คณะรัฐมนตรีพิจารณาโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตร และมีมติอนุมัติในหลักการตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 คกก. 5 โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์) เป็นประธานกรรมการฯ ดังนี้
1. อนุมัติในหลักการโครงการพัฒนาอาชีพเกษตรกร และโครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตของชุมชน โดยให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับไปดำเนินการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาศึกษาในรายละเอียดโครงการทั้ง 2 แล้วรายงานผลต่อคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 ภายใน1 เดือน ดังนี้
โครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตรในส่วนของโครงการพัฒนาอาชีพเกษตรกร และโครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตของชุมชนที่จะดำเนินการในพื้นที่โครงการปรับปรุงชลประทานขนาดใหญ่ ซึ่งผลของการดำเนินงานตามโครงการดังกล่าวจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่ง หากมีการวางแผนที่เชื่อมโยงครบวงจร การบริหารจัดการที่เป็นระบบและการประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงเห็นควรให้มีการแต่งตั้งคณะทำงานขึ้นชุดหนึ่งทำหน้าที่ในการกำหนดแผนดำเนินการการประเมินความพร้อมและวางระบบการติดตามประเมินผลโครงการทั้งสองอย่างรอบด้าน และให้มีความเชื่อมโยงทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติอย่างครบวงจร กล่าวคือ
1) ในระดับนโยบาย ให้มีความสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่นนโยบายหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
2) ในระดับปฏิบัติ ให้มีการประสานการจัดการโครงการระหว่างหน่วยงานและกองทุนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน
รวมทั้งให้คณะทำงานคัดเลือกแผนงานใดแผนงานหนึ่งขึ้นมาเป็นตัวอย่างสำหรับศึกษาในรายละเอียดเพื่อเป็นการตรวจสอบความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ แล้วนำผลการศึกษาเสนอ คกก. 5 พิจารณา
สำหรับองค์ประกอบของคณะทำงานดังกล่าว ให้ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ เป็นประธาน และมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นคณะทำงาน ประกอบด้วย สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม และกองทุนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ให้คณะทำงานเร่งดำเนินการตามภารกิจให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน แล้วเสนอผลให้ คกก. 5 พิจารณา
2. อนุมัติในหลักการโครงการจัดตั้งตลาดค้ามาตรฐานกล้วยไม้ ไม้ดอก ไม้ประดับ และผลิตภัณฑ์ไม้โดยให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป เนื่องจากเป็นโครงการที่จะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรผู้ปลูก ผู้ค้า ผู้ส่งออก และผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้มีแหล่งท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี เมื่อมีพื้นที่ดำเนินการชัดเจนแล้วควรดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการโดยทันที ทั้งนี้ ในการศึกษาจะต้องพิจารณาให้ครบทุกมิติทั้งด้านกายภาพ ด้านการตลาด และด้านการจัดการ
3. เห็นชอบให้ยกเลิกโครงการพัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำน้ำกร่อย จังหวัดเพชรบุรี ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ เงื่อนไขการใช้เงินกู้ที่ไม่ยืดหยุ่นทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า คณะกรรมการบริหารจัดการโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตร ได้พิจารณาโครงการต่าง ๆ รวม 4 โครงการ ดังนี้
1. โครงการพัฒนาอาชีพเกษตรกร มีวัตถุประสงค์เพื่อเร่งรัดพัฒนาพื้นที่ในเขตชลประทานและแหล่งน้ำธรรมชาติที่ได้รับการปรับปรุงแล้วให้เป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพของชุมชนที่สำคัญทั้งประเภทพืช - สัตว์ และประมง ตามความเหมาะสมของศักยภาพพื้นที่ และความต้องการของตลาด โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรร่วมกันใช้น้ำเพื่อผลิตสินค้าเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงและพัฒนาการตลาดของเกษตรกร โดยมีเป้าหมายพื้นที่ในเขตชลประทานและแหล่งน้ำธรรมชาติที่ได้รับการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแล้วตามแผนงานเพิ่มประสิทธิภาพในเขตชลประทานและแหล่งน้ำธรรมชาติ ภายใต้โครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตรครอบคลุมพื้นที่ 59 จังหวัด 193 อำเภอ และ 327 ตำบล มีระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี (พ.ศ. 2543 - 2546)
2. โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตของชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการในการพัฒนาการเกษตรเพื่อให้มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานของส่วนราชการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในระดับท้องถิ่นและเพื่อเพิ่มศักยภาพของชุมชนในการวางแผน และการพัฒนาตนเอง และมีเป้าหมายดำเนินการจัดตั้งศูนย์บริการ และกำหนดเทคโนโลยีการเกษตรในตำบลเพื่อเป็นตัวอย่าง และเป็นแม่ข่ายในการเรียนรู้ตามระยะเวลาดำเนินการ ประกอบด้วย ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรตำบลนำร่อง ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรตำบลหลักและศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรตำบลขยาย มีระยะเวลาดำเนินการ ปี 2544 - 2546
3. โครงการพัฒนาการเลี้ยงกุ้งกุลาดำน้ำกร่อย จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งคณะกรรมการบริหารจัดการโครงการเงินกู้ฯ มีมติให้นำเสนอคณะรัฐมนตรียกเลิกโครงการพัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำน้ำกร่อย จังหวัดเพชรบุรี
4. โครงการจัดตั้งตลาดค้ามาตรฐานกล้วยไม้ ไม้ดอก ไม้ประดับ และผลิตภัณฑ์ไม้ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดสร้างตลาดการค้ามาตรฐาน สำหรับเป็นศูนย์กลางการค้าปลีก ค้าส่ง การส่งออก และเป็นศูนย์รวมการดำเนินธุรกิจครบวงจรของเกษตรกรผู้ผลิต กลุ่มผู้แปรรูป และผู้ประกอบการค้าเกี่ยวกับกล้วยไม้ ไม้ดอก ไม้ประดับ และผลิตภัณฑ์ไม้ที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้ากับต่างประเทศในตลาดโลก เพื่อเป็นศูนย์งานมาตรฐานและบริการ กำกับ ดูแล และตรวจสอบพืชให้มีคุณภาพและมาตรฐานสินค้าของกล้วยไม้ ไม้ดอก ไม้ประดับซึ่งมีเป้าหมายเพื่อจัดสร้างตลาดการค้ามาตรฐานพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ สำหรับการดำเนินธุรกิจการค้ากล้วยไม้ ไม้ดอก ไม้ประดับ และผลิตภัณฑ์ไม้ 1 แห่ง ในพื้นที่สถานีทดลองพืชสวนบางกอกน้อย กรมวิชาการเกษตร เนื้อที่ 38 ไร่ และจัดตั้งศูนย์งานมาตรฐานและบริการกำกับดูแลตรวจพืชเพื่อให้สินค้ามีคุณภาพและมีมาตรฐาน โดยดำเนินการจดทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกเลี้ยง กล้วยไม้ ไม้ดอก ไม้ประดับ เข้าเป็นสมาชิกตลาด จำนวน 500 ราย และจดทะเบียนผู้ประกอบธุรกิจการค้ากล้วยไม้ ไม้ดอก ไม้ประดับ เข้าเป็นสมาชิกตลาด จำนวน 200 ราย และให้บริการตรวจสอบมาตรฐาน มีระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี (2544 - 2546)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ก.ย.44--
-สส-
1. อนุมัติในหลักการโครงการพัฒนาอาชีพเกษตรกร และโครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตของชุมชน โดยให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับไปดำเนินการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาศึกษาในรายละเอียดโครงการทั้ง 2 แล้วรายงานผลต่อคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 ภายใน1 เดือน ดังนี้
โครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตรในส่วนของโครงการพัฒนาอาชีพเกษตรกร และโครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตของชุมชนที่จะดำเนินการในพื้นที่โครงการปรับปรุงชลประทานขนาดใหญ่ ซึ่งผลของการดำเนินงานตามโครงการดังกล่าวจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่ง หากมีการวางแผนที่เชื่อมโยงครบวงจร การบริหารจัดการที่เป็นระบบและการประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงเห็นควรให้มีการแต่งตั้งคณะทำงานขึ้นชุดหนึ่งทำหน้าที่ในการกำหนดแผนดำเนินการการประเมินความพร้อมและวางระบบการติดตามประเมินผลโครงการทั้งสองอย่างรอบด้าน และให้มีความเชื่อมโยงทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติอย่างครบวงจร กล่าวคือ
1) ในระดับนโยบาย ให้มีความสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่นนโยบายหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
2) ในระดับปฏิบัติ ให้มีการประสานการจัดการโครงการระหว่างหน่วยงานและกองทุนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน
รวมทั้งให้คณะทำงานคัดเลือกแผนงานใดแผนงานหนึ่งขึ้นมาเป็นตัวอย่างสำหรับศึกษาในรายละเอียดเพื่อเป็นการตรวจสอบความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ แล้วนำผลการศึกษาเสนอ คกก. 5 พิจารณา
สำหรับองค์ประกอบของคณะทำงานดังกล่าว ให้ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ เป็นประธาน และมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นคณะทำงาน ประกอบด้วย สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม และกองทุนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ให้คณะทำงานเร่งดำเนินการตามภารกิจให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน แล้วเสนอผลให้ คกก. 5 พิจารณา
2. อนุมัติในหลักการโครงการจัดตั้งตลาดค้ามาตรฐานกล้วยไม้ ไม้ดอก ไม้ประดับ และผลิตภัณฑ์ไม้โดยให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป เนื่องจากเป็นโครงการที่จะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรผู้ปลูก ผู้ค้า ผู้ส่งออก และผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้มีแหล่งท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี เมื่อมีพื้นที่ดำเนินการชัดเจนแล้วควรดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการโดยทันที ทั้งนี้ ในการศึกษาจะต้องพิจารณาให้ครบทุกมิติทั้งด้านกายภาพ ด้านการตลาด และด้านการจัดการ
3. เห็นชอบให้ยกเลิกโครงการพัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำน้ำกร่อย จังหวัดเพชรบุรี ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ เงื่อนไขการใช้เงินกู้ที่ไม่ยืดหยุ่นทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า คณะกรรมการบริหารจัดการโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตร ได้พิจารณาโครงการต่าง ๆ รวม 4 โครงการ ดังนี้
1. โครงการพัฒนาอาชีพเกษตรกร มีวัตถุประสงค์เพื่อเร่งรัดพัฒนาพื้นที่ในเขตชลประทานและแหล่งน้ำธรรมชาติที่ได้รับการปรับปรุงแล้วให้เป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพของชุมชนที่สำคัญทั้งประเภทพืช - สัตว์ และประมง ตามความเหมาะสมของศักยภาพพื้นที่ และความต้องการของตลาด โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรร่วมกันใช้น้ำเพื่อผลิตสินค้าเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงและพัฒนาการตลาดของเกษตรกร โดยมีเป้าหมายพื้นที่ในเขตชลประทานและแหล่งน้ำธรรมชาติที่ได้รับการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแล้วตามแผนงานเพิ่มประสิทธิภาพในเขตชลประทานและแหล่งน้ำธรรมชาติ ภายใต้โครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตรครอบคลุมพื้นที่ 59 จังหวัด 193 อำเภอ และ 327 ตำบล มีระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี (พ.ศ. 2543 - 2546)
2. โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตของชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการในการพัฒนาการเกษตรเพื่อให้มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานของส่วนราชการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในระดับท้องถิ่นและเพื่อเพิ่มศักยภาพของชุมชนในการวางแผน และการพัฒนาตนเอง และมีเป้าหมายดำเนินการจัดตั้งศูนย์บริการ และกำหนดเทคโนโลยีการเกษตรในตำบลเพื่อเป็นตัวอย่าง และเป็นแม่ข่ายในการเรียนรู้ตามระยะเวลาดำเนินการ ประกอบด้วย ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรตำบลนำร่อง ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรตำบลหลักและศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรตำบลขยาย มีระยะเวลาดำเนินการ ปี 2544 - 2546
3. โครงการพัฒนาการเลี้ยงกุ้งกุลาดำน้ำกร่อย จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งคณะกรรมการบริหารจัดการโครงการเงินกู้ฯ มีมติให้นำเสนอคณะรัฐมนตรียกเลิกโครงการพัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำน้ำกร่อย จังหวัดเพชรบุรี
4. โครงการจัดตั้งตลาดค้ามาตรฐานกล้วยไม้ ไม้ดอก ไม้ประดับ และผลิตภัณฑ์ไม้ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดสร้างตลาดการค้ามาตรฐาน สำหรับเป็นศูนย์กลางการค้าปลีก ค้าส่ง การส่งออก และเป็นศูนย์รวมการดำเนินธุรกิจครบวงจรของเกษตรกรผู้ผลิต กลุ่มผู้แปรรูป และผู้ประกอบการค้าเกี่ยวกับกล้วยไม้ ไม้ดอก ไม้ประดับ และผลิตภัณฑ์ไม้ที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้ากับต่างประเทศในตลาดโลก เพื่อเป็นศูนย์งานมาตรฐานและบริการ กำกับ ดูแล และตรวจสอบพืชให้มีคุณภาพและมาตรฐานสินค้าของกล้วยไม้ ไม้ดอก ไม้ประดับซึ่งมีเป้าหมายเพื่อจัดสร้างตลาดการค้ามาตรฐานพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ สำหรับการดำเนินธุรกิจการค้ากล้วยไม้ ไม้ดอก ไม้ประดับ และผลิตภัณฑ์ไม้ 1 แห่ง ในพื้นที่สถานีทดลองพืชสวนบางกอกน้อย กรมวิชาการเกษตร เนื้อที่ 38 ไร่ และจัดตั้งศูนย์งานมาตรฐานและบริการกำกับดูแลตรวจพืชเพื่อให้สินค้ามีคุณภาพและมีมาตรฐาน โดยดำเนินการจดทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกเลี้ยง กล้วยไม้ ไม้ดอก ไม้ประดับ เข้าเป็นสมาชิกตลาด จำนวน 500 ราย และจดทะเบียนผู้ประกอบธุรกิจการค้ากล้วยไม้ ไม้ดอก ไม้ประดับ เข้าเป็นสมาชิกตลาด จำนวน 200 ราย และให้บริการตรวจสอบมาตรฐาน มีระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี (2544 - 2546)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ก.ย.44--
-สส-