คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปสาธารณภัยประจำเดือนกันยายน 2544 ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ดังนี้
1. อุทกภัย ได้เกิดสถานการณ์อุทกภัย จำนวน 3 ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ 1 สรุปสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 35 จังหวัด ในระหว่างวันที่ 10 สิงหาคม 2544 ถึง ปัจจุบัน รวม 289 อำเภอ 33 กิ่งอำเภอ 1,631 ตำบล 7,132 หมู่บ้าน แยกได้ ดังนี้
1) จังหวัดที่ประสบภัยที่เข้าสู่สภาวะปกติแล้ว จำนวน 17 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ตราด ลำปาง ตาก ลพบุรี เลย แม่ฮ่องสอน พิษณุโลก น่าน สุโขทัย หนองบัวลำภู มุกดาหาร ชัยภูมิ อุตรดิตถ์ สระแก้ว และอำนาจเจริญ มูลค่าความเสียหานย 885,560,216 บาท
2) จังหวัดที่ประสบภัยรุนแรงและปานกลาง จำนวน 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มหาสารคาม สกลนคร อุดรธานี ยโสธร และอุบลราชธานี มูลค่าความเสียหาย 1,506,201,641 บาท
3) จังหวัดที่กำลังประสบภัยเบาบาง จำนวน 11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดหนองคาย ขอนแก่น นครราชสีมา เพชรบูรณ์ แพร่ นครพนม พิจิตร พะเยา นครสวรรค์ ลำพูน และศรีสะเกษ มูลค่าความเสียหาย 258,132,726 บาท
ความเสียหาย ราษฎรเดือดร้อน 2,170,953 คน 540,902 ครัวเรือน อพยพ 6,382 คน 1,499 ครัวเรือน จำนวนผู้เสียชีวิต 190 คน (ชาย 89 คน หญิง 101 คน) สูญหาย 6 ราย ถนน 4,484 สาย สะพาน/คอสะพาน 434 แห่ง ทำนบ ฝาย/เหมือง 1,422 แห่ง พื้นที่เกษตร 3,535,523 ไร่ บ่อปลา/กุ้ง/ตะพาบ 68,172 บ่อ บ้านเสียหายทั้งหมด 324 หลัง บางส่วน 5,969 หลัง ปศุสัตว์ 494,939,200 ตัว ท่อระบายน้ำ 260 แห่ง บ่อน้ำ 316 แห่ง วัด/โรงเรียน/สถานที่ราชการ 310 แห่ง
การให้ความช่วยเหลือ
1) ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด นายอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการต่าง ๆ ได้ไปเยี่ยมเยียนและตรวจสอบความเสียหายในเบื้องต้นแล้ว
2) เหล่ากาชาดจังหวัด ประชาสงเคราะห์จังหวัดและภาคเอกชน ได้ไปแจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภค35,650 ชุด แก่ผู้ประสบภัยแล้ว
ครั้งที่ 2 สรุปสถานการณ์อุทกภัยในระหว่างวันที่ 26 สิงหาคม - 4 กันยายน 2544
พื้นที่ประสบภัย จำนวน 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระนองและบุรีรัมย์ รวม 10 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ 14 ตำบล
ความเสียหาย ราษฎรเดือดร้อน 2,893 คน 723 ครัวเรือน เสียชีวิต 1 คน (ชาย) พื้นที่การเกษตร 118,427 ไร่ บ่อปลา/กุ้ง 10,200 บ่อ ถนน 45 สาย พนังกั้นน้ำ 10 แห่ง สะพาน/คอสะพาน 7 แห่ง ปศุสัตว์ 984 ตัว บ้านเสียหายบางส่วน 125 หลัง มูลค่าความเสียหาย ไม่มีรายงาน
การให้ความช่วยเหลือของจังหวัดและส่วนราชการต่าง ๆ
1. ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด นายอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการต่าง ๆได้นำ อส. และ อปพร. พร้อมรถยนต์กู้ภัย จำนวน 4 คัน เข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว
2. ผู้ว่าราชการจังหวัด เหล่ากาชาดจังหวัดและหน่วยงานเอกชน ได้แจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภคจำนวนหนึ่งแก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่แล้ว
3. ผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำเภอได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่สำรวจความเสียหายทั้งหมดเพื่อพิจารณาช่วยเหลือตามระเบียบฯ ต่อไป
ครั้งที่ 3 สรุปสถานการณ์อุทกภัยในวันที่ 23 กันยายน 2544 ถึง ปัจจุบัน
พื้นที่ประสบภัย จำนวน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต สุพรรณบุรีและประจวบคีรีขันธ์ รวม 5 อำเภอ7 ตำบล 20 หมู่บ้าน ความเสียหาย 260,000 บาท
การให้ความช่วยเหลือของจังหวัดและส่วนราชการต่าง ๆ
1. ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด นายอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการต่าง ๆได้นำ อส. และ อปพร. พร้อมรถยนต์กู้ภัย จำนวน 2 คัน เข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว
2. ผู้ว่าราชการจังหวัด เหล่ากาชาดจังหวัดและหน่วยงานเอกชน ได้แจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภคจำนวนหนึ่งแก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่แล้ว
3. ผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำเภอได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่สำรวจความเสียหายทั้งหมดเพื่อพิจารณาช่วยเหลือตามระเบียบฯ ต่อไป
2. วาตภัย ในเดือนกันยายน 2544 เกิดวาตภัยรวม 71 ครั้ง
พื้นที่ประสบภัย จำนวน 21 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ สระบุรี ชุมพร บุรีรัมย์ นครปฐม สกลนคร มหาสารคาม กระบี่ จันทบุรี นครศรีธรรมราช ปัตตานี ตราด นราธิวาส นครสวรรค์ ศรีสะเกษ อุดรธานี พระนครศรีอยุธยา นครราชสีมา เชียงใหม่ ปราจีนบุรี และยโสธร รวม 63 อำเภอ 72 ตำบล 76 หมู่บ้าน
ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 662 คน 161 ครอบครัว บ้านพักอาศัยเสียหายทั้งหลัง 12 หลัง บางส่วน 151 หลัง บาดเจ็บ 2 ราย วัด/โรงเรียน/ส่วนราชการ 1 แห่ง ปศุสัตว์ 27 ตัว หอประชุม 4 หลัง อาคาร/ตึกแถว 5 ห้องมูลค่าความเสียหาย 2,848,117 บาท
การให้ความช่วยเหลือ
1. ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด นายอำเภอ และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้ออกไปเยี่ยมเยียนและตรวตสอบความเสียหายในพื้นที่ประสบภัย
2. จังหวัดฯ กาชาดจังหวัดและหน่วยงานเอกชนต่าง ๆ ได้แจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภคจำนวนหนึ่งแก่ราษฎรผู้ประสบภัย
3. อัคคีภัย ในเดือนกันยายน 2544 ได้เกิดอัคคีภัยรวม 89 ครั้ง
พื้นที่ประสบภัย จำนวน 24 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร ได้แก่ จังหวัดลำพูน เชียงใหม่ สุโขทัยนครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ นครพนม สกลนคร จันทบุรี ตราด ปราจีนบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ ราชบุรี ปทุมธานีสมุทรสาคร เพชรบุรี อุทัยธานี นราธิวาส นครศรีธรรมราช ชุมพร สงขลา ภูเก็ต ปัตตานี และกรุงเทพมหานคร (31 ครั้ง)รวม 58 อำเภอ 58 ตำบล 58 หมู่บ้าน
ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 295 คน 88 ครอบครัว อพยพ 43 คน 12 ครัวเรือน บาดเจ็บ 2 คนบ้านพักอาศัยเสียหายทั้งหลัง 33 หลัง บางส่วน 131 หลัง วัด/โรงเรียน/สถานที่ราชการ 5 แห่ง โกดังเก็บสินค้า 4 แห่งอาคาร/ตึกแถว 8 แห่ง มูลค่าความเสียหาย 6,214,140 บาท
การให้ความช่วยเหลือ จังหวัด อำเภอ และส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ส่งรถดับเพลิง 112 คันรถบรรทุกน้ำ 55 คัน รถยนต์กู้ภัย 12 คัน เครื่องดับเพลิงชนิดหาบหาม 2 เครื่อง สามารถระงับอัคคีภัยและบรรเทาความเสียหายแก่ทรัพย์สินของราษฎรในพื้นที่ได้ในระดับหนึ่ง
