คณะรัฐมนตรีพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงการคลังเสนอแล้วมีมติ ดังนี้
1. ให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. …. ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้1.1 ได้รวบรวมสาระสำคัญของกฎหมายที่ให้อำนาจกระทรวงการคลังในการก่อหนี้ค้ำประกัน และปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศ จำนวน 5 ฉบับ เข้าไว้ในร่างกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะฉบับเดียว ดังนั้น ร่างกฎหมายนี้จึงได้รวมอำนาจของกระทรวงการคลังในการบริหารจัดการหนี้สาธารณะทั้งเงินบาทและเงินตราต่างประเทศ
1.2 ให้อำนาจกระทรวงการคลังในการกู้เงินจากแหล่งในประเทศและต่างประเทศ ภายใต้วัตถุประสงค์สำคัญ 5 ประการ คือ 1) เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 2) เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมนอกเหนือจากงบประมาณ3) เพื่อพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ 4) เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายอื่นที่ให้อำนาจไว้ 5) เพื่อการบริหารหนี้สาธารณะ
1.3 ให้เป็นหน้าที่ของกระทรวงการคลังในการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ โดยให้กระทรวงการคลังสามารถออกพันธบัตรได้แม้ในยามที่ฐานะการคลังไม่ขาดดุล เพื่อให้มีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดให้เพียงพอเพื่อประโยชน์ในการสร้างอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในตลาดตราสารหนี้
1.4 เพิ่มเติมให้มีการจำกัดหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้น (Contingent Liabilities) ของรัฐบาลในรูปของการค้ำประกัน โดยให้มีการจำกัดเพดานการค้ำประกันรวม มีการคิดค่าธรรมเนียมในการค้ำประกัน รวมทั้งมีการจัดตั้งกองทุนเพื่อบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการค้ำประกัน จากการที่รัฐวิสาหกิจ และ/หรือองค์กรของรัฐอื่น ๆ ที่กระทรวงการคลังให้การค้ำประกันไม่สามารถชำระหนี้ได้ ซึ่งทำให้รัฐบาลต้องรับภาระแทน
1.5 ให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการก่อหนี้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรของรัฐอื่น ๆ มิให้ก่อหนี้เกินความสามารถในการชำระหนี้เพื่อมิให้ภาระหนี้เหล่านั้นตกเป็นของรัฐบาลต่อไปในอนาคต
1.6 ให้กระทรวงการคลังสามารถบริหารหนี้เงินกู้ทั้งหนี้เงินบาท และเงินตราต่างประเทศเป็นการบัญญัติข้อกฎหมายเพิ่มเติมจากเดิมที่ไม่มีกฎหมายให้อำนาจกระทรวงการคลังในการบริหารเงินกู้ในประเทศที่เกิดจากการออกพันธบัตรเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ และเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารหนี้เงินกู้ต่างประเทศ โดยให้กระทรวงการคลังสามารถกู้เงินจากแหล่งทั้งในและต่างประเทศได้ ซึ่งในการบริหารหนี้สาธารณะนั้น ให้กระทรวงการคลังสามารถดำเนินการก่อหนี้ใหม่เพื่อปรับโครงสร้างเงินกู้ หรือลดภาระหนี้เดิม โดยการแปลงหนี้ (Swap) จากสกุลหนึ่งเป็นอีกสกุลหนึ่ง ขยายระยะเวลาชำระหนี้ ชำระหนี้ก่อนกำหนด และทำธุรกรรมทางการเงินอื่น ๆ
1.7 จัดตั้งคณะกรรมการบริหารหนี้สาธารณะ โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1) องค์ประกอบของคณะกรรมการฯ ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เป็นรองประธาน ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อธิบดีกรมบัญชีกลาง ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 คน เป็นกรรมการ โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้แทนสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
2) อำนาจหน้าที่
(1) พิจารณาเสนอแนะนโยบาย กำหนดหลักเกณฑ์ และแผนการกู้เงิน การค้ำประกัน และการบริหารหนี้สาธารณะ
(2) ติดตาม กำกับ ดูแลการก่อหนี้ และกำหนดหลักเกณฑ์การค้ำประกันหนี้ของหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ
(3) พิจารณากำหนดนโยบายและแผนการกู้เงินเพื่อพัฒนาตลาดตราสารหนี้
(4) กำหนดระเบียบการบริหาร "กองทุนบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการค้ำประกัน" และ"กองทุนเพื่อพัฒนาตลาดตราสารหนี้"
