ทำเนียบรัฐบาล--14 มิ.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีพิจารณาหลักเกณฑ์และแนวทางการจ่ายผลตอบแทนของผู้บริหารสูงสุดตามสัญญาจ้าง ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. เห็นชอบหลักเกณฑ์และแนวทางการจ่ายผลตอบแทนของผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด ดังนี้
1.1 ให้คำนึงถึงสภาพของธุรกิจที่รัฐวิสาหกิจนั้นดำเนินการ ความสามารถในการจ่ายผลตอบแทนขององค์กร ความเสมอภาค ความยุติธรรมทั้งภายในและภายนอกองค์กร
1.2 ค่าตอบแทนรวมทั้งสิ้นของผู้บริหารสูงสุด (อัตราร้อยละ 100) ประกอบด้วย
1.2.1 ค่าตอบแทนคงที่ ให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจที่จะพิจารณา ทั้งนี้ให้จ่ายเป็นรายเดือนในอัตราร้อยละ 70 ของอัตราผลตอบแทนรวม โดยคำนวณจาก
(1) อัตราเงินเดือนไม่เกินขั้นสูงของผู้บริหารระดับสูงของรัฐวิสาหกิจตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแล้ว เนื่องจากในการกำหนดบัญชีโครงสร้างอัตราเงินเดือนดังกล่าว ได้พิจารณาถึงเนื้อเงิน เนื้องาน ฐานะองค์กร ภาระหน้าที่ และความสำคัญในงานของรัฐวิสาหกิจไว้ชั้นหนึ่งแล้ว
(2) ผลประโยชน์ตอบแทนอื่นไม่เกินร้อยละ 70 ของเงินเดือนตามข้อ 1.2.1 (1) โดยกระทรวงการคลังได้พิจารณาถึงเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
- ข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ว่า การพิจารณากำหนดผลตอบแทนให้แก่ผู้บริหารสูงสุดตามสัญญาจ้าง ควรคำนึงถึงสิทธิประโยชน์ที่ผู้นั้นต้องเสียไป เนื่องจากการมาเป็นผู้บริหารด้วย (เงินชดเชยตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน เงินตอบแทนความชอบในการทำงาน การไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินหรือผลประโยชน์ที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ)
- การที่ผู้บริหารสูงสุดสูญเสียสถานะภาพการเป็นพนักงานและไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ในฐานะพนักงาน
- ความมั่นคงในการดำรงตำแหน่งผู้บริหารสูงสุด และเป็นการจูงใจให้เข้ามาทำสัญญาจ้างบริหาร
1.2.2 ค่าตอบแทนผันแปร กำหนดอัตราร้อยละ 30 ของอัตราผลตอบแทนรวม โดยให้จ่ายตามระดับผลงานที่คณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจกำหนดภายหลังการประเมินผลงานในตอนสิ้นปี
สำหรับรัฐวิสาหกิจที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับรัฐวิสาหกิจที่ใช้เกณฑ์เฉลี่ยของธุรกิจ รวมทั้งรัฐวิสาหกิจที่ดี นั้น เนื่องจากในการพิจารณากำหนดอัตราเงินเดือนของผู้บริหารสูงสุดประเภทนี้ในปัจจุบัน ได้กำหนดให้สอดคล้องกับอัตราตลาดอยู่แล้ว และเป็นอำนาจของคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจที่จะพิจารณากำหนด จึงไม่อยู่ในข่ายที่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในข้อ 1.2
1.3 ผู้บริหารสูงสุดจะได้รับเฉพาะโบนัสในฐานะที่เป็นกรรมการของรัฐวิสาหกิจนั้นตามที่ระบุไว้ในกฎหมายจัดตั้งเท่านั้น
1.4 ผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจเป็นผู้รับภาระภาษีที่เกิดขึ้นเองทั้งหมด
1.5 ในการพิจารณากำหนดผลตอบแทนของผู้บริหารสูงสุด ให้คณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณา โดยมีผู้แทนกระทรวงการคลังร่วมเป็นอนุกรรมการด้วย
1.6 การปรับเพิ่มค่าตอบแทนคงที่ประจำปี ให้ปรับเพิ่มได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของค่าตอบแทนคงที่ที่ได้รับในปัจจุบันตามข้อ 1.2.1 ทั้งนี้ จะต้องเป็นไปตามระดับผลงานที่ถูกประเมินโดยคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจ
1.7 สัญญาจ้างอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้
1.7.1 ระยะเวลาจ้าง
1.7.2 การพ้นจากตำแหน่ง
1.7.3 ต้องระบุว่าการจ้างตามสัญญาดังกล่าวไม่อยู่ในข้อบังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคมและกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน
1.7.4 การประเมินผลงาน
1.7.5 อัตราค่าตอบแทน หรือผลประโยชน์อื่น
1.7.6 เงื่อนไขอื่น ๆ (ถ้ามี)
2. ในกรณีที่ผู้บริหารสูงสุดซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติแต่งตั้งและขอให้ลาออกจากการเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….ยังไม่มีผลบังคับใช้ จึงเห็นชอบให้นำหลักเกณฑ์และแนวทางการจ่ายผลตอบแทนของผู้บริหารสูงสุดตามสัญญาจ้างในข้อ1.1 - 1.7 มาใช้บังคับเมื่อร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลบังคับใช้แล้ว
ในกรณีที่รัฐวิสาหกิจใดกำหนดระเบียบ/ข้อบังคับ เป็นการชั่วคราวเพื่อดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีโดยทำสัญญาจ้างบริหารตามวาระของการดำรงตำแหน่งที่ชัดเจน ให้ได้รับค่าตอบแทนตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้าง และไม่มีสิทธิเรียกร้องผลประโยชน์ตอบแทนอื่นอีก ทั้งนี้ ให้ใช้หลักเกณฑ์และแนวทางการจ่ายผลตอบแทนของผู้บริหารสูงสุดตามข้อ 1.1 - 1.7 ได้
3. เห็นชอบให้บัญชีโครงสร้างอัตราเงินเดือนพนักงานตั้งแต่ระดับรองลงมาจากผู้บริหารสูงสุด (เช่น รองผู้ว่าการ รองผู้อำนวยการฯ หรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งเทียบเท่าตำแหน่งดังกล่าว) เป็นไปตามบัญชีโครงสร้างอัตราเงินเดือนที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 13 มิ.ย. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีพิจารณาหลักเกณฑ์และแนวทางการจ่ายผลตอบแทนของผู้บริหารสูงสุดตามสัญญาจ้าง ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. เห็นชอบหลักเกณฑ์และแนวทางการจ่ายผลตอบแทนของผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด ดังนี้
1.1 ให้คำนึงถึงสภาพของธุรกิจที่รัฐวิสาหกิจนั้นดำเนินการ ความสามารถในการจ่ายผลตอบแทนขององค์กร ความเสมอภาค ความยุติธรรมทั้งภายในและภายนอกองค์กร
1.2 ค่าตอบแทนรวมทั้งสิ้นของผู้บริหารสูงสุด (อัตราร้อยละ 100) ประกอบด้วย
1.2.1 ค่าตอบแทนคงที่ ให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจที่จะพิจารณา ทั้งนี้ให้จ่ายเป็นรายเดือนในอัตราร้อยละ 70 ของอัตราผลตอบแทนรวม โดยคำนวณจาก
(1) อัตราเงินเดือนไม่เกินขั้นสูงของผู้บริหารระดับสูงของรัฐวิสาหกิจตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแล้ว เนื่องจากในการกำหนดบัญชีโครงสร้างอัตราเงินเดือนดังกล่าว ได้พิจารณาถึงเนื้อเงิน เนื้องาน ฐานะองค์กร ภาระหน้าที่ และความสำคัญในงานของรัฐวิสาหกิจไว้ชั้นหนึ่งแล้ว
(2) ผลประโยชน์ตอบแทนอื่นไม่เกินร้อยละ 70 ของเงินเดือนตามข้อ 1.2.1 (1) โดยกระทรวงการคลังได้พิจารณาถึงเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
- ข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ว่า การพิจารณากำหนดผลตอบแทนให้แก่ผู้บริหารสูงสุดตามสัญญาจ้าง ควรคำนึงถึงสิทธิประโยชน์ที่ผู้นั้นต้องเสียไป เนื่องจากการมาเป็นผู้บริหารด้วย (เงินชดเชยตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน เงินตอบแทนความชอบในการทำงาน การไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินหรือผลประโยชน์ที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ)
