คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และแจ้งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาดำเนินการตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเป็นการด่วนต่อไป
ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมีหลักการและเหตุผลคือ กำหนดให้ผู้นำเงินตราต่างประเทศเข้ามาในหรือออกไปนอกประเทศ โดยมีมูลค่ารวมกันเกินกว่าหนึ่งหมื่นดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือเทียบเท่า ต้องสำแดงรายการเงินตราต่างประเทศ นั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ศุลกากร ในขณะที่ผ่านศุลกากรตามกฎหมาย เพื่อให้มีมาตรการกำกับดูแลการเคลื่อนไหวของเงินตราต่างประเทศที่เหมาะสม และสอดคล้องกับนโยบายการปราบปรามการค้ายาเสพติดและการปราบปรามการฟอกเงิน โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ให้เพิ่มเติมความต่อไปนี้เป็นข้อ 10 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485
"ข้อ 10 บุคคลใดจะนำเงินตราต่างประเทศที่เป็นธนบัตรหรือเหรียญกษาปณ์เข้ามาในหรือออกไปนอกประเทศโดยมีมูลค่ารวมกันเกินกว่าหนึ่งหมื่นดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือเทียบเท่าไม่ได้ เว้นแต่จะได้สำแดงรายการเงินตราต่างประเทศนั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ศุลกากร ในขณะที่ผ่านศุลกากรตามกฎหมาย"
2. กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันประกาศราชกิจจานุเบกษา
ทั้งนี้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินได้มีการประชุม ครั้งที่ 2/2544 เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2544 มีมติให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย และกระทรวงการคลังร่วมกันกำหนดมาตรการควบคุมความเคลื่อนไหวทางการเงินซึ่งเป็นเรื่องที่สืบเนื่องมาจากผลการประชุมการระดมความคิดกำหนดแนวทางเพื่อเอาชนะยาเสพติดเมื่อวันที่ 10 - 11 มีนาคม 2544 ณ โรงแรมดุสิตธานี ไอร์แลนด์ รีสอร์ท จังหวัดเชียงราย
กระทรวงการคลังได้รายงานความคืบหน้าว่าได้จัดประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงพาณิชย์ กรมศุลกากร และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง แล้วมีมติว่า การลักลอบนำเงินตราเข้าออกประเทศเพื่อการค้ายาเสพติดและการนำเงินตราเข้าออกประเทศที่เข้าข่ายการฟอกเงินมีวิธีการที่หลากหลายมากขึ้นในปัจจุบัน การกำหนดให้บุคคลผู้นำเงินตราต่างประเทศเข้ามาในประเทศหรือออกไปนอกประเทศที่มีมูลค่าเกินกว่า 10,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือเทียบเท่า ต้องสำแดงรายการต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ศุลกากรนั้น จะทำให้ทราบข้อมูลสถิติและความเคลื่อนไหวของเงินที่เข้าออกประเทศไทยได้ชัดเจนมากขึ้น และจะทำให้หน่วยงานปฏิบัติต่าง ๆ สามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวในการวางแนวทางเพื่อสกัดกั้นการกระทำความผิดเกี่ยวกับการลักลอบนำเงินเข้าออกประเทศ อีกทั้งยังเป็นส่วนเสริมในการดำเนินการสืบสวนและสอบสวนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด กระทรวงการคลังจึงเสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเพื่อให้มีผลในทางปฏิบัติต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ธ.ค. 44--จบ--
-สส-
ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมีหลักการและเหตุผลคือ กำหนดให้ผู้นำเงินตราต่างประเทศเข้ามาในหรือออกไปนอกประเทศ โดยมีมูลค่ารวมกันเกินกว่าหนึ่งหมื่นดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือเทียบเท่า ต้องสำแดงรายการเงินตราต่างประเทศ นั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ศุลกากร ในขณะที่ผ่านศุลกากรตามกฎหมาย เพื่อให้มีมาตรการกำกับดูแลการเคลื่อนไหวของเงินตราต่างประเทศที่เหมาะสม และสอดคล้องกับนโยบายการปราบปรามการค้ายาเสพติดและการปราบปรามการฟอกเงิน โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ให้เพิ่มเติมความต่อไปนี้เป็นข้อ 10 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485
"ข้อ 10 บุคคลใดจะนำเงินตราต่างประเทศที่เป็นธนบัตรหรือเหรียญกษาปณ์เข้ามาในหรือออกไปนอกประเทศโดยมีมูลค่ารวมกันเกินกว่าหนึ่งหมื่นดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือเทียบเท่าไม่ได้ เว้นแต่จะได้สำแดงรายการเงินตราต่างประเทศนั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ศุลกากร ในขณะที่ผ่านศุลกากรตามกฎหมาย"
2. กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันประกาศราชกิจจานุเบกษา
ทั้งนี้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินได้มีการประชุม ครั้งที่ 2/2544 เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2544 มีมติให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย และกระทรวงการคลังร่วมกันกำหนดมาตรการควบคุมความเคลื่อนไหวทางการเงินซึ่งเป็นเรื่องที่สืบเนื่องมาจากผลการประชุมการระดมความคิดกำหนดแนวทางเพื่อเอาชนะยาเสพติดเมื่อวันที่ 10 - 11 มีนาคม 2544 ณ โรงแรมดุสิตธานี ไอร์แลนด์ รีสอร์ท จังหวัดเชียงราย
กระทรวงการคลังได้รายงานความคืบหน้าว่าได้จัดประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงพาณิชย์ กรมศุลกากร และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง แล้วมีมติว่า การลักลอบนำเงินตราเข้าออกประเทศเพื่อการค้ายาเสพติดและการนำเงินตราเข้าออกประเทศที่เข้าข่ายการฟอกเงินมีวิธีการที่หลากหลายมากขึ้นในปัจจุบัน การกำหนดให้บุคคลผู้นำเงินตราต่างประเทศเข้ามาในประเทศหรือออกไปนอกประเทศที่มีมูลค่าเกินกว่า 10,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือเทียบเท่า ต้องสำแดงรายการต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ศุลกากรนั้น จะทำให้ทราบข้อมูลสถิติและความเคลื่อนไหวของเงินที่เข้าออกประเทศไทยได้ชัดเจนมากขึ้น และจะทำให้หน่วยงานปฏิบัติต่าง ๆ สามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวในการวางแนวทางเพื่อสกัดกั้นการกระทำความผิดเกี่ยวกับการลักลอบนำเงินเข้าออกประเทศ อีกทั้งยังเป็นส่วนเสริมในการดำเนินการสืบสวนและสอบสวนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด กระทรวงการคลังจึงเสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเพื่อให้มีผลในทางปฏิบัติต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ธ.ค. 44--จบ--
-สส-