4. ภัยจากฟ้าผ่า ในเดือนกันยายน 2544 ได้เกิดภัยจากฟ้าผ่า รวม 15 ครั้ง
พื้นที่ประสบภัย จำนวน 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปราจีนบุรี นครราชสีมา กาฬสินธุ์ หนองคาย ร้อยเอ็ด มหาสารคาม สกลนคร บุรีรัมย์ รวม 15 อำเภอ 15 ตำบล 15 หมู่บ้าน
ราษฎรเดือดร้อน 34 คน 17 ครัวเรือน บาดเจ็บ 7 คน บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 6 หลัง ปศุสัตว์ตาย 15 ตัว มูลค่าความเสียหาย 310,000 บาท
การให้ความช่วยเหลือ จังหวัดฯ อำเภอ ประชาสงเคราะห์จังหวัดฯ ปศุสัตว์จังหวัดฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำรถยนต์กู้ภัยจำนวนหนึ่ง และดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว
5. ภัยจากสารเคมี ในเดือนกันยายน 2544 ได้เกิดภัยจากสารเคมี รวม 3 ครั้ง
พื้นที่ประสบภัย จำนวน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสงขลา ประจวบคีรีขันธ์ และกรุงเทพมหานครรวม 3 อำเภอ 3 ตำบล 3 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 29 คน บาดเจ็บสาหัส 1 คน มูลค่าความเสียหาย ไม่มีรายงาน
การให้ความช่วยเหลือ เจ้าหน้าที่ตำรวจและฝ่ายปกครองได้ลำเลียงผู้ได้รับบาดเจ็บไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลกรุงเทพ - หาดใหญ่ โดยบาดเจ็บสาหัส 1 คนคือ นางสาวอรอุมา พรหมมาส ขณะนี้ยังคงพักรักษาตัวอยู่ในห้องไอซียู และลูกจ้าง 2 คนพักฟื้นอยู่ในโรงพยาบาล ส่วนรายอื่น ๆ แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้
6. ภัยที่ไม่มีรายงานในเดือนกันยายน 2544 ได้แก่ ภัยจากแผ่นดินไหวและอาคารถล่ม ภัยหนาว ภัยแล้ง ภัยจากไฟป่า และภัยทางอากาศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 พ.ย. 44--
-สส-
1. อุทกภัย ได้เกิดสถานการณ์อุทกภัย จำนวน 3 ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ 1 สรุปสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 35 จังหวัด ในระหว่างวันที่ 10 สิงหาคม 2544 ถึง ปัจจุบัน รวม 289 อำเภอ 33 กิ่งอำเภอ 1,631 ตำบล 7,132 หมู่บ้าน แยกได้ ดังนี้
1) จังหวัดที่ประสบภัยที่เข้าสู่สภาวะปกติแล้ว จำนวน 17 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ตราด ลำปาง ตาก ลพบุรี เลย แม่ฮ่องสอน พิษณุโลก น่าน สุโขทัย หนองบัวลำภู มุกดาหาร ชัยภูมิ อุตรดิตถ์ สระแก้ว และอำนาจเจริญ มูลค่าความเสียหานย 885,560,216 บาท
2) จังหวัดที่ประสบภัยรุนแรงและปานกลาง จำนวน 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มหาสารคาม สกลนคร อุดรธานี ยโสธร และอุบลราชธานี มูลค่าความเสียหาย 1,506,201,641 บาท
3) จังหวัดที่กำลังประสบภัยเบาบาง จำนวน 11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดหนองคาย ขอนแก่น นครราชสีมา เพชรบูรณ์ แพร่ นครพนม พิจิตร พะเยา นครสวรรค์ ลำพูน และศรีสะเกษ มูลค่าความเสียหาย 258,132,726 บาท
ความเสียหาย ราษฎรเดือดร้อน 2,170,953 คน 540,902 ครัวเรือน อพยพ 6,382 คน 1,499 ครัวเรือน จำนวนผู้เสียชีวิต 190 คน (ชาย 89 คน หญิง 101 คน) สูญหาย 6 ราย ถนน 4,484 สาย สะพาน/คอสะพาน 434 แห่ง ทำนบ ฝาย/เหมือง 1,422 แห่ง พื้นที่เกษตร 3,535,523 ไร่ บ่อปลา/กุ้ง/ตะพาบ 68,172 บ่อ บ้านเสียหายทั้งหมด 324 หลัง บางส่วน 5,969 หลัง ปศุสัตว์ 494,939,200 ตัว ท่อระบายน้ำ 260 แห่ง บ่อน้ำ 316 แห่ง วัด/โรงเรียน/สถานที่ราชการ 310 แห่ง
