แท็ก
คณะรัฐมนตรี
รายงานผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 และการกำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสรุปผลการใช้จ่ายเงินและประมาณการผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ
ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 และให้ความเห็นชอบการรกำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายเงิน
งบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
1. รับทราบการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544
1.1 ผลการเบิกจ่าย ณ วันที่ 21 กันยายน 2544 มีการเบิกจ่ายแล้วทั้งสิ้นจำนวน 769,758 ล้านบาท
หรือร้อยละ 84.59 ของวงเงินงบประมาณ เป็นรายจ่ายประจำ 632,727 ล้านบาท หรือร้อยละ 91.44 ของวงเงิน
งบประมาณรายจ่ายประจำ และรายจ่ายลงทุนจำนวน 137,031 ล้านบาท หรือร้อยละ 62.85 ของวงเงินงบประมาณ
รายจ่ายลงทุน โดยในส่วนของโครงการถ่ายโอนงาน/กิจกรรมบริการสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถ
เบิกจ่ายได้จำนวน 19,618 ล้านบาท หรือร้อยละ 60.58 ของงบประมาณรายจ่ายโครงการถ่ายโอนฯ (32,384 ล้านบาท)
เป็นรายจ่ายลงทุน 7,986 ล้านบาท หรือร้อยละ 38.96 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนของงบประมาณโครงการ
ถ่ายโอนฯ
1.2 จากการติดตามผลการใช้จ่ายงบประมาณของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ คาดว่าจะมีการ
เบิกจ่ายเงินในช่วงสัปดาห์สุดท้ายอีกประมาณ 42,242 ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมกับรายจ่ายตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงวันที่
21 กันยายน 2544 แล้วจะเป็นรายจ่ายรวมทั้งสิ้นประมาณ 812,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 89.23 ของวงเงินงบประมาณ
ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดไว้ในอัตราร้อยละ 90 ของวงเงินงบประมาณ ทั้งนี้คาดว่าจะมีการกันเงินไว้เบิกเหลื่อม
ปีประมาณร้อยละ 9.34 ของวงเงินงบประมาณ หรือประมาณ 85,000 ล้านบาท รวมวงเงินรายจ่ายภายในปี
งบประมาณและเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีจำนวนประมาณ 897,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 98.57 ของวงเงินงบประมาณ
1.3 สาเหตุที่ทำให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ล่าช้าและต้องติดตามเร่งรัด
มากกว่าปีก่อน ๆ เกิดจาก
1) ความไม่พร้อมของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเกี่ยวกับการสำรวจออกแบบ และการขอใช้พื้นที่
ดำเนินการ รวมทั้งโครงการก่อสร้างหลายโครงการมีปัญหาเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดิน ทำให้ต้องเสียเวลาในการดำเนินการ
ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นประจำในช่วงหลายปีงบประมาณที่ผ่านมา ประกอบกับหลายส่วนราชการมี
โครงการที่เป็นงบผูกพัน หรือโครงการที่ได้รับอนุมัติให้กันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี ซึ่งจำเป็นต้องเบิกจ่ายตามงวดงาน และต้อง
เบิกจ่ายเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีให้เสร็จสิ้นก่อนจึงจะเบิกจ่ายเงินงบประมาณปีปัจจุบันได้ ทำให้การใช้เงินงบประมาณปีปัจจุบันล่าช้า
และหลายโครงการต้องขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีในปีงบประมาณถัดไปอีก
2) มาตรการปรับลดราคากลางสิ่งก่อสร้างของหน่วยงานภาครัฐลงร้อยละ 10 ในช่วงต้นไตรมาสที่ 2
ของปีงบประมาณ มีผลทำให้กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างชะงักไปประมาณ 2 เดือน และมาตรการปรับลดงบประมาณในช่วงเดือนมีนาคมและเมษายน