(5) ดำเนินการอื่นใดตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
1.8 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
1) ให้จัดตั้งสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะขึ้นเป็นส่วนราชการในสังกัดกระทรวงการคลัง โดยมีฐานะเทียบเท่าหน่วยงานระดับกรม โดยการรวมงานที่อยู่ในความรับผิดชอบของกองนโยบายเงินกู้ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และงานที่อยู่ในความรับผิดชอบของกลุ่มหนี้สาธารณะและเงินคงคลัง และส่วนหนี้สาธารณะและเงินคงคลัง ยกเว้นสายบริหารเงินคงคลัง สำนักการเงินการคลัง กรมบัญชีกลาง เข้าด้วยกัน และยกฐานะเป็นสำนักงานดังกล่าว โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะเป็นหัวหน้าสำนักงาน
2) อำนาจหน้าที่ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
(1) เสนอแนะนโยบายและจัดทำแผนการก่อหนี้ และบริหารหนี้ให้สอดคล้องกับเป้าหมายและแนวทางที่กำหนดในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายรัฐบาล และฐานะการเงินการคลังของประเทศ
(2) ศึกษา วิเคราะห์นโยบายและกำหนดหลักเกณฑ์การก่อหนี้และการค้ำประกันหนี้ของส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจ
(3) ดำเนินการเกี่ยวกับการผูกพันหนี้สาธารณะ ทั้งหนี้ในประเทศและต่างประเทศ ภายใต้กรอบกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับ
(4) ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารหนี้สาธารณะ ทั้งด้านการบริหารความเสี่ยง บริหารการชำระหนี้ และบริหารเงินสดให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
(5) ดำเนินการเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินกู้ และการชำระหนี้ รวมทั้งควบคุมดูแลให้มีการปฏิบัติตามสัญญาที่ได้ผูกพันกับแหล่งเงินกู้ กฎระเบียบ และข้อบังคับของราชการ
(6) ดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ รวมทั้งการพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขการผูกพัน การบริหารหนี้สาธารณะ และการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ของประเทศ
(7) ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการบริหารหนี้สาธารณะ และปฏิบัติงานอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
(8) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานหรือตามที่กระทรวงการคลังหรือคณะรัฐมนตรีอนุมัติ
2. ให้ความเห็นชอบการจัดตั้งสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
เนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2541 เห็นชอบหลักการและมาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรภาครัฐ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติเสนอ ซึ่งมาตรการดังกล่าวกำหนดว่า "ในปีงบประมาณ 2541 และ 2542 ให้ส่วนราชการระงับการขอจัดตั้งหน่วยงานใหม่ หรือขยายหน่วยงานในกรม หรือภายในหน่วยงานที่เทียบเท่ากรมขึ้นไป ยกเว้นการจัดตั้งส่วนราชการและโอน หรือรวมส่วนราชการตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ หรือการดำเนินการที่เป็นผลจากแผน Administrative Renewal ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่รัฐบาลจะดำเนินการตามข้อตกลงกับ IMF" และต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2543เห็นชอบให้ขยายเวลาการบังคับใช้มาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรภาครัฐจนถึงสิ้นปีงบประมาณ 2546
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามที่กระทรวงการคลังเสนอ แล้วมีความเห็นว่า โดยที่มีความจำเป็นที่จะต้องมีหน่วยงานเพียงหน่วยงานเดียวที่ทำหน้าที่บริหารจัดการหนี้สาธารณะ เพื่อความเป็นเอกภาพ เพิ่มความคล่องตัว และเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน จึงเห็นชอบให้ยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2543 เรื่องมาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรภาครัฐเป็นกรณีพิเศษสำหรับการจัดตั้งสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 ส.ค.44--
