คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย
ตามนโยบายของรัฐบาลผ่านระบบธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. เกษตรกรที่จะได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการพักชำระหนี้ และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย
ตามนโยบายของรัฐบาล ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1.1 เป็นเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. หรือสมาชิกสหกรณ์การเกษตรที่เป็นลูกค้าและใช้บริการเงินกู้โดยตรงกับ
ธ.ก.ส. หรือเป็นเกษตรกรที่รับภาระหนี้สินแทนเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ในฐานะผู้ค้ำประกัน หรือในฐานะทายาทโดยธรรมก่อนวันที่ 1 เมษายน
2544 โดยเกษตรกรต้องแสดงความจำนงเข้าร่วมโครงการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2544 และในกรณีที่เกษตรกรรายย่อย
ดังกล่าวมีผู้ค้ำประกันเงินกู้ ผู้ค้ำประกันต้องยินยอมให้พักชำระหนี้
1.2 เป็นเกษตรกรที่ไม่เคยถูก ธ.ก.ส. ดำเนินคดีในฐานะผู้กู้ตามข้อบังคับของ ธ.ก.ส.มาก่อน
1.3 เป็นเกษตรกรที่มีภาระหนี้เงินกู้อยู่กับ ธ.ก.ส. ในวงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท (ไม่นับรวมภาระหนี้เงินกู้
ตามโครงการที่เป็นนโยบายของรัฐบาล และไม่นับรวมดอกเบี้ยเงินกู้)
สำหรับเกษตรกรรายย่อยที่จงใจจะบิดพริ้วไม่ชำระหนี้เงินกู้กับ ธ.ก.ส. จะไม่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ
โดย ธ.ก.ส. จะให้ผู้นำเกษตรกรที่เป็นหัวหน้ากลุ่มลูกค้าให้ความเห็นประกอบการพิจารณา
คัดเลือก
2. เกษตรกรที่มีคุณสมบัติ ตามข้อ 1 สามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือตามทางเลือกที่โครงการกำหนดไว้ ดังนี้
ทางเลือกที่ 1 : ขอพักชำระหนี้
ทางเลือกที่ 2 : ขอลดภาระหนี้
ทั้งนี้ ให้ ธ.ก.ส. ประชาสัมพันธ์และจัดประชุมเพื่อทำความเข้าใจกับเกษตรกรที่ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการเกี่ยวกับ
สิทธิประโยชน์ที่พึงได้รับตามทางเลือกในตารางท้ายข้อ 4 อย่างละเอียด และเปิดโอกาสให้เกษตรกรตัดสินใจเลือกเองโดยความสมัครใจ
3. รัฐบาลจะสนับสนุนและส่งเสริมให้เกษตรกรรายย่อยที่พักชำระหนี้ออมเงินตามความสามารถ และฟื้นฟูอาชีพตลอดระยะ
เวลาที่พักชำระหนี้
4. เกษตรกรรายย่อยที่เลือกพักชำระหนี้ และเกษตรกรรายย่อยขอลดภาระหนี้จะได้รับสิทธิประโยชน์ซึ่งการให้สิทธิประโยชน์
ดังกล่าวมีความแตกต่างจากที่กระทรวงการคลังได้เคยนำเสนอคณะรัฐมนตรี คือ
4.1 หลังการพักชำระหนี้ในปีที่ 4 เกษตรกรดังกล่าวจะได้รับสิทธิในการชำระดอกเบี้ยตามเกณฑ์ลูกค้าชั้นเดิม
ก่อนการพักชำระหนี้ โดยไม่มีการปรับลดไปเป็นลูกค้าชั้นทั่วไป (ชั้น B) ตามข้อเสนอเดิม
4.2 เกษตรกรรายย่อยที่พักชำระหนี้และฝากเงินไว้กับ ธ.ก.ส. จะได้รับสิทธิเพิ่มเติมคือ ได้รับอัตราดอกเบี้ย
เงินฝากเพิ่มในอัตราร้อยละ 1 ต่อปี จากอัตราปกติ เป็นเวลา 3 ปี ในวงเงินฝากไม่เกินรายละ 50,000 บาท เช่นเดียวกับเกษตรกรที่ขอ
ลดภาระหนี้ โดยถือเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรที่ขอพักชำระหนี้มีแรงจูงใจที่จะออมเงินไว้เพื่อให้มั่นใจว่าเมื่อสิ้นสุดโครงการแล้ว
จะสามารถชำระหนี้สินและขยายการผลิตได้ต่อไป
4.3 เปิดโอกาสให้เกษตรกรรายย่อยที่พักชำระหนี้ออกจากโครงการได้ก่อนกำหนด 3 ปี และหากสามารถชำระหนี้
ได้ครบถ้วนตามกำหนดจะได้รับเลื่อนชั้นคุณภาพลูกค้าสูงขึ้นตามเกณฑ์ของ ธ.ก.ส. รวมทั้งได้รับสิทธิประโยชน์เช่นเดียวกับเกษตรกรที่ขอลดภาระ
หนี้ในช่วงเวลาที่เหลือ
ทั้งนี้ สิทธิประโยชน์ที่เกษตรกรรายย่อยขอพักชำระหนี้และขอลดภาระหนี้จะได้รับนั้น รัฐบาลและ ธ.ก.ส.
