คณะรัฐมนตรีพิจารณาการขอยกเว้นการปฏิบัติตามมาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคคลภาครัฐ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. ให้ความเห็นชอบในหลักการให้ปรับอัตราการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรในสถานศึกษาเอกชน ตามที่กระทรวงการคลังอนุมัติ เนื่องจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 10 กำหนดว่า "การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย" ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 สำนักงบประมาณได้จัดสรรงบประมาณเงินอุดหนุนบำรุงการศึกษาให้แก่สถานศึกษาเอกชนเป็นเงินงบประมาณ 120,765,400 บาท สำหรับนักเรียนบางส่วนและจะจัดสรรให้ครบทุกคนในปี 2545 ซึ่งจะเป็นการบรรเทาภาระของผู้ปกครองด้านค่าธรรมเนียมการเรียน ทำให้ไม่มีความจำเป็นต้องเบิกค่าเล่าเรียนบุตรหรือเบิกน้อยลง
2. เห็นชอบในหลักการให้ปรับอัตราการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร เมื่อกระทรวงศึกษาธิการหรือส่วนราชการที่มีสถานศึกษาสังกัดอยู่ มีการปรับเพิ่มอัตราค่าเล่าเรียนในสถานศึกษาของเอกชนหรือสถานศึกษาของทางราชการ โดยไม่ต้องขออนุมัติยกเว้นการปฏิบัติตามมาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคคลภาครัฐจากคณะรัฐมนตรีอีก
กระทรวงการคลังได้รับแจ้งจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนกรณีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตเก็บค่าธรรมเนียมการเรียนและค่าธรรมเนียมอื่นของโรงเรียนเอกชน รวมทั้งค่าใช้จ่ายรายหัวของนักเรียนประเภทสามัญศึกษา จึงขอให้กระทรวงการคลังเปลี่ยนแปลงอัตราการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรในโรงเรียนเอกชน ซึ่งกระทรวงการคลังพิจารณาแล้วได้ชี้แจงข้อเท็จจริงและเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ดังนี้
1. การจ่ายเงินตามงบประมาณรายจ่ายเป็นเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรของข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ผู้ได้รับบำนาญเบี้ยหวัด โดยให้สิทธิสำหรับบุตร 3 คน อายุไม่เกิน 25 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปี เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. 2523 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งใน (2) ได้กำหนดหลักเกณฑ์สำหรับบุตรที่ศึกษาในสถานศึกษาเอกชนในหลักสูตรไม่สูงกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า ให้ได้รับค่าเล่าเรียนเต็มจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินประเภทและอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด
2. การกำหนดอัตราการเบิกจ่ายค่าธรรมเนียมการเรียนของสถานศึกษาเอกชน กระทรวงการคลังกำหนดโดยพิจารณาจากการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการเรียนของสถานศึกษาเอกชน ตามที่คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติเป็นผู้กำหนด โดยยึดถือค่าใช้จ่ายรายหัวนักเรียนภาครัฐเป็นเกณฑ์ จึงทำให้อัตราค่าธรรมเนียมการเรียนปรับเปลี่ยนตามค่าใช้จ่ายรายหัวภาครัฐ ซึ่งในปีการศึกษา 2544 เพิ่มขึ้นจากอัตราเดิมที่กระทรวงการคลังอนุมัติให้เบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร เมื่อปีการศึกษา 2543 ประมาณร้อยละ 3.1 - 3.9 ทั้งนี้ การขอปรับอัตราการเบิกจ่ายค่าเล่าเรียนในสถานศึกษาเอกชน ตามที่กระทรวงศึกษาธิการหรือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนเสนอกระทรวงการคลังก็ได้อนุมัติตลอดมา โดยครั้งหลังสุดที่กระทรวงการคลังได้เสนอขออนุมัติยกเว้นการปฏิบัติตามมาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคคลภาครัฐ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ปรับอัตราการเบิกจ่ายค่าเล่าเรียนได้ คือปีการศึกษา 2543 ประเภทสายสามัญปรับเพิ่มร้อยละ 11.8 - 14.1 และสายอาชีวศึกษาปรับเพิ่มร้อยละ 8.4 - 13.1
3. สำหรับรายจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรเบิกจากเงินงบกลาง ซึ่งเมื่อพิจารณาจากจำนวนเงินงบประมาณที่ใช้จ่ายเพื่อการนี้ ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2539 - 2543 ดังนี้ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2539 2,700ล้านบาท, ปีงบประมาณ พ.ศ. 2540 2,950 ล้านบาท, ปีงบประมาณ พ.ศ. 2541 2,961 ล้านบาท, ปีงบประมาณ พ.ศ. 2542 2,864 ล้านบาท, ปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 2,602 ล้านบาท และหากปรับเพิ่มอัตราการเบิกจ่ายเงินค่าเล่าเรียนตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนเสนออีกไม่เกินร้อยละ 3.9 ตามข้อ 2 คาดว่ารายจ่ายเพื่อสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรจะอยู่ภายในวงเงินงบประมาณ 2,703 ล้านบาท
4. เนื่องจากเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร เป็นสวัสดิการจากทางราชการอย่างหนึ่งที่ให้ความช่วยเหลือแก่ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ผู้ได้รับบำนาญเบี้ยหวัด เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร ซึ่งเป็นสิทธิประโยชน์ตอบแทนที่ทางราชการให้แก่ผู้ที่ปฏิบัติงานราชการและต้องปรับปรุงให้เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง ดังนั้น การที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนได้เปลี่ยนแปลงอัตราค่าธรรมเนียมการเรียนในสถานศึกษาของเอกชน ซึ่งส่งผลให้ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ผู้ได้รับบำนาญเบี้ยหวัด ต้องจ่ายค่าเล่าเรียนสำหรับบุตรเพิ่มขึ้น จึงเห็นควรปรับอัตราการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรในสถานศึกษาเอกชนตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนเสนอ เพื่อให้ผู้มีสิทธิดังกล่าวมาเบิกจ่ายค่าเล่าเรียนบุตรจากทางราชการได้ ซึ่งการปรับเพิ่มอัตราการเบิกจ่ายจะเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านบุคคลภาครัฐ และไม่เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2543
5. เนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการและส่วนราชการที่มีสถานศึกษาสังกัดอยู่จะมีการปรับเพิ่มอัตราค่าเล่าเรียนทุกปีการศึกษา จึงเห็นควรขอความเห็นชอบเป็นหลักการให้ปรับอัตราการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรทั้งในสถานศึกษาของเอกชนและของทางราชการได้ จนกว่าจะมีการยกเลิกมติการปฏิบัติตามมาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคคลภาครัฐดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 6 พ.ย. 44--
-สส-
1. ให้ความเห็นชอบในหลักการให้ปรับอัตราการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรในสถานศึกษาเอกชน ตามที่กระทรวงการคลังอนุมัติ เนื่องจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 10 กำหนดว่า "การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย" ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 สำนักงบประมาณได้จัดสรรงบประมาณเงินอุดหนุนบำรุงการศึกษาให้แก่สถานศึกษาเอกชนเป็นเงินงบประมาณ 120,765,400 บาท สำหรับนักเรียนบางส่วนและจะจัดสรรให้ครบทุกคนในปี 2545 ซึ่งจะเป็นการบรรเทาภาระของผู้ปกครองด้านค่าธรรมเนียมการเรียน ทำให้ไม่มีความจำเป็นต้องเบิกค่าเล่าเรียนบุตรหรือเบิกน้อยลง
2. เห็นชอบในหลักการให้ปรับอัตราการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร เมื่อกระทรวงศึกษาธิการหรือส่วนราชการที่มีสถานศึกษาสังกัดอยู่ มีการปรับเพิ่มอัตราค่าเล่าเรียนในสถานศึกษาของเอกชนหรือสถานศึกษาของทางราชการ โดยไม่ต้องขออนุมัติยกเว้นการปฏิบัติตามมาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคคลภาครัฐจากคณะรัฐมนตรีอีก
กระทรวงการคลังได้รับแจ้งจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนกรณีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตเก็บค่าธรรมเนียมการเรียนและค่าธรรมเนียมอื่นของโรงเรียนเอกชน รวมทั้งค่าใช้จ่ายรายหัวของนักเรียนประเภทสามัญศึกษา จึงขอให้กระทรวงการคลังเปลี่ยนแปลงอัตราการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรในโรงเรียนเอกชน ซึ่งกระทรวงการคลังพิจารณาแล้วได้ชี้แจงข้อเท็จจริงและเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ดังนี้