2544 เพื่อจัดสรรคืนในระยะต่อมามีผลกระทบทำให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจต้องชะลอ
การดำเนินการหลายโครงการ
3) การถ่ายโอนงาน/กิจกรรมบริการสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีการจัดสรร
เงินงบประมาณให้ 32,384 ล้านบาท เพิ่มจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 ถึงจำนวน 28,541 ล้านบาท ในขณะที่องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดกลางและเล็กส่วนใหญ่ยังไม่มีความพร้อมทั้งบุคลากรและเครื่องมืออุปกรณ์ ทำให้การดำเนินการล่าช้า
1.4 จากสาเหตุต่าง ๆ ดังกล่าว กระทรวงการคลังได้เสนอมาตรการแก้ไขปัญหาให้คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ
เพื่อให้การเบิกจ่ายรวดเร็วยิ่งขึ้น ดังนี้
1) ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ (ที่ได้รับงบประมาณรายจ่ายลงทุน) กำหนดเป้าหมายอัตราการ
เบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณก่อนไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 โดยจะนำผลการเบิกจ่ายเป็นส่วนหนึ่งของตัวชี้วัด
ผลการดำเนินการด้วย โดยคาดว่าหากส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจสามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมาย
ดังกล่าวจะส่งผลให้อัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนในภาพรวมเป็นร้อยละ 70 ของวงเงินงบประมาณ
รายจ่ายลงทุน อย่างไรก็ดี จากการติดตามผลการเบิกจ่ายคาดว่าส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่ได้รับจัดสรรเงินงบประมาณ
รายจ่ายลงทุนเกิน 1,000 ล้านบาท จำนวน 32 แห่งจะสามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายที่กำหนด 8 แห่ง หรือร้อยละ 25 สำหรับ
ผลการเบิกจ่ายจริง ณ วันสิ้นปีงบประมาณเปรียบเทียบกับเป้าหมายเป็นรายส่วนราชการ กระทรวงการคลัง
จะรายงานให้ทราบต่อไป
2) กระทรวงมหาดไทยมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเร่งรัดการดำเนินงานของส่วนราชการใน
ภูมิภาค รวมทั้งปรับปรุงแก้ไขระเบียบกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการขออนุมัติเบิกจ่ายเงินขององค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นให้สามารถก่อหนี้ผูกพันและเบิกจ่ายได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งกรมบัญชีกลางได้มอบหมายให้สำนักงานคลังทุกแห่งรายงานผลการเบิกจ่าย
เงินและเร่งรัดการดำเนินงานของส่วนราชการ รวมทั้งอำนวยความสะดวกในการเบิกจ่ายเงินอย่างเต็มที่
3) ให้กระทรวงการคลังกำหนดมาตรการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีที่เข้มงวด โดยเฉพาะโครงการที่ไม่
สามารถก่อหนี้ผูกพันได้ภายในปีงบประมาณ และเข้มงวดเกี่ยวกับการอนุญาตให้ขยายเวลาเบิกจ่ายเงิน ซึ่งกรมบัญชีกลางได้เวียนหนังสือแจ้ง
ส่วนราชการทราบล่วงหน้าแล้ว รวมทั้งได้เสนอข้อมูลผลการเบิกจ่ายเงินของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
ให้คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 ใช้เป็นข้อมูล
ประกอบการพิจารณาเพื่อให้จัดสรรงบประมาณสอดคล้องกับความสามารถในการใช้จ่ายเงินของส่วนราชการ
4) ให้สำนักงบประมาณทบทวนหลักเกณฑ์การจัดสรรเงินงบประมาณให้สอดคล้องกับความสามารถและความ
พร้อมในการดำเนินการและการใช้จ่ายเงินของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
นอกจากนั้น คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจยังได้เสนอมาตรการ
เพิ่มเติมเพื่อให้ส่วนราชการสามารถดำเนินโครงการและใช้จ่ายเงินในปีงบประมณ พ.ศ. 2544 ได้มากที่สุด
โดยให้สำนักงบประมาณขยายเวลาในการขอเปลี่ยนแปลงรายการที่อาจมีปัญหาเป็นรายการที่มีความพร้อมมากกว่าได้จนถึง
