ทำเนียบรัฐบาล--26 ก.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา แล้วนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเป็นเรื่องด่วนต่อไป
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว เป็นการแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2542 มีดังนี้
1. การปรับปรุงการวินิจฉัยการขาดคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้ง คณะกรรมการฯ พิจารณาให้แก้ไขในส่วนต่างๆ ดังนี้
1.1 กำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจสอบสวนเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า ผู้สมัครผู้ใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้เป็นผู้สมัคร
1.2 ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยว่า ผู้สมัครใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม ให้ดำเนินการเพิกถอนการสมัครเพื่อมิให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งได้กำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจดำเนินการทั้งในกรณีที่วินิจฉัยก่อนวันเลือกตั้ง และในกรณีที่มีการนับคะแนนแล้วแต่ก่อนการประกาศผลการเลือกตั้ง สำหรับกรณีที่มีการประกาศผลการเลือกตั้งไปแล้ว ทำให้ผู้นั้นเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งการวินิจฉัยว่าผู้นั้นขาดคุณสมบัติย่อมไปไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ จึงมิได้บัญญัติไว้ในร่างพระราชบัญญัตินี้
1.3 โดยที่เหตุที่เกิดขึ้นกรณีนี้เกิดจากกรณีที่เดิมมีผู้สมัครหลายราย แต่เนื่องจากการวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งในภายหลังว่า ผู้สมัครรายใดขาดคุณสมบัติ ซึ่งอาจเป็นไปได้ที่บางเขตการเลือกตั้งเหลือผู้สมัครเพียงผู้เดียว อันเป็นกรณีที่ต่างจากมาตรา 74 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ ฉะนั้น เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ผู้สมัครที่เหลืออยู่ จึงกำหนดมิให้นำคะแนนขั้นต่ำที่กำหนดไว้ในมาตรา 74 มาใช้กับกรณีที่เกิดเหตุนี้
2. การปรับปรุงการดำเนินการกรณีการเลือกตั้งไม่สุจริตหรือไม่เที่ยงธรรม คณะกรรมการฯ จึงได้พิจารณาเพิ่มบทบัญญัติส่วนที่ 10 ในการแก้ปัญหาให้การเลือกตั้งแล้วเสร็จโดยเร็ว ดังนี้
2.1 กำหนดให้การดำเนินการเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่หรือไม่ ต้องแล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันเลือกตั้ง เพื่อให้มีการประกาศผลการเลือกตั้งและสภาผู้แทนราษฏรสามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ โดยมีระยะเวลาแน่นอนและสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ
2.2 เพื่อให้การเลือกตั้งสามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว จึงกำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง อาจย่นหรือขยายเวลาในการดำเนินการเลือกตั้งที่กำหนดไว้ในกฎหมายให้เหมาะสมกับการเลือกตั้งที่จะจัดให้มีขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้คณะกรรมการการเลือกตั้งพัฒนาวิธีการจัดการเลือกตั้งให้มีระยะเวลาน้อยลงได้ ซึ่งจะทำให้การบริหารราชการแผ่นดินสามารถดำเนินการไปได้โดยต่อเนื่องมิให้ต้องหยุดชะงักลง เพราะรอระยะเวลาการเลือกตั้งเป็นเวลานาน รวมทั้งอาจทำให้ลดการทุจริตในการเลือกตั้งลงได้ เนื่องจากมีเวลาอันจำกัดด้วย
นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ ยังพิจารณาการแก้ปัญหาการทุจริตการเลือกตั้งกรณีอื่นๆ การป้องกันการกลั่นแกล้งผู้สมัคร และการเพิ่มอำนาจคณะกรรมการการเลือกตั้งในการแสวงหาข้อเท็จจริงอีกด้วย
3. การปรับปรุงการใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งของผู้ที่อยู่นอกเขตเลือกตั้ง คณะกรรมการฯ เห็นควรให้อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้มีสิทธิการเลือกตั้ง เพื่อให้มาใช้สิทธิกันอย่างทั่วถึง ดังนี้
3.1 กำหนดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้งในจังหวัดที่ตนอยู่ในวันเลือกตั้ง สามารถลงทะเบียนเพื่อขอใช้สิทธิได้ และเมื่อแสดงความประสงค์จะใช้สิทธิในที่ใดแล้ว ให้หมดสิทธิลงคะแนนในที่เลือกตั้งเดิมจนกว่าจะแจ้งเปลี่ยนแปลง
3.2 การใช้สิทธิลงคะแนนในจังหวัดที่ตนอยู่เป็นการใช้สิทธิ เพื่อเลือกตั้งผู้สมัครในเขตเลือกตั้งที่ตนมีชื่อในะเบียนบ้าน
