คณะรัฐมนตรีพิจารณามาตรการเรื่องสนับสนุนธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. ให้ความเห็นชอบมาตรการสนับสนุนธุรกิจเงินร่วมลงทุน
2. ให้ความเห็นชอบร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการขอรับและการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทจัดการเงินร่วมลงทุน พ.ศ. ….
ทั้งนี้เป็นผลมาจากการประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาตลาดทุนไทย เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2544 และการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องยุทธศาสตร์การพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เมื่อวันที่ 8-9 มิถุนายน 2544 ซึ่งได้มีการเสนอให้พิจารณากำหนดมาตรการให้การสนับสนุนธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital) เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนแก่ SMEs และเพื่อสนับสนุนให้ SMEs สามารถพัฒนาธุรกิจให้เป็นมาตรฐานสากล และพร้อมที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่อไปได้ ซึ่งมาตรการนี้นอกจากจะเป็นการสนับสนุน SMEs แล้วยังเป็นการเพิ่มอุปทานในตลาดหลักทรัพย์อันจะช่วยฟื้นฟูและพัฒนาตลาดทุนได้อีกทางหนึ่งด้วย
มาตรการให้การสนับสนุนธุรกิจเงินร่วมลงทุน มีดังนี้
รูปแบบและการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี
1. หลักการ สนับสนุนการประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุนและผู้ที่ลงทุนในธุรกิจนี้โดยการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างมีเงื่อนไข
2. สิทธิประโยชน์ทางภาษี ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ธุรกิจเงินร่วมลงทุนและผู้ที่ลงทุนในธุรกิจดังกล่าวดังนี้
2.1 ธุรกิจเงินร่วมลงทุน : ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรายได้ที่เป็นเงินปันผล (Dividend) และผลประโยชน์จากการโอนหุ้น (Capital Gain) ที่ธุรกิจเงินร่วมลงทุนได้รับ
2.2 ผู้ลงทุน : ผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลทั้งผู้ลงทุนไทยและต่างประเทศ จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินปันผลที่ได้รับจากธุรกิจเงินร่วมลงทุน และผลประโยชน์จากการโอนหุ้นในธุรกิจดังกล่าว
3. เงื่อนไขการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ธุรกิจเงินร่วมลงทุน และผู้ลงทุนที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังนี้
3.1 ธุรกิจเงินร่วมลงทุน
1) เป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ที่มีทุนจดทะเบียนในประเทศไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาท โดยต้องเรียกชำระทุนจดทะเบียนครั้งแรกกึ่งหนึ่ง และเรียกชำระทุนจดทะเบียนส่วนที่เหลือภายใน 3 ปี นับแต่วันที่จดทะเบียน โดยบริษัทดังกล่าวจะต้องได้รับการขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักงาน ก.ล.ต. ภายใน 3 ปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร สำหรับนิติบุคคลดังกล่าวมีผลบังคับใช้
2) ในช่วง 4 ปี แรกจะต้องลงทุนในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีสินทรัพย์ถาวร (ไม่นับรวมที่ดิน) ไม่เกิน 200 ล้านบาท และมีการจ้างงานไม่เกิน 200 คน ในสัดส่วนต่อทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วอย่างน้อย ดังนี้
(1) ณ สิ้นรอบระยะเวลาบัญชีแรก ลงทุนอย่างน้อยร้อยละ 20 แต่หากมีเหตุอันควรก็สามารถผ่อนผันได้
(2) ณ สิ้นรอบระยะเวลาบัญชีที่ 2 ลงทุนอย่างน้อยร้อยละ 40
(3) ณ สิ้นรอบระยะเวลาบัญชีที่ 3 ลงทุนอย่างน้อยร้อยละ 60
(4) ณ สิ้นรอบระยะเวลาบัญชีที่ 4 ลงทุนอย่างน้อยร้อยละ 80 และต้องคงสัดส่วนการลงทุนดังกล่าวจนครบกำหนดระยะเวลา 7 ปี
3) จะต้องลงทุนในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 7 ปี ต่อเนื่องกัน แต่ระยะเวลาดังกล่าวอาจลดลงเป็นไม่น้อยกว่า 5 ปี หากธุรกิจเงินร่วมลงทุนสามารถนำธุรกิจที่ตนร่วมลงทุนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (MAI) ได้
4) บริษัทดังกล่าวต้องมีการมอบหมายให้ผู้ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และหลักทรัพย์เป็นผู้จัดการเงินร่วมลงทุนในการประกอบกิจการ
3.2 ผู้ลงทุน ผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดาทั้งผู้ลงทุนไทยและต่างประเทศจะต้องลงทุนในธุรกิจเงินร่วมลงทุนอย่างน้อยรายละ 10 ล้านบาท
