ทำเนียบรัฐบาล--3 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ให้ผ่อนผันยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23กรกฎาคม 2534 เพื่อให้สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าชายเลน คลองตะโก คลองท่าทอง และคลองบางมุด ตำบลปากตะโก อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร เพื่อก่อสร้างทางและสะพาน กิโลเมตรที่ 2 + 100 - 2 + 250จำนวน 30 - 0 - 00 ไร่
สำหรับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2534 คือ ให้ระงับการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนโดยเด็ดขาด โดยให้กระทรวงมหาดไทยรับไปดำเนินการสั่งการไปยังจังหวัดที่เกี่ยวข้องให้จัดตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัดประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อหยุดยั้งการบุกรุกที่ดินในเขตป่าไม้ชายเลน และระงับการพิจารณาขออนุญาติใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนของทางราชการ
โครงการก่อสร้างทางและสะพานข้ามแม่น้ำตะโกดังกล่าว อยู่ในโครงการถนนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสครองราชย์ 50 ปี ได้ดำเนินการก่อสร้างโครงการถนนเลียบชายฝั่งทะเลอ่าวไทย จากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผ่านพื้นที่จังหวัดชุมพรและพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อไปเชื่อมต่อกับเส้นทางจังหวัดสุราษฎร์ธานีอำเภอกาญจนดิษฐ์ อำเภอขนอม อำเภอสิชล พื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอปากพนัง และเชื่อมไปยังจังหวัดสงขลาซึ่งสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทได้รับงบประมาณในการก่อสร้างในปีงบประมาณ พ.ศ. 2542 ผูกพันถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 เป็นเงิน 61,400,000 บาท โดยสำนักงบประมาณได้เห็นชอบแล้ว ดังนั้น เพื่อความต่อเนื่องของโครงการจะต้องก่อสร้างโดยเร่งด่วน และไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงไปใช้พื้นที่อื่นได้ ประกอบกับขณะนี้การจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการได้ดำเนินการเสร็จแล้ว และได้จัดส่งรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำตะโก จังหวัดชุมพร ให้สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม พิจารณาแล้ว
ทั้งนี้ เนื่องจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เห็นด้วยกับความเห็นของกรมป่าไม้ที่ว่าพื้นที่ที่ขออนุญาตติดอยู่ในเขตพื้นที่ป่าชายเลน ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2534 ให้ระงับการใช้ประโยชน์ในพื้นที่โดยเด็ดขาด และแม้ว่าพื้นที่บริเวณดังกล่าวจะเป็นพื้นที่ที่ได้อนุญาตให้วิทยาลัยเกษตรกรรมชุมพรเข้าทำประโยชน์เพื่อการสอนวิชาประมงแล้วก็ตาม แต่การก่อสร้างเส้นทางจะเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ป่าชายเลนโดยสิ้นเชิง และเมื่อก่อสร้างเส้นทางแล้วเสร็จ อาจจะเป็นช่องทางให้มีการบุกรุกพื้นที่ป่าชายเลนได้ง่ายยิ่งขึ้น จึงควรที่จะหลีกเลี่ยงการใช้พื้นที่ป่าชายเลนดังกล่าว แต่อย่างไรก็ดี หากสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทไม่สามารถหลีกเลี่ยงไปใช้พื้นที่อื่นได้ ก็เป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรีที่จะพิจารณาผ่อนผันยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2534 และควรให้สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
กระทรวงวิทยาศาตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมพิจารณาแล้วเห็นควรยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23กรกฎาคม 2534 แต่เนื่องจากเป็นโครงการทางหลวงที่ดำเนินการในพื้นที่ป่าชายเลนที่เป็นป่าสงวนแห่งชาติ จึงเห็นควรให้กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม พิจารณาก่อนดำเนินการก่อสร้างต่อไป
สำนักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบกพิจารณาแล้วเห็นว่า โครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่สามารถประสานโครงข่ายถนนของโครงการเส้นทางเลียบชายฝั่งทะเลตะวันออกของภาคใต้ที่ยังขาดตอน (Missing Link)ให้สมบูรณ์และเป็นโครงข่ายเดียวกัน ซึ่งจะเป็นทางเลือกใหม่ของเส้นทางคมนาคมที่ลงสู่ภาคใต้ที่จะช่วยลดปริมาณการจราจรบนทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม ช่วงประจวบคีรีขันธ์ - ชุมพร) และทางหลวงหมายเลข 41 (ชุมพร - สุราษฎร์ธานี) ลงได้ รวมทั้งเป็นเส้นทางที่จะอำนวยความสะดวกในการเดินทางและขนส่งของประชาชนในพื้นที่แนวชายฝั่งทะเลตะวันออกของประเทศ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 3 ตุลาคม 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ให้ผ่อนผันยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23กรกฎาคม 2534 เพื่อให้สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าชายเลน คลองตะโก คลองท่าทอง และคลองบางมุด ตำบลปากตะโก อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร เพื่อก่อสร้างทางและสะพาน กิโลเมตรที่ 2 + 100 - 2 + 250จำนวน 30 - 0 - 00 ไร่
สำหรับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2534 คือ ให้ระงับการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนโดยเด็ดขาด โดยให้กระทรวงมหาดไทยรับไปดำเนินการสั่งการไปยังจังหวัดที่เกี่ยวข้องให้จัดตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัดประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อหยุดยั้งการบุกรุกที่ดินในเขตป่าไม้ชายเลน และระงับการพิจารณาขออนุญาติใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนของทางราชการ
โครงการก่อสร้างทางและสะพานข้ามแม่น้ำตะโกดังกล่าว อยู่ในโครงการถนนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสครองราชย์ 50 ปี ได้ดำเนินการก่อสร้างโครงการถนนเลียบชายฝั่งทะเลอ่าวไทย จากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผ่านพื้นที่จังหวัดชุมพรและพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อไปเชื่อมต่อกับเส้นทางจังหวัดสุราษฎร์ธานีอำเภอกาญจนดิษฐ์ อำเภอขนอม อำเภอสิชล พื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอปากพนัง และเชื่อมไปยังจังหวัดสงขลาซึ่งสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทได้รับงบประมาณในการก่อสร้างในปีงบประมาณ พ.ศ. 2542 ผูกพันถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 เป็นเงิน 61,400,000 บาท โดยสำนักงบประมาณได้เห็นชอบแล้ว ดังนั้น เพื่อความต่อเนื่องของโครงการจะต้องก่อสร้างโดยเร่งด่วน และไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงไปใช้พื้นที่อื่นได้ ประกอบกับขณะนี้การจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการได้ดำเนินการเสร็จแล้ว และได้จัดส่งรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำตะโก จังหวัดชุมพร ให้สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม พิจารณาแล้ว
ทั้งนี้ เนื่องจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เห็นด้วยกับความเห็นของกรมป่าไม้ที่ว่าพื้นที่ที่ขออนุญาตติดอยู่ในเขตพื้นที่ป่าชายเลน ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2534 ให้ระงับการใช้ประโยชน์ในพื้นที่โดยเด็ดขาด และแม้ว่าพื้นที่บริเวณดังกล่าวจะเป็นพื้นที่ที่ได้อนุญาตให้วิทยาลัยเกษตรกรรมชุมพรเข้าทำประโยชน์เพื่อการสอนวิชาประมงแล้วก็ตาม แต่การก่อสร้างเส้นทางจะเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ป่าชายเลนโดยสิ้นเชิง และเมื่อก่อสร้างเส้นทางแล้วเสร็จ อาจจะเป็นช่องทางให้มีการบุกรุกพื้นที่ป่าชายเลนได้ง่ายยิ่งขึ้น จึงควรที่จะหลีกเลี่ยงการใช้พื้นที่ป่าชายเลนดังกล่าว แต่อย่างไรก็ดี หากสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทไม่สามารถหลีกเลี่ยงไปใช้พื้นที่อื่นได้ ก็เป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรีที่จะพิจารณาผ่อนผันยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2534 และควรให้สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
กระทรวงวิทยาศาตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมพิจารณาแล้วเห็นควรยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23กรกฎาคม 2534 แต่เนื่องจากเป็นโครงการทางหลวงที่ดำเนินการในพื้นที่ป่าชายเลนที่เป็นป่าสงวนแห่งชาติ จึงเห็นควรให้กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม พิจารณาก่อนดำเนินการก่อสร้างต่อไป
สำนักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบกพิจารณาแล้วเห็นว่า โครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่สามารถประสานโครงข่ายถนนของโครงการเส้นทางเลียบชายฝั่งทะเลตะวันออกของภาคใต้ที่ยังขาดตอน (Missing Link)ให้สมบูรณ์และเป็นโครงข่ายเดียวกัน ซึ่งจะเป็นทางเลือกใหม่ของเส้นทางคมนาคมที่ลงสู่ภาคใต้ที่จะช่วยลดปริมาณการจราจรบนทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม ช่วงประจวบคีรีขันธ์ - ชุมพร) และทางหลวงหมายเลข 41 (ชุมพร - สุราษฎร์ธานี) ลงได้ รวมทั้งเป็นเส้นทางที่จะอำนวยความสะดวกในการเดินทางและขนส่งของประชาชนในพื้นที่แนวชายฝั่งทะเลตะวันออกของประเทศ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 3 ตุลาคม 2543--
-สส-