-สส-
1. ให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. …. ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้1.1 ได้รวบรวมสาระสำคัญของกฎหมายที่ให้อำนาจกระทรวงการคลังในการก่อหนี้ค้ำประกัน และปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศ จำนวน 5 ฉบับ เข้าไว้ในร่างกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะฉบับเดียว ดังนั้น ร่างกฎหมายนี้จึงได้รวมอำนาจของกระทรวงการคลังในการบริหารจัดการหนี้สาธารณะทั้งเงินบาทและเงินตราต่างประเทศ
1.2 ให้อำนาจกระทรวงการคลังในการกู้เงินจากแหล่งในประเทศและต่างประเทศ ภายใต้วัตถุประสงค์สำคัญ 5 ประการ คือ 1) เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 2) เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมนอกเหนือจากงบประมาณ3) เพื่อพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ 4) เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายอื่นที่ให้อำนาจไว้ 5) เพื่อการบริหารหนี้สาธารณะ
1.3 ให้เป็นหน้าที่ของกระทรวงการคลังในการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ โดยให้กระทรวงการคลังสามารถออกพันธบัตรได้แม้ในยามที่ฐานะการคลังไม่ขาดดุล เพื่อให้มีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดให้เพียงพอเพื่อประโยชน์ในการสร้างอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในตลาดตราสารหนี้
1.4 เพิ่มเติมให้มีการจำกัดหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้น (Contingent Liabilities) ของรัฐบาลในรูปของการค้ำประกัน โดยให้มีการจำกัดเพดานการค้ำประกันรวม มีการคิดค่าธรรมเนียมในการค้ำประกัน รวมทั้งมีการจัดตั้งกองทุนเพื่อบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการค้ำประกัน จากการที่รัฐวิสาหกิจ และ/หรือองค์กรของรัฐอื่น ๆ ที่กระทรวงการคลังให้การค้ำประกันไม่สามารถชำระหนี้ได้ ซึ่งทำให้รัฐบาลต้องรับภาระแทน
1.5 ให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการก่อหนี้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรของรัฐอื่น ๆ มิให้ก่อหนี้เกินความสามารถในการชำระหนี้เพื่อมิให้ภาระหนี้เหล่านั้นตกเป็นของรัฐบาลต่อไปในอนาคต
1.6 ให้กระทรวงการคลังสามารถบริหารหนี้เงินกู้ทั้งหนี้เงินบาท และเงินตราต่างประเทศเป็นการบัญญัติข้อกฎหมายเพิ่มเติมจากเดิมที่ไม่มีกฎหมายให้อำนาจกระทรวงการคลังในการบริหารเงินกู้ในประเทศที่เกิดจากการออกพันธบัตรเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ และเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารหนี้เงินกู้ต่างประเทศ โดยให้กระทรวงการคลังสามารถกู้เงินจากแหล่งทั้งในและต่างประเทศได้ ซึ่งในการบริหารหนี้สาธารณะนั้น ให้กระทรวงการคลังสามารถดำเนินการก่อหนี้ใหม่เพื่อปรับโครงสร้างเงินกู้ หรือลดภาระหนี้เดิม โดยการแปลงหนี้ (Swap) จากสกุลหนึ่งเป็นอีกสกุลหนึ่ง ขยายระยะเวลาชำระหนี้ ชำระหนี้ก่อนกำหนด และทำธุรกรรมทางการเงินอื่น ๆ
1.7 จัดตั้งคณะกรรมการบริหารหนี้สาธารณะ โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1) องค์ประกอบของคณะกรรมการฯ ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เป็นรองประธาน ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อธิบดีกรมบัญชีกลาง ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 คน เป็นกรรมการ โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้แทนสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
2) อำนาจหน้าที่
(1) พิจารณาเสนอแนะนโยบาย กำหนดหลักเกณฑ์ และแผนการกู้เงิน การค้ำประกัน และการบริหารหนี้สาธารณะ
(2) ติดตาม กำกับ ดูแลการก่อหนี้ และกำหนดหลักเกณฑ์การค้ำประกันหนี้ของหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ
(3) พิจารณากำหนดนโยบายและแผนการกู้เงินเพื่อพัฒนาตลาดตราสารหนี้
(4) กำหนดระเบียบการบริหาร "กองทุนบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการค้ำประกัน" และ"กองทุนเพื่อพัฒนาตลาดตราสารหนี้"