สิ้นเดือนสิงหาคม รวมทั้งยังได้เสนอมาตรการสำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 โดยให้ส่วนราชการเร่งก่อหนี้ให้แล้วเสร็จ
ภายในไตรมาสที่ 2 และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2546 ให้จัดสรรงบประมาณเฉพาะโครงการที่มีความพร้อม คือมีรูปแบบ
รายการพร้อมจะดำเนินการแล้วเท่านั้น ซึ่งจะมีผลให้การใช้จ่ายเงินในปีต่อไปเป็นไปตามเป้าหมาย
1.5 สำหรับภาพรวมการเบิกจ่ายเงินของภาครัฐซึ่งรวมการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ เงินของรัฐวิสาหกิจ
เงินกู้ต่างประเทศ และเงินนอกงบประมาณจนถึงสิ้นเดือนกันยายนคาดว่าจะเบิกจ่ายรวมกันประมาณ 2,348,301
ล้านบาท โดยเบิกจ่ายงบประมาณ 812,000 ล้านบาท งบของรัฐวิสาหกิจ 1,277,902 ล้านบาท (ไม่รวมการเบิกจ่ายจากเงินกู้ต่างประเทศ
20,664 ล้านบาท และเงินงบประมาณ 2,075 ล้านบาท) เงินกู้ต่างประเทศ 122,162 ล้านบาท และเงินนอกงบประมาณ 136,237 ล้านบาท
2. ให้ความเห็นชอบเป้าหมายการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545
2.1 กระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง) ร่วมกับสำนักงบประมาณได้ร่วมกันพิจารณาแล้วเห็นว่าเพื่อให้การใช้จ่ายเงิน
งบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับนโยบายของ
รัฐบาล จึงเห็นควรกำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 ไว้ในอัตราร้อยละ
91 ของวงเงินงบประมาณรายจ่าย 965,000 ล้านบาท โดยไม่รวมงบประมาณรายจ่ายงบกลาง 58,000 ล้านบาท ที่รัฐบาล
ตั้งไว้เพื่อใช้จ่ายในงาน/โครงการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งนี้หากรัฐบาลใช้จ่ายเงินงบประมาณงบกลางรายการดังกล่าวจำนวนเท่าใด อัตรา
การเบิกจ่ายเมื่อเปรียบเทียบกับวงเงินงบประมาณ 1,023,000 ล้านบาท จะผันแปรไปตามอัตราการ
เบิกจ่ายเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจดังกล่าว
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังเห็นควรกำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2545
เป็นรายไตรมาสด้วย ดังนี้
วงเงิน ประมาณการการเบิกจ่ายเงินงบประมาณสะสม
รายการ งบประมาณ ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 2 ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสที่ 4
จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ
ไม่รวมงบกลาง 965,000 202,600 21 395,600 41 627,200 65 878,200 91
58,000 ล้านบาท
รวมงบกลาง 58,000
ล้านบาท กรณีเบิกจ่ายได้
- ร้อยละ 50 1023000 207,600 20.3 408,600 39.9 648,200 63.4 907,200 88.7
- ร้อยละ 75 1023000 210,100 20.5 415,100 40.6 658,700 64.4 921,700 90.1
- ร้อยละ 100 1023000 212,600 20.8 421,600 41.2 669,200 65.4 936,200 91.5
2.2 การกำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายดังกล่าวได้มีการพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1) โครงสร้างงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 มีสัดส่วนของงบประมาณรายจ่ายประจำ
และรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ต่อวงเงินงบประมาณสูงถึงร้อยละ 78.03 ของวงเงินงบประมาณรวม โดยในจำนวนนี้
เป็นรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ ดอกเบี้ยค่าธรรมเนียม 116,174 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 11.36 ของวงเงิน
งบประมาณเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 จำนวน 17,256 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.44 ซึ่งโดยปกติรายจ่ายประเภทดังกล่าว
จะสามารถเบิกจ่ายได้ทั้งจำนวนภายในปีงบประมาณ ซึ่งจะส่งผลให้อัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 ในส่วนนี้สูงกว่าปีงบประมาณก่อน ๆ
2) มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2544 เห็นชอบให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเร่งรัด
การใช้จ่ายเงินงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 โดยให้กำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อเร่งรัดการใช้จ่ายเงินงบประมาณ
ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ และหากส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจใดไม่สามารถก่อหนี้ผูกพันให้เสร็จสิ้นได้ภายในไตรมาสที่ 2
ของปีงบประมาณ (ภายในเดือนมีนาคม 2545) ให้ใช้มาตรการงบประมาณในการปรับลดงบประมาณ และ/หรือโอนเปลี่ยนแปลงรายการ
งบประมาณไปตั้งจ่ายสำหรับรายการที่มีความพร้อมและมีความจำเป็นเร่งด่วนอื่น ๆ ต่อไป ซึ่งน่าจะทำให้กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างและการ
ใช้จ่ายเงินรวดเร็วขึ้น
3) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 คาดว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะสามารถใช้จ่ายเงิน
งบประมาณตามโครงการถ่ายโอนงาน/กิจกรรมบริการสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้เร็วขึ้นและมีอัตราการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
เนื่องจากสำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันพิจารณาปรับปรุงระเบียบวิธีปฏิบัติในการ
จัดซื้อจัดจ้าง การเบิกจ่ายเงิน และการบริหารงบประมาณให้มีความสะดวกคล่องตัวมากยิ่งขึ้นแล้ว รวมทั้งได้ร่วมกันกำหนดปฏิทินการปฏิบัติงาน
ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ ตลอดจนตั้งคณะกรรมการในระดับจังหวัดเพื่อตรวจสอบ ติดตาม และกำกับดูแลผลการใช้จ่ายเงิน โดยมุ่งที่ผลสำเร็จของ
งานและการใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
2.3 กระทรวงการคลังได้มอบหมายให้กรมบัญชีกลางติดตามเร่งรัดการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. 2545 เช่นเดียวกับปีงบประมาณก่อน ๆ โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 จะให้ความสำคัญกับการ
ติดตามเร่งรัดงาน/โครงการที่ยังไม่มีรูปแบบรายการเป็นลำดับแรก ๆ เพื่อให้สามารถก่อหนี้ผูกพันและเบิกจ่ายเงินให้ได้ตามเป้าหมาย
โดยใช้เครือข่ายของกรมบัญชีกลาง คือ สำนักงานคลังจังหวัด และสำนักงานคลังจังหวัด ณ อำเภอทั่วประเทศ เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์
ผลการติดตามเร่งรัดการใช้จ่ายเงินของส่วนราชการและรายงานภาพรวมการใช้จ่ายเงิน
รวมทั้งปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ที่จะส่งผลให้การเบิกจ่ายไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เสนอคณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเจ้าสังกัด
เพื่อทราบและเร่งรัดให้ส่วนราชการเจ้าของงบประมาณรับผิดชอบแก้ไขปัญหาอุปสรรค และเร่งรัดดำเนินการให้เป็นไปตาม
เป้าหมายต่อไป ทั้งนี้ได้กำหนดระยะเวลาในการรายงานไว้ ดังนี้
1) รายงานภาพรวมการเบิกจ่ายเงินและปัญหาอุปสรรค รวมทั้งเสนอมาตรการที่ควรดำเนินการ
ให้คณะรัฐมนตรีทราบเป็นประจำทุกเดือนในไตรมาสที่ 1 และ 2 และทุก 2 สัปดาห์ ในช่วงไตรมาสที่ 3 และ 4
2) รายงานผลการเบิกจ่ายเงินเป็นรายส่วนราชการและรายโครงการให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดทราบเป็น
ประจำทุกเดือน เพื่อประโยชน์ในการเร่งรัดการดำเนินงานแก้ไขปัญหาอุปสรรคและเร่งรัดการเบิกจ่ายให้เป็นไปตาม
เป้าหมายที่กำหนด
3) รายงานสรุปผลการเบิกจ่ายและสรุปผลการดำเนินการตามมาตรการต่าง ๆ รวมทั้งปัญหา
อุปสรรคและแนวทางแก้ไขในภาพรวม เสนอคณะรัฐมนตรีเป็นรายไตรมาส