3.3 คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องจัดที่เลือกตั้งกลาง เพื่อให้ผู้ลงทะเบียนไว้มาใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง
3.4 เพื่อเป็นการประหยัด จึงกำหนดให้อำนวยความสะดวกเฉพาะการเลือกตั้งทั่วไปเท่านั้น
4. การปรับปรุงการใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร คณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นควรแก้ไขหลักเกณฑ์การอำนวยความสะดวก ดังนี้
4.1 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งประสงค์จะใช้สิทธินอกราชอาณาจักร มีสิทธิแจ้งความประสงค์ขอใข้สิทธิลงคะแนนได้ แต่การขอให้ส่งเอกสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ประสงค์จะใช้สิทธิต้องออกค่าใช้จ่ายเอง
4.2 ในกรณีที่มีผู้มาแสดงความประสงค์เกินห้าร้อยคน ให้จัดให้มีสถานที่ลงคะแนนในประเทศนั้น แต่ถ้ามีจำนวนน้อยกว่าให้ใช้สิทธิทางไปรษณีย์หรือโดยวิธีอื่น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายซึ่งการกำหนดจำนวนผู้ใช้สิทธิได้พิจารณาจากข้อมูลจากคณะกรรมการการเลือกตั้งเกี่ยวกับความคุ้นเคยในการใช้จ่ายเพื่อการนี้ และเห็นว่าจำนวนห้าร้อยคนเป็นจำนวนที่เหมาะสม
4.3 การอำนวยความสะดวกในการจัดให้มีการลงคะแนนนอกราชอาณาจักรนั้น ให้กระทำเฉพาะการเลือกตั้งทั่วไป ส่วนการเลือกตั้งใหม่หรือการเลือกตั้งซ่อมหากประสงค์จะใช้สิทธิต้องกระทำเช่นเดียวกับบุคคลภายในประเทศ
5. การปรับปรุงการนับคะแนนเลือกตั้ง คณะกรรมการฯ เห็นควรให้แก้ไขให้มีการนับคะแนนเมื่อหีบบัตรเลือกตั้งมาถึงสถานที่นับคะแนนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสาม แต่คณะกรรมการการเลือกตั้งจะต้องมีมาตรการที่ทำให้ไม่สามารถทราบได้ว่า เป็นการนับบัตรเลือกตั้งจากหน่วยใด ทั้งกรณีที่หีบบัตรเลือกตั้งมาถึงแล้ว และที่ยังมาไม่ถึง นอกจากนี้สำหรับหีบบัตรเลือกตั้งที่มาถึงล่าช้าเกินกว่าปกติ อันเป็นเหตุที่แสดงว่าการเลือกตั้งเป็นไปโดยไม่สุจริต คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 25 ก.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีอนุมัติร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา แล้วนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเป็นเรื่องด่วนต่อไป
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว เป็นการแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2542 มีดังนี้
1. การปรับปรุงการวินิจฉัยการขาดคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้ง คณะกรรมการฯ พิจารณาให้แก้ไขในส่วนต่างๆ ดังนี้
1.1 กำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจสอบสวนเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า ผู้สมัครผู้ใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้เป็นผู้สมัคร
1.2 ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยว่า ผู้สมัครใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม ให้ดำเนินการเพิกถอนการสมัครเพื่อมิให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งได้กำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจดำเนินการทั้งในกรณีที่วินิจฉัยก่อนวันเลือกตั้ง และในกรณีที่มีการนับคะแนนแล้วแต่ก่อนการประกาศผลการเลือกตั้ง สำหรับกรณีที่มีการประกาศผลการเลือกตั้งไปแล้ว ทำให้ผู้นั้นเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งการวินิจฉัยว่าผู้นั้นขาดคุณสมบัติย่อมไปไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ จึงมิได้บัญญัติไว้ในร่างพระราชบัญญัตินี้
1.3 โดยที่เหตุที่เกิดขึ้นกรณีนี้เกิดจากกรณีที่เดิมมีผู้สมัครหลายราย แต่เนื่องจากการวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งในภายหลังว่า ผู้สมัครรายใดขาดคุณสมบัติ ซึ่งอาจเป็นไปได้ที่บางเขตการเลือกตั้งเหลือผู้สมัครเพียงผู้เดียว อันเป็นกรณีที่ต่างจากมาตรา 74 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ ฉะนั้น เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ผู้สมัครที่เหลืออยู่ จึงกำหนดมิให้นำคะแนนขั้นต่ำที่กำหนดไว้ในมาตรา 74 มาใช้กับกรณีที่เกิดเหตุนี้