จะเป็นผู้รับภาระ สรุปได้ดังนี้
ผู้ขอพักชำระหนี้ ผู้ขอลดภาระหนี้
สิทธิประโยชน์ ผู้รับภาระ สิทธิประโยชน์ ผู้รับภาระ
1. ได้รับการพักชำระต้นเงินกู้เป็นเวลา 3 ปี - 1. ได้รับการชดเชยดอกเบี้ยจากรัฐบาลในอัตรา รัฐบาล
ร้อยละ 3 ต่อปี เป็นเวลา 3 ปี ดังนี้
ชั้นลูกค้า การลดดอกเบี้ย
B 11 % เหลือ 8 %
A 10 % เหลือ 7 %
AA 9 % เหลือ 6 %
AAA 8 % เหลือ 5 %
2. ไม่ต้องชำระดอกเบี้ยเงินกู้ตามชั้นลูกค้าที่เป็น รัฐบาล 2. ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากเพิ่มในอัตราร้อยละ 1 รัฐบาล
อยู่ก่อนเข้าร่วมโครงการ เป็นเวลา 3 ปี ต่อปี จากอัตราปกติ เป็นเวลา 3 ปี ในวงเงินฝาก
รายละไม่เกิน 50,000 บาท
3. ได้รับสิทธิฟื้นฟูการประกอบอาชีพตลอดระยะ รัฐบาล 3. มีสิทธิกู้เงินฉุกเฉินพิเศษในวงเงิน 30,000 บาท
เวลาการพักหนี้ (ลูกค้าชั้น B ไม่ได้รับสิทธิ) ธ.ก.ส.
4. การออมเงินฝากได้รับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มใน ธ.ก.ส. 4. มีสิทธิจับรางวัลทุนการศึกษา หรือทุนประกันชีวิต
อัตราร้อยละ 1 ต่อปี จากอัตราปกติเป็นเวลา และสุขภาพในวงเงินประกัน 100,000 บาท ธ.ก.ส.
3 ปี ในวงเงินไม่เกินรายละ 50,000 บาท ทุนละ 3,000 บาท (ลูกค้าชั้น B ไม่ได้รับสิทธิ)
5. เมื่อออกจากโครงการก่อนครบกำหนด 3 ปี - 5. มีสิทธิกู้เงินใช้จ่ายในการประกอบอาชีพ ณ เวลา -
และชำระหนี้ได้ครบถ้วนตามกำหนดจะได้รับ ใดเวลาหนึ่งได้ในวงเงินรวมกันไม่เกิน 100,000
การเลื่อนชั้นคุณภาพ บาท
6. หลังจากพักชำระหนี้แล้วให้ชำระดอกเบี้ยตาม - 6. ได้รับเกียรติบัตร และบัตรเอกสิทธิ์จาก ธ.ก.ส. -
เกณฑ์ลูกค้าชั้นเดิมก่อนการพักชำระหนี้ (ลูกค้าชั้น B ไม่ได้รับสิทธิ)
7. ได้รับสิทธิฟื้นฟูการประกอบอาชีพ
5. สำหรับการจัดองค์การบริหารโครงการพักชำระหนี้นั้น รัฐบาลจะจัดตั้งคณะกรรมการฟื้นฟูการประกอบอาชีพของเกษตรกร
รายย่อยทั้งในระดับส่วนกลาง โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายปองพล อดิเรกสาร) เป็นประธานคณะกรรมการ และมีคณะกรรมการภูมิภาค
เพื่อกำหนดแผนการปรับโครงสร้างและฟื้นฟูเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการนี้ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับดำเนินการในเรื่องนี้
6. ให้รัฐบาลจัดสรรเงินงบประมาณเพื่อรับภาระในการดำเนินโครงการนี้ รวมทั้งค่าใช้จ่ายในส่วนที่
ธ.ก.ส. ต้องจ่ายเพิ่มจากการดำเนินงานตามปกติเท่าที่จ่ายจริงในวงเงินงบประมาณไม่เกินปีละ 7,700 ล้านบาท (การจัดสรรงบประมาณ
เพื่อดำเนินการในเรื่องดังกล่าวจะต้องไม่คิดเบี้ยปรับ)
7. ในส่วนของเกษตรกรที่มีวงเงินกู้ในฐานะผู้กู้เงิน 100,000 บาท ซึ่งไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้ ให้ ธ.ก.ส. เป็นผู้ดูแล