- การที่ผู้บริหารสูงสุดสูญเสียสถานะภาพการเป็นพนักงานและไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ในฐานะพนักงาน
- ความมั่นคงในการดำรงตำแหน่งผู้บริหารสูงสุด และเป็นการจูงใจให้เข้ามาทำสัญญาจ้างบริหาร
1.2.2 ค่าตอบแทนผันแปร กำหนดอัตราร้อยละ 30 ของอัตราผลตอบแทนรวม โดยให้จ่ายตามระดับผลงานที่คณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจกำหนดภายหลังการประเมินผลงานในตอนสิ้นปี
สำหรับรัฐวิสาหกิจที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับรัฐวิสาหกิจที่ใช้เกณฑ์เฉลี่ยของธุรกิจ รวมทั้งรัฐวิสาหกิจที่ดี นั้น เนื่องจากในการพิจารณากำหนดอัตราเงินเดือนของผู้บริหารสูงสุดประเภทนี้ในปัจจุบัน ได้กำหนดให้สอดคล้องกับอัตราตลาดอยู่แล้ว และเป็นอำนาจของคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจที่จะพิจารณากำหนด จึงไม่อยู่ในข่ายที่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในข้อ 1.2
1.3 ผู้บริหารสูงสุดจะได้รับเฉพาะโบนัสในฐานะที่เป็นกรรมการของรัฐวิสาหกิจนั้นตามที่ระบุไว้ในกฎหมายจัดตั้งเท่านั้น
1.4 ผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจเป็นผู้รับภาระภาษีที่เกิดขึ้นเองทั้งหมด
1.5 ในการพิจารณากำหนดผลตอบแทนของผู้บริหารสูงสุด ให้คณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณา โดยมีผู้แทนกระทรวงการคลังร่วมเป็นอนุกรรมการด้วย
1.6 การปรับเพิ่มค่าตอบแทนคงที่ประจำปี ให้ปรับเพิ่มได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของค่าตอบแทนคงที่ที่ได้รับในปัจจุบันตามข้อ 1.2.1 ทั้งนี้ จะต้องเป็นไปตามระดับผลงานที่ถูกประเมินโดยคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจ
1.7 สัญญาจ้างอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้
1.7.1 ระยะเวลาจ้าง
1.7.2 การพ้นจากตำแหน่ง
1.7.3 ต้องระบุว่าการจ้างตามสัญญาดังกล่าวไม่อยู่ในข้อบังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคมและกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน
1.7.4 การประเมินผลงาน
1.7.5 อัตราค่าตอบแทน หรือผลประโยชน์อื่น
1.7.6 เงื่อนไขอื่น ๆ (ถ้ามี)
2. ในกรณีที่ผู้บริหารสูงสุดซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติแต่งตั้งและขอให้ลาออกจากการเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….ยังไม่มีผลบังคับใช้ จึงเห็นชอบให้นำหลักเกณฑ์และแนวทางการจ่ายผลตอบแทนของผู้บริหารสูงสุดตามสัญญาจ้างในข้อ1.1 - 1.7 มาใช้บังคับเมื่อร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลบังคับใช้แล้ว
ในกรณีที่รัฐวิสาหกิจใดกำหนดระเบียบ/ข้อบังคับ เป็นการชั่วคราวเพื่อดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีโดยทำสัญญาจ้างบริหารตามวาระของการดำรงตำแหน่งที่ชัดเจน ให้ได้รับค่าตอบแทนตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้าง และไม่มีสิทธิเรียกร้องผลประโยชน์ตอบแทนอื่นอีก ทั้งนี้ ให้ใช้หลักเกณฑ์และแนวทางการจ่ายผลตอบแทนของผู้บริหารสูงสุดตามข้อ 1.1 - 1.7 ได้
3. เห็นชอบให้บัญชีโครงสร้างอัตราเงินเดือนพนักงานตั้งแต่ระดับรองลงมาจากผู้บริหารสูงสุด (เช่น รองผู้ว่าการ รองผู้อำนวยการฯ หรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งเทียบเท่าตำแหน่งดังกล่าว) เป็นไปตามบัญชีโครงสร้างอัตราเงินเดือนที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 13 มิ.ย. 2543--
-สส-