ทำเนียบรัฐบาล--30 พ.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้กระทรวงกลาโหม (กองบัญชาการทหารสูงสุด) ยืมเงินจากรัฐบาล เพื่อทดรองเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดส่งเจ้าหน้าที่ของไทย เข้าร่วมในการปฏิบัติการของสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก (ช่วงที่ 3) ภายใต้ชื่อองค์กรบริหารชั่วคราวของสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก (UN Transitional Administration in East Timor : UNTAET) ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ โดยประมาณการค่าใช้จ่ายยึดถือตามหลักเกณฑ์และอัตราที่สหประชาชาติกำหนด จำนวน 62 ล้านบาท/เดือน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2543 จนถึงเดือนมกราคม 2544 ซึ่งจะต้องใช้จ่ายเงินจากกองทุนของสหประชาชาติ (TRUST FUND) ที่ได้รับการบริจาคจากประเทศต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการรักษาสันติภาพในติมอร์ตะวันออก
อนึ่ง ในการจัดส่งกำลังกองทัพไทยเข้าร่วมปฏิบัติหน้าที่ในกองกำลัง INTERFET (ช่วงที่ 2) รัฐบาลได้อนุมัติเงินทดรองจ่ายให้กองบัญชาการทหารสูงสุด จำนวน 630 ล้านบาท ระยะเวลา 6 เดือน (ตุลาคม 2542 จนถึงมีนาคม 2543) หรือจำนวน 105 ล้านบาท/เดือน โดยการปฏิบัติภารกิจที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันปรากฏว่ามีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นสูงเกินกว่าวงเงินทดรองจ่ายที่รัฐบาลอนุมัติไว้ และการปฏิบัติภารกิจดังกล่าวจะสิ้นสุดในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543 ซึ่งกองบัญชาการทหารสูงสุดกำลังดำเนินกรรมวิธีเพื่อขอเบิกเงินคืนจากกองทุนของสหประชาชาติ (TRUST FUND) และจากสหประชาชาติ เพื่อนำส่งคืนแก่รัฐบาลต่อไป
คณะรัฐมนตรีจึงเห็นว่า เพื่อป้องกันมิให้เกิดความผิดพลาดในการเบิกรับเงินคืนจากสหประชาชาติ อันอาจเป็นเหตุให้ต้องสูญเสียงบประมาณของแผ่นดินโดยไม่สมควร จึงมอบหมายให้กระทรวงกลาโหม (กองบัญชาการทหารสูงสุด) ดำเนินกรรมวิธีเพื่อแยกการใช้จ่ายเงิน และการขอเบิกเงินคืนดังกล่าว ออกจากกันโดยเด็ดขาด
กระทรวงกลาโหมได้จัดส่งกำลังพล จำนวน 925 คน และยุทโธปกรณ์ตามที่สหประชาชาติกำหนดเข้าร่วมปฏิบัติหน้าที่ในกองกำลัง UNTAET ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 ประกอบด้วย กองบัญชาการกองกำลัง UNTAET (Force HQ) จำนวน 9 คน กองบัญชาการกองพลน้อย จำนวน 46 คน กองพันทหารราบกองพลน้อย จำนวน 707 คน หน่วยสื่อสารกองพลน้อย จำนวน 80 คน โรงพยาบาลระดับ 2 กองพลน้อย จำนวน 35 คน หน่วยสารวัตรทหารกองพลน้อย จำนวน 48 คน ทั้งนี้ เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามนโยบายของรัฐบาลและตามมติคณะรัฐมนตรี และเพื่อเป็นการแสดงท่าทีที่ชัดเจนในการสนับสนุนบทบาทของสหประชาชาติในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง สร้างสรรค์สันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งเสริมเกียรติภูมิของประเทศไทย และส่งเสริมบทบาทของกองทัพไทยในการเข้าไปมีส่วนสนับสนุนกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 30 