ทำเนียบรัฐบาล--12 ก.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 6 - 7 กรกฎาคม 2543 ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี ตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอดิศัย โพธารามิก) ประธานกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเสนอ เพื่อจะได้ใช้เป็นข้อมูลสำหรับการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค (APEC Economic Leaders's Meeting) ในเดือนพฤศจิกายน 2543 ณ ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. การประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวของเอเปค ครั้งที่ 1 จัดขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมีรัฐมนตรีที่กำกับดูแลการท่องเที่ยวจากประเทศสมาชิกกลุ่มเศรษฐกิจเอเปคทั้ง 21 ประเทศ เข้าร่วมการประชุม ซึ่งถือเป็นความคืบหน้าครั้งสำคัญของกลุ่มเอเปคที่ได้เน้นความสำคัญของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในการเป็นกลไกสำคัญที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ การจ้างงาน และสร้างกระแสการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมของประเทศควบคู่กันไป
สำหรับคำขวัญของการประชุมครั้งนี้คือ "APEC Tourism 21/21 : Challenges and Opportunities for Tourism in the Asia - Pacific Region" หมายถึง การเตรียมพร้อมเพื่อเผชิญกับความท้าทายและแสวงหาโอกาสจากการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของกลุ่มสมาชิก 21 ประเทศ ในศตวรรษที่ 21
2. รัฐมนตรของสมาชิกเอเปคแต่ละประเทศได้กล่าวถ้อยแถลงในหัวข้อ "Challenges and Opportunities for Tourism in the Asia - Pacific Region" สำหรับรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอดิศัย โพธารามิก) ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยได้กล่าวถ้อยแถลงโดยสรุปในเรื่องการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อรองรับนโยบายของรัฐบาลที่จะให้มีการกระจายรายได้จากการท่องเที่ยวไปสู่ท้องถิ่นอย่างเป็นธรรม เพื่อให้ประชาชนในชนบทได้รับผลประโยชน์อย่างเต็มที่ รวมทั้งการพัฒนาประสิทธิภาพของกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม นอกจากนี้ ได้กล่าวถึงนโยบายการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนโดยการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ตลอดจนการให้ความสำคัญต่อการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร การจัดทำบัญชีรายได้ประชาชาติด้านการท่องเที่ยว (Tourism Satellite Account) เพื่อเป็นเครื่องมือในการใช้เป็นดัชนีชี้วัดความสำคัญของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม
3. ความสำคัญของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ได้รับความสนใจจากที่ประชุม ได้มีการเชิญผู้แทนจาก World Travel and Tourism Council (WTTC) และ Pacific Asia Travel Association (PATA) เข้าร่วมการประชุมเพื่อหารือร่วมกันอย่างไม่เป็นทางการในการหาแนวทางความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนด้านการท่องเที่ยวสำหรับภูมิภาคเอเปค ผู้แทนจาก WTTC และ PATA ได้เสนอรายงานเกี่ยวกับบทบาทความร่วมมือภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนสำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในศตวรรษที่ 21 ซึ่งการหารืออย่างไม่เป็นทางการดังกล่าว ถือเป็นส่วนผลักดันสำคัญที่จะทำให้เกิดการพัฒนาความร่วมมือภาครัฐและเอกชนต่อไปในอนาคต
4. ที่ประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 1 ได้มีมติดังนี้
4.1 เห็นชอบและร่วมกันลงนามรับรองในปฏิญญาทางการท่องเที่ยวของเอเปค อันเป็นข้อตกลงร่วมกันในการพัฒนาเศรษฐกิจ วัฒนธรรม สังคม และสิ่งแวดล้อมของสมาชิกเอเปค โดยใช้การท่องเที่ยวเป็นกลไกผลักดัน ซึ่งปฏิญญาได้กำหนดเป้าหมายหลัก 4 ประการ คือ
1) ขจัดอุปสรรคที่มีต่อการดำเนินธุรกิจและการลงทุนทางการท่องเที่ยว
