ทำเนียบรัฐบาล--3 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 262) พ.ศ. 2536) และร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กองทุน
รวมที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการร่างพระราชกฤษฎีกา 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
1. ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. กำหนดให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้น รัษฎากร (ฉบับที่ 262) พ.ศ. 2536 และให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2543 เป็นต้นไป
2. ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2543 เป็นต้นไป
และให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ โดยให้กระทรวงการคลังรับไปพิจารณาดำเนินการตามข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีโดยด่วนต่อไป
โดยสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีข้อสังเกตว่า ตามร่างมาตรา 2 ของร่างพระราชกฤษฎีกาทั้ง 2 ฉบับเกี่ยวกับกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และได้กำหนดวันใช้บังคับให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2543 ซึ่งกระทรวงการคลังจะต้องไปออกประกาศกำหนดให้กองทุนรวมที่จัดตั้งตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เป็นนิติบุคคลตาม (4) ของคำนิยาม "บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล" ในมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร โดยสมควรกำหนดให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2543 และประกาศในราชกิจจานุเบกษาพร้อมกับร่างพระราชกฤษฎีกาทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังรายงานว่า
1. การจัดเก็บภาษีเกี่ยวกับกองทุนรวมในปัจจุบันมีการจำแนกรายได้ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับกองทุนรวมในการเสียภาษีไว้เป็น 2 ลักษณะ คือ รายได้ในส่วนของกองทุนรวมโดยตรง และรายได้ของผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวม
2. กรณีรายได้ในส่วนของกองทุนรวมมี 2 ประเภท ซึ่งไม่มีภาระภาษีเงินได้ ได้แก่
2.1 กองทุนรวมที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 (กองทุนรวมเก่า) ซึ่งมีสถานะเป็นคณะบุคคล และเป็นหน่วยภาษีตามประมวลรัษฎากร แต่ในปัจจุบันได้มีการกำหนดให้เงินได้ของกองทุนรวม ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 (24)แห่งประมวลรัษฎากร
2.2 กองทุนรวมที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (กองทุนรวมใหม่) ซึ่งเมื่อได้จดทะเบียนแล้วจะมีสถานะเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติดังกล่าว แต่มิได้เป็นหน่วยภาษีตามประมวลรัษฎากร จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษี
3. สำหรับรายได้ของผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมจำแนกเป็น 2 ลักษณะ ซึ่งมีภาระต้องเสียภาษีเงินได้ได้แก่ รายได้ในรูปของส่วนแบ่งกำไร และรายได้ในรูปของกำไรจากการขายหน่วยลงทุน
4. ขณะนี้ได้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำของการจัดเก็บภาษีเฉพาะในส่วนรายได้ของผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวม ดังนี้
4.1 กรณีรายได้ในรูปของส่วนแบ่งกำไร หากผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นบุคคลธรรมดา และมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ซึ่งได้รับเงินได้ในลักษณะนี้ เฉพาะจากกองทุนรวมใหม่จะไม่มีภาระภาษี ในขณะที่ถ้าเป็นบุคคลธรรมดาที่อยู่ในประเทศไทย จะต้องมีภาระภาษี เนื่องจากลักษณะของกองทุนรวมใหม่ มิได้เป็นหน่วยภาษีตามประมวลรัษฎากร และหากผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นนิติบุคคลต่างประเทศไม่ได้ประกอบกิจการในไทย จะไม่มีภาระภาษี ในขณะที่ถ้าเป็นนิติตบุคคลไทย จะต้องมีภาระภาษี โดยมีเหตุผลเช่นเดียวกัน