การให้ความช่วยเหลือ
1) ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด นายอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการต่าง ๆ ได้ไปเยี่ยมเยียนและตรวจสอบความเสียหายในเบื้องต้นแล้ว
2) เหล่ากาชาดจังหวัด ประชาสงเคราะห์จังหวัดและภาคเอกชน ได้ไปแจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภค35,650 ชุด แก่ผู้ประสบภัยแล้ว
ครั้งที่ 2 สรุปสถานการณ์อุทกภัยในระหว่างวันที่ 26 สิงหาคม - 4 กันยายน 2544
พื้นที่ประสบภัย จำนวน 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระนองและบุรีรัมย์ รวม 10 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ 14 ตำบล
ความเสียหาย ราษฎรเดือดร้อน 2,893 คน 723 ครัวเรือน เสียชีวิต 1 คน (ชาย) พื้นที่การเกษตร 118,427 ไร่ บ่อปลา/กุ้ง 10,200 บ่อ ถนน 45 สาย พนังกั้นน้ำ 10 แห่ง สะพาน/คอสะพาน 7 แห่ง ปศุสัตว์ 984 ตัว บ้านเสียหายบางส่วน 125 หลัง มูลค่าความเสียหาย ไม่มีรายงาน
การให้ความช่วยเหลือของจังหวัดและส่วนราชการต่าง ๆ
1. ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด นายอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการต่าง ๆได้นำ อส. และ อปพร. พร้อมรถยนต์กู้ภัย จำนวน 4 คัน เข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว
2. ผู้ว่าราชการจังหวัด เหล่ากาชาดจังหวัดและหน่วยงานเอกชน ได้แจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภคจำนวนหนึ่งแก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่แล้ว
3. ผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำเภอได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่สำรวจความเสียหายทั้งหมดเพื่อพิจารณาช่วยเหลือตามระเบียบฯ ต่อไป
ครั้งที่ 3 สรุปสถานการณ์อุทกภัยในวันที่ 23 กันยายน 2544 ถึง ปัจจุบัน
พื้นที่ประสบภัย จำนวน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต สุพรรณบุรีและประจวบคีรีขันธ์ รวม 5 อำเภอ7 ตำบล 20 หมู่บ้าน ความเสียหาย 260,000 บาท
การให้ความช่วยเหลือของจังหวัดและส่วนราชการต่าง ๆ
1. ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด นายอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการต่าง ๆได้นำ อส. และ อปพร. พร้อมรถยนต์กู้ภัย จำนวน 2 คัน เข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว
2. ผู้ว่าราชการจังหวัด เหล่ากาชาดจังหวัดและหน่วยงานเอกชน ได้แจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภคจำนวนหนึ่งแก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่แล้ว
3. ผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำเภอได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่สำรวจความเสียหายทั้งหมดเพื่อพิจารณาช่วยเหลือตามระเบียบฯ ต่อไป
2. วาตภัย ในเดือนกันยายน 2544 เกิดวาตภัยรวม 71 ครั้ง
พื้นที่ประสบภัย จำนวน 21 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ สระบุรี ชุมพร บุรีรัมย์ นครปฐม สกลนคร มหาสารคาม กระบี่ จันทบุรี นครศรีธรรมราช ปัตตานี ตราด นราธิวาส นครสวรรค์ ศรีสะเกษ อุดรธานี พระนครศรีอยุธยา นครราชสีมา เชียงใหม่ ปราจีนบุรี และยโสธร รวม 63 อำเภอ 72 ตำบล 76 หมู่บ้าน
ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 662 คน 161 ครอบครัว บ้านพักอาศัยเสียหายทั้งหลัง 12 หลัง บางส่วน 151 หลัง บาดเจ็บ 2 ราย วัด/โรงเรียน/ส่วนราชการ 1 แห่ง ปศุสัตว์ 27 ตัว หอประชุม 4 หลัง อาคาร/ตึกแถว 5 ห้องมูลค่าความเสียหาย 2,848,117 บาท
