ทำเนียบรัฐบาล--1 ก.พ.--รอยเตอร์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจพิจารณายุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตแผ่นวงจรรวม (Wafer Fabrication) ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ โดยเห็นว่าการสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตแผ่นวงจรรวม เป็นการวางรากฐานของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไปสู่การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อยกระดับศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม และแผนแม่บทการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้แล้ว จึงมีมติให้ความเห็นชอบแนวทางการสนับสนุนให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิตแผ่นวงจรรวม โดยคำนึงถึงปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสำเร็จ พร้อมกำหนดแนวทางดำเนินการให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิตแผ่นวงจรรวม ดังนี้
1. การชักจูงผู้ร่วมทุน
ผู้ร่วมทุนจากต่างประเทศ เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง อีกทั้งการแข่งขันในตลาดโลกต้องมีพันธมิตรทางการลงทุนที่มีความพร้อมทั้งเทคโนโลยีและการตลาดจากต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันนักลงทุนต่างชาติที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่น่าจะชักชวนให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย ได้แก่ ญี่ปุ่นและไต้หวัน เพราะเป็นประเทศที่มีอุตสาหกรรมนี้อยู่แล้ว และมีความเข้มแข็งในการแข่งขันสูง
ผู้ร่วมลงทุนในประเทศ เนื่องจากประเทศไทยมีฐานการผลิตและประกอบผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าใหญ่แห่งหนึ่งของโลก อีกทั้งยังมีบริษัทที่สนใจที่จะขยายการลงทุนเข้าสู่อุตสาหกรรมระดับต้นน้ำเพื่อยกศักยภาพความสามารถในการแข่งขันระยะต่อไป การลงทุนในอุตสาหกรรมนี้จึงสมควรที่จะสนับสนุนให้มีการร่วมทุนจากภาคเอกชนในประเทศด้วย
2. การพัฒนาบุคลากร เนื่องจากบุคลากรเป็นหัวใจสำคัญที่จะสนับสนุนให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิตแผ่นวงจรรวม ขณะนี้ประเทศไทยยังขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านอิเล็กทรอนิกส์ จึงจำเป็นต้องมีแผนพัฒนากำลังคนให้มีทักษะความชำนาญโดยเฉพาะในด้านการออกแบบและวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ในจำนวนที่เพียงพอเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์
นอกจากนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมได้ดำเนินโครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (TMEC) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 ศูนย์นี้ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศแล้วบางส่วน ขณะนี้อยู่ในระหว่างการก่อสร้างอาคาร และขออนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมจากคณะรัฐมนตรีเพื่อการจัดซื้อเครื่องจักร เมื่อแล้วเสร็จจะสามารถสร้างผู้เชี่ยวชาญระดับปริญญาตรี โท เอก ได้ปีละ 78 คน ฝึกอบรมนักออกแบบวงจรรวมปีละ 120 คน ฝึกอบรมพนักงาน กระบวนการผลิตได้ปีละ 100 คน นอกจากนี้ ยังมีการสนับสนุนหลักสูตรไมโครอิเล็กทรอนิกส์ในสถาบันการศึกษาไม่น้อยกว่า 15 แห่ง มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537
3. การพัฒนาด้านเทคโนโลยี แนวทางดำเนินการคือ เชิญชวนผู้ร่วมลงทุนต่างชาติที่มีความพร้อมทางด้านเทคโนโลยีมาเข้าร่วมลงทุน หรืออาจจะใช้วิธีการซื้อเทคโนโลยีในการเริ่มต้นและทำการพัฒนาเทคโนโลยีของตนเองในขั้นต่อไป ซึ่งศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (TMEC) ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม จะเป็นหน่วยงานหลักในการสนับสนุนร่วมกับการวิจัยและพัฒนาในภาคมหาวิทยาลัย
4. การสนับสนุนด้านสาธารณูปโภค โรงงานผลิตแผ่นวงจรรวมแต่ละโรง จำเป็นต้องใช้ระบบสาธารณูปโภคที่มีมาตรฐานสูงในราคาที่เหมาะสม ดังนี้
น้ำ : น้ำที่มีความสะอาดสูงมาก ปริมาณ 5,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน
ไฟฟ้า : มีแรงดันคงที่และมีกำลังไฟฟ้าประมาณ 10 - 14 เมกกะวัตต์
พื้นที่และอาคาร : พื้นที่ประมาณ 220,000 ตารางฟุต และถนนภายในรัศมี 1 - 2 กม. จะต้องมีความราบเรียบเพื่อลดความสั่นสะเทือน เนื่องจากแผ่นวงจรรวมต้องการความแม่นยำสูง
สิ่งแวดล้อม : มีระบบกำจัดของเสียอุตสาหกรรม
แนวทางการดำเนินการ คือ กระทรวงอุตสาหกรรมโดยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ดำเนินการพิจารณาสรรหาพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมไมโครอิเล็กทรอนิกส์ และประสานการจัดหาหรือร่วมทุนด้านสาธารณูปโภค รวมทั้งการจัดการของเสีย ตัวอย่างพื้นที่ที่เหมาะสม ได้แก่ พื้นที่กรุงเทพฯ ตอนเหนือ ปทุมธานี อยุธยา และกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออก ฉะเชิงเทรา เป็นต้น เนื่องจากพื้นที่เหล่านี้มีโรงงานอุตสาหกรรมการประกอบวงจรรวม (ซึ่งจะรับงