คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมรายงานผลการดำเนินงานโครงการกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงาน ในรอบ 6 เดือน (1 เมษายน 2544 - 30 กันยายน 2544) สรุปได้ดังนี้
1. ผลการดำเนินงาน1.1 อนุมัติและจ่ายเงินกู้ให้แก่สหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบกิจการ 6 แห่ง กู้ยืมเงินจากกองทุนได้ จำนวน 124,800,000 บาท มีผู้ใช้แรงงานเป็นสมาชิกสหกรณ์ จำนวน 6,320 คน
จากการดำเนินงานที่ผ่านมานับตั้งแต่ได้รับอนุมัติโครงการ จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2544 กองทุนได้อนุมัติเงินกู้ให้แก่สหกรณ์ออมทรัพย์ รวม 35 แห่ง เป็นเงิน 252,280,000 บาท จำนวนผู้ใช้แรงงานที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ รวมทั้งสิ้น 34,900 คน
1.2 การรับชำระคืนเงินกู้จากสหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบกิจการที่กู้ยืมเงินกองทุน จำนวน35 แห่ง ได้รับชำระคืนตามระยะเวลาที่กำหนด
1.3 ได้ดำเนินการติดตามประเมินผลสหกรณ์ออมทรัพย์ที่กู้ยืมเงินกองทุน 1 แห่ง สหกรณ์ได้นำเงินกู้ไปใช้ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
1.4 ประชาสัมพันธ์เผยแพร่วัตถุประสงค์ หลักเกณฑ์การกู้ยืมเงินกองทุน โดยการจัดส่งเอกสารแผ่นพับเผยแพร่ให้แก่สหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบกิจการโดยตรง และหน่วยงานของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค
1.5 ประสานความร่วมมือกับชุมชนสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย และกรมส่งเสริมสหกรณ์ รณรงค์เชิงรุกสนับสนุนการจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบกิจการ เพื่อให้ผู้ใช้แรงงานและผู้ประกอบการเล็งเห็นประโยชน์ของการมีสหกรณ์ออมทรัพย์ ซึ่งจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ใช้แรงงานให้ดีขึ้น
1.6 จากการรณรงค์เชิงรุกและส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบกิจการขึ้น มีสถานประกอบกิจการได้เล็งเห็นประโยชน์และรวมตัวกันจัดตั้งสหกรณ์แล้วจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งสิ้น370 แห่ง มีผู้ใช้แรงงานเป็นสมาชิกสหกรณ์ จำนวน 386,286 คน
2. ปัญหาและอุปสรรค
การดำเนินงานของกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ สาเหตุสำคัญเนื่องมาจาก
2.1 ลูกจ้างในสถานประกอบกิจการจะมีการเข้า - ออกงานบ่อย บริหารงานต้องมีความระมัดระวังในการให้สินเชื่อแก่สมาชิกและการกู้ยืมเงินจากแหล่งภายนอก
2.2 สหกรณ์ออมทรัพย์โดยรวมมีสภาพคล่อง สมาชิกสหกรณ์โยกย้ายเงินฝากจากธนาคารพาณิชย์เข้าฝากสหกรณ์ออมทรัพย์แทน ไม่จำเป็นต้องกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินกู้ภายนอก
2.3 เพื่อความรัดกุมในการให้กู้ยืมเงินกองทุน คณะกรรมการได้กำหนดเอกสารประกอบการขอกู้ยืมเงินกองทุนมากยิ่งขึ้น โดยกำหนดให้สหกรณ์ออมทรัพย์จะต้องจัดทำงบกระแสเงินสดล่วงหน้า ทำให้สหกรณ์ที่ไม่มีความรู้ความชำนาญในการจัดทำไม่สามารถขอกู้ยืมเงินกองทุนได้
3. แนวทางแก้ไข
3.1 จัดอบรมเพิ่มความรู้ความสามารถในการจัดทำงบกระแสเงินสด
3.2 ขอความร่วมมือจากนายจ้างเปิดโอกาสให้ลูกจ้างเข้ารับการอบรมสัมมนาที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กรมส่งเสริมสหกรณ์ และชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย
3.3 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ประโยชน์ที่นายจ้างและลูกจ้างจะได้รับจากการมีสหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบกิจการ และการใช้สิทธิในการกู้ยืมเงินจากกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงานโดยสื่อต่าง ๆ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ธ.ค. 44--จบ--
