ทำเนียบรัฐบาล--18 ก.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product, GDP) ไตรมาสที่ 2/2543 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2543 โดยพิจารณาจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP ขยายตัวร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว เป็นการปรับตัวดีขึ้นกว่าไตรมาสแรกของปีนี้ที่ขยายตัวร้อยละ 5.3 และเป็นการขยายตัวที่มีปัจจัยสนับสนุนจากการส่งออกที่ขยายตัวได้ดี รวมทั้งปริมาณสินค้าคงคลังที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ได้ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในช่วงครั้งปีแรกยายตัวได้ร้อยละ 5.9 สูงกว่าร้อยละ 1.3 ของครึ่งปีแรกของปีที่แล้ว และเมื่อหักรายได้สุทธิจากปัจจัยการผลิตระหว่างประเทศแล้วพบว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ หรือ GNP ขยายตัวได้ร้อยละ 8.0
1.1 ด้านการผลิต ขยายตัวสูงกว่าไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว เป็นผลมาจากการขยายตัวของการผลิต ทั้งในภาคเกษตร ได้แก่ การผลิตพืชผลและการประมง และนอกภาคเกษตร ประกองด้วยอุตสาหกรรมและบริการที่สนับสนุนภาคการผลิต ส่วนสาขาการผลิตที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ สาขาการก่อสร้างภาครัฐ และสาขาการเงินการธนาคาร
1.2 ด้านการใช้จ่าย การใช้จ่ายของครัวเรือนเติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลงเล็กน้อย ส่วนการใช้จ่ายของภาครัฐยังคงขยายตัวในอัตราสูง สำหรับการลงทุนยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะการลงทุนของภาคเอกชนที่มีทิศทางเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนการส่งออกสินค้าและบริการวัดในมูลค่าที่แท้จริงยังคงขยายตัวในอัตราที่ค่อนข้างสูง อย่างไรก็ดี ภาวะการใช้จ่ายของครัวเรือนที่ชะลอลงและปริมาณการผลิตสินค้าเกษตรที่มีมาก จึงส่งผลให้มีการสะสมสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้
2. ภาคการผลิต
2.1 สาขาการผลิตที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น
2.1.1 สาขาเกษตรกรรม ขยายตัวร้อยละ 5.2 โดยเพิ่มขึ้นทั้งหมวดพืชผล ปศุสัตว์ และประมง
1) หมวดพืชผล ขยายตัวร้อยละ 5.2 เนื่องมาจากผลผลิตข้าวนาปรังสูงขึ้น ร้อยละ 37.0 ยางพาราผลิตได้เพิ่มขึ้นดังเห็นได้จากการส่งออกที่ขยายตัวค่อนข้างสูง รวมทั้งพืชผลอื่น เช่น มันสำปะหลัง ข้าวโพด ถั่ว ผัก และกาแฟ ส่วนพืชผลที่ผลิตลดลง ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน และผลไม้ โดยเฉพาะทุเรียนและสัปปะรด อย่างไรก็ดี ปริมาณการผลิตทีดีเกินคาดได้ส่งผลให้ราคาของพืชผลเกษตรเฉลี่ยโดยรวมลดลงร้อยละ 4.8
2) หมวดปศุสัตว์ ขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการเลี้ยงสุกร ไก่เนื้อ และผลผลิตไข่ไก่
3) หมวดประมง เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 เนื่องจากการขยายตัวของการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำที่สามารถส่งออกไปตลาดสหรัฐอเมริกาได้เพิ่มขึ้น
2.1.2 สาขาอุตสาหกรรม ขยายตัวต่อเนื่องในอัตราร้อยละ 9.0 โดยมีการกระจายตัวไปในเกือบทุกหมวด ยกเว้นหมวดอาหาร เครื่องดื่มและยาสูบ และหมวดปิโตรเลียม อุตสาหกรรมที่เติบโตได้ดีในไตรมาสนี้ ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออก เช่น เครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องจักรและเครื่องใช้สำนักงานคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เครื่องรับโทรทัศน์ วิทยุและอุปกรณ์การสื่อสาร อุตสาหกรรมยานยนต์ และอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น