การให้ความช่วยเหลือ
1. ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด นายอำเภอ และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้ออกไปเยี่ยมเยียนและตรวตสอบความเสียหายในพื้นที่ประสบภัย
2. จังหวัดฯ กาชาดจังหวัดและหน่วยงานเอกชนต่าง ๆ ได้แจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภคจำนวนหนึ่งแก่ราษฎรผู้ประสบภัย
3. อัคคีภัย ในเดือนกันยายน 2544 ได้เกิดอัคคีภัยรวม 89 ครั้ง
พื้นที่ประสบภัย จำนวน 24 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร ได้แก่ จังหวัดลำพูน เชียงใหม่ สุโขทัยนครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ นครพนม สกลนคร จันทบุรี ตราด ปราจีนบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ ราชบุรี ปทุมธานีสมุทรสาคร เพชรบุรี อุทัยธานี นราธิวาส นครศรีธรรมราช ชุมพร สงขลา ภูเก็ต ปัตตานี และกรุงเทพมหานคร (31 ครั้ง)รวม 58 อำเภอ 58 ตำบล 58 หมู่บ้าน
ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 295 คน 88 ครอบครัว อพยพ 43 คน 12 ครัวเรือน บาดเจ็บ 2 คนบ้านพักอาศัยเสียหายทั้งหลัง 33 หลัง บางส่วน 131 หลัง วัด/โรงเรียน/สถานที่ราชการ 5 แห่ง โกดังเก็บสินค้า 4 แห่งอาคาร/ตึกแถว 8 แห่ง มูลค่าความเสียหาย 6,214,140 บาท
การให้ความช่วยเหลือ จังหวัด อำเภอ และส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ส่งรถดับเพลิง 112 คันรถบรรทุกน้ำ 55 คัน รถยนต์กู้ภัย 12 คัน เครื่องดับเพลิงชนิดหาบหาม 2 เครื่อง สามารถระงับอัคคีภัยและบรรเทาความเสียหายแก่ทรัพย์สินของราษฎรในพื้นที่ได้ในระดับหนึ่ง
4. ภัยจากฟ้าผ่า ในเดือนกันยายน 2544 ได้เกิดภัยจากฟ้าผ่า รวม 15 ครั้ง
พื้นที่ประสบภัย จำนวน 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปราจีนบุรี นครราชสีมา กาฬสินธุ์ หนองคาย ร้อยเอ็ด มหาสารคาม สกลนคร บุรีรัมย์ รวม 15 อำเภอ 15 ตำบล 15 หมู่บ้าน
ราษฎรเดือดร้อน 34 คน 17 ครัวเรือน บาดเจ็บ 7 คน บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 6 หลัง ปศุสัตว์ตาย 15 ตัว มูลค่าความเสียหาย 310,000 บาท
การให้ความช่วยเหลือ จังหวัดฯ อำเภอ ประชาสงเคราะห์จังหวัดฯ ปศุสัตว์จังหวัดฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำรถยนต์กู้ภัยจำนวนหนึ่ง และดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว
5. ภัยจากสารเคมี ในเดือนกันยายน 2544 ได้เกิดภัยจากสารเคมี รวม 3 ครั้ง
พื้นที่ประสบภัย จำนวน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสงขลา ประจวบคีรีขันธ์ และกรุงเทพมหานครรวม 3 อำเภอ 3 ตำบล 3 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 29 คน บาดเจ็บสาหัส 1 คน มูลค่าความเสียหาย ไม่มีรายงาน
การให้ความช่วยเหลือ เจ้าหน้าที่ตำรวจและฝ่ายปกครองได้ลำเลียงผู้ได้รับบาดเจ็บไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลกรุงเทพ - หาดใหญ่ โดยบาดเจ็บสาหัส 1 คนคือ นางสาวอรอุมา พรหมมาส ขณะนี้ยังคงพักรักษาตัวอยู่ในห้องไอซียู และลูกจ้าง 2 คนพักฟื้นอยู่ในโรงพยาบาล ส่วนรายอื่น ๆ แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้
6. ภัยที่ไม่มีรายงานในเดือนกันยายน 2544 ได้แก่ ภัยจากแผ่นดินไหวและอาคารถล่ม ภัยหนาว ภัยแล้ง ภัยจากไฟป่า และภัยทางอากาศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 พ.ย. 44--
-สส-