คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ ความเห็นของที่ประชุมใหญ่คณะกรรมการกฤษฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย เรื่อง การพ้นจากการเป็นกรรมการที่แต่งตั้งโดยระบุชื่อบุคคลและตำแหน่งหรือส่วนราชการ และให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐถือปฏิบัติต่อไป
ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการายงานว่า
1. รองศาสตราจารย์วรวิทย์ เจริญเลิศ ประธานคณะกรรมการติดตามการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2540 กรณีเขื่อนที่ยังไม่ได้ดำเนินการก่อสร้าง 4 เขื่อน ได้มีหนังสือขอหารือกรณีนางวิภาดา อภินันท์ ข้าราชการสังกัดสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการดังกล่าวได้ลาออกจากราชการเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2543 ว่ายังสามารถปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการดังกล่าวได้หรือไม่
2. กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ได้มีหนังสือขอหารือการแต่งตั้งคณะกรรมการตามพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 มาตรา 29 นว ซึ่งกำหนดให้คณะกรรมการจัดการกองทุนประกอบด้วย ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นรองประธานกรรมการและกรรมการอื่นซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 9 คน และตามประกาศกระทรวงการคลัง วันที่ 22ธันวาคม 2543 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการกองทุน รวม 9 คน โดยระบุทั้งชื่อและตำแหน่งปัจจุบันของบุคคลนั้น ต่อมาบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งดังกล่าวมิได้อยู่ในตำแหน่งนั้น โดยอาจมีการเปลี่ยนแปลงโยกย้ายหน้าที่ราชการหรือเกษียณอายุราชการจะมีผลกระทบต่อสถานะของการเป็นกรรมการจัดการกองทุนอย่างไร หรือไม่
3. ที่ประชุมใหญ่คณะกรรมการกฤษฎีกาได้พิจารณาข้อหารือของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีตามข้อ 1และกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินตามข้อ 2 ในปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการพ้นจากตำแหน่งกรรมการ แล้วเห็นว่า
3.1 การออกคำสั่งแต่งตั้งกรรมการอาจดำเนินการได้หลายรูปแบบ โดยขึ้นอยู่กับบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเจตนาในการกำหนดตัวบุคคลที่เหมาะสมในการทำหน้าที่กรรมการซึ่งจะแสดงออกจากตัวคำสั่งนั้นเอง กล่าวคือ ถ้าเป็นการแต่งตั้งโดยระบุเพียงตำแหน่งหน้าที่ย่อมมุ่งหมายที่ต้องการถึงความรับผิดชอบตามตำแหน่งที่ระบุไว้ ฉะนั้น บุคคลใดก็ตามที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าวอยู่ ย่อมเป็นกรรมการในฐานะนี้เสมอ แต่ถ้าเป็นการแต่งตั้งโดยระบุเพียงชื่อบุคคล จะมีความมุ่งหมายที่ต้องการความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ หรือความเหมาะสมอันเป็นคุณสมบัติของบุคคลนั้นในฐานะส่วนบุคคลโดยเฉพาะ และจะยังคงเป็นกรรมการตลอดไปจนหมดวาระหรือพ้นไปเพราะเหตุคุณสมบัติของบุคคลนั้นเอง