-สส-
1. ผลการดำเนินงาน1.1 อนุมัติและจ่ายเงินกู้ให้แก่สหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบกิจการ 6 แห่ง กู้ยืมเงินจากกองทุนได้ จำนวน 124,800,000 บาท มีผู้ใช้แรงงานเป็นสมาชิกสหกรณ์ จำนวน 6,320 คน
จากการดำเนินงานที่ผ่านมานับตั้งแต่ได้รับอนุมัติโครงการ จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2544 กองทุนได้อนุมัติเงินกู้ให้แก่สหกรณ์ออมทรัพย์ รวม 35 แห่ง เป็นเงิน 252,280,000 บาท จำนวนผู้ใช้แรงงานที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ รวมทั้งสิ้น 34,900 คน
1.2 การรับชำระคืนเงินกู้จากสหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบกิจการที่กู้ยืมเงินกองทุน จำนวน35 แห่ง ได้รับชำระคืนตามระยะเวลาที่กำหนด
1.3 ได้ดำเนินการติดตามประเมินผลสหกรณ์ออมทรัพย์ที่กู้ยืมเงินกองทุน 1 แห่ง สหกรณ์ได้นำเงินกู้ไปใช้ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
1.4 ประชาสัมพันธ์เผยแพร่วัตถุประสงค์ หลักเกณฑ์การกู้ยืมเงินกองทุน โดยการจัดส่งเอกสารแผ่นพับเผยแพร่ให้แก่สหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบกิจการโดยตรง และหน่วยงานของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค
1.5 ประสานความร่วมมือกับชุมชนสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย และกรมส่งเสริมสหกรณ์ รณรงค์เชิงรุกสนับสนุนการจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบกิจการ เพื่อให้ผู้ใช้แรงงานและผู้ประกอบการเล็งเห็นประโยชน์ของการมีสหกรณ์ออมทรัพย์ ซึ่งจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ใช้แรงงานให้ดีขึ้น
1.6 จากการรณรงค์เชิงรุกและส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบกิจการขึ้น มีสถานประกอบกิจการได้เล็งเห็นประโยชน์และรวมตัวกันจัดตั้งสหกรณ์แล้วจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งสิ้น370 แห่ง มีผู้ใช้แรงงานเป็นสมาชิกสหกรณ์ จำนวน 386,286 คน
2. ปัญหาและอุปสรรค
การดำเนินงานของกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ สาเหตุสำคัญเนื่องมาจาก
2.1 ลูกจ้างในสถานประกอบกิจการจะมีการเข้า - ออกงานบ่อย บริหารงานต้องมีความระมัดระวังในการให้สินเชื่อแก่สมาชิกและการกู้ยืมเงินจากแหล่งภายนอก
2.2 สหกรณ์ออมทรัพย์โดยรวมมีสภาพคล่อง สมาชิกสหกรณ์โยกย้ายเงินฝากจากธนาคารพาณิชย์เข้าฝากสหกรณ์ออมทรัพย์แทน ไม่จำเป็นต้องกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินกู้ภายนอก
2.3 เพื่อความรัดกุมในการให้กู้ยืมเงินกองทุน คณะกรรมการได้กำหนดเอกสารประกอบการขอกู้ยืมเงินกองทุนมากยิ่งขึ้น โดยกำหนดให้สหกรณ์ออมทรัพย์จะต้องจัดทำงบกระแสเงินสดล่วงหน้า ทำให้สหกรณ์ที่ไม่มีความรู้ความชำนาญในการจัดทำไม่สามารถขอกู้ยืมเงินกองทุนได้
3. แนวทางแก้ไข
3.1 จัดอบรมเพิ่มความรู้ความสามารถในการจัดทำงบกระแสเงินสด
3.2 ขอความร่วมมือจากนายจ้างเปิดโอกาสให้ลูกจ้างเข้ารับการอบรมสัมมนาที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กรมส่งเสริมสหกรณ์ และชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย
3.3 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ประโยชน์ที่นายจ้างและลูกจ้างจะได้รับจากการมีสหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบกิจการ และการใช้สิทธิในการกู้ยืมเงินจากกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงานโดยสื่อต่าง ๆ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ธ.ค. 44--จบ--
-สส-