2) อำนวยความสะดวกในการเดินทางและเพิ่มอุปสงค์ทางการท่องเที่ยว
3) จัดการด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
4) สร้างการยอมรับในบทบาทของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่มีต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในกลุ่มเอเปค
4.2 เห็นชอบที่จะดำเนินการดังต่อไปนี้
- การจัดการการท่องเที่ยวเพื่อผลที่ยั่งยืน
- การจัดตั้งเครือข่ายข้อมูลด้านการท่องเที่ยว
- การจัดทำบัญชีรายได้ประชาชาติด้านการท่องเที่ยว (Tourism Satellite Account)
4.3 เห็นชอบให้มีการจัดประชุมครั้งต่อไปในเดือนกรกฎาคม 2545 ณ ประเทศเม็กซิโก
สำหรับผลประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการประชุมฯ มีดังนี้
1. การร่วมลงนามรับรองแถลงการณ์ดังกล่าวเป็นการย้ำให้สมาชิกเศรษฐกิจเอเปคได้เห็นถึงความพร้อมและความร่วมมมือของประเทศไทยในการส่งเสริมการเปิดเสรีทางการท่องเที่ยว โดยจะดำเนินการในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปเพื่อให้ภาคเอกชนไทยสามารถปรับตัวเพื่อแข่งขันกับตลาดต่างประเทศได้
2. ช่วยกระชับความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยกับกลุ่มเศรษฐกิจเอเปคให้มีมากขึ้น
3. การที่ประเทศไทยได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ประสานงานและจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมสำหรับกลุ่มสมาชิกในการขจัดอุปสรรคที่มีต่อการดำเนินธุรกิจและการลงทุนทางการท่องเที่ยว อันเป็นเป้าหมายหนึ่งในแถลงการณ์ฯจะมีส่วนสำคัญในการผลักดันและนำเสนอแนวทางความร่วมมือในกรอบการเปิดเสรีด้านบริการและการท่องเที่ยวเอเปคที่จะช่วยเตรียมความพร้อมและรักษาผลประโยชน์ของประเทศไทย
4. ในแถลงการณ์ว่าด้วยปฏิญญาทางการท่องเที่ยวของเอเปคได้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการท่องเที่ยวที่มีต่อภูมิภาค ซึ่งเป็นการย้ำถึงการเป็นกลไกพัฒนาประเทศของไทยและกลุ่มเศรษฐกิจเอเปค
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 12 ก.ย. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 6 - 7 กรกฎาคม 2543 ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี ตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอดิศัย โพธารามิก) ประธานกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเสนอ เพื่อจะได้ใช้เป็นข้อมูลสำหรับการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค (APEC Economic Leaders's Meeting) ในเดือนพฤศจิกายน 2543 ณ ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. การประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวของเอเปค ครั้งที่ 1 จัดขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมีรัฐมนตรีที่กำกับดูแลการท่องเที่ยวจากประเทศสมาชิกกลุ่มเศรษฐกิจเอเปคทั้ง 21 ประเทศ เข้าร่วมการประชุม ซึ่งถือเป็นความคืบหน้าครั้งสำคัญของกลุ่มเอเปคที่ได้เน้นความสำคัญของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในการเป็นกลไกสำคัญที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ การจ้างงาน และสร้างกระแสการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมของประเทศควบคู่กันไป
สำหรับคำขวัญของการประชุมครั้งนี้คือ "APEC Tourism 21/21 : Challenges and Opportunities for Tourism in the Asia - Pacific Region" หมายถึง การเตรียมพร้อมเพื่อเผชิญกับความท้าทายและแสวงหาโอกาสจากการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของกลุ่มสมาชิก 21 ประเทศ ในศตวรรษที่ 21