3.2 กรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการโดยระบุชื่อตัวบุคคลและระบุตำแหน่งของบุคคลนั้นไว้พร้อมกันด้วยย่อมมีความมุ่งหมายที่ต้องการคุณสมบัติของบุคคลนั้น และอำนาจหน้าที่ในตำแหน่งหน้าที่ที่บุคคลดังกล่าวดำรงตำแหน่งอยู่ทั้ง 2 ประการประกอบกัน เนื่องจากการออกคำสั่งแต่งตั้งกรรมการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ราชการนั้นย่อมมีผลตามกฎหมายการใดที่เขียนไว้ในคำสั่ง จึงต้องมีความหมายที่ใช้บังคับได้ เพื่อให้เกิดความแน่นอนในผลของการปฏิบัติตามคำสั่งนั้น ด้วยเหตุนี้ในกรณีที่ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการพ้นจากตำแหน่งที่ระบุในคำสั่งแต่งตั้ง จึงย่อมพ้นจากการเป็นกรรมการไปด้วย เพราะไม่ครบองค์ประกอบที่ระบุในคำสั่ง เว้นแต่เป็นเพียงการเปลื่ยนชื่อตำแหน่งเนื่องจากได้เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นแต่ยังคงมีอำนาจหน้าที่ในลักษณะเช่นเดิมซึ่งเป็นไปตามปกติของการปฏิบัติราชการ และยังอยู่ในความมุ่งหมายของคำสั่งแต่งตั้งที่ต้องการความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้นั้น กรณีเช่นนี้ย่อมยังคงอยู่ในตำแหน่งกรรมการต่อไป
3.3 กรณีที่คำสั่งแต่งตั้งกรรมการระบุทั้งชื่อบุคคลและส่วนราชการย่อมมีเหตุผลเช่นเดียวกันกับการระบุชื่อบุคคลและตำแหน่งดังกล่าวตามข้อ 3.2 เมื่อบุคคลนั้นพ้นจากส่วนราชการที่ระบุไว้ย่อมพ้นจากการเป็นกรรมการไปด้วย
นอกจากนี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นว่า ผลการวินิจฉัยข้อกฎหมายของที่ประชุมใหญ่คณะกรรมการกฤษฎีกา ตามข้อ 3 ยังมีปัญหาในทางปฏิบัติ โดยเฉพาะกรณีระบุชื่อบุคคลพร้อมตำแหน่ง จึงควรนำผลการวินิจฉัยนี้มาเป็นหลักปรับปรุงวิธีการแต่งตั้งกรรมการตามคำสั่งของฝ่ายบริหาร (ไม่รวมถึงการแต่งตั้งกรรมการตามกฎหมายซึ่งมีบทบัญญัติว่าด้วยการพ้นจากตำแหน่งไว้โดยเฉพาะอยู่แล้ว) ให้เป็นไปโดยถูกต้องในแนวทางเดียวกันและไม่ให้เกิดปัญหา ดังนี้
1. การแต่งตั้งกรรมการที่ต้องการความรับผิดชอบตามตำแหน่งที่ระบุไว้ให้แต่งตั้งโดยระบุเพียงชื่อตำแหน่ง ไม่ต้องระบุชื่อตัวบุคคล ซึ่งในกรณีนี้ผู้ดำรงตำแหน่งนั้น ๆ อาจมอบหมายให้ผู้อื่นมาทำหน้าที่แทนได้ภายใต้บทบัญญัติว่าด้วยการมอบอำนาจให้รักษาราชการแทน หรือปฏิบัติราชการแทนตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดิน
2. การแต่งตั้งกรรมการที่ต้องการความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์หรือความเหมาะสม อันเป็นคุณสมบัติเฉพาะของบุคคล ให้แต่งตั้งโดยระบุชื่อตัวบุคคล ไม่ต้องระบุตำแหน่งหรือส่วนราชการต้นสังกัด ซึ่งในการนี้จะมอบหมายให้ผู้ใดมาทำหน้าที่แทนไม่ได้
3. การแต่งตั้งกรรมการที่ต้องการคุณสมบัติเฉพาะของบุคคลและอำนาจหน้าที่ในตำแหน่งหน้าที่ที่บุคคลดังกล่าวดำรงตำแหน่งอยู่ หรืออำนาจหน้าที่ของหน่วยงานที่บุคคลดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่อยู่ ให้แต่งตั้งโดยระบุชื่อตัวบุคคลและระบุตำแหน่งของบุคคลนั้น หรือระบุหน่วยงานที่บุคคลนั้นปฏิบัติหน้าที่อยู่ ซึ่งจะแต่งตั้งบุคคลอื่นให้มาประชุมแทนไม่ได้ และในกรณีที่บุคคลนั้นพ้นจากตำแหน่งดังกล่าว ให้เป็นที่เข้าใจว่าต้องพ้นจากความเป็นกรรมการด้วย หรืออาจระบุการพ้นจากตำแหน่งไว้ด้วยก็ได้ ถ้าไม่ประสงค์เช่นนั้น ก็ไม่ควรออกคำสั่งในลักษณะนี้มาแต่แรก และโดยที่แนวปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ในปัจจุบันยังมีความแตกต่างกันอันอาจก่อให้เกิดผลเสียหายแก่ประโยชน์สาธารณะและระบบบริหารราชการเป็นส่วนรวม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 ก.ย.44--