การดำเนินการเพื่อรองรับมาตรการ
4. ในการดำเนินมาตรการดังกล่าวนั้นจำเป็นจะต้องมีการออกพระราชกฤษฎีกาและกฎกระทรวงเพื่อยกเว้นภาษีดังกล่าว และออกประกาศกระทรวงการคลังและกฎกระทรวงเพื่อรองรับการประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุนและการกำกับดูแลนิติบุคคลที่รับจัดการเงินร่วมลงทุน ดังนี้
4.1 กฎหมายเพื่อยกเว้นภาษีแก่ธุรกิจเงินร่วมลงทุนและผู้ลงทุน
1) ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฏากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เพื่อยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนี้
(1) เงินได้พึงประเมินที่เป็นเงินปันผลหรือผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้นเฉพาะที่ได้จากการประกอบกิจการธุรกิจเงินร่วมลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในข้อ 3.1
(2) เงินได้พึงประเมินที่เป็นเงินปันผลที่ได้จากบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่ประกอบกิจการธุรกิจเงินร่วมลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ และผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้นของบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดดังกล่าว
2) ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฏากร ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนี้
(1) เงินปันผลที่ได้จากบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่ประกอบกิจการธุรกิจร่วมลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(2) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้นของบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่ประกอบกิจการธุรกิจเงินร่วมลงทุน ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ทั้งนี้ กฎหมายทั้งสองฉบับที่กล่าวได้เสนอรวมไว้กับมาตรการทางภาษีเพื่อสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
สำหรับกฎหมายเพื่อรองรับการประกอบธุรกิจและการกำกับดูแลธุรกิจเงินร่วมลงทุน จะมี 2 เรื่อง คือ
1) ร่างประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยการกำหนดกิจการการจัดการเงินร่วมลงทุนให้เป็นธุรกิจหลักทรัพย์ : เพื่อกำหนดให้การประกอบกิจการการจัดการเงินร่วมลงทุนเป็นธุรกิจหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นการออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 4 (7) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยมีสาระสำคัญคือ กำหนดความหมายของ "การจัดการเงินร่วมลงทุน" ว่าคือการรวบรวมเงินจากผู้ลงทุนประเภทสถาบันอย่างเฉพาะเจาะจง เพื่อไปจัดตั้งนิติบุคคลร่วมลงทุน และขอขึ้นทะเบียนนิติบุคคลร่วมลงทุนดังกล่าวไว้กับสำนักงาน ก.ล.ต. และบริหารเงินของนิติบุคคลร่วมลงทุนนั้น โดยอาจส่งบุคลากรเข้าร่วมบริหารในกิจการที่นิติบุคคลร่วมลงทุนนำเงินไปลงทุน
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าวแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการนำเสนอเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา
2) ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการขอรับและการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทจัดการเงินร่วมลงทุน พ.ศ. …. : เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไข วิธีการและค่าธรรมเนียมการขอรับใบอนุญาตการจัดการเงินร่วมลงทุน โดยมีสาระสำคัญคือ กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับใบอนุญาตดังกล่าวว่าจะต้องเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นใหม่เพื่อประกอบธุรกิจหลักทรัพย์เฉพาะประเภทการจัดการเงินร่วมลงทุน และมีความสามารถในการประกอบกิจการ โดยพิจารณาจากระบบบริหารงานและความพร้อมด้านบุคลากร และกำหนดค่าคำขอรับใบอนุญาต คำขอละ 10,000 บาท ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ใบละ 10,000 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ก.ย.44--
-สส-
1. ให้ความเห็นชอบมาตรการสนับสนุนธุรกิจเงินร่วมลงทุน
2. ให้ความเห็นชอบร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการขอรับและการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทจัดการเงินร่วมลงทุน พ.ศ. ….