ช่วยเหลือเกษตรกรที่มีปัญหาด้านหนี้สิน โดยการเร่งรัดให้มีการดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้และฟื้นฟูเกษตรกรดังกล่าว
8. สำหรับเกษตรกรรายย่อยที่เป็นสมาชิกลูกค้าของสหกรณ์การเกษตรนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะสำรวจข้อมูลที่ชัดเจน
และกำหนดแนวทางการให้ความช่วยเหลือให้ครอบคลุมอย่างเป็นระบบต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้ปรับปรุงโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยตามนโยบายของรัฐบาล
ผ่านระบบ ธ.ก.ส. ตามนัยที่กล่าวข้างต้นแล้ว ความละเอียดปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย และเห็นควรให้ ธ.ก.ส. รายงานผลการดำเนินงาน
ให้คณะรัฐมนตรีทราบเป็นประจำทุกเดือนและในกรณีที่มีปัญหาในทางปฏิบัติ ให้ ธ.ก.ส. หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งประมวลปัญหาและ
เสนอแนวทางแก้ไขให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาโดยเร็ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 20 มี.ค.2544
-สส-
ตามนโยบายของรัฐบาลผ่านระบบธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. เกษตรกรที่จะได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการพักชำระหนี้ และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย
ตามนโยบายของรัฐบาล ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1.1 เป็นเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. หรือสมาชิกสหกรณ์การเกษตรที่เป็นลูกค้าและใช้บริการเงินกู้โดยตรงกับ
ธ.ก.ส. หรือเป็นเกษตรกรที่รับภาระหนี้สินแทนเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ในฐานะผู้ค้ำประกัน หรือในฐานะทายาทโดยธรรมก่อนวันที่ 1 เมษายน
2544 โดยเกษตรกรต้องแสดงความจำนงเข้าร่วมโครงการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2544 และในกรณีที่เกษตรกรรายย่อย
ดังกล่าวมีผู้ค้ำประกันเงินกู้ ผู้ค้ำประกันต้องยินยอมให้พักชำระหนี้
1.2 เป็นเกษตรกรที่ไม่เคยถูก ธ.ก.ส. ดำเนินคดีในฐานะผู้กู้ตามข้อบังคับของ ธ.ก.ส.มาก่อน
1.3 เป็นเกษตรกรที่มีภาระหนี้เงินกู้อยู่กับ ธ.ก.ส. ในวงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท (ไม่นับรวมภาระหนี้เงินกู้
ตามโครงการที่เป็นนโยบายของรัฐบาล และไม่นับรวมดอกเบี้ยเงินกู้)
สำหรับเกษตรกรรายย่อยที่จงใจจะบิดพริ้วไม่ชำระหนี้เงินกู้กับ ธ.ก.ส. จะไม่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ
โดย ธ.ก.ส. จะให้ผู้นำเกษตรกรที่เป็นหัวหน้ากลุ่มลูกค้าให้ความเห็นประกอบการพิจารณา
คัดเลือก
2. เกษตรกรที่มีคุณสมบัติ ตามข้อ 1 สามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือตามทางเลือกที่โครงการกำหนดไว้ ดังนี้
