ทำเนียบรัฐบาล--12 เม.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติเห็นชอบแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยชุมชนตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ โดยกำหนดให้ "การขยายเครือข่ายองค์กรชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด" เป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่หน่วยงานภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน ประชาชนและภาคีการพัฒนาจะต้องตระหนักถึงความสำคัญและร่วมมือกัน โดยมอบให้คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดทุกชุดของหน่วยงานต่าง ๆ นำข้อเสนอเชิงนโยบาย ซึ่งประกอบด้วย การปรับแนวคิด และทัศนคติของหน่วยงานภาครัฐ โดยถือว่าประชาชนและชุมชน คือ ศูนย์กลางการแก้ไขปัญหา การคิด การตัดสินใจ และการแก้ไขปัญหาอยู่ที่ประชาชน และชุมชน โดยหน่วยงานภาครัฐเป็นเพียงผู้สนับสนุนและส่งเสริม การดำเนินงานของชุมชน การประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชน/ชุมชน และภาคี การพัฒนา โดยกำหนดบทบาทและภารกิจแต่ละส่วนให้ชัดเจน โดยมอบให้คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดทุกชุดของหน่วยงานต่าง ๆ นำไปเผยแพร่และสนับสนุนการขยายเครือข่ายการดำเนินงานของชุมชนต่อไป และมอบให้สำนักงาน ปปส. และกระทรวงมหาดไทย ประสานงานกับองค์กรพัฒนาเอกชน และองค์กรชุมชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการ ดังนี้
1. กำหนดเป้าหมายในการขยายเครือข่ายองค์กรชุมชนเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในระยะ 5 ปี โดยสนับสนุนให้ชุมชนที่มีความเข้มแข็งและประสบผลสำเร็จในการแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นแกนหลักในการขยายเครือข่ายการดำเนินงานและการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นเวทีถ่ายทอดประสบการณ์และกระบวนการเรียนรู้ระหว่างชุมชนในด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยเน้นการขยายเป้าหมายในพื้นที่ที่มีปัญหารุนแรงก่อน
2. จัดทำ "คู่มือการแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดโดยชุมชน" โดยประมวลรายชื่อชุมชนที่เข้มแข็งและประสบผลสำเร็จในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ทั้งนี้ เพื่อให้นำรูปแบบวิธีการดำเนินงานมาใช้เป็นแนวทางในการขยายเครือข่ายไปยังชุมชนอื่น ๆ และใช้เป็นคู่มือในการสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของชุมชนสำหรับหน่วยงานของภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน และภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง
3. จัดทำ "แผนสนับสนุน ส่งเสริม และประสานงานกับองค์กร ชุมชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด"โดยเน้นความสำคัญเรื่อง
- การส่งเสริมสนับสนุนด้านการดำเนินงาน เช่น การจัดระบบส่งต่อผู้ติดยาเสพติด การบำบัดรักษา ฟื้นฟู งานชุมชน และมวลชนสัมพันธ์ การประสานงานกับวัด โรงเรียนและครอบครัว และการสนับสนุนด้านวัสดุ อุปกรณ์ เป็นต้น
- การสนับสนุนส่งเสริมในเรื่องความรู้วิชาการและการบริหารจัดการ เช่น วิธีการรณรงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกในชุมชน วิธีการแสวงหางบประมาณจากแหล่งต่าง ๆ การจัดทำแผนงาน/โครงการ การจัดองค์กรและการสร้างทีมงาน เป็นต้น
- การส่งเสริมด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในชุมชน โดยประสานหน่วยงานในกระบวนการป้องกันปราบปราม และกระบวนการยุติธรรม ให้มีการดำเนินงานที่ประสานสอดคล้องกันในการนำตัวผู้ผลิต ผู้ค้ามาลงโทษอย่างเฉียบขาด
รวมทั้งมอบให้สำนักงบประมาณพิจารณาดำเนินการปรับปรุงการบริหารงบประมาณให้สนับสนุนการแก้ไขปัญหายาเสพติดขององค์กรชุมชน โดยให้มีการจัดงบประมาณในลักษณะงบอุดหนุนทั่วไปสำหรับงาน/โครงการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมบทบาทชุมชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2544 เป็นต้นไป เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ สามารถจัดสรรงบประมาณสนับสนุนกิจกรรมของชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดได้รวดเร็ว และคล่องตัวยิ่งขึ้น นอกจากนี้ควรติดตามและกำกับดูแลการใช้งบประมาณด้านยาเสพติดของหน่วยงานต่าง ๆ ให้เป็นไปตามกิจกรรมที่กำหนดไว้ โดยมิให้ปรับเปลี่ยนไปใช้ในกิจกรรมอื่น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 10 เมษายน 2543--
คณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติเห็นชอบแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยชุมชนตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ โดยกำหนดให้ "การขยายเครือข่ายองค์กรชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด" เป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่หน่วยงานภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน ประชาชนและภาคีการพัฒนาจะต้องตระหนักถึงความสำคัญและร่วมมือกัน โดยมอบให้คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดทุกชุดของหน่วยงานต่าง ๆ นำข้อเสนอเชิงนโยบาย ซึ่งประกอบด้วย การปรับแนวคิด และทัศนคติของหน่วยงานภาครัฐ โดยถือว่าประชาชนและชุมชน คือ ศูนย์กลางการแก้ไขปัญหา การคิด การตัดสินใจ และการแก้ไขปัญหาอยู่ที่ประชาชน และชุมชน โดยหน่วยงานภาครัฐเป็นเพียงผู้สนับสนุนและส่งเสริม การดำเนินงานของชุมชน การประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชน/ชุมชน และภาคี การพัฒนา โดยกำหนดบทบาทและภารกิจแต่ละส่วนให้ชัดเจน โดยมอบให้คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดทุกชุดของหน่วยงานต่าง ๆ นำไปเผยแพร่และสนับสนุนการขยายเครือข่ายการดำเนินงานของชุมชนต่อไป และมอบให้สำนักงาน ปปส. และกระทรวงมหาดไทย ประสานงานกับองค์กรพัฒนาเอกชน และองค์กรชุมชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการ ดังนี้
1. กำหนดเป้าหมายในการขยายเครือข่ายองค์กรชุมชนเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในระยะ 5 ปี โดยสนับสนุนให้ชุมชนที่มีความเข้มแข็งและประสบผลสำเร็จในการแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นแกนหลักในการขยายเครือข่ายการดำเนินงานและการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นเวทีถ่ายทอดประสบการณ์และกระบวนการเรียนรู้ระหว่างชุมชนในด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยเน้นการขยายเป้าหมายในพื้นที่ที่มีปัญหารุนแรงก่อน
2. จัดทำ "คู่มือการแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดโดยชุมชน" โดยประมวลรายชื่อชุมชนที่เข้มแข็งและประสบผลสำเร็จในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ทั้งนี้ เพื่อให้นำรูปแบบวิธีการดำเนินงานมาใช้เป็นแนวทางในการขยายเครือข่ายไปยังชุมชนอื่น ๆ และใช้เป็นคู่มือในการสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของชุมชนสำหรับหน่วยงานของภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน และภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง
3. จัดทำ "แผนสนับสนุน ส่งเสริม และประสานงานกับองค์กร ชุมชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด"โดยเน้นความสำคัญเรื่อง
- การส่งเสริมสนับสนุนด้านการดำเนินงาน เช่น การจัดระบบส่งต่อผู้ติดยาเสพติด การบำบัดรักษา ฟื้นฟู งานชุมชน และมวลชนสัมพันธ์ การประสานงานกับวัด โรงเรียนและครอบครัว และการสนับสนุนด้านวัสดุ อุปกรณ์ เป็นต้น
- การสนับสนุนส่งเสริมในเรื่องความรู้วิชาการและการบริหารจัดการ เช่น วิธีการรณรงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกในชุมชน วิธีการแสวงหางบประมาณจากแหล่งต่าง ๆ การจัดทำแผนงาน/โครงการ การจัดองค์กรและการสร้างทีมงาน เป็นต้น
- การส่งเสริมด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในชุมชน โดยประสานหน่วยงานในกระบวนการป้องกันปราบปราม และกระบวนการยุติธรรม ให้มีการดำเนินงานที่ประสานสอดคล้องกันในการนำตัวผู้ผลิต ผู้ค้ามาลงโทษอย่างเฉียบขาด
รวมทั้งมอบให้สำนักงบประมาณพิจารณาดำเนินการปรับปรุงการบริหารงบประมาณให้สนับสนุนการแก้ไขปัญหายาเสพติดขององค์กรชุมชน โดยให้มีการจัดงบประมาณในลักษณะงบอุดหนุนทั่วไปสำหรับงาน/โครงการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมบทบาทชุมชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2544 เป็นต้นไป เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ สามารถจัดสรรงบประมาณสนับสนุนกิจกรรมของชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดได้รวดเร็ว และคล่องตัวยิ่งขึ้น นอกจากนี้ควรติดตามและกำกับดูแลการใช้งบประมาณด้านยาเสพติดของหน่วยงานต่าง ๆ ให้เป็นไปตามกิจกรรมที่กำหนดไว้ โดยมิให้ปรับเปลี่ยนไปใช้ในกิจกรรมอื่น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 10 เมษายน 2543--