ทำเนียบรัฐบาล--26 ก.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีพิจารณาการลงนามอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ แล้วเห็นว่า เพื่อเป็นการแสดงจุดยืนของประเทศไทยและเพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการต่อต้านองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ รวมทั้งเป็นการสอดคล้องกับนโยบายและบทบาทของไทยในเวทีระหว่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องการต่อต้านองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ จึงมีมติ ดังนี้
1. อนุมัติให้ลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติในโอกาสที่มีการประชุมทางการเมืองระดับสูง ณ เมือง Palermo ประเทศอิตาลี ระหว่างวันที่ 11 - 15 ธันวาคม 2543 โดยมอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ลงนามในนามประเทศไทย
2. ให้แต่งตั้งคณะผู้แทนไทยสำหรับการประชุมทางการเมืองระดับสูงดังกล่าว โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นหัวหน้าคณะ และอัยการสูงสุดเป็นรองหัวหน้าคณะ และประกอบด้วยผู้แทนจากส่วนราชการอื่น ตามความเหมาะสม
3. ให้สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นหน่วยงานหลักในการตรวจสอบพันธกรณีตามอนุสัญญาฯ เพื่อแก้ไขกฎหมายที่มีอยู่หรือยกร่างขึ้นใหม่ เพื่อรองรับพันธกรณีต่าง ๆ ของไทยตามอนุสัญญาฯ โดยให้สามารถจัดตั้งคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้แทนจากส่วนราชการต่าง ๆ เพื่อดำเนินการ (กระทรวงการต่างประเทศได้ประสานกับสำนักงานอัยการสูงสุดล่วงหน้าแล้ว และสำนักงานอัยการสูงสุดไม่มีข้อขัดข้อง)
4. ให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำคำแปลภาษาไทยของอนุสัญญาฯ โดยให้สามารถจัดตั้งคณะกรรมการประกอบด้วยผู้แทนจากส่วนราชการต่าง ๆ เพื่อดำเนินการ
อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งเป็นกรอบความร่วมมือทางกฎหมายและเป็นการกำหนดมาตรฐานระดับสากล (standard setting) เพื่อร่วมกันต่อต้านองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติมีหลักการและสาระสำคัญ ดังนี้
1. มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2. มีขอบเขตการบังคับใช้กับการป้องกัน การสืบสวนและการฟ้องคดีอาญาสำหรับการมีส่วนร่วมในกลุ่มองค์กรอาชญากรรม การฟอกทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิด การฉ้อราษฎร์บังหลวง การขัดขวางกระบวนการยุติธรรม และสำหรับความผิดที่มีโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่ 4 ปีขึ้นไป เมื่อมีลักษณะเป็นความผิดข้ามชาติและเกี่ยวข้องกับองค์กรอาชญากรรม
3. กลุ่มองค์กรอาชญากรรม หมายความถึง กลุ่มบุคคลที่มีการจัดตั้งร่วมกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป และจัดตั้งมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง และร่วมกันกระทำความผิดตามอนุสัญญาฯ เพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์ทางการเงินหรือทางทรัพย์สินอื่น ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
4. ให้การมีส่วนร่วมในกลุ่มองค์กรอาชญากรรม การฟอกทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิด การฉ้อราษฎร์บังหลวง และการขัดขวางกระบวนการยุติธรรม เป็นความผิดอาญา
5. การให้ความร่วมมือระหว่างประเทศตามอนุสัญญาฯ ประกอบด้วย เรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามแดน เรื่องการโอนตัวนักโทษ เรื่องการช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางอาญา ซึ่งนอกจากด้วยวิธีการโดยปรกติแล้ว ยังอาจทำโดยการใช้วีดิทัศน์ข้ามประเทศหรือวิธีสื่อสารอื่นที่ทันสมัย เรื่องวิธีการสอบสวนร่วมกัน เรื่องการโอนการดำเนินคดี และเรื่องความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมาย
6. การช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางอาญาอาจเป็นไปในรูปต่าง ๆ เช่น การจัดหาพยานหลักฐาน การสืบพยานวัตถุ การค้นและยึดและอายัดทรัพย์สิน ฯลฯ เป็นต้น
7. ในกรณีที่รัฐภาคีสนธิสัญญาฯ ไม่มีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างกัน และรัฐภาคีหนึ่งตั้งเงื่อนไขว่าจะต้องมีสนธิสัญญาฯ ระหว่างกันนั้น เมื่อได้รับคำร้องขอจากรัฐอื่น รัฐภาคีที่ตั้งเงื่อนไขอาจพิจารณาใช้อนุสัญญาฯ เป็นพื้นฐานทางกฎหมายเกี่ยวกับการส่งผู้ร้ายข้ามแดน
8. ในกรณีที่รัฐภาคีอนุสัญญาฯ ไม่มีความตกลงเกี่ยวกับเรื่องความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมาย รัฐภาคีอาจพิจารณาใช้อนุสัญญาฯ เป็นพื้นฐานทางกฎหมายเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมาย
9. รัฐภาคีจะต้องจัดให้มีมาตรการที่เหมาะสมเพื่อคุ้มครองพยานจากการล้างแค้นหรือการข่มขู่
10. รัฐภาคีจะต้องจัดให้มีมาตรการที่เหมาะสมเพื่อช่วยเหลือและคุ้มครองผู้เสียหาย โดยเฉพาะจากการล้างแค้นหรือการข่มขู่
11. กำหนดให้มีการรวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อสนเทศเกี่ยวกับลักษณะของอาชญากรรม กำหนดให้มีการฝึกอบรมและการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ และกำหนดให้มีมาตรการอื่นด้วยการพัฒนาทางเศรษฐกิจและความช่วยเหลือทางวิชาการเพื่อการอนุวัติอนุสัญญาฯ
12. ให้มีการจัดตั้งที่ประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาฯ เพื่อเป็นกลไกในการส่งสริมและติดตามการอนุวัติอนุสัญญาฯ การแลกเปลี่ยนข้อสนเทศระหว่างประเทศต่าง ๆ การร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศอื่นทั้งระดับรัฐบาลและระดับมิใช่รัฐบาล การทบทวนการอนุวัติอนุสัญญาฯ เป็นระยะ ๆ การจัดทำข้อเสนอแนะ ฯลฯ เป็นต้น
13. อนุสัญญาฯ จะมีผลใข้บังคับ 90 วันหลังจากที่มีการยื่นสัตยาบันสาร สารยอมรับ หรือภาคยานุวัติสารแล้วจาก 40 ประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 26 ก.ย. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีพิจารณาการลงนามอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ แล้วเห็นว่า เพื่อเป็นการแสดงจุดยืนของประเทศไทยและเพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการต่อต้านองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ รวมทั้งเป็นการสอดคล้องกับนโยบายและบทบาทของไทยในเวทีระหว่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องการต่อต้านองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ จึงมีมติ ดังนี้
1. อนุมัติให้ลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติในโอกาสที่มีการประชุมทางการเมืองระดับสูง ณ เมือง Palermo ประเทศอิตาลี ระหว่างวันที่ 11 - 15 ธันวาคม 2543 โดยมอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ลงนามในนามประเทศไทย
2. ให้แต่งตั้งคณะผู้แทนไทยสำหรับการประชุมทางการเมืองระดับสูงดังกล่าว โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นหัวหน้าคณะ และอัยการสูงสุดเป็นรองหัวหน้าคณะ และประกอบด้วยผู้แทนจากส่วนราชการอื่น ตามความเหมาะสม
3. ให้สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นหน่วยงานหลักในการตรวจสอบพันธกรณีตามอนุสัญญาฯ เพื่อแก้ไขกฎหมายที่มีอยู่หรือยกร่างขึ้นใหม่ เพื่อรองรับพันธกรณีต่าง ๆ ของไทยตามอนุสัญญาฯ โดยให้สามารถจัดตั้งคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้แทนจากส่วนราชการต่าง ๆ เพื่อดำเนินการ (กระทรวงการต่างประเทศได้ประสานกับสำนักงานอัยการสูงสุดล่วงหน้าแล้ว และสำนักงานอัยการสูงสุดไม่มีข้อขัดข้อง)
4. ให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำคำแปลภาษาไทยของอนุสัญญาฯ โดยให้สามารถจัดตั้งคณะกรรมการประกอบด้วยผู้แทนจากส่วนราชการต่าง ๆ เพื่อดำเนินการ
อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งเป็นกรอบความร่วมมือทางกฎหมายและเป็นการกำหนดมาตรฐานระดับสากล (standard setting) เพื่อร่วมกันต่อต้านองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติมีหลักการและสาระสำคัญ ดังนี้
1. มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2. มีขอบเขตการบังคับใช้กับการป้องกัน การสืบสวนและการฟ้องคดีอาญาสำหรับการมีส่วนร่วมในกลุ่มองค์กรอาชญากรรม การฟอกทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิด การฉ้อราษฎร์บังหลวง การขัดขวางกระบวนการยุติธรรม และสำหรับความผิดที่มีโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่ 4 ปีขึ้นไป เมื่อมีลักษณะเป็นความผิดข้ามชาติและเกี่ยวข้องกับองค์กรอาชญากรรม
3. กลุ่มองค์กรอาชญากรรม หมายความถึง กลุ่มบุคคลที่มีการจัดตั้งร่วมกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป และจัดตั้งมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง และร่วมกันกระทำความผิดตามอนุสัญญาฯ เพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์ทางการเงินหรือทางทรัพย์สินอื่น ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
4. ให้การมีส่วนร่วมในกลุ่มองค์กรอาชญากรรม การฟอกทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิด การฉ้อราษฎร์บังหลวง และการขัดขวางกระบวนการยุติธรรม เป็นความผิดอาญา
5. การให้ความร่วมมือระหว่างประเทศตามอนุสัญญาฯ ประกอบด้วย เรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามแดน เรื่องการโอนตัวนักโทษ เรื่องการช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางอาญา ซึ่งนอกจากด้วยวิธีการโดยปรกติแล้ว ยังอาจทำโดยการใช้วีดิทัศน์ข้ามประเทศหรือวิธีสื่อสารอื่นที่ทันสมัย เรื่องวิธีการสอบสวนร่วมกัน เรื่องการโอนการดำเนินคดี และเรื่องความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมาย
6. การช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางอาญาอาจเป็นไปในรูปต่าง ๆ เช่น การจัดหาพยานหลักฐาน การสืบพยานวัตถุ การค้นและยึดและอายัดทรัพย์สิน ฯลฯ เป็นต้น
7. ในกรณีที่รัฐภาคีสนธิสัญญาฯ ไม่มีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างกัน และรัฐภาคีหนึ่งตั้งเงื่อนไขว่าจะต้องมีสนธิสัญญาฯ ระหว่างกันนั้น เมื่อได้รับคำร้องขอจากรัฐอื่น รัฐภาคีที่ตั้งเงื่อนไขอาจพิจารณาใช้อนุสัญญาฯ เป็นพื้นฐานทางกฎหมายเกี่ยวกับการส่งผู้ร้ายข้ามแดน
8. ในกรณีที่รัฐภาคีอนุสัญญาฯ ไม่มีความตกลงเกี่ยวกับเรื่องความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมาย รัฐภาคีอาจพิจารณาใช้อนุสัญญาฯ เป็นพื้นฐานทางกฎหมายเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมาย
9. รัฐภาคีจะต้องจัดให้มีมาตรการที่เหมาะสมเพื่อคุ้มครองพยานจากการล้างแค้นหรือการข่มขู่
10. รัฐภาคีจะต้องจัดให้มีมาตรการที่เหมาะสมเพื่อช่วยเหลือและคุ้มครองผู้เสียหาย โดยเฉพาะจากการล้างแค้นหรือการข่มขู่
11. กำหนดให้มีการรวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อสนเทศเกี่ยวกับลักษณะของอาชญากรรม กำหนดให้มีการฝึกอบรมและการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ และกำหนดให้มีมาตรการอื่นด้วยการพัฒนาทางเศรษฐกิจและความช่วยเหลือทางวิชาการเพื่อการอนุวัติอนุสัญญาฯ
12. ให้มีการจัดตั้งที่ประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาฯ เพื่อเป็นกลไกในการส่งสริมและติดตามการอนุวัติอนุสัญญาฯ การแลกเปลี่ยนข้อสนเทศระหว่างประเทศต่าง ๆ การร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศอื่นทั้งระดับรัฐบาลและระดับมิใช่รัฐบาล การทบทวนการอนุวัติอนุสัญญาฯ เป็นระยะ ๆ การจัดทำข้อเสนอแนะ ฯลฯ เป็นต้น
13. อนุสัญญาฯ จะมีผลใข้บังคับ 90 วันหลังจากที่มีการยื่นสัตยาบันสาร สารยอมรับ หรือภาคยานุวัติสารแล้วจาก 40 ประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 26 ก.ย. 2543--
-สส-