-สส-
ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการายงานว่า
1. รองศาสตราจารย์วรวิทย์ เจริญเลิศ ประธานคณะกรรมการติดตามการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2540 กรณีเขื่อนที่ยังไม่ได้ดำเนินการก่อสร้าง 4 เขื่อน ได้มีหนังสือขอหารือกรณีนางวิภาดา อภินันท์ ข้าราชการสังกัดสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการดังกล่าวได้ลาออกจากราชการเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2543 ว่ายังสามารถปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการดังกล่าวได้หรือไม่
2. กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ได้มีหนังสือขอหารือการแต่งตั้งคณะกรรมการตามพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 มาตรา 29 นว ซึ่งกำหนดให้คณะกรรมการจัดการกองทุนประกอบด้วย ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นรองประธานกรรมการและกรรมการอื่นซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 9 คน และตามประกาศกระทรวงการคลัง วันที่ 22ธันวาคม 2543 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการกองทุน รวม 9 คน โดยระบุทั้งชื่อและตำแหน่งปัจจุบันของบุคคลนั้น ต่อมาบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งดังกล่าวมิได้อยู่ในตำแหน่งนั้น โดยอาจมีการเปลี่ยนแปลงโยกย้ายหน้าที่ราชการหรือเกษียณอายุราชการจะมีผลกระทบต่อสถานะของการเป็นกรรมการจัดการกองทุนอย่างไร หรือไม่
3. ที่ประชุมใหญ่คณะกรรมการกฤษฎีกาได้พิจารณาข้อหารือของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีตามข้อ 1และกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินตามข้อ 2 ในปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการพ้นจากตำแหน่งกรรมการ แล้วเห็นว่า
3.1 การออกคำสั่งแต่งตั้งกรรมการอาจดำเนินการได้หลายรูปแบบ โดยขึ้นอยู่กับบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเจตนาในการกำหนดตัวบุคคลที่เหมาะสมในการทำหน้าที่กรรมการซึ่งจะแสดงออกจากตัวคำสั่งนั้นเอง กล่าวคือ ถ้าเป็นการแต่งตั้งโดยระบุเพียงตำแหน่งหน้าที่ย่อมมุ่งหมายที่ต้องการถึงความรับผิดชอบตามตำแหน่งที่ระบุไว้ ฉะนั้น บุคคลใดก็ตามที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าวอยู่ ย่อมเป็นกรรมการในฐานะนี้เสมอ แต่ถ้าเป็นการแต่งตั้งโดยระบุเพียงชื่อบุคคล จะมีความมุ่งหมายที่ต้องการความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ หรือความเหมาะสมอันเป็นคุณสมบัติของบุคคลนั้นในฐานะส่วนบุคคลโดยเฉพาะ และจะยังคงเป็นกรรมการตลอดไปจนหมดวาระหรือพ้นไปเพราะเหตุคุณสมบัติของบุคคลนั้นเอง
