แท็ก
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ร่างพระราชบัญญัติ
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้นำร่างพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสนอ ส่งคืนสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรตามข้อบังคับในวันที่ 23 มิถุนายน 2544 และแจ้งความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป
ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วมีความเห็น ดังนี้
1. ตามร่างมาตรา 3 (เพิ่มเติมวรรคสองของมาตรา 17) เป็นหลักการที่ซ้ำซ้อนกับมาตรา 13 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 กล่าวคือ กำหนดให้อธิบดีอาจอนุญาตให้ส่วนราชการและองค์การของรัฐเข้าใช้พื้นที่ในป่าสงวนแห่งชาติเพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติงานหรือเพื่อประโยชน์ของรัฐอย่างอื่นโดยการอนุมัติของรัฐมนตรี และวรรคสามของมาตรา 13 ทวิ ได้กหนดให้การเข้าใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติของส่วนราชการและองค์การของรัฐดังกล่าวต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีด้วย
2. นอกจากนี้ตามร่างมาตรา 3 ดังกล่าวได้กำหนดข้อจำกัดให้อนุญาตได้เฉพาะเขตป่าเสื่อมโทรมตามมาตรา 16 ทวิ นั้น จะเป็นอุปสรรคต่อการที่ส่วนราชการและองค์การของรัฐจะเข้าใช้พื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติบริเวณที่ไม่เป็นป่าเสื่อมโทรมในกรณีจำเป็นเพื่อปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย เช่น การปักเสาไฟฟ้า หรือการวางท่อก๊าซเป็นต้น ซึ่งอาจส่งผลให้การปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการหรือองค์การของรัฐไม่บรรลุวัตถุประสงค์ ด้วยเหตุนี้มาตรา 13 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันจึงไม่ได้กำหนดข้อจำกัดไว้ว่าจะอนุญาตให้เข้าใช้พื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติได้เฉพาะในเขตป่าเสื่อมโทรมเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่รัฐบาลเห็นสมควรกำหนดมาตรการที่รัดกุมขึ้นเพื่ออนุรักษ์สภาพความสมบูรณ์ของป่าไม้ ก็อาจมีมติคณะรัฐมนตรีให้การอนุญาตให้ส่วนราชการหรือองค์การของรัฐเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติตามมาตรา 13 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 กระทำได้เฉพาะในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมเท่านั้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 19 มิ.ย.44--
-สส-
ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วมีความเห็น ดังนี้
1. ตามร่างมาตรา 3 (เพิ่มเติมวรรคสองของมาตรา 17) เป็นหลักการที่ซ้ำซ้อนกับมาตรา 13 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 กล่าวคือ กำหนดให้อธิบดีอาจอนุญาตให้ส่วนราชการและองค์การของรัฐเข้าใช้พื้นที่ในป่าสงวนแห่งชาติเพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติงานหรือเพื่อประโยชน์ของรัฐอย่างอื่นโดยการอนุมัติของรัฐมนตรี และวรรคสามของมาตรา 13 ทวิ ได้กหนดให้การเข้าใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติของส่วนราชการและองค์การของรัฐดังกล่าวต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีด้วย
2. นอกจากนี้ตามร่างมาตรา 3 ดังกล่าวได้กำหนดข้อจำกัดให้อนุญาตได้เฉพาะเขตป่าเสื่อมโทรมตามมาตรา 16 ทวิ นั้น จะเป็นอุปสรรคต่อการที่ส่วนราชการและองค์การของรัฐจะเข้าใช้พื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติบริเวณที่ไม่เป็นป่าเสื่อมโทรมในกรณีจำเป็นเพื่อปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย เช่น การปักเสาไฟฟ้า หรือการวางท่อก๊าซเป็นต้น ซึ่งอาจส่งผลให้การปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการหรือองค์การของรัฐไม่บรรลุวัตถุประสงค์ ด้วยเหตุนี้มาตรา 13 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันจึงไม่ได้กำหนดข้อจำกัดไว้ว่าจะอนุญาตให้เข้าใช้พื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติได้เฉพาะในเขตป่าเสื่อมโทรมเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่รัฐบาลเห็นสมควรกำหนดมาตรการที่รัดกุมขึ้นเพื่ออนุรักษ์สภาพความสมบูรณ์ของป่าไม้ ก็อาจมีมติคณะรัฐมนตรีให้การอนุญาตให้ส่วนราชการหรือองค์การของรัฐเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติตามมาตรา 13 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 กระทำได้เฉพาะในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมเท่านั้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 19 มิ.ย.44--
-สส-