ทำเนียบรัฐบาล--15 ก.พ.--รอยเตอร์
คณะรัฐมนตรีพิจารณานโยบายการใช้ปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยอินทรีย์เพื่อกอบกู้เศรษฐกิจ ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ แล้วมีมติให้ความเห็นชอบในหลักการนโยบายการใช้ปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยอินทรีย์เพื่อกอบกู้เศรษฐกิจ ดังนี้
1. การเร่งปรับปรุงบำรุงดิน ควรมีความสำคัญมากกว่าการเร่งการใช้ปุ๋ยเคมี เพราะมีหลักฐานว่าความอุดมสมบูรณ์ของอินทรีย์วัตถุในดินของประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งอินทรีย์วัตถุในดินหลายพื้นที่มีค่าต่ำกว่าร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับมาตรฐานร้อยละ 2 - 3 การปรับปรุงบำรุงดินตามหลักการต้องเน้นการเพิ่มอินทรีย์วัตถุ โดยการใช้ปุ๋ยชีวภาพ (จุลินทรีย์) และปุ๋ยอินทรีย์เพื่อเร่งรัดการลดผลกระทบจากการใช้ปุ๋ยเคมีต่อดินและสิ่งแวดล้อม
2. ควรยกระดับความสำคัญของการปรับปรุงบำรุงดิน โดยใช้ปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยอินทรีย์ให้เป็นนโยบายสำคัญในการพัฒนาการเกษตรระดับชาติ เพราะถ้าดินมีอินทรีย์วัตถุและจุลินทรีย์ดินอุดมสมบูรณ์มากขึ้น การใช้ปุ๋ยเคมีจะมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นด้วย ส่วนในทางตรงกันข้ามหากความอุดมสมบูรณ์ของอินทรีย์วัตถุและจุลินทรีย์ในดินลดน้อยลง จะกลายเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยากในการพัฒนาการเกษตรของประเทศในอนาคต
สำหรับแนวทางดำเนินการ มอบให้คณะกรรมการดินและปุ๋ยแห่งชาติ ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม พิจารณาและรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบต่อไป
ทั้งนี้ เนื่องจากประเทศไทยกำลังประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจ จึงจำเป็นต้องเร่งนำผลงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้แก้ปัญหาเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วน ปัญหาใหญ่ด้านการเกษตรคือ ปุ๋ย ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยนำเข้าปุ๋ยเคมีมากถึง 3,000,000 ตันในแต่ละปี ในราคาตันละ 5,560 บาท นับเป็นมูลค่า 16,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการเสียดุลการค้าอย่างมหาศาล และยังเป็นต้นทุนที่สูงมากสำหรับเกษตรกรไทย ทำให้มีปัญหาในการแข่งขันกับต่างประเทศ จึงมีการเรียกร้องจากเกษตรกรให้รัฐบาลพยุงราคาพืชผลตลอดเวลา นอกจากนี้การใช้ปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยอินทรีย์ที่จะผลิตขึ้นใช้เองภายในประเทศ นอกจากจะช่วยรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินและสิ่งแวดล้อมได้แล้วยังสามารถเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะจะส่งเสริมแนวพระราชดำริเกษตรพอเพียง และจะเป็นการสร้างงานให้กับคนไทยในภาวะวิกฤตของประเทศได้ด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2543--
คณะรัฐมนตรีพิจารณานโยบายการใช้ปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยอินทรีย์เพื่อกอบกู้เศรษฐกิจ ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ แล้วมีมติให้ความเห็นชอบในหลักการนโยบายการใช้ปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยอินทรีย์เพื่อกอบกู้เศรษฐกิจ ดังนี้
1. การเร่งปรับปรุงบำรุงดิน ควรมีความสำคัญมากกว่าการเร่งการใช้ปุ๋ยเคมี เพราะมีหลักฐานว่าความอุดมสมบูรณ์ของอินทรีย์วัตถุในดินของประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งอินทรีย์วัตถุในดินหลายพื้นที่มีค่าต่ำกว่าร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับมาตรฐานร้อยละ 2 - 3 การปรับปรุงบำรุงดินตามหลักการต้องเน้นการเพิ่มอินทรีย์วัตถุ โดยการใช้ปุ๋ยชีวภาพ (จุลินทรีย์) และปุ๋ยอินทรีย์เพื่อเร่งรัดการลดผลกระทบจากการใช้ปุ๋ยเคมีต่อดินและสิ่งแวดล้อม
2. ควรยกระดับความสำคัญของการปรับปรุงบำรุงดิน โดยใช้ปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยอินทรีย์ให้เป็นนโยบายสำคัญในการพัฒนาการเกษตรระดับชาติ เพราะถ้าดินมีอินทรีย์วัตถุและจุลินทรีย์ดินอุดมสมบูรณ์มากขึ้น การใช้ปุ๋ยเคมีจะมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นด้วย ส่วนในทางตรงกันข้ามหากความอุดมสมบูรณ์ของอินทรีย์วัตถุและจุลินทรีย์ในดินลดน้อยลง จะกลายเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยากในการพัฒนาการเกษตรของประเทศในอนาคต
สำหรับแนวทางดำเนินการ มอบให้คณะกรรมการดินและปุ๋ยแห่งชาติ ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม พิจารณาและรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบต่อไป
ทั้งนี้ เนื่องจากประเทศไทยกำลังประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจ จึงจำเป็นต้องเร่งนำผลงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้แก้ปัญหาเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วน ปัญหาใหญ่ด้านการเกษตรคือ ปุ๋ย ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยนำเข้าปุ๋ยเคมีมากถึง 3,000,000 ตันในแต่ละปี ในราคาตันละ 5,560 บาท นับเป็นมูลค่า 16,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการเสียดุลการค้าอย่างมหาศาล และยังเป็นต้นทุนที่สูงมากสำหรับเกษตรกรไทย ทำให้มีปัญหาในการแข่งขันกับต่างประเทศ จึงมีการเรียกร้องจากเกษตรกรให้รัฐบาลพยุงราคาพืชผลตลอดเวลา นอกจากนี้การใช้ปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยอินทรีย์ที่จะผลิตขึ้นใช้เองภายในประเทศ นอกจากจะช่วยรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินและสิ่งแวดล้อมได้แล้วยังสามารถเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะจะส่งเสริมแนวพระราชดำริเกษตรพอเพียง และจะเป็นการสร้างงานให้กับคนไทยในภาวะวิกฤตของประเทศได้ด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2543--