ทางเลือกที่ 1 : ขอพักชำระหนี้
ทางเลือกที่ 2 : ขอลดภาระหนี้
ทั้งนี้ ให้ ธ.ก.ส. ประชาสัมพันธ์และจัดประชุมเพื่อทำความเข้าใจกับเกษตรกรที่ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการเกี่ยวกับ
สิทธิประโยชน์ที่พึงได้รับตามทางเลือกในตารางท้ายข้อ 4 อย่างละเอียด และเปิดโอกาสให้เกษตรกรตัดสินใจเลือกเองโดยความสมัครใจ
3. รัฐบาลจะสนับสนุนและส่งเสริมให้เกษตรกรรายย่อยที่พักชำระหนี้ออมเงินตามความสามารถ และฟื้นฟูอาชีพตลอดระยะ
เวลาที่พักชำระหนี้
4. เกษตรกรรายย่อยที่เลือกพักชำระหนี้ และเกษตรกรรายย่อยขอลดภาระหนี้จะได้รับสิทธิประโยชน์ซึ่งการให้สิทธิประโยชน์
ดังกล่าวมีความแตกต่างจากที่กระทรวงการคลังได้เคยนำเสนอคณะรัฐมนตรี คือ
4.1 หลังการพักชำระหนี้ในปีที่ 4 เกษตรกรดังกล่าวจะได้รับสิทธิในการชำระดอกเบี้ยตามเกณฑ์ลูกค้าชั้นเดิม
ก่อนการพักชำระหนี้ โดยไม่มีการปรับลดไปเป็นลูกค้าชั้นทั่วไป (ชั้น B) ตามข้อเสนอเดิม
4.2 เกษตรกรรายย่อยที่พักชำระหนี้และฝากเงินไว้กับ ธ.ก.ส. จะได้รับสิทธิเพิ่มเติมคือ ได้รับอัตราดอกเบี้ย
เงินฝากเพิ่มในอัตราร้อยละ 1 ต่อปี จากอัตราปกติ เป็นเวลา 3 ปี ในวงเงินฝากไม่เกินรายละ 50,000 บาท เช่นเดียวกับเกษตรกรที่ขอ
ลดภาระหนี้ โดยถือเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรที่ขอพักชำระหนี้มีแรงจูงใจที่จะออมเงินไว้เพื่อให้มั่นใจว่าเมื่อสิ้นสุดโครงการแล้ว
จะสามารถชำระหนี้สินและขยายการผลิตได้ต่อไป
4.3 เปิดโอกาสให้เกษตรกรรายย่อยที่พักชำระหนี้ออกจากโครงการได้ก่อนกำหนด 3 ปี และหากสามารถชำระหนี้
ได้ครบถ้วนตามกำหนดจะได้รับเลื่อนชั้นคุณภาพลูกค้าสูงขึ้นตามเกณฑ์ของ ธ.ก.ส. รวมทั้งได้รับสิทธิประโยชน์เช่นเดียวกับเกษตรกรที่ขอลดภาระ
หนี้ในช่วงเวลาที่เหลือ
ทั้งนี้ สิทธิประโยชน์ที่เกษตรกรรายย่อยขอพักชำระหนี้และขอลดภาระหนี้จะได้รับนั้น รัฐบาลและ ธ.ก.ส.
จะเป็นผู้รับภาระ สรุปได้ดังนี้
ผู้ขอพักชำระหนี้ ผู้ขอลดภาระหนี้
สิทธิประโยชน์ ผู้รับภาระ สิทธิประโยชน์ ผู้รับภาระ
1. ได้รับการพักชำระต้นเงินกู้เป็นเวลา 3 ปี - 1. ได้รับการชดเชยดอกเบี้ยจากรัฐบาลในอัตรา รัฐบาล
ร้อยละ 3 ต่อปี เป็นเวลา 3 ปี ดังนี้
ชั้นลูกค้า การลดดอกเบี้ย
B 11 % เหลือ 8 %
A 10 % เหลือ 7 %
AA 9 % เหลือ 6 %
AAA 8 % เหลือ 5 %
2. ไม่ต้องชำระดอกเบี้ยเงินกู้ตามชั้นลูกค้าที่เป็น รัฐบาล 2. ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากเพิ่มในอัตราร้อยละ 1 รัฐบาล
อยู่ก่อนเข้าร่วมโครงการ เป็นเวลา 3 ปี ต่อปี จากอัตราปกติ เป็นเวลา 3 ปี ในวงเงินฝาก
รายละไม่เกิน 50,000 บาท
3. ได้รับสิทธิฟื้นฟูการประกอบอาชีพตลอดระยะ รัฐบาล 3. มีสิทธิกู้เงินฉุกเฉินพิเศษในวงเงิน 30,000 บาท
เวลาการพักหนี้ (ลูกค้าชั้น B ไม่ได้รับสิทธิ) ธ.ก.ส.
