คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาในฐานะกรรมาธิการวิสามัญของวุฒิสภาได้เสนอรายงานการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้พิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมในสาระสำคัญบางประการ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการายงานว่า ในการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญของวุฒิสภาเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. …. ที่ค้างการพิจารณาอยู่ในชั้นวุฒิสภา ที่ประชุมได้แก้ไขร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวในสาระสำคัญบางประการตามที่กรรมาธิการซึ่งเป็นผู้แทนรัฐบาลเสนอ ในการนี้กรรมาธิการประสงค์ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลและคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรด้วย เพื่อให้การพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินี้เป็นไปโดยเรียบร้อย จึงได้เสนอรายงานการแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. วาระ จำนวนครั้งการประชุม และความคืบหน้าในการพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ได้ประชุมในวาระที่ 1 จนถึงปัจจุบันรวมจำนวน 8 ครั้ง ได้มีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแล้วจำนวน 39 มาตรา จากจำนวนทั้งสิ้น 44 มาตรา
2. การปรับแก้และเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติ ที่ประชุมคณะกรรมาธิการฯ ได้พิจารณาปรับแก้ร่างพระราชบัญญัติรวม 15 มาตรา เพื่อให้ถ้อยคำกระชับและรัดกุมยิ่งขึ้น
3. การแก้ไขในสาระสำคัญ
3.1 เพิ่มเติมหลักการเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายแม่แบบ
เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้พัฒนาขึ้นตามแนวทางที่กำหนดไว้ในกฎหมายแม่แบบว่าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และกฎหมายแม่แบบว่าด้วยลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ของคณะกรรมาธิการกฎหมายการค้าระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ ประกอบกับเพื่อให้เป็นไปตามข้อเสนอแนะที่รับฟังจากภาคเอกชนและประชาชน ที่ประชุมจึงเห็นชอบให้เพิ่มเติมหลักการสำคัญของกฎหมายแม่แบบว่าด้วยลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ไว้ให้ครบถ้วน โดยกำหนดบทบัญญัติเพิ่มเติมอีกจำนวน 4 มาตรา กล่าวคือ มาตรา 39/1 ถึงมาตรา 39/4 เกี่ยวกับหน้าที่ของเจ้าของลายมือชื่อ หน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจการรับรอง ระบบที่น่าเชื่อถือในการให้บริการ และหน้าที่ของคู่กรณีที่เกี่ยวข้อง
3.2 ปรับแก้บทบัญญัติหมวดคณะกรรมการ
เพื่อรองรับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในอนาคตที่มีความหลากหลายมากขึ้น รวมทั้งกรณีที่จำเป็นต้องติดตามดูแลเพื่อรักษาความมั่นคงทางการเงินและการพาณิชย์ หรือเพื่อเสริมสร้างความเชื่อถือและยอมรับในระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือเพื่อป้องกันความเสียหายต่อสาธารณชน ตลอดจนการเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวข้อง ที่ประชุมจึงได้เสนอให้มีการปรับเปลี่ยนหมวดคณะกรรมการ ดังนี้
1) เปลี่ยนชื่อคณะกรรมการจาก "คณะกรรมการลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์" เป็น "คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์" (เช่นเดียวกับร่างพระราชบัญญัติฉบับที่คณะรัฐมนตรีเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร)
2) เปลี่ยนขอบเขตการดูแลจากเดิมแต่เพียง "การประกอบการรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์"เป็นการดูแล "ธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์" (หลักการเช่นเดียวกับร่างพระราชบัญญัติฉบับที่คณะรัฐมนตรีเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร)
3) ปรับเปลี่ยนจำนวนคณะกรรมการให้มีขนาดเล็กลงจากเดิมจำนวน 19 คน เหลือเพียง 14 คนเพื่อให้การทำงานของคณะกรรมการมีความคล่องตัวมากขึ้น และได้มีการเสนอให้กำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการจากเดิมซึ่งส่วนใหญ่แต่งตั้งมาจากข้าราชการประจำ ให้เป็นการแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากภาครัฐและภาคเอกชนในสัดส่วนเท่ากัน คือ จำนวนอย่างละ 6 คน เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานในความรับผิดชอบได้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้ โดยยังคงกำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมการ และเพื่อความชัดเจนในการปฏิบัติงานในฐานะเลขานุการ จึงได้กำหนดให้ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติทำหน้าที่เป็นกรรมการและเลขานุการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 ก.ย.44--