(5) ดำเนินการอื่นใดตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
1.8 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
1) ให้จัดตั้งสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะขึ้นเป็นส่วนราชการในสังกัดกระทรวงการคลัง โดยมีฐานะเทียบเท่าหน่วยงานระดับกรม โดยการรวมงานที่อยู่ในความรับผิดชอบของกองนโยบายเงินกู้ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และงานที่อยู่ในความรับผิดชอบของกลุ่มหนี้สาธารณะและเงินคงคลัง และส่วนหนี้สาธารณะและเงินคงคลัง ยกเว้นสายบริหารเงินคงคลัง สำนักการเงินการคลัง กรมบัญชีกลาง เข้าด้วยกัน และยกฐานะเป็นสำนักงานดังกล่าว โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะเป็นหัวหน้าสำนักงาน
2) อำนาจหน้าที่ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
(1) เสนอแนะนโยบายและจัดทำแผนการก่อหนี้ และบริหารหนี้ให้สอดคล้องกับเป้าหมายและแนวทางที่กำหนดในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายรัฐบาล และฐานะการเงินการคลังของประเทศ
(2) ศึกษา วิเคราะห์นโยบายและกำหนดหลักเกณฑ์การก่อหนี้และการค้ำประกันหนี้ของส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจ
(3) ดำเนินการเกี่ยวกับการผูกพันหนี้สาธารณะ ทั้งหนี้ในประเทศและต่างประเทศ ภายใต้กรอบกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับ
(4) ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารหนี้สาธารณะ ทั้งด้านการบริหารความเสี่ยง บริหารการชำระหนี้ และบริหารเงินสดให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
(5) ดำเนินการเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินกู้ และการชำระหนี้ รวมทั้งควบคุมดูแลให้มีการปฏิบัติตามสัญญาที่ได้ผูกพันกับแหล่งเงินกู้ กฎระเบียบ และข้อบังคับของราชการ
(6) ดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ รวมทั้งการพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขการผูกพัน การบริหารหนี้สาธารณะ และการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ของประเทศ
(7) ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการบริหารหนี้สาธารณะ และปฏิบัติงานอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
(8) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานหรือตามที่กระทรวงการคลังหรือคณะรัฐมนตรีอนุมัติ
2. ให้ความเห็นชอบการจัดตั้งสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
เนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2541 เห็นชอบหลักการและมาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรภาครัฐ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติเสนอ ซึ่งมาตรการดังกล่าวกำหนดว่า "ในปีงบประมาณ 2541 และ 2542 ให้ส่วนราชการระงับการขอจัดตั้งหน่วยงานใหม่ หรือขยายหน่วยงานในกรม หรือภายในหน่วยงานที่เทียบเท่ากรมขึ้นไป ยกเว้นการจัดตั้งส่วนราชการและโอน หรือรวมส่วนราชการตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ หรือการดำเนินการที่เป็นผลจากแผน Administrative Renewal ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่รัฐบาลจะดำเนินการตามข้อตกลงกับ IMF" และต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2543เห็นชอบให้ขยายเวลาการบังคับใช้มาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรภาครัฐจนถึงสิ้นปีงบประมาณ 2546
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามที่กระทรวงการคลังเสนอ แล้วมีความเห็นว่า โดยที่มีความจำเป็นที่จะต้องมีหน่วยงานเพียงหน่วยงานเดียวที่ทำหน้าที่บริหารจัดการหนี้สาธารณะ เพื่อความเป็นเอกภาพ เพิ่มความคล่องตัว และเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน จึงเห็นชอบให้ยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2543 เรื่องมาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรภาครัฐเป็นกรณีพิเศษสำหรับการจัดตั้งสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 ส.ค.44--
-สส-