ทำเนียบรัฐบาล--5 ก.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาเสร็จแล้ว ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีหลักการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์และกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และรวมเป็นฉบับเดียวกัน โดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้แก้ไขเพิ่มเติมในสาระสำคัญ ดังนี้
1. ชื่อร่างพระราชบัญญัติ เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มีสาระเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบในการควบคุมดูแลการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินสามประเภท คือ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ โดยกำหนดมาตรการหรือหลักเกณฑ์ในการควบคุมการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินแต่ละประเภทในลักษณะเดียวกัน แต่อาจมีระดับของการควบคุมแตกต่างกันไปตามประเภทของสถาบันการเงินนั้น ๆ รวมทั้งประสงค์ที่จะให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินของรัฐ ตลอดจนนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดด้วย ดังนั้น จึงได้แก้ไขชื่อร่างพระราชบัญญัติ เพื่อให้ครอบคลุมการประกอบธุรกิจสถาบันการเงินเอกชนทั้งสามประเภท และสถาบันการเงินของรัฐดังกล่าว
2. นำบทนิยามศัพท์มาบัญญัติรวมไว้ในที่เดียวกันในบทนิยามตามร่างมาตรา 4
3. เพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับผู้ติดตามผู้ตรวจการสถาบันการเงิน เพื่อให้มีอำนาจเข้าไปในสถานที่ประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินหรือสถานที่ใด ๆ เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจการสถาบันการเงินได้ เป็นวรรคสองของร่างมาตรา 84 และได้กำหนดโทษสำหรับผู้ที่ขัดขวางหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่ผู้ติดตามผู้ตรวจการสถาบันการเงินไว้ด้วยตามร่างมาตรา 123 และร่างมาตรา 124
4. เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับสถาบันประกันเงินฝาก และผู้แทนกระทรวงการคลังได้ชี้แจงว่าในขณะนี้จะยังไม่มีการจัดตั้งสถาบันประกันเงินฝากขึ้น จึงได้แก้ไขบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับการชำระบัญชี โดยกำหนดให้สถาบันการเงินที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตและเลิกกิจการ ให้ชำระบัญชีตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัดแล้วแต่กรณี และตัดบทเฉพาะกาลในเรื่องสถาบันประกันเงินฝากตามร่างมาตรา 167 ออก เนื่องจากไม่มีความจำเป็นต้องกำหนดไว้อีกต่อไป
5. เพื่อให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสามารถรับทราบการดำเนินการควบคุมสถาบันการเงินซึ่งอาจมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมได้ จึงได้เพิ่มเติมบทบัญญัติที่ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการควบคุมสถาบันการเงิน ภายหลังจากที่ได้รับรายงานจากคณะกรรมการดังกล่าวต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยไม่ชักช้า
6. ปรับปรุงเรื่องการกำกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยนำอำนาจของรัฐมนตรีตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายเฉพาะต่าง ๆ มากำหนดให้เป็นอำนาจที่รัฐมนตรีผู้รักษาการตามกฎหมายเฉพาะที่จัดตั้งสถาบันการเงินสามารถมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทำหน้าที่ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนได้ รวมทั้งได้เพิ่มอำนาจในการกำกับดูแลสถาบันการเงินเหล่านี้ โดยให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องปฏิบัติเพิ่มเติมหรือให้นำบทบัญญัติในส่วนใดของร่างพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 5 ก.ย. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาเสร็จแล้ว ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีหลักการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์และกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และรวมเป็นฉบับเดียวกัน โดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้แก้ไขเพิ่มเติมในสาระสำคัญ ดังนี้
1. ชื่อร่างพระราชบัญญัติ เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มีสาระเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบในการควบคุมดูแลการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินสามประเภท คือ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ โดยกำหนดมาตรการหรือหลักเกณฑ์ในการควบคุมการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินแต่ละประเภทในลักษณะเดียวกัน แต่อาจมีระดับของการควบคุมแตกต่างกันไปตามประเภทของสถาบันการเงินนั้น ๆ รวมทั้งประสงค์ที่จะให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินของรัฐ ตลอดจนนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดด้วย ดังนั้น จึงได้แก้ไขชื่อร่างพระราชบัญญัติ เพื่อให้ครอบคลุมการประกอบธุรกิจสถาบันการเงินเอกชนทั้งสามประเภท และสถาบันการเงินของรัฐดังกล่าว
2. นำบทนิยามศัพท์มาบัญญัติรวมไว้ในที่เดียวกันในบทนิยามตามร่างมาตรา 4
3. เพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับผู้ติดตามผู้ตรวจการสถาบันการเงิน เพื่อให้มีอำนาจเข้าไปในสถานที่ประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินหรือสถานที่ใด ๆ เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจการสถาบันการเงินได้ เป็นวรรคสองของร่างมาตรา 84 และได้กำหนดโทษสำหรับผู้ที่ขัดขวางหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่ผู้ติดตามผู้ตรวจการสถาบันการเงินไว้ด้วยตามร่างมาตรา 123 และร่างมาตรา 124
4. เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับสถาบันประกันเงินฝาก และผู้แทนกระทรวงการคลังได้ชี้แจงว่าในขณะนี้จะยังไม่มีการจัดตั้งสถาบันประกันเงินฝากขึ้น จึงได้แก้ไขบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับการชำระบัญชี โดยกำหนดให้สถาบันการเงินที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตและเลิกกิจการ ให้ชำระบัญชีตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัดแล้วแต่กรณี และตัดบทเฉพาะกาลในเรื่องสถาบันประกันเงินฝากตามร่างมาตรา 167 ออก เนื่องจากไม่มีความจำเป็นต้องกำหนดไว้อีกต่อไป
5. เพื่อให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสามารถรับทราบการดำเนินการควบคุมสถาบันการเงินซึ่งอาจมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมได้ จึงได้เพิ่มเติมบทบัญญัติที่ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการควบคุมสถาบันการเงิน ภายหลังจากที่ได้รับรายงานจากคณะกรรมการดังกล่าวต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยไม่ชักช้า
6. ปรับปรุงเรื่องการกำกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยนำอำนาจของรัฐมนตรีตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายเฉพาะต่าง ๆ มากำหนดให้เป็นอำนาจที่รัฐมนตรีผู้รักษาการตามกฎหมายเฉพาะที่จัดตั้งสถาบันการเงินสามารถมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทำหน้าที่ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนได้ รวมทั้งได้เพิ่มอำนาจในการกำกับดูแลสถาบันการเงินเหล่านี้ โดยให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องปฏิบัติเพิ่มเติมหรือให้นำบทบัญญัติในส่วนใดของร่างพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 5 ก.ย. 2543--
-สส-