1. การจ่ายเงินตามงบประมาณรายจ่ายเป็นเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรของข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ผู้ได้รับบำนาญเบี้ยหวัด โดยให้สิทธิสำหรับบุตร 3 คน อายุไม่เกิน 25 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปี เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. 2523 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งใน (2) ได้กำหนดหลักเกณฑ์สำหรับบุตรที่ศึกษาในสถานศึกษาเอกชนในหลักสูตรไม่สูงกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า ให้ได้รับค่าเล่าเรียนเต็มจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินประเภทและอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด
2. การกำหนดอัตราการเบิกจ่ายค่าธรรมเนียมการเรียนของสถานศึกษาเอกชน กระทรวงการคลังกำหนดโดยพิจารณาจากการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการเรียนของสถานศึกษาเอกชน ตามที่คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติเป็นผู้กำหนด โดยยึดถือค่าใช้จ่ายรายหัวนักเรียนภาครัฐเป็นเกณฑ์ จึงทำให้อัตราค่าธรรมเนียมการเรียนปรับเปลี่ยนตามค่าใช้จ่ายรายหัวภาครัฐ ซึ่งในปีการศึกษา 2544 เพิ่มขึ้นจากอัตราเดิมที่กระทรวงการคลังอนุมัติให้เบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร เมื่อปีการศึกษา 2543 ประมาณร้อยละ 3.1 - 3.9 ทั้งนี้ การขอปรับอัตราการเบิกจ่ายค่าเล่าเรียนในสถานศึกษาเอกชน ตามที่กระทรวงศึกษาธิการหรือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนเสนอกระทรวงการคลังก็ได้อนุมัติตลอดมา โดยครั้งหลังสุดที่กระทรวงการคลังได้เสนอขออนุมัติยกเว้นการปฏิบัติตามมาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคคลภาครัฐ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ปรับอัตราการเบิกจ่ายค่าเล่าเรียนได้ คือปีการศึกษา 2543 ประเภทสายสามัญปรับเพิ่มร้อยละ 11.8 - 14.1 และสายอาชีวศึกษาปรับเพิ่มร้อยละ 8.4 - 13.1
3. สำหรับรายจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรเบิกจากเงินงบกลาง ซึ่งเมื่อพิจารณาจากจำนวนเงินงบประมาณที่ใช้จ่ายเพื่อการนี้ ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2539 - 2543 ดังนี้ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2539 2,700ล้านบาท, ปีงบประมาณ พ.ศ. 2540 2,950 ล้านบาท, ปีงบประมาณ พ.ศ. 2541 2,961 ล้านบาท, ปีงบประมาณ พ.ศ. 2542 2,864 ล้านบาท, ปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 2,602 ล้านบาท และหากปรับเพิ่มอัตราการเบิกจ่ายเงินค่าเล่าเรียนตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนเสนออีกไม่เกินร้อยละ 3.9 ตามข้อ 2 คาดว่ารายจ่ายเพื่อสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรจะอยู่ภายในวงเงินงบประมาณ 2,703 ล้านบาท
4. เนื่องจากเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร เป็นสวัสดิการจากทางราชการอย่างหนึ่งที่ให้ความช่วยเหลือแก่ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ผู้ได้รับบำนาญเบี้ยหวัด เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร ซึ่งเป็นสิทธิประโยชน์ตอบแทนที่ทางราชการให้แก่ผู้ที่ปฏิบัติงานราชการและต้องปรับปรุงให้เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง ดังนั้น การที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนได้เปลี่ยนแปลงอัตราค่าธรรมเนียมการเรียนในสถานศึกษาของเอกชน ซึ่งส่งผลให้ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ผู้ได้รับบำนาญเบี้ยหวัด ต้องจ่ายค่าเล่าเรียนสำหรับบุตรเพิ่มขึ้น จึงเห็นควรปรับอัตราการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรในสถานศึกษาเอกชนตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนเสนอ เพื่อให้ผู้มีสิทธิดังกล่าวมาเบิกจ่ายค่าเล่าเรียนบุตรจากทางราชการได้ ซึ่งการปรับเพิ่มอัตราการเบิกจ่ายจะเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านบุคคลภาครัฐ และไม่เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2543
5. เนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการและส่วนราชการที่มีสถานศึกษาสังกัดอยู่จะมีการปรับเพิ่มอัตราค่าเล่าเรียนทุกปีการศึกษา จึงเห็นควรขอความเห็นชอบเป็นหลักการให้ปรับอัตราการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรทั้งในสถานศึกษาของเอกชนและของทางราชการได้ จนกว่าจะมีการยกเลิกมติการปฏิบัติตามมาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคคลภาครัฐดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 6 พ.ย. 44--
-สส-