อุดรธานี กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ ขอนแก่น หนองบัวลำภู และอุบลราชธานี รวม 2,144 หมู่บ้าน จำนวน 891,136 คน ยังคงเดือดร้อนเนื่องจากไม่สามารถทำการเกษตรได้ตามปกติ บ้านเรือน อุปกรณ์ไฟฟ้า ยานพาหนะ และเครื่องยนต์เพื่อการเกษตรชำรุด ขาดความรู้ในการซ่อมแซมให้ใช้การได้ตามปกติ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมจึงได้จัดทำแผนฟื้นฟูผู้ประสบอุทกภัยปี 2543 ขึ้น โดยมีพื้นที่ดำเนินการครอบคลุม 8 จังหวัด ราษฎรกลุ่มเป้าหมาย 13,000 คน ประกอบด้วย 2 โครงการ ได้แก่
1.1 โครงการฝึกอบรมและรับซื้อผลิตภัณฑ์กลุ่ม โดยผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับค่าตอบแทนวันละ 50 บาท/คน ได้รับเงินสงเคราะห์ครอบครัว ๆ ละ 2,000 บาท มีรายได้จากการขยายผลิตภัณฑ์ของกลุ่มที่ได้จากการฝึกอาชีพผู้เข้าร่วมโครงการ 10,000 คน วงเงินงบประมาณดำเนินการ 104,051,250 บาท
1.2 โครงการฝึกอาชีพแรงงานในชนบท โดยผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับค่าตอบแทนวันละ 50 บาท/คนตลอดหลักสูตร 60 วัน ผู้เข้าร่วมโครงการ 3,000 คน วงเงินงบประมาณดำเนินการ 18,120,000 บาท
2. สำนักงบประมาณมีความเห็นว่า
2.1 จากรายงานของสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมการปกครอง เกี่ยวกับสภาวะน้ำท่วมน้ำป่าไหลหลากและแหล่งน้ำธรรมชาติน้ำล้นตลิ่งใน 8 จังหวัด คือ จังหวัดอุบลราชธานี ขอนแก่น อุดรธานี กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ และหนองบัวลำภู ปรากฏว่ามีราษฎรได้รับความเดือดร้อนทั้งสิ้น 273,226 ครอบครัว1,076,001 คน ซึ่งสำนักงบประมาณได้อนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นให้กรมประชาสงเคราะห์ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติในช่วงวิกฤตแล้ว เป็นจำนวนทั้งสิ้น 71,437,500 บาท
2.2 เนื่องจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น มีจำนวนจำกัด ประกอบกับขณะนี้เป็นระยะใกล้สิ้นปีงบประมาณ และยังมีโครงการที่จำเป็นเร่งด่วนอีกเป็นจำนวนมากที่จะต้องดำเนินการ ดังนั้น หากกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องช่วยเหลือหลังภัยพิบัติอีก ก็ขอให้เจียดจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 และ พ.ศ. 2544 ของแต่ละส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1) โครงการฝึกอบรมและรับซื้อผลิตภัณฑ์กลุ่มของกรมประชาสงเคราะห์ โดยพิจารณาจากแผนงานสวัสดิการสังคมสงเคราะห์ งานสงเคราะห์และจัดสวัสดิการสตรี
2) โครงการฝึกอาชีพแรงงานในชนบทของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยพิจารณาจากแผนงานบริหารและพัฒนาแรงงาน งานพัฒนาฝีมือแรงงาน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 22 ส.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการดำเนินงานตามแผนฟื้นฟูผู้ประสบอุทกภัย ปี 2543 ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ โดยรายละเอียดด้านงบประมาณให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ดังนี้