4. การออมเงินฝากได้รับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มใน ธ.ก.ส. 4. มีสิทธิจับรางวัลทุนการศึกษา หรือทุนประกันชีวิต
อัตราร้อยละ 1 ต่อปี จากอัตราปกติเป็นเวลา และสุขภาพในวงเงินประกัน 100,000 บาท ธ.ก.ส.
3 ปี ในวงเงินไม่เกินรายละ 50,000 บาท ทุนละ 3,000 บาท (ลูกค้าชั้น B ไม่ได้รับสิทธิ)
5. เมื่อออกจากโครงการก่อนครบกำหนด 3 ปี - 5. มีสิทธิกู้เงินใช้จ่ายในการประกอบอาชีพ ณ เวลา -
และชำระหนี้ได้ครบถ้วนตามกำหนดจะได้รับ ใดเวลาหนึ่งได้ในวงเงินรวมกันไม่เกิน 100,000
การเลื่อนชั้นคุณภาพ บาท
6. หลังจากพักชำระหนี้แล้วให้ชำระดอกเบี้ยตาม - 6. ได้รับเกียรติบัตร และบัตรเอกสิทธิ์จาก ธ.ก.ส. -
เกณฑ์ลูกค้าชั้นเดิมก่อนการพักชำระหนี้ (ลูกค้าชั้น B ไม่ได้รับสิทธิ)
7. ได้รับสิทธิฟื้นฟูการประกอบอาชีพ
5. สำหรับการจัดองค์การบริหารโครงการพักชำระหนี้นั้น รัฐบาลจะจัดตั้งคณะกรรมการฟื้นฟูการประกอบอาชีพของเกษตรกร
รายย่อยทั้งในระดับส่วนกลาง โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายปองพล อดิเรกสาร) เป็นประธานคณะกรรมการ และมีคณะกรรมการภูมิภาค
เพื่อกำหนดแผนการปรับโครงสร้างและฟื้นฟูเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการนี้ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับดำเนินการในเรื่องนี้
6. ให้รัฐบาลจัดสรรเงินงบประมาณเพื่อรับภาระในการดำเนินโครงการนี้ รวมทั้งค่าใช้จ่ายในส่วนที่
ธ.ก.ส. ต้องจ่ายเพิ่มจากการดำเนินงานตามปกติเท่าที่จ่ายจริงในวงเงินงบประมาณไม่เกินปีละ 7,700 ล้านบาท (การจัดสรรงบประมาณ
เพื่อดำเนินการในเรื่องดังกล่าวจะต้องไม่คิดเบี้ยปรับ)
7. ในส่วนของเกษตรกรที่มีวงเงินกู้ในฐานะผู้กู้เงิน 100,000 บาท ซึ่งไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้ ให้ ธ.ก.ส. เป็นผู้ดูแล
ช่วยเหลือเกษตรกรที่มีปัญหาด้านหนี้สิน โดยการเร่งรัดให้มีการดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้และฟื้นฟูเกษตรกรดังกล่าว
8. สำหรับเกษตรกรรายย่อยที่เป็นสมาชิกลูกค้าของสหกรณ์การเกษตรนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะสำรวจข้อมูลที่ชัดเจน
และกำหนดแนวทางการให้ความช่วยเหลือให้ครอบคลุมอย่างเป็นระบบต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้ปรับปรุงโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยตามนโยบายของรัฐบาล
ผ่านระบบ ธ.ก.ส. ตามนัยที่กล่าวข้างต้นแล้ว ความละเอียดปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย และเห็นควรให้ ธ.ก.ส. รายงานผลการดำเนินงาน
ให้คณะรัฐมนตรีทราบเป็นประจำทุกเดือนและในกรณีที่มีปัญหาในทางปฏิบัติ ให้ ธ.ก.ส. หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งประมวลปัญหาและ
เสนอแนวทางแก้ไขให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาโดยเร็ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 20 มี.ค.2544
-สส-