3.2 กรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการโดยระบุชื่อตัวบุคคลและระบุตำแหน่งของบุคคลนั้นไว้พร้อมกันด้วยย่อมมีความมุ่งหมายที่ต้องการคุณสมบัติของบุคคลนั้น และอำนาจหน้าที่ในตำแหน่งหน้าที่ที่บุคคลดังกล่าวดำรงตำแหน่งอยู่ทั้ง 2 ประการประกอบกัน เนื่องจากการออกคำสั่งแต่งตั้งกรรมการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ราชการนั้นย่อมมีผลตามกฎหมายการใดที่เขียนไว้ในคำสั่ง จึงต้องมีความหมายที่ใช้บังคับได้ เพื่อให้เกิดความแน่นอนในผลของการปฏิบัติตามคำสั่งนั้น ด้วยเหตุนี้ในกรณีที่ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการพ้นจากตำแหน่งที่ระบุในคำสั่งแต่งตั้ง จึงย่อมพ้นจากการเป็นกรรมการไปด้วย เพราะไม่ครบองค์ประกอบที่ระบุในคำสั่ง เว้นแต่เป็นเพียงการเปลื่ยนชื่อตำแหน่งเนื่องจากได้เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นแต่ยังคงมีอำนาจหน้าที่ในลักษณะเช่นเดิมซึ่งเป็นไปตามปกติของการปฏิบัติราชการ และยังอยู่ในความมุ่งหมายของคำสั่งแต่งตั้งที่ต้องการความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้นั้น กรณีเช่นนี้ย่อมยังคงอยู่ในตำแหน่งกรรมการต่อไป
3.3 กรณีที่คำสั่งแต่งตั้งกรรมการระบุทั้งชื่อบุคคลและส่วนราชการย่อมมีเหตุผลเช่นเดียวกันกับการระบุชื่อบุคคลและตำแหน่งดังกล่าวตามข้อ 3.2 เมื่อบุคคลนั้นพ้นจากส่วนราชการที่ระบุไว้ย่อมพ้นจากการเป็นกรรมการไปด้วย
นอกจากนี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นว่า ผลการวินิจฉัยข้อกฎหมายของที่ประชุมใหญ่คณะกรรมการกฤษฎีกา ตามข้อ 3 ยังมีปัญหาในทางปฏิบัติ โดยเฉพาะกรณีระบุชื่อบุคคลพร้อมตำแหน่ง จึงควรนำผลการวินิจฉัยนี้มาเป็นหลักปรับปรุงวิธีการแต่งตั้งกรรมการตามคำสั่งของฝ่ายบริหาร (ไม่รวมถึงการแต่งตั้งกรรมการตามกฎหมายซึ่งมีบทบัญญัติว่าด้วยการพ้นจากตำแหน่งไว้โดยเฉพาะอยู่แล้ว) ให้เป็นไปโดยถูกต้องในแนวทางเดียวกันและไม่ให้เกิดปัญหา ดังนี้
1. การแต่งตั้งกรรมการที่ต้องการความรับผิดชอบตามตำแหน่งที่ระบุไว้ให้แต่งตั้งโดยระบุเพียงชื่อตำแหน่ง ไม่ต้องระบุชื่อตัวบุคคล ซึ่งในกรณีนี้ผู้ดำรงตำแหน่งนั้น ๆ อาจมอบหมายให้ผู้อื่นมาทำหน้าที่แทนได้ภายใต้บทบัญญัติว่าด้วยการมอบอำนาจให้รักษาราชการแทน หรือปฏิบัติราชการแทนตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดิน
2. การแต่งตั้งกรรมการที่ต้องการความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์หรือความเหมาะสม อันเป็นคุณสมบัติเฉพาะของบุคคล ให้แต่งตั้งโดยระบุชื่อตัวบุคคล ไม่ต้องระบุตำแหน่งหรือส่วนราชการต้นสังกัด ซึ่งในการนี้จะมอบหมายให้ผู้ใดมาทำหน้าที่แทนไม่ได้
3. การแต่งตั้งกรรมการที่ต้องการคุณสมบัติเฉพาะของบุคคลและอำนาจหน้าที่ในตำแหน่งหน้าที่ที่บุคคลดังกล่าวดำรงตำแหน่งอยู่ หรืออำนาจหน้าที่ของหน่วยงานที่บุคคลดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่อยู่ ให้แต่งตั้งโดยระบุชื่อตัวบุคคลและระบุตำแหน่งของบุคคลนั้น หรือระบุหน่วยงานที่บุคคลนั้นปฏิบัติหน้าที่อยู่ ซึ่งจะแต่งตั้งบุคคลอื่นให้มาประชุมแทนไม่ได้ และในกรณีที่บุคคลนั้นพ้นจากตำแหน่งดังกล่าว ให้เป็นที่เข้าใจว่าต้องพ้นจากความเป็นกรรมการด้วย หรืออาจระบุการพ้นจากตำแหน่งไว้ด้วยก็ได้ ถ้าไม่ประสงค์เช่นนั้น ก็ไม่ควรออกคำสั่งในลักษณะนี้มาแต่แรก และโดยที่แนวปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ในปัจจุบันยังมีความแตกต่างกันอันอาจก่อให้เกิดผลเสียหายแก่ประโยชน์สาธารณะและระบบบริหารราชการเป็นส่วนรวม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 ก.ย.44--
-สส-