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ก.ย.44--
-สส-
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสรุปผลการใช้จ่ายเงินและประมาณการผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ
ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 และให้ความเห็นชอบการรกำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายเงิน
งบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
1. รับทราบการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544
1.1 ผลการเบิกจ่าย ณ วันที่ 21 กันยายน 2544 มีการเบิกจ่ายแล้วทั้งสิ้นจำนวน 769,758 ล้านบาท
หรือร้อยละ 84.59 ของวงเงินงบประมาณ เป็นรายจ่ายประจำ 632,727 ล้านบาท หรือร้อยละ 91.44 ของวงเงิน
งบประมาณรายจ่ายประจำ และรายจ่ายลงทุนจำนวน 137,031 ล้านบาท หรือร้อยละ 62.85 ของวงเงินงบประมาณ
รายจ่ายลงทุน โดยในส่วนของโครงการถ่ายโอนงาน/กิจกรรมบริการสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถ
เบิกจ่ายได้จำนวน 19,618 ล้านบาท หรือร้อยละ 60.58 ของงบประมาณรายจ่ายโครงการถ่ายโอนฯ (32,384 ล้านบาท)
เป็นรายจ่ายลงทุน 7,986 ล้านบาท หรือร้อยละ 38.96 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนของงบประมาณโครงการ
ถ่ายโอนฯ
1.2 จากการติดตามผลการใช้จ่ายงบประมาณของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ คาดว่าจะมีการ
เบิกจ่ายเงินในช่วงสัปดาห์สุดท้ายอีกประมาณ 42,242 ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมกับรายจ่ายตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงวันที่
21 กันยายน 2544 แล้วจะเป็นรายจ่ายรวมทั้งสิ้นประมาณ 812,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 89.23 ของวงเงินงบประมาณ
ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดไว้ในอัตราร้อยละ 90 ของวงเงินงบประมาณ ทั้งนี้คาดว่าจะมีการกันเงินไว้เบิกเหลื่อม
ปีประมาณร้อยละ 9.34 ของวงเงินงบประมาณ หรือประมาณ 85,000 ล้านบาท รวมวงเงินรายจ่ายภายในปี
งบประมาณและเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีจำนวนประมาณ 897,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 98.57 ของวงเงินงบประมาณ
1.3 สาเหตุที่ทำให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ล่าช้าและต้องติดตามเร่งรัด
มากกว่าปีก่อน ๆ เกิดจาก
1) ความไม่พร้อมของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเกี่ยวกับการสำรวจออกแบบ และการขอใช้พื้นที่
ดำเนินการ รวมทั้งโครงการก่อสร้างหลายโครงการมีปัญหาเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดิน ทำให้ต้องเสียเวลาในการดำเนินการ
ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นประจำในช่วงหลายปีงบประมาณที่ผ่านมา ประกอบกับหลายส่วนราชการมี
โครงการที่เป็นงบผูกพัน หรือโครงการที่ได้รับอนุมัติให้กันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี ซึ่งจำเป็นต้องเบิกจ่ายตามงวดงาน และต้อง
เบิกจ่ายเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีให้เสร็จสิ้นก่อนจึงจะเบิกจ่ายเงินงบประมาณปีปัจจุบันได้ ทำให้การใช้เงินงบประมาณปีปัจจุบันล่าช้า
และหลายโครงการต้องขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีในปีงบประมาณถัดไปอีก
2) มาตรการปรับลดราคากลางสิ่งก่อสร้างของหน่วยงานภาครัฐลงร้อยละ 10 ในช่วงต้นไตรมาสที่ 2
ของปีงบประมาณ มีผลทำให้กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างชะงักไปประมาณ 2 เดือน และมาตรการปรับลดงบประมาณในช่วงเดือนมีนาคมและเมษายน
2544 เพื่อจัดสรรคืนในระยะต่อมามีผลกระทบทำให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจต้องชะลอ