ทั้งนี้เป็นผลมาจากการประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาตลาดทุนไทย เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2544 และการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องยุทธศาสตร์การพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เมื่อวันที่ 8-9 มิถุนายน 2544 ซึ่งได้มีการเสนอให้พิจารณากำหนดมาตรการให้การสนับสนุนธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital) เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนแก่ SMEs และเพื่อสนับสนุนให้ SMEs สามารถพัฒนาธุรกิจให้เป็นมาตรฐานสากล และพร้อมที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่อไปได้ ซึ่งมาตรการนี้นอกจากจะเป็นการสนับสนุน SMEs แล้วยังเป็นการเพิ่มอุปทานในตลาดหลักทรัพย์อันจะช่วยฟื้นฟูและพัฒนาตลาดทุนได้อีกทางหนึ่งด้วย
มาตรการให้การสนับสนุนธุรกิจเงินร่วมลงทุน มีดังนี้
รูปแบบและการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี
1. หลักการ สนับสนุนการประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุนและผู้ที่ลงทุนในธุรกิจนี้โดยการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างมีเงื่อนไข
2. สิทธิประโยชน์ทางภาษี ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ธุรกิจเงินร่วมลงทุนและผู้ที่ลงทุนในธุรกิจดังกล่าวดังนี้
2.1 ธุรกิจเงินร่วมลงทุน : ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรายได้ที่เป็นเงินปันผล (Dividend) และผลประโยชน์จากการโอนหุ้น (Capital Gain) ที่ธุรกิจเงินร่วมลงทุนได้รับ
2.2 ผู้ลงทุน : ผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลทั้งผู้ลงทุนไทยและต่างประเทศ จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินปันผลที่ได้รับจากธุรกิจเงินร่วมลงทุน และผลประโยชน์จากการโอนหุ้นในธุรกิจดังกล่าว
3. เงื่อนไขการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ธุรกิจเงินร่วมลงทุน และผู้ลงทุนที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังนี้
3.1 ธุรกิจเงินร่วมลงทุน
1) เป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ที่มีทุนจดทะเบียนในประเทศไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาท โดยต้องเรียกชำระทุนจดทะเบียนครั้งแรกกึ่งหนึ่ง และเรียกชำระทุนจดทะเบียนส่วนที่เหลือภายใน 3 ปี นับแต่วันที่จดทะเบียน โดยบริษัทดังกล่าวจะต้องได้รับการขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักงาน ก.ล.ต. ภายใน 3 ปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร สำหรับนิติบุคคลดังกล่าวมีผลบังคับใช้
2) ในช่วง 4 ปี แรกจะต้องลงทุนในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีสินทรัพย์ถาวร (ไม่นับรวมที่ดิน) ไม่เกิน 200 ล้านบาท และมีการจ้างงานไม่เกิน 200 คน ในสัดส่วนต่อทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วอย่างน้อย ดังนี้
(1) ณ สิ้นรอบระยะเวลาบัญชีแรก ลงทุนอย่างน้อยร้อยละ 20 แต่หากมีเหตุอันควรก็สามารถผ่อนผันได้
(2) ณ สิ้นรอบระยะเวลาบัญชีที่ 2 ลงทุนอย่างน้อยร้อยละ 40
(3) ณ สิ้นรอบระยะเวลาบัญชีที่ 3 ลงทุนอย่างน้อยร้อยละ 60
(4) ณ สิ้นรอบระยะเวลาบัญชีที่ 4 ลงทุนอย่างน้อยร้อยละ 80 และต้องคงสัดส่วนการลงทุนดังกล่าวจนครบกำหนดระยะเวลา 7 ปี
3) จะต้องลงทุนในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 7 ปี ต่อเนื่องกัน แต่ระยะเวลาดังกล่าวอาจลดลงเป็นไม่น้อยกว่า 5 ปี หากธุรกิจเงินร่วมลงทุนสามารถนำธุรกิจที่ตนร่วมลงทุนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (MAI) ได้
4) บริษัทดังกล่าวต้องมีการมอบหมายให้ผู้ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และหลักทรัพย์เป็นผู้จัดการเงินร่วมลงทุนในการประกอบกิจการ
3.2 ผู้ลงทุน ผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดาทั้งผู้ลงทุนไทยและต่างประเทศจะต้องลงทุนในธุรกิจเงินร่วมลงทุนอย่างน้อยรายละ 10 ล้านบาท