2.1.3 สาขาการผลิตอื่นที่ขยายตัวดีขึ้น ได้แก่ สาขาการค้าส่งค้าปลีก ขยายตัวร้อยละ 5.1 ซึ่งเป็นไปตามการขยายตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรและการนำเข้า สาขาคมนาคมและขนส่ง ขยายตัวร้อยละ 7.8 โดยเฉพาะการขนส่งสินค้าที่ขยายตัวตามผลผลิตการเกษตรและอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น ทำนองเดียวกันการขนส่งทางทะเลก็เพิ่มขึ้นตามปริมาณการส่งสินค้าออก ส่วนด้านโทรคมนาคมยังขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะบริการโทรศัพท์ทางไกลที่มีการลดราคาค่าบริการเพื่อส่งเสริมการขาย สาขาโรงแรมและภัตตาคาร ขยายตัวร้อยละ 3.8 โดยเฉพาะโรงแรมขยายตัวสูงถึงร้อยละ 13.6 ตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น สาขาไฟฟ้า ประปา และโรงแยกก๊าซ ขยายตัวโดยรวมร้อยละ 7.3
2.2 สาขาการผลิตที่ลดลงในไตรมาสนี้
2.2.1 สาขาก่อสร้าง ลดลงร้อยละ 2.8 เป็นผลจากการก่อสร้างภาครัฐบาลลดลงร้อยละ 10.6 เนื่องมาจากการชะลอเบิกจ่ายเงินโครงการก่อสร้างของหน่วยราชการส่วนกลางและรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะในส่วนของโครงการตามมาตรการเพิ่มค่าใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (เงินกู้มิยาซาวา) ในขณะที่การก่อสร้างภาคเอกชนกลับขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 17.8 ที่สำคัญได้แก่ อาคารที่อยู่อาศัย และอาคารพาณิชย์ทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาลต่างจังหวัด โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครเริ่มปรับตัวเป็นบวกครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจเป็นต้นมา
2.2.2 สาขาการเงิน ลดลงร้อยละ 3.6 เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ยังระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารพาณิชย์อยู่ในระดับต่ำ จึงไม่จูงใจให้ภาคเอกชนและภาคครัวเรือนออม และหันไปลงทุนในหุ้นกู้ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า
3. ภาคการใช้จ่าย
3.1 รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือน ไตรมาสนี้ขยายตัวร้อยละ 4.8 โดยการชะลอตัวลงนี้เป็นผลมาจากข้อจำกัดในเรื่องรายได้ของประชากรส่วนใหญ่คือ เกษตรกรที่ต้องประสบปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำแต่ก็ยังมีประชาชนในบางกลุ่มที่มีการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้นในหมวดสินค้าประเภทเสื้อผ้า เครื่องใช้ในบ้าน และยานพาหนะ
3.2 รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของภาครัฐบาล ขยายตัวร้อยละ 10.4 โดยหมวดเงินเดือนค่าจ้างและค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 และหมวดซื้อสินค้าและบริการเพิ่มร้อยละ 17.2 ซึ่งเป็นไปตามนโยบายเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
3.3 การสะสมทุนถาวรเบื้องต้น (หรือการลงทุน) ขยายตัวร้อยละ 1.6 โดยมีปัจจัยหลักมาจากการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 ประกอบด้วยการลงทุนในส่วนของเครื่องมือเครื่องจักรเพิ่มร้อยละ 7.4 และการก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.0 ในขณะที่การลงทุนภาครัฐบาลกลับเปลี่ยนแปลงลดลงร้อยละ 10.6 ในไตรมาสนี้เนื่องจากการชะลอเบิกจ่ายโครงการด้านการก่อสร้างของหน่วยราชการส่วนกลางและรัฐวิสาหกิจ
3.4 การเปลี่ยนแปลงของสินค้าคงเหลือ มูลค่าสินค้าคงเหลือประจำไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นเป็น 44,159 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นการสะสมสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้นในสินค้าเกษตร ได้แก่ ข้าวนาปรัง และสินค้าอุตสาหกรรม ได้แก่ ปลาทูน่ากระป๋อง ด้ายและเส้นใย เสื้อผ้า ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ซีเมนต์ และเครื่องรับโทรทัศน์ เป็นต้น
4. ภาคต่างประเทศ
4.1 การส่งออกสินค้าและบริการตามมูลค่าที่แท้จริง (Real term) ในไตรมาสนี้ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 15.2 เทียบกับไตรมาสเดียวกันปีที่แล้ว โดยเป็นสินค้าอุตสาหกรรมซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 85.7 ของมูลค่าการส่งออก สินค้ารวมทุกประเภท ขยายตัวร้อยละ 18.9 ที่สำคัญเช่น แผงวงจรและชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ เป็นต้น ในขณะที่สินค้าเกษตรขยายตัวร้อยละ 5.8 โดยที่ส่งออกได้ค่อนข้างมากในไตรมาสนี้ ได้แก่ ยางพารา ซึ่งเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 78.3 สำหรับด้านบริการส่งออกเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียงร้อยละ 0.3 เพราะรายได้จากการท่องเทียวชะลอลงตามจำนวจนักท่องเที่ยว ต่างชาติที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 เทียบกับร้อยละ 9.1 รวมทั้งรายรับจากการบริการอื่นลดลง
4.2 การนำเข้าสินค้าและบริการตามมูลค่าที่แท้จริง (Real term) ขยายตัวร้อยละ 16.0 สินค้านำเข้าที่สำคัญยังคงเป็นสินค้าทุน โดยมีมูลค่านำเข้าตามราคา c.i.f. เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.5 สินค้าประเภทวัตถุดิบขยายตัวร้อยละ 33.1 สินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวร้อยละ 26.5 สินค้าประเภทน้ำมันเชื้อเพลิงขยายตัวสูงร้อยละ 51.6 ส่วนในด้านบริการลดลงร้อยละ 4.9 เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวของคนไทยในต่างประเทศลดลง
4.3 ดุลการค้าและดุลบริการ เกินดุล 73,657 ล้านบาท ประกอบด้วยดุลการค้าเกินดุล 35,797 ล้านบาท และดุลบริการเกินดุล 37,860 ล้านบาท
5. ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (หรื GDP Deflator) ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 2.8 สูงกว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (หรืออัตราเงินเฟ้อ) ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 และต่ำกว่าดัชนีราคาผู้ผลิต (หรือดัชนีราคาขายส่งเดิม) ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 โดยมีสาเหตุจากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนวัตถุดิบ ราคาน้ำมัน และค่าขนส่ง โดยเฉพาะที่สามารถปรับราคาขึ้นได้คือ บริษัทการบินไทย ซึ่งได้ปรับราคาค่าโดยสารเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 9.8 ในเดือนเมษายน 2543 อย่างไรก็ดีต้นทุนที่เพิ่มขึ้นนี้ยังไม่สามารถส่งผ่านไปยังผู้บริโภคได้ทั้งหมด เนื่องจากรัฐบาลได้กำกับดูแลราคาขายปลีกในท้องตลาดเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน จึงทำให้ราคาผู้บริโภคปรับเพิ่มขึ้นไม่มาก ส่วนต้นทุนของผู้ผลิตได้เพิ่มสูงกว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคและดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศค่อนข้างมาก จึงทำให้ผู้ผลิตต้องรับภาระค่าใช้จ่ายและมีผลกำไรลดลง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 18 ก.ย. 2543--