การดำเนินการหลายโครงการ
3) การถ่ายโอนงาน/กิจกรรมบริการสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีการจัดสรร
เงินงบประมาณให้ 32,384 ล้านบาท เพิ่มจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 ถึงจำนวน 28,541 ล้านบาท ในขณะที่องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดกลางและเล็กส่วนใหญ่ยังไม่มีความพร้อมทั้งบุคลากรและเครื่องมืออุปกรณ์ ทำให้การดำเนินการล่าช้า
1.4 จากสาเหตุต่าง ๆ ดังกล่าว กระทรวงการคลังได้เสนอมาตรการแก้ไขปัญหาให้คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ
เพื่อให้การเบิกจ่ายรวดเร็วยิ่งขึ้น ดังนี้
1) ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ (ที่ได้รับงบประมาณรายจ่ายลงทุน) กำหนดเป้าหมายอัตราการ
เบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณก่อนไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 โดยจะนำผลการเบิกจ่ายเป็นส่วนหนึ่งของตัวชี้วัด
ผลการดำเนินการด้วย โดยคาดว่าหากส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจสามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมาย
ดังกล่าวจะส่งผลให้อัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนในภาพรวมเป็นร้อยละ 70 ของวงเงินงบประมาณ
รายจ่ายลงทุน อย่างไรก็ดี จากการติดตามผลการเบิกจ่ายคาดว่าส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่ได้รับจัดสรรเงินงบประมาณ
รายจ่ายลงทุนเกิน 1,000 ล้านบาท จำนวน 32 แห่งจะสามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายที่กำหนด 8 แห่ง หรือร้อยละ 25 สำหรับ
ผลการเบิกจ่ายจริง ณ วันสิ้นปีงบประมาณเปรียบเทียบกับเป้าหมายเป็นรายส่วนราชการ กระทรวงการคลัง
จะรายงานให้ทราบต่อไป
2) กระทรวงมหาดไทยมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเร่งรัดการดำเนินงานของส่วนราชการใน
ภูมิภาค รวมทั้งปรับปรุงแก้ไขระเบียบกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการขออนุมัติเบิกจ่ายเงินขององค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นให้สามารถก่อหนี้ผูกพันและเบิกจ่ายได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งกรมบัญชีกลางได้มอบหมายให้สำนักงานคลังทุกแห่งรายงานผลการเบิกจ่าย
เงินและเร่งรัดการดำเนินงานของส่วนราชการ รวมทั้งอำนวยความสะดวกในการเบิกจ่ายเงินอย่างเต็มที่
3) ให้กระทรวงการคลังกำหนดมาตรการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีที่เข้มงวด โดยเฉพาะโครงการที่ไม่
สามารถก่อหนี้ผูกพันได้ภายในปีงบประมาณ และเข้มงวดเกี่ยวกับการอนุญาตให้ขยายเวลาเบิกจ่ายเงิน ซึ่งกรมบัญชีกลางได้เวียนหนังสือแจ้ง
ส่วนราชการทราบล่วงหน้าแล้ว รวมทั้งได้เสนอข้อมูลผลการเบิกจ่ายเงินของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
ให้คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 ใช้เป็นข้อมูล
ประกอบการพิจารณาเพื่อให้จัดสรรงบประมาณสอดคล้องกับความสามารถในการใช้จ่ายเงินของส่วนราชการ
4) ให้สำนักงบประมาณทบทวนหลักเกณฑ์การจัดสรรเงินงบประมาณให้สอดคล้องกับความสามารถและความ
พร้อมในการดำเนินการและการใช้จ่ายเงินของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
นอกจากนั้น คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจยังได้เสนอมาตรการ
เพิ่มเติมเพื่อให้ส่วนราชการสามารถดำเนินโครงการและใช้จ่ายเงินในปีงบประมณ พ.ศ. 2544 ได้มากที่สุด
โดยให้สำนักงบประมาณขยายเวลาในการขอเปลี่ยนแปลงรายการที่อาจมีปัญหาเป็นรายการที่มีความพร้อมมากกว่าได้จนถึง
สิ้นเดือนสิงหาคม รวมทั้งยังได้เสนอมาตรการสำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 โดยให้ส่วนราชการเร่งก่อหนี้ให้แล้วเสร็จ