4.2 กรณีรายได้ในรูปของกำไรจากการขายหน่วยลงทุน หากผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นนิติบุคคลต่างประเทศและไม่ได้ประกอบกิจการในประเทศไทย จะไม่มีภาระภาษีไม่ว่าจะเป็นการขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเก่าหรือกองทุนรวมใหม่ ในขณะที่ถ้าเป็นนิติบุคคลไทย จะต้องมีภาระภาษีในส่วนนี้
5. เพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำดังกล่าว กระทรวงการคลังจะอาศัยอำนาจตามมาตรา 39 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งบัญญัติให้อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีกำหนดให้กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (กองทุนรวมใหม่) มีสถานะเป็นนิติบุคคลเช่นเดียวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งเป็นหน่วยภาษีตามประมวลรัษฎากรเพื่อให้กองทุนรวมทั้ง 2 ประเภท เป็นหน่วยภาษีตามประมวลรัษฎากรเช่นเดียวกัน รวมทั้งจะได้กำหนดหลักเกณฑ์ให้เงินได้ในรูปของกำไรจากการขายหน่วยลงทุนเป็นเงินได้ที่จะต้องเสียภาษีตามมาตรา 40 (4) (ช) แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อให้นิติบุคคลต่างประเทศต้องเสียภาษีเช่นเดียวกับนิติบุคคลไทย
6. เมื่อกองทุนรวมใหม่มีสถานะเป็นหน่วยภาษีตามประมวลรัษฎากรก็จะมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จึงสมควรกำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่กองทุนรวมใหม่ เพื่อให้เท่าเทียมกับกองทุนรวมเก่า ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 2.1 และผลของการกำหนดให้กองทุนรวมใหม่มีสถานะเป็นหน่วยภาษีตามประมวลรัษฎากรจะทำให้ผู้ที่ได้รับเงินส่วนแบ่งกำไรจากกองทุนรวมใหม่ได้รับสิทธิประโยชน์เช่นเดียวกับกองทุนรวมเก่าด้วย จึงสมควรยกเลิกพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 262) พ.ศ. 2536 ที่กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินส่วนแบ่งกำไรจากกองทุนรวมใหม่ไว้แต่เดิม เนื่องจากไม่มีความจำเป็นต้องนำมาใช้บังคับอีกต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 3 ตุลาคม 2543--
-สส-
ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 262) พ.ศ. 2536) และร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กองทุน
รวมที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการร่างพระราชกฤษฎีกา 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
1. ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. กำหนดให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้น รัษฎากร (ฉบับที่ 262) พ.ศ. 2536 และให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2543 เป็นต้นไป
2. ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2543 เป็นต้นไป
และให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ โดยให้กระทรวงการคลังรับไปพิจารณาดำเนินการตามข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีโดยด่วนต่อไป
โดยสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีข้อสังเกตว่า ตามร่างมาตรา 2 ของร่างพระราชกฤษฎีกาทั้ง 2 ฉบับเกี่ยวกับกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และได้กำหนดวันใช้บังคับให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2543 ซึ่งกระทรวงการคลังจะต้องไปออกประกาศกำหนดให้กองทุนรวมที่จัดตั้งตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เป็นนิติบุคคลตาม (4) ของคำนิยาม "บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล" ในมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร โดยสมควรกำหนดให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2543 และประกาศในราชกิจจานุเบกษาพร้อมกับร่างพระราชกฤษฎีกาทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังรายงานว่า
1. การจัดเก็บภาษีเกี่ยวกับกองทุนรวมในปัจจุบันมีการจำแนกรายได้ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับกองทุนรวมในการเสียภาษีไว้เป็น 2 ลักษณะ คือ รายได้ในส่วนของกองทุนรวมโดยตรง และรายได้ของผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวม
2. กรณีรายได้ในส่วนของกองทุนรวมมี 2 ประเภท ซึ่งไม่มีภาระภาษีเงินได้ ได้แก่
2.1 กองทุนรวมที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 (กองทุนรวมเก่า) ซึ่งมีสถานะเป็นคณะบุคคล และเป็นหน่วยภาษีตามประมวลรัษฎากร แต่ในปัจจุบันได้มีการกำหนดให้เงินได้ของกองทุนรวม ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 (24)แห่งประมวลรัษฎากร
2.2 กองทุนรวมที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (กองทุนรวมใหม่) ซึ่งเมื่อได้จดทะเบียนแล้วจะมีสถานะเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติดังกล่าว แต่มิได้เป็นหน่วยภาษีตามประมวลรัษฎากร จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษี
3. สำหรับรายได้ของผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมจำแนกเป็น 2 ลักษณะ ซึ่งมีภาระต้องเสียภาษีเงินได้ได้แก่ รายได้ในรูปของส่วนแบ่งกำไร และรายได้ในรูปของกำไรจากการขายหน่วยลงทุน
4. ขณะนี้ได้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำของการจัดเก็บภาษีเฉพาะในส่วนรายได้ของผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวม ดังนี้
4.1 กรณีรายได้ในรูปของส่วนแบ่งกำไร หากผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นบุคคลธรรมดา และมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ซึ่งได้รับเงินได้ในลักษณะนี้ เฉพาะจากกองทุนรวมใหม่จะไม่มีภาระภาษี ในขณะที่ถ้าเป็นบุคคลธรรมดาที่อยู่ในประเทศไทย จะต้องมีภาระภาษี เนื่องจากลักษณะของกองทุนรวมใหม่ มิได้เป็นหน่วยภาษีตามประมวลรัษฎากร และหากผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นนิติบุคคลต่างประเทศไม่ได้ประกอบกิจการในไทย จะไม่มีภาระภาษี ในขณะที่ถ้าเป็นนิติตบุคคลไทย จะต้องมีภาระภาษี โดยมีเหตุผลเช่นเดียวกัน
4.2 กรณีรายได้ในรูปของกำไรจากการขายหน่วยลงทุน หากผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นนิติบุคคลต่างประเทศและไม่ได้ประกอบกิจการในประเทศไทย จะไม่มีภาระภาษีไม่ว่าจะเป็นการขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเก่าหรือกองทุนรวมใหม่ ในขณะที่ถ้าเป็นนิติบุคคลไทย จะต้องมีภาระภาษีในส่วนนี้
5. เพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำดังกล่าว กระทรวงการคลังจะอาศัยอำนาจตามมาตรา 39 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งบัญญัติให้อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีกำหนดให้กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (กองทุนรวมใหม่) มีสถานะเป็นนิติบุคคลเช่นเดียวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งเป็นหน่วยภาษีตามประมวลรัษฎากรเพื่อให้กองทุนรวมทั้ง 2 ประเภท เป็นหน่วยภาษีตามประมวลรัษฎากรเช่นเดียวกัน รวมทั้งจะได้กำหนดหลักเกณฑ์ให้เงินได้ในรูปของกำไรจากการขายหน่วยลงทุนเป็นเงินได้ที่จะต้องเสียภาษีตามมาตรา 40 (4) (ช) แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อให้นิติบุคคลต่างประเทศต้องเสียภาษีเช่นเดียวกับนิติบุคคลไทย
6. เมื่อกองทุนรวมใหม่มีสถานะเป็นหน่วยภาษีตามประมวลรัษฎากรก็จะมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จึงสมควรกำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่กองทุนรวมใหม่ เพื่อให้เท่าเทียมกับกองทุนรวมเก่า ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 2.1 และผลของการกำหนดให้กองทุนรวมใหม่มีสถานะเป็นหน่วยภาษีตามประมวลรัษฎากรจะทำให้ผู้ที่ได้รับเงินส่วนแบ่งกำไรจากกองทุนรวมใหม่ได้รับสิทธิประโยชน์เช่นเดียวกับกองทุนรวมเก่าด้วย จึงสมควรยกเลิกพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 262) พ.ศ. 2536 ที่กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินส่วนแบ่งกำไรจากกองทุนรวมใหม่ไว้แต่เดิม เนื่องจากไม่มีความจำเป็นต้องนำมาใช้บังคับอีกต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 3 ตุลาคม 2543--
-สส-