-ยก-
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product, GDP) ไตรมาสที่ 2/2543 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2543 โดยพิจารณาจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP ขยายตัวร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว เป็นการปรับตัวดีขึ้นกว่าไตรมาสแรกของปีนี้ที่ขยายตัวร้อยละ 5.3 และเป็นการขยายตัวที่มีปัจจัยสนับสนุนจากการส่งออกที่ขยายตัวได้ดี รวมทั้งปริมาณสินค้าคงคลังที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ได้ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในช่วงครั้งปีแรกยายตัวได้ร้อยละ 5.9 สูงกว่าร้อยละ 1.3 ของครึ่งปีแรกของปีที่แล้ว และเมื่อหักรายได้สุทธิจากปัจจัยการผลิตระหว่างประเทศแล้วพบว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ หรือ GNP ขยายตัวได้ร้อยละ 8.0
1.1 ด้านการผลิต ขยายตัวสูงกว่าไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว เป็นผลมาจากการขยายตัวของการผลิต ทั้งในภาคเกษตร ได้แก่ การผลิตพืชผลและการประมง และนอกภาคเกษตร ประกองด้วยอุตสาหกรรมและบริการที่สนับสนุนภาคการผลิต ส่วนสาขาการผลิตที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ สาขาการก่อสร้างภาครัฐ และสาขาการเงินการธนาคาร
1.2 ด้านการใช้จ่าย การใช้จ่ายของครัวเรือนเติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลงเล็กน้อย ส่วนการใช้จ่ายของภาครัฐยังคงขยายตัวในอัตราสูง สำหรับการลงทุนยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะการลงทุนของภาคเอกชนที่มีทิศทางเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนการส่งออกสินค้าและบริการวัดในมูลค่าที่แท้จริงยังคงขยายตัวในอัตราที่ค่อนข้างสูง อย่างไรก็ดี ภาวะการใช้จ่ายของครัวเรือนที่ชะลอลงและปริมาณการผลิตสินค้าเกษตรที่มีมาก จึงส่งผลให้มีการสะสมสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้
2. ภาคการผลิต
2.1 สาขาการผลิตที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น
2.1.1 สาขาเกษตรกรรม ขยายตัวร้อยละ 5.2 โดยเพิ่มขึ้นทั้งหมวดพืชผล ปศุสัตว์ และประมง
1) หมวดพืชผล ขยายตัวร้อยละ 5.2 เนื่องมาจากผลผลิตข้าวนาปรังสูงขึ้น ร้อยละ 37.0 ยางพาราผลิตได้เพิ่มขึ้นดังเห็นได้จากการส่งออกที่ขยายตัวค่อนข้างสูง รวมทั้งพืชผลอื่น เช่น มันสำปะหลัง ข้าวโพด ถั่ว ผัก และกาแฟ ส่วนพืชผลที่ผลิตลดลง ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน และผลไม้ โดยเฉพาะทุเรียนและสัปปะรด อย่างไรก็ดี ปริมาณการผลิตทีดีเกินคาดได้ส่งผลให้ราคาของพืชผลเกษตรเฉลี่ยโดยรวมลดลงร้อยละ 4.8
2) หมวดปศุสัตว์ ขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการเลี้ยงสุกร ไก่เนื้อ และผลผลิตไข่ไก่
3) หมวดประมง เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 เนื่องจากการขยายตัวของการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำที่สามารถส่งออกไปตลาดสหรัฐอเมริกาได้เพิ่มขึ้น
2.1.2 สาขาอุตสาหกรรม ขยายตัวต่อเนื่องในอัตราร้อยละ 9.0 โดยมีการกระจายตัวไปในเกือบทุกหมวด ยกเว้นหมวดอาหาร เครื่องดื่มและยาสูบ และหมวดปิโตรเลียม อุตสาหกรรมที่เติบโตได้ดีในไตรมาสนี้ ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออก เช่น เครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องจักรและเครื่องใช้สำนักงานคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เครื่องรับโทรทัศน์ วิทยุและอุปกรณ์การสื่อสาร อุตสาหกรรมยานยนต์ และอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น