2. การปรับปรุงการดำเนินการกรณีการเลือกตั้งไม่สุจริตหรือไม่เที่ยงธรรม คณะกรรมการฯ จึงได้พิจารณาเพิ่มบทบัญญัติส่วนที่ 10 ในการแก้ปัญหาให้การเลือกตั้งแล้วเสร็จโดยเร็ว ดังนี้
2.1 กำหนดให้การดำเนินการเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่หรือไม่ ต้องแล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันเลือกตั้ง เพื่อให้มีการประกาศผลการเลือกตั้งและสภาผู้แทนราษฏรสามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ โดยมีระยะเวลาแน่นอนและสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ
2.2 เพื่อให้การเลือกตั้งสามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว จึงกำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง อาจย่นหรือขยายเวลาในการดำเนินการเลือกตั้งที่กำหนดไว้ในกฎหมายให้เหมาะสมกับการเลือกตั้งที่จะจัดให้มีขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้คณะกรรมการการเลือกตั้งพัฒนาวิธีการจัดการเลือกตั้งให้มีระยะเวลาน้อยลงได้ ซึ่งจะทำให้การบริหารราชการแผ่นดินสามารถดำเนินการไปได้โดยต่อเนื่องมิให้ต้องหยุดชะงักลง เพราะรอระยะเวลาการเลือกตั้งเป็นเวลานาน รวมทั้งอาจทำให้ลดการทุจริตในการเลือกตั้งลงได้ เนื่องจากมีเวลาอันจำกัดด้วย
นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ ยังพิจารณาการแก้ปัญหาการทุจริตการเลือกตั้งกรณีอื่นๆ การป้องกันการกลั่นแกล้งผู้สมัคร และการเพิ่มอำนาจคณะกรรมการการเลือกตั้งในการแสวงหาข้อเท็จจริงอีกด้วย
3. การปรับปรุงการใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งของผู้ที่อยู่นอกเขตเลือกตั้ง คณะกรรมการฯ เห็นควรให้อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้มีสิทธิการเลือกตั้ง เพื่อให้มาใช้สิทธิกันอย่างทั่วถึง ดังนี้
3.1 กำหนดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้งในจังหวัดที่ตนอยู่ในวันเลือกตั้ง สามารถลงทะเบียนเพื่อขอใช้สิทธิได้ และเมื่อแสดงความประสงค์จะใช้สิทธิในที่ใดแล้ว ให้หมดสิทธิลงคะแนนในที่เลือกตั้งเดิมจนกว่าจะแจ้งเปลี่ยนแปลง
3.2 การใช้สิทธิลงคะแนนในจังหวัดที่ตนอยู่เป็นการใช้สิทธิ เพื่อเลือกตั้งผู้สมัครในเขตเลือกตั้งที่ตนมีชื่อในะเบียนบ้าน
3.3 คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องจัดที่เลือกตั้งกลาง เพื่อให้ผู้ลงทะเบียนไว้มาใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง
3.4 เพื่อเป็นการประหยัด จึงกำหนดให้อำนวยความสะดวกเฉพาะการเลือกตั้งทั่วไปเท่านั้น
4. การปรับปรุงการใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร คณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นควรแก้ไขหลักเกณฑ์การอำนวยความสะดวก ดังนี้
4.1 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งประสงค์จะใช้สิทธินอกราชอาณาจักร มีสิทธิแจ้งความประสงค์ขอใข้สิทธิลงคะแนนได้ แต่การขอให้ส่งเอกสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ประสงค์จะใช้สิทธิต้องออกค่าใช้จ่ายเอง
4.2 ในกรณีที่มีผู้มาแสดงความประสงค์เกินห้าร้อยคน ให้จัดให้มีสถานที่ลงคะแนนในประเทศนั้น แต่ถ้ามีจำนวนน้อยกว่าให้ใช้สิทธิทางไปรษณีย์หรือโดยวิธีอื่น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายซึ่งการกำหนดจำนวนผู้ใช้สิทธิได้พิจารณาจากข้อมูลจากคณะกรรมการการเลือกตั้งเกี่ยวกับความคุ้นเคยในการใช้จ่ายเพื่อการนี้ และเห็นว่าจำนวนห้าร้อยคนเป็นจำนวนที่เหมาะสม
4.3 การอำนวยความสะดวกในการจัดให้มีการลงคะแนนนอกราชอาณาจักรนั้น ให้กระทำเฉพาะการเลือกตั้งทั่วไป ส่วนการเลือกตั้งใหม่หรือการเลือกตั้งซ่อมหากประสงค์จะใช้สิทธิต้องกระทำเช่นเดียวกับบุคคลภายในประเทศ
5. การปรับปรุงการนับคะแนนเลือกตั้ง คณะกรรมการฯ เห็นควรให้แก้ไขให้มีการนับคะแนนเมื่อหีบบัตรเลือกตั้งมาถึงสถานที่นับคะแนนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสาม แต่คณะกรรมการการเลือกตั้งจะต้องมีมาตรการที่ทำให้ไม่สามารถทราบได้ว่า เป็นการนับบัตรเลือกตั้งจากหน่วยใด ทั้งกรณีที่หีบบัตรเลือกตั้งมาถึงแล้ว และที่ยังมาไม่ถึง นอกจากนี้สำหรับหีบบัตรเลือกตั้งที่มาถึงล่าช้าเกินกว่าปกติ อันเป็นเหตุที่แสดงว่าการเลือกตั้งเป็นไปโดยไม่สุจริต คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 25 ก.ค. 2543--
-สส-