ภายในไตรมาสที่ 2 และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2546 ให้จัดสรรงบประมาณเฉพาะโครงการที่มีความพร้อม คือมีรูปแบบ
รายการพร้อมจะดำเนินการแล้วเท่านั้น ซึ่งจะมีผลให้การใช้จ่ายเงินในปีต่อไปเป็นไปตามเป้าหมาย
1.5 สำหรับภาพรวมการเบิกจ่ายเงินของภาครัฐซึ่งรวมการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ เงินของรัฐวิสาหกิจ
เงินกู้ต่างประเทศ และเงินนอกงบประมาณจนถึงสิ้นเดือนกันยายนคาดว่าจะเบิกจ่ายรวมกันประมาณ 2,348,301
ล้านบาท โดยเบิกจ่ายงบประมาณ 812,000 ล้านบาท งบของรัฐวิสาหกิจ 1,277,902 ล้านบาท (ไม่รวมการเบิกจ่ายจากเงินกู้ต่างประเทศ
20,664 ล้านบาท และเงินงบประมาณ 2,075 ล้านบาท) เงินกู้ต่างประเทศ 122,162 ล้านบาท และเงินนอกงบประมาณ 136,237 ล้านบาท
2. ให้ความเห็นชอบเป้าหมายการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545
2.1 กระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง) ร่วมกับสำนักงบประมาณได้ร่วมกันพิจารณาแล้วเห็นว่าเพื่อให้การใช้จ่ายเงิน
งบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับนโยบายของ
รัฐบาล จึงเห็นควรกำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 ไว้ในอัตราร้อยละ
91 ของวงเงินงบประมาณรายจ่าย 965,000 ล้านบาท โดยไม่รวมงบประมาณรายจ่ายงบกลาง 58,000 ล้านบาท ที่รัฐบาล
ตั้งไว้เพื่อใช้จ่ายในงาน/โครงการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งนี้หากรัฐบาลใช้จ่ายเงินงบประมาณงบกลางรายการดังกล่าวจำนวนเท่าใด อัตรา
การเบิกจ่ายเมื่อเปรียบเทียบกับวงเงินงบประมาณ 1,023,000 ล้านบาท จะผันแปรไปตามอัตราการ
เบิกจ่ายเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจดังกล่าว
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังเห็นควรกำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2545
เป็นรายไตรมาสด้วย ดังนี้
วงเงิน ประมาณการการเบิกจ่ายเงินงบประมาณสะสม
รายการ งบประมาณ ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 2 ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสที่ 4
จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ
ไม่รวมงบกลาง 965,000 202,600 21 395,600 41 627,200 65 878,200 91
58,000 ล้านบาท
รวมงบกลาง 58,000
ล้านบาท กรณีเบิกจ่ายได้
- ร้อยละ 50 1023000 207,600 20.3 408,600 39.9 648,200 63.4 907,200 88.7
- ร้อยละ 75 1023000 210,100 20.5 415,100 40.6 658,700 64.4 921,700 90.1
- ร้อยละ 100 1023000 212,600 20.8 421,600 41.2 669,200 65.4 936,200 91.5
2.2 การกำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายดังกล่าวได้มีการพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1) โครงสร้างงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 มีสัดส่วนของงบประมาณรายจ่ายประจำ
และรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ต่อวงเงินงบประมาณสูงถึงร้อยละ 78.03 ของวงเงินงบประมาณรวม โดยในจำนวนนี้
เป็นรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ ดอกเบี้ยค่าธรรมเนียม 116,174 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 11.36 ของวงเงิน
งบประมาณเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 จำนวน 17,256 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.44 ซึ่งโดยปกติรายจ่ายประเภทดังกล่าว
จะสามารถเบิกจ่ายได้ทั้งจำนวนภายในปีงบประมาณ ซึ่งจะส่งผลให้อัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 ในส่วนนี้สูงกว่าปีงบประมาณก่อน ๆ
2) มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2544 เห็นชอบให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเร่งรัด
การใช้จ่ายเงินงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 โดยให้กำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อเร่งรัดการใช้จ่ายเงินงบประมาณ
ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ และหากส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจใดไม่สามารถก่อหนี้ผูกพันให้เสร็จสิ้นได้ภายในไตรมาสที่ 2
ของปีงบประมาณ (ภายในเดือนมีนาคม 2545) ให้ใช้มาตรการงบประมาณในการปรับลดงบประมาณ และ/หรือโอนเปลี่ยนแปลงรายการ
งบประมาณไปตั้งจ่ายสำหรับรายการที่มีความพร้อมและมีความจำเป็นเร่งด่วนอื่น ๆ ต่อไป ซึ่งน่าจะทำให้กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างและการ
ใช้จ่ายเงินรวดเร็วขึ้น
3) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 คาดว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะสามารถใช้จ่ายเงิน
งบประมาณตามโครงการถ่ายโอนงาน/กิจกรรมบริการสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้เร็วขึ้นและมีอัตราการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
เนื่องจากสำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันพิจารณาปรับปรุงระเบียบวิธีปฏิบัติในการ
จัดซื้อจัดจ้าง การเบิกจ่ายเงิน และการบริหารงบประมาณให้มีความสะดวกคล่องตัวมากยิ่งขึ้นแล้ว รวมทั้งได้ร่วมกันกำหนดปฏิทินการปฏิบัติงาน
ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ ตลอดจนตั้งคณะกรรมการในระดับจังหวัดเพื่อตรวจสอบ ติดตาม และกำกับดูแลผลการใช้จ่ายเงิน โดยมุ่งที่ผลสำเร็จของ
งานและการใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
2.3 กระทรวงการคลังได้มอบหมายให้กรมบัญชีกลางติดตามเร่งรัดการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. 2545 เช่นเดียวกับปีงบประมาณก่อน ๆ โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 จะให้ความสำคัญกับการ
ติดตามเร่งรัดงาน/โครงการที่ยังไม่มีรูปแบบรายการเป็นลำดับแรก ๆ เพื่อให้สามารถก่อหนี้ผูกพันและเบิกจ่ายเงินให้ได้ตามเป้าหมาย
โดยใช้เครือข่ายของกรมบัญชีกลาง คือ สำนักงานคลังจังหวัด และสำนักงานคลังจังหวัด ณ อำเภอทั่วประเทศ เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์
ผลการติดตามเร่งรัดการใช้จ่ายเงินของส่วนราชการและรายงานภาพรวมการใช้จ่ายเงิน
รวมทั้งปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ที่จะส่งผลให้การเบิกจ่ายไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เสนอคณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเจ้าสังกัด
เพื่อทราบและเร่งรัดให้ส่วนราชการเจ้าของงบประมาณรับผิดชอบแก้ไขปัญหาอุปสรรค และเร่งรัดดำเนินการให้เป็นไปตาม
เป้าหมายต่อไป ทั้งนี้ได้กำหนดระยะเวลาในการรายงานไว้ ดังนี้
1) รายงานภาพรวมการเบิกจ่ายเงินและปัญหาอุปสรรค รวมทั้งเสนอมาตรการที่ควรดำเนินการ
ให้คณะรัฐมนตรีทราบเป็นประจำทุกเดือนในไตรมาสที่ 1 และ 2 และทุก 2 สัปดาห์ ในช่วงไตรมาสที่ 3 และ 4
2) รายงานผลการเบิกจ่ายเงินเป็นรายส่วนราชการและรายโครงการให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดทราบเป็น
ประจำทุกเดือน เพื่อประโยชน์ในการเร่งรัดการดำเนินงานแก้ไขปัญหาอุปสรรคและเร่งรัดการเบิกจ่ายให้เป็นไปตาม
เป้าหมายที่กำหนด
3) รายงานสรุปผลการเบิกจ่ายและสรุปผลการดำเนินการตามมาตรการต่าง ๆ รวมทั้งปัญหา
อุปสรรคและแนวทางแก้ไขในภาพรวม เสนอคณะรัฐมนตรีเป็นรายไตรมาส
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ก.ย.44--
-สส-