2.1.3 สาขาการผลิตอื่นที่ขยายตัวดีขึ้น ได้แก่ สาขาการค้าส่งค้าปลีก ขยายตัวร้อยละ 5.1 ซึ่งเป็นไปตามการขยายตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรและการนำเข้า สาขาคมนาคมและขนส่ง ขยายตัวร้อยละ 7.8 โดยเฉพาะการขนส่งสินค้าที่ขยายตัวตามผลผลิตการเกษตรและอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น ทำนองเดียวกันการขนส่งทางทะเลก็เพิ่มขึ้นตามปริมาณการส่งสินค้าออก ส่วนด้านโทรคมนาคมยังขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะบริการโทรศัพท์ทางไกลที่มีการลดราคาค่าบริการเพื่อส่งเสริมการขาย สาขาโรงแรมและภัตตาคาร ขยายตัวร้อยละ 3.8 โดยเฉพาะโรงแรมขยายตัวสูงถึงร้อยละ 13.6 ตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น สาขาไฟฟ้า ประปา และโรงแยกก๊าซ ขยายตัวโดยรวมร้อยละ 7.3
2.2 สาขาการผลิตที่ลดลงในไตรมาสนี้
2.2.1 สาขาก่อสร้าง ลดลงร้อยละ 2.8 เป็นผลจากการก่อสร้างภาครัฐบาลลดลงร้อยละ 10.6 เนื่องมาจากการชะลอเบิกจ่ายเงินโครงการก่อสร้างของหน่วยราชการส่วนกลางและรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะในส่วนของโครงการตามมาตรการเพิ่มค่าใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (เงินกู้มิยาซาวา) ในขณะที่การก่อสร้างภาคเอกชนกลับขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 17.8 ที่สำคัญได้แก่ อาคารที่อยู่อาศัย และอาคารพาณิชย์ทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาลต่างจังหวัด โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครเริ่มปรับตัวเป็นบวกครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจเป็นต้นมา
2.2.2 สาขาการเงิน ลดลงร้อยละ 3.6 เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ยังระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารพาณิชย์อยู่ในระดับต่ำ จึงไม่จูงใจให้ภาคเอกชนและภาคครัวเรือนออม และหันไปลงทุนในหุ้นกู้ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า
3. ภาคการใช้จ่าย
3.1 รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือน ไตรมาสนี้ขยายตัวร้อยละ 4.8 โดยการชะลอตัวลงนี้เป็นผลมาจากข้อจำกัดในเรื่องรายได้ของประชากรส่วนใหญ่คือ เกษตรกรที่ต้องประสบปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำแต่ก็ยังมีประชาชนในบางกลุ่มที่มีการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้นในหมวดสินค้าประเภทเสื้อผ้า เครื่องใช้ในบ้าน และยานพาหนะ
3.2 รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของภาครัฐบาล ขยายตัวร้อยละ 10.4 โดยหมวดเงินเดือนค่าจ้างและค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 และหมวดซื้อสินค้าและบริการเพิ่มร้อยละ 17.2 ซึ่งเป็นไปตามนโยบายเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
3.3 การสะสมทุนถาวรเบื้องต้น (หรือการลงทุน) ขยายตัวร้อยละ 1.6 โดยมีปัจจัยหลักมาจากการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 ประกอบด้วยการลงทุนในส่วนของเครื่องมือเครื่องจักรเพิ่มร้อยละ 7.4 และการก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.0 ในขณะที่การลงทุนภาครัฐบาลกลับเปลี่ยนแปลงลดลงร้อยละ 10.6 ในไตรมาสนี้เนื่องจากการชะลอเบิกจ่ายโครงการด้านการก่อสร้างของหน่วยราชการส่วนกลางและรัฐวิสาหกิจ
