ทำเนียบรัฐบาล--30 พ.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีพิจารณาการจ่ายโบนัสพนักงานรัฐวิสาหกิจที่ประสบผลขาดทุนเนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ แล้วมีมติอนุมัติให้รัฐวิสาหกิจที่มีเงินกู้ต่างประเทศและมีผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ในปี 2542 จนทำให้งบกำไรขาดทุนปรากฏผลขาดทุนสุทธิทั้งที่การดำเนินงานปกติมีกำไรดำเนินการ ดังนี้
1. วิธีการคำนวณโบนัสพนักงาน
ขั้นตอนที่ 1 ให้รัฐวิสาหกิจนำกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนฯ ทุกประเภท มาหักด้วยผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนฯ ที่เกิดขึ้นจากการชำระหนี้จริงในปี 2542 ถ้ามีกำไรจึงจะสามารถจ่ายโบนัสพนักงานได้
ขั้นตอนที่ 2 ในกรณีที่มีกำไรจากการดำเนินงานหลังหักผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนฯ ที่เกิดจากการชำระหนี้จริงตามขั้นตอนที่ 1 ให้จ่ายโบนัสได้ 1 เท่าของเงินเดือนหรือค่าจ้างรายเดือน ในกรณีที่กำไรดังกล่าวไม่เพียงพอที่จะจ่ายโบนัสพนักงานได้ 1 เท่าของเงินเดือนหรือค่าจ้างรายเดือน ก็ให้จ่ายโบนัสพนักงานโดยเฉลี่ยตามส่วนของกำไรดังกล่าว
2. การจ่ายโบนัสตามข้อ 1 เป็นการจ่ายโบนัสให้พนักงานรัฐวิสาหกิจเป็นกรณีพิเศษเฉพาะสำหรับการจัดสรรกำไรสุทธิประจำปี 2542 เพียงปีเดียวเท่านั้น เนื่องจากเกิดความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนฯ ซึ่งค่าเงินบาทอ่อนตัวมากในช่วงเดือนกันยายน 2542 ทำให้รัฐวิสาหกิจที่มีผลกำไรจากการดำเนินงานปกติ ต้องประสบผลขาดทุนสุทธิ อันเนื่องมาจากผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนฯ ดังนั้น ในปีต่อ ๆ ไปฝ่ายบริหารของรัฐวิสาหกิจต้องชี้แจงปัญหาและนโยบายต่าง ๆ ให้พนักงานเข้าใจว่าผลขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนฯ จะต้องถือปฏิบัติตามมาตรฐานบัญชีสากล และหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก พนักงานรัฐวิสาหกิจจะต้องรับสภาพความเป็นจริง กล่าวคือ ถ้ามีผลขาดทุนสุทธิพนักงานจะไม่ได้รับโบนัส
3. สำหรับแนวทางบการแก้ปัญหาดังกล่าว มิให้ใช้กับการจ่ายโบนัสกรรมการของรัฐวิสาหกิจ
อนึ่ง แนวทางที่เสนอในข้อ 1 จะเป็นการแก้ปัญหาให้กับรัฐวิสาหกิจจำนวน 6 แห่ง ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การท่าเรือแห่งประเทศไทย การประปานครหลวง การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และการเคหะแห่งชาติ ซึ่งรัฐวิสาหกิจดังกล่าวมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนฯ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 30 พฤษภาคม 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีพิจารณาการจ่ายโบนัสพนักงานรัฐวิสาหกิจที่ประสบผลขาดทุนเนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ แล้วมีมติอนุมัติให้รัฐวิสาหกิจที่มีเงินกู้ต่างประเทศและมีผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ในปี 2542 จนทำให้งบกำไรขาดทุนปรากฏผลขาดทุนสุทธิทั้งที่การดำเนินงานปกติมีกำไรดำเนินการ ดังนี้
1. วิธีการคำนวณโบนัสพนักงาน
ขั้นตอนที่ 1 ให้รัฐวิสาหกิจนำกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนฯ ทุกประเภท มาหักด้วยผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนฯ ที่เกิดขึ้นจากการชำระหนี้จริงในปี 2542 ถ้ามีกำไรจึงจะสามารถจ่ายโบนัสพนักงานได้
ขั้นตอนที่ 2 ในกรณีที่มีกำไรจากการดำเนินงานหลังหักผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนฯ ที่เกิดจากการชำระหนี้จริงตามขั้นตอนที่ 1 ให้จ่ายโบนัสได้ 1 เท่าของเงินเดือนหรือค่าจ้างรายเดือน ในกรณีที่กำไรดังกล่าวไม่เพียงพอที่จะจ่ายโบนัสพนักงานได้ 1 เท่าของเงินเดือนหรือค่าจ้างรายเดือน ก็ให้จ่ายโบนัสพนักงานโดยเฉลี่ยตามส่วนของกำไรดังกล่าว
2. การจ่ายโบนัสตามข้อ 1 เป็นการจ่ายโบนัสให้พนักงานรัฐวิสาหกิจเป็นกรณีพิเศษเฉพาะสำหรับการจัดสรรกำไรสุทธิประจำปี 2542 เพียงปีเดียวเท่านั้น เนื่องจากเกิดความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนฯ ซึ่งค่าเงินบาทอ่อนตัวมากในช่วงเดือนกันยายน 2542 ทำให้รัฐวิสาหกิจที่มีผลกำไรจากการดำเนินงานปกติ ต้องประสบผลขาดทุนสุทธิ อันเนื่องมาจากผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนฯ ดังนั้น ในปีต่อ ๆ ไปฝ่ายบริหารของรัฐวิสาหกิจต้องชี้แจงปัญหาและนโยบายต่าง ๆ ให้พนักงานเข้าใจว่าผลขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนฯ จะต้องถือปฏิบัติตามมาตรฐานบัญชีสากล และหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก พนักงานรัฐวิสาหกิจจะต้องรับสภาพความเป็นจริง กล่าวคือ ถ้ามีผลขาดทุนสุทธิพนักงานจะไม่ได้รับโบนัส
3. สำหรับแนวทางบการแก้ปัญหาดังกล่าว มิให้ใช้กับการจ่ายโบนัสกรรมการของรัฐวิสาหกิจ
อนึ่ง แนวทางที่เสนอในข้อ 1 จะเป็นการแก้ปัญหาให้กับรัฐวิสาหกิจจำนวน 6 แห่ง ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การท่าเรือแห่งประเทศไทย การประปานครหลวง การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และการเคหะแห่งชาติ ซึ่งรัฐวิสาหกิจดังกล่าวมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนฯ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 30 พฤษภาคม 2543--
-สส-