1. จากการเกิดสถานการณ์อุทกภัยโดยทั่วไปในภาคตะวันออกเฉียงหนือ ภาคเหนือ และภาคตะวันออก รวม 23 จังหวัด ทำให้พื้นที่การเกษตรกว่า 9 แสนไร่ ได้รับความเสียหาย รวมทั้งบ้านเรือนราษฎร อุปกรณ์ไฟฟ้า ยานพาหนะ ตลอดจนเครื่องยนต์เพื่อการเกษตรได้รับความเสียหายด้วย (ข้อมูล ณ วันที่ 18 กรกฎาคม 2543 กรมการปกครอง) และหลังน้ำลด ราษฎรในพื้นที่ 8 จังหวัด คือ อุดรธานี กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ ขอนแก่น หนองบัวลำภู และอุบลราชธานี รวม 2,144 หมู่บ้าน จำนวน 891,136 คน ยังคงเดือดร้อนเนื่องจากไม่สามารถทำการเกษตรได้ตามปกติ บ้านเรือน อุปกรณ์ไฟฟ้า ยานพาหนะ และเครื่องยนต์เพื่อการเกษตรชำรุด ขาดความรู้ในการซ่อมแซมให้ใช้การได้ตามปกติ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมจึงได้จัดทำแผนฟื้นฟูผู้ประสบอุทกภัยปี 2543 ขึ้น โดยมีพื้นที่ดำเนินการครอบคลุม 8 จังหวัด ราษฎรกลุ่มเป้าหมาย 13,000 คน ประกอบด้วย 2 โครงการ ได้แก่
1.1 โครงการฝึกอบรมและรับซื้อผลิตภัณฑ์กลุ่ม โดยผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับค่าตอบแทนวันละ 50 บาท/คน ได้รับเงินสงเคราะห์ครอบครัว ๆ ละ 2,000 บาท มีรายได้จากการขยายผลิตภัณฑ์ของกลุ่มที่ได้จากการฝึกอาชีพผู้เข้าร่วมโครงการ 10,000 คน วงเงินงบประมาณดำเนินการ 104,051,250 บาท
1.2 โครงการฝึกอาชีพแรงงานในชนบท โดยผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับค่าตอบแทนวันละ 50 บาท/คนตลอดหลักสูตร 60 วัน ผู้เข้าร่วมโครงการ 3,000 คน วงเงินงบประมาณดำเนินการ 18,120,000 บาท
2. สำนักงบประมาณมีความเห็นว่า
2.1 จากรายงานของสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมการปกครอง เกี่ยวกับสภาวะน้ำท่วมน้ำป่าไหลหลากและแหล่งน้ำธรรมชาติน้ำล้นตลิ่งใน 8 จังหวัด คือ จังหวัดอุบลราชธานี ขอนแก่น อุดรธานี กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ และหนองบัวลำภู ปรากฏว่ามีราษฎรได้รับความเดือดร้อนทั้งสิ้น 273,226 ครอบครัว1,076,001 คน ซึ่งสำนักงบประมาณได้อนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นให้กรมประชาสงเคราะห์ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติในช่วงวิกฤตแล้ว เป็นจำนวนทั้งสิ้น 71,437,500 บาท
2.2 เนื่องจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น มีจำนวนจำกัด ประกอบกับขณะนี้เป็นระยะใกล้สิ้นปีงบประมาณ และยังมีโครงการที่จำเป็นเร่งด่วนอีกเป็นจำนวนมากที่จะต้องดำเนินการ ดังนั้น หากกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องช่วยเหลือหลังภัยพิบัติอีก ก็ขอให้เจียดจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 และ พ.ศ. 2544 ของแต่ละส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1) โครงการฝึกอบรมและรับซื้อผลิตภัณฑ์กลุ่มของกรมประชาสงเคราะห์ โดยพิจารณาจากแผนงานสวัสดิการสังคมสงเคราะห์ งานสงเคราะห์และจัดสวัสดิการสตรี
2) โครงการฝึกอาชีพแรงงานในชนบทของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยพิจารณาจากแผนงานบริหารและพัฒนาแรงงาน งานพัฒนาฝีมือแรงงาน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 22 ส.ค. 2543--
-สส-