3.4 การเปลี่ยนแปลงของสินค้าคงเหลือ มูลค่าสินค้าคงเหลือประจำไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นเป็น 44,159 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นการสะสมสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้นในสินค้าเกษตร ได้แก่ ข้าวนาปรัง และสินค้าอุตสาหกรรม ได้แก่ ปลาทูน่ากระป๋อง ด้ายและเส้นใย เสื้อผ้า ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ซีเมนต์ และเครื่องรับโทรทัศน์ เป็นต้น
4. ภาคต่างประเทศ
4.1 การส่งออกสินค้าและบริการตามมูลค่าที่แท้จริง (Real term) ในไตรมาสนี้ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 15.2 เทียบกับไตรมาสเดียวกันปีที่แล้ว โดยเป็นสินค้าอุตสาหกรรมซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 85.7 ของมูลค่าการส่งออก สินค้ารวมทุกประเภท ขยายตัวร้อยละ 18.9 ที่สำคัญเช่น แผงวงจรและชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ เป็นต้น ในขณะที่สินค้าเกษตรขยายตัวร้อยละ 5.8 โดยที่ส่งออกได้ค่อนข้างมากในไตรมาสนี้ ได้แก่ ยางพารา ซึ่งเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 78.3 สำหรับด้านบริการส่งออกเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียงร้อยละ 0.3 เพราะรายได้จากการท่องเทียวชะลอลงตามจำนวจนักท่องเที่ยว ต่างชาติที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 เทียบกับร้อยละ 9.1 รวมทั้งรายรับจากการบริการอื่นลดลง
4.2 การนำเข้าสินค้าและบริการตามมูลค่าที่แท้จริง (Real term) ขยายตัวร้อยละ 16.0 สินค้านำเข้าที่สำคัญยังคงเป็นสินค้าทุน โดยมีมูลค่านำเข้าตามราคา c.i.f. เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.5 สินค้าประเภทวัตถุดิบขยายตัวร้อยละ 33.1 สินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวร้อยละ 26.5 สินค้าประเภทน้ำมันเชื้อเพลิงขยายตัวสูงร้อยละ 51.6 ส่วนในด้านบริการลดลงร้อยละ 4.9 เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวของคนไทยในต่างประเทศลดลง
4.3 ดุลการค้าและดุลบริการ เกินดุล 73,657 ล้านบาท ประกอบด้วยดุลการค้าเกินดุล 35,797 ล้านบาท และดุลบริการเกินดุล 37,860 ล้านบาท
5. ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (หรื GDP Deflator) ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 2.8 สูงกว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (หรืออัตราเงินเฟ้อ) ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 และต่ำกว่าดัชนีราคาผู้ผลิต (หรือดัชนีราคาขายส่งเดิม) ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 โดยมีสาเหตุจากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนวัตถุดิบ ราคาน้ำมัน และค่าขนส่ง โดยเฉพาะที่สามารถปรับราคาขึ้นได้คือ บริษัทการบินไทย ซึ่งได้ปรับราคาค่าโดยสารเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 9.8 ในเดือนเมษายน 2543 อย่างไรก็ดีต้นทุนที่เพิ่มขึ้นนี้ยังไม่สามารถส่งผ่านไปยังผู้บริโภคได้ทั้งหมด เนื่องจากรัฐบาลได้กำกับดูแลราคาขายปลีกในท้องตลาดเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน จึงทำให้ราคาผู้บริโภคปรับเพิ่มขึ้นไม่มาก ส่วนต้นทุนของผู้ผลิตได้เพิ่มสูงกว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคและดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศค่อนข้างมาก จึงทำให้ผู้ผลิตต้องรับภาระค่าใช้จ่ายและมีผลกำไรลดลง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 18 ก.ย. 2543--
-ยก-