การดำเนินการเพื่อรองรับมาตรการ
4. ในการดำเนินมาตรการดังกล่าวนั้นจำเป็นจะต้องมีการออกพระราชกฤษฎีกาและกฎกระทรวงเพื่อยกเว้นภาษีดังกล่าว และออกประกาศกระทรวงการคลังและกฎกระทรวงเพื่อรองรับการประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุนและการกำกับดูแลนิติบุคคลที่รับจัดการเงินร่วมลงทุน ดังนี้
4.1 กฎหมายเพื่อยกเว้นภาษีแก่ธุรกิจเงินร่วมลงทุนและผู้ลงทุน
1) ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฏากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เพื่อยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนี้
(1) เงินได้พึงประเมินที่เป็นเงินปันผลหรือผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้นเฉพาะที่ได้จากการประกอบกิจการธุรกิจเงินร่วมลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในข้อ 3.1
(2) เงินได้พึงประเมินที่เป็นเงินปันผลที่ได้จากบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่ประกอบกิจการธุรกิจเงินร่วมลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ และผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้นของบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดดังกล่าว
2) ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฏากร ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนี้
(1) เงินปันผลที่ได้จากบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่ประกอบกิจการธุรกิจร่วมลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(2) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้นของบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่ประกอบกิจการธุรกิจเงินร่วมลงทุน ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ทั้งนี้ กฎหมายทั้งสองฉบับที่กล่าวได้เสนอรวมไว้กับมาตรการทางภาษีเพื่อสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
สำหรับกฎหมายเพื่อรองรับการประกอบธุรกิจและการกำกับดูแลธุรกิจเงินร่วมลงทุน จะมี 2 เรื่อง คือ
1) ร่างประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยการกำหนดกิจการการจัดการเงินร่วมลงทุนให้เป็นธุรกิจหลักทรัพย์ : เพื่อกำหนดให้การประกอบกิจการการจัดการเงินร่วมลงทุนเป็นธุรกิจหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นการออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 4 (7) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยมีสาระสำคัญคือ กำหนดความหมายของ "การจัดการเงินร่วมลงทุน" ว่าคือการรวบรวมเงินจากผู้ลงทุนประเภทสถาบันอย่างเฉพาะเจาะจง เพื่อไปจัดตั้งนิติบุคคลร่วมลงทุน และขอขึ้นทะเบียนนิติบุคคลร่วมลงทุนดังกล่าวไว้กับสำนักงาน ก.ล.ต. และบริหารเงินของนิติบุคคลร่วมลงทุนนั้น โดยอาจส่งบุคลากรเข้าร่วมบริหารในกิจการที่นิติบุคคลร่วมลงทุนนำเงินไปลงทุน
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าวแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการนำเสนอเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา
2) ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการขอรับและการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทจัดการเงินร่วมลงทุน พ.ศ. …. : เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไข วิธีการและค่าธรรมเนียมการขอรับใบอนุญาตการจัดการเงินร่วมลงทุน โดยมีสาระสำคัญคือ กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับใบอนุญาตดังกล่าวว่าจะต้องเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นใหม่เพื่อประกอบธุรกิจหลักทรัพย์เฉพาะประเภทการจัดการเงินร่วมลงทุน และมีความสามารถในการประกอบกิจการ โดยพิจารณาจากระบบบริหารงานและความพร้อมด้านบุคลากร และกำหนดค่าคำขอรับใบอนุญาต คำขอละ 10,000 บาท ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ใบละ 10,000 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ก.ย.44--
-สส-