2. รัฐมนตรของสมาชิกเอเปคแต่ละประเทศได้กล่าวถ้อยแถลงในหัวข้อ "Challenges and Opportunities for Tourism in the Asia - Pacific Region" สำหรับรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอดิศัย โพธารามิก) ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยได้กล่าวถ้อยแถลงโดยสรุปในเรื่องการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อรองรับนโยบายของรัฐบาลที่จะให้มีการกระจายรายได้จากการท่องเที่ยวไปสู่ท้องถิ่นอย่างเป็นธรรม เพื่อให้ประชาชนในชนบทได้รับผลประโยชน์อย่างเต็มที่ รวมทั้งการพัฒนาประสิทธิภาพของกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม นอกจากนี้ ได้กล่าวถึงนโยบายการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนโดยการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ตลอดจนการให้ความสำคัญต่อการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร การจัดทำบัญชีรายได้ประชาชาติด้านการท่องเที่ยว (Tourism Satellite Account) เพื่อเป็นเครื่องมือในการใช้เป็นดัชนีชี้วัดความสำคัญของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม
3. ความสำคัญของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ได้รับความสนใจจากที่ประชุม ได้มีการเชิญผู้แทนจาก World Travel and Tourism Council (WTTC) และ Pacific Asia Travel Association (PATA) เข้าร่วมการประชุมเพื่อหารือร่วมกันอย่างไม่เป็นทางการในการหาแนวทางความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนด้านการท่องเที่ยวสำหรับภูมิภาคเอเปค ผู้แทนจาก WTTC และ PATA ได้เสนอรายงานเกี่ยวกับบทบาทความร่วมมือภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนสำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในศตวรรษที่ 21 ซึ่งการหารืออย่างไม่เป็นทางการดังกล่าว ถือเป็นส่วนผลักดันสำคัญที่จะทำให้เกิดการพัฒนาความร่วมมือภาครัฐและเอกชนต่อไปในอนาคต
4. ที่ประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 1 ได้มีมติดังนี้
4.1 เห็นชอบและร่วมกันลงนามรับรองในปฏิญญาทางการท่องเที่ยวของเอเปค อันเป็นข้อตกลงร่วมกันในการพัฒนาเศรษฐกิจ วัฒนธรรม สังคม และสิ่งแวดล้อมของสมาชิกเอเปค โดยใช้การท่องเที่ยวเป็นกลไกผลักดัน ซึ่งปฏิญญาได้กำหนดเป้าหมายหลัก 4 ประการ คือ
1) ขจัดอุปสรรคที่มีต่อการดำเนินธุรกิจและการลงทุนทางการท่องเที่ยว
2) อำนวยความสะดวกในการเดินทางและเพิ่มอุปสงค์ทางการท่องเที่ยว
3) จัดการด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
4) สร้างการยอมรับในบทบาทของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่มีต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในกลุ่มเอเปค
4.2 เห็นชอบที่จะดำเนินการดังต่อไปนี้
- การจัดการการท่องเที่ยวเพื่อผลที่ยั่งยืน
- การจัดตั้งเครือข่ายข้อมูลด้านการท่องเที่ยว
- การจัดทำบัญชีรายได้ประชาชาติด้านการท่องเที่ยว (Tourism Satellite Account)
4.3 เห็นชอบให้มีการจัดประชุมครั้งต่อไปในเดือนกรกฎาคม 2545 ณ ประเทศเม็กซิโก
สำหรับผลประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการประชุมฯ มีดังนี้
1. การร่วมลงนามรับรองแถลงการณ์ดังกล่าวเป็นการย้ำให้สมาชิกเศรษฐกิจเอเปคได้เห็นถึงความพร้อมและความร่วมมมือของประเทศไทยในการส่งเสริมการเปิดเสรีทางการท่องเที่ยว โดยจะดำเนินการในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปเพื่อให้ภาคเอกชนไทยสามารถปรับตัวเพื่อแข่งขันกับตลาดต่างประเทศได้
2. ช่วยกระชับความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยกับกลุ่มเศรษฐกิจเอเปคให้มีมากขึ้น
3. การที่ประเทศไทยได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ประสานงานและจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมสำหรับกลุ่มสมาชิกในการขจัดอุปสรรคที่มีต่อการดำเนินธุรกิจและการลงทุนทางการท่องเที่ยว อันเป็นเป้าหมายหนึ่งในแถลงการณ์ฯจะมีส่วนสำคัญในการผลักดันและนำเสนอแนวทางความร่วมมือในกรอบการเปิดเสรีด้านบริการและการท่องเที่ยวเอเปคที่จะช่วยเตรียมความพร้อมและรักษาผลประโยชน์ของประเทศไทย
4. ในแถลงการณ์ว่าด้วยปฏิญญาทางการท่องเที่ยวของเอเปคได้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการท่องเที่ยวที่มีต่อภูมิภาค ซึ่งเป็นการย้ำถึงการเป็นกลไกพัฒนาประเทศของไทยและกลุ่มเศรษฐกิจเอเปค
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 12 ก.ย. 2543--
-สส-