-สส-
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการายงานว่า ในการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญของวุฒิสภาเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. …. ที่ค้างการพิจารณาอยู่ในชั้นวุฒิสภา ที่ประชุมได้แก้ไขร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวในสาระสำคัญบางประการตามที่กรรมาธิการซึ่งเป็นผู้แทนรัฐบาลเสนอ ในการนี้กรรมาธิการประสงค์ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลและคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรด้วย เพื่อให้การพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินี้เป็นไปโดยเรียบร้อย จึงได้เสนอรายงานการแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. วาระ จำนวนครั้งการประชุม และความคืบหน้าในการพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ได้ประชุมในวาระที่ 1 จนถึงปัจจุบันรวมจำนวน 8 ครั้ง ได้มีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแล้วจำนวน 39 มาตรา จากจำนวนทั้งสิ้น 44 มาตรา
2. การปรับแก้และเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติ ที่ประชุมคณะกรรมาธิการฯ ได้พิจารณาปรับแก้ร่างพระราชบัญญัติรวม 15 มาตรา เพื่อให้ถ้อยคำกระชับและรัดกุมยิ่งขึ้น
3. การแก้ไขในสาระสำคัญ
3.1 เพิ่มเติมหลักการเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายแม่แบบ
เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้พัฒนาขึ้นตามแนวทางที่กำหนดไว้ในกฎหมายแม่แบบว่าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และกฎหมายแม่แบบว่าด้วยลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ของคณะกรรมาธิการกฎหมายการค้าระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ ประกอบกับเพื่อให้เป็นไปตามข้อเสนอแนะที่รับฟังจากภาคเอกชนและประชาชน ที่ประชุมจึงเห็นชอบให้เพิ่มเติมหลักการสำคัญของกฎหมายแม่แบบว่าด้วยลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ไว้ให้ครบถ้วน โดยกำหนดบทบัญญัติเพิ่มเติมอีกจำนวน 4 มาตรา กล่าวคือ มาตรา 39/1 ถึงมาตรา 39/4 เกี่ยวกับหน้าที่ของเจ้าของลายมือชื่อ หน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจการรับรอง ระบบที่น่าเชื่อถือในการให้บริการ และหน้าที่ของคู่กรณีที่เกี่ยวข้อง
3.2 ปรับแก้บทบัญญัติหมวดคณะกรรมการ
เพื่อรองรับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในอนาคตที่มีความหลากหลายมากขึ้น รวมทั้งกรณีที่จำเป็นต้องติดตามดูแลเพื่อรักษาความมั่นคงทางการเงินและการพาณิชย์ หรือเพื่อเสริมสร้างความเชื่อถือและยอมรับในระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือเพื่อป้องกันความเสียหายต่อสาธารณชน ตลอดจนการเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวข้อง ที่ประชุมจึงได้เสนอให้มีการปรับเปลี่ยนหมวดคณะกรรมการ ดังนี้
1) เปลี่ยนชื่อคณะกรรมการจาก "คณะกรรมการลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์" เป็น "คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์" (เช่นเดียวกับร่างพระราชบัญญัติฉบับที่คณะรัฐมนตรีเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร)
2) เปลี่ยนขอบเขตการดูแลจากเดิมแต่เพียง "การประกอบการรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์"เป็นการดูแล "ธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์" (หลักการเช่นเดียวกับร่างพระราชบัญญัติฉบับที่คณะรัฐมนตรีเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร)
3) ปรับเปลี่ยนจำนวนคณะกรรมการให้มีขนาดเล็กลงจากเดิมจำนวน 19 คน เหลือเพียง 14 คนเพื่อให้การทำงานของคณะกรรมการมีความคล่องตัวมากขึ้น และได้มีการเสนอให้กำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการจากเดิมซึ่งส่วนใหญ่แต่งตั้งมาจากข้าราชการประจำ ให้เป็นการแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากภาครัฐและภาคเอกชนในสัดส่วนเท่ากัน คือ จำนวนอย่างละ 6 คน เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานในความรับผิดชอบได้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้ โดยยังคงกำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมการ และเพื่อความชัดเจนในการปฏิบัติงานในฐานะเลขานุการ จึงได้กำหนดให้ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติทำหน้าที่เป็นกรรมการและเลขานุการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 ก.ย.44--
-สส-