พฤษภาคม 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้กระทรวงกลาโหม (กองบัญชาการทหารสูงสุด) ยืมเงินจากรัฐบาล เพื่อทดรองเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดส่งเจ้าหน้าที่ของไทย เข้าร่วมในการปฏิบัติการของสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก (ช่วงที่ 3) ภายใต้ชื่อองค์กรบริหารชั่วคราวของสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก (UN Transitional Administration in East Timor : UNTAET) ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ โดยประมาณการค่าใช้จ่ายยึดถือตามหลักเกณฑ์และอัตราที่สหประชาชาติกำหนด จำนวน 62 ล้านบาท/เดือน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2543 จนถึงเดือนมกราคม 2544 ซึ่งจะต้องใช้จ่ายเงินจากกองทุนของสหประชาชาติ (TRUST FUND) ที่ได้รับการบริจาคจากประเทศต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการรักษาสันติภาพในติมอร์ตะวันออก
อนึ่ง ในการจัดส่งกำลังกองทัพไทยเข้าร่วมปฏิบัติหน้าที่ในกองกำลัง INTERFET (ช่วงที่ 2) รัฐบาลได้อนุมัติเงินทดรองจ่ายให้กองบัญชาการทหารสูงสุด จำนวน 630 ล้านบาท ระยะเวลา 6 เดือน (ตุลาคม 2542 จนถึงมีนาคม 2543) หรือจำนวน 105 ล้านบาท/เดือน โดยการปฏิบัติภารกิจที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันปรากฏว่ามีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นสูงเกินกว่าวงเงินทดรองจ่ายที่รัฐบาลอนุมัติไว้ และการปฏิบัติภารกิจดังกล่าวจะสิ้นสุดในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543 ซึ่งกองบัญชาการทหารสูงสุดกำลังดำเนินกรรมวิธีเพื่อขอเบิกเงินคืนจากกองทุนของสหประชาชาติ (TRUST FUND) และจากสหประชาชาติ เพื่อนำส่งคืนแก่รัฐบาลต่อไป
คณะรัฐมนตรีจึงเห็นว่า เพื่อป้องกันมิให้เกิดความผิดพลาดในการเบิกรับเงินคืนจากสหประชาชาติ อันอาจเป็นเหตุให้ต้องสูญเสียงบประมาณของแผ่นดินโดยไม่สมควร จึงมอบหมายให้กระทรวงกลาโหม (กองบัญชาการทหารสูงสุด) ดำเนินกรรมวิธีเพื่อแยกการใช้จ่ายเงิน และการขอเบิกเงินคืนดังกล่าว ออกจากกันโดยเด็ดขาด
กระทรวงกลาโหมได้จัดส่งกำลังพล จำนวน 925 คน และยุทโธปกรณ์ตามที่สหประชาชาติกำหนดเข้าร่วมปฏิบัติหน้าที่ในกองกำลัง UNTAET ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 ประกอบด้วย กองบัญชาการกองกำลัง UNTAET (Force HQ) จำนวน 9 คน กองบัญชาการกองพลน้อย จำนวน 46 คน กองพันทหารราบกองพลน้อย จำนวน 707 คน หน่วยสื่อสารกองพลน้อย จำนวน 80 คน โรงพยาบาลระดับ 2 กองพลน้อย จำนวน 35 คน หน่วยสารวัตรทหารกองพลน้อย จำนวน 48 คน ทั้งนี้ เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามนโยบายของรัฐบาลและตามมติคณะรัฐมนตรี และเพื่อเป็นการแสดงท่าทีที่ชัดเจนในการสนับสนุนบทบาทของสหประชาชาติในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง สร้างสรรค์สันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งเสริมเกียรติภูมิของประเทศไทย และส่งเสริมบทบาทของกองทัพไทยในการเข้าไปมีส่วนสนับสนุนกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 30 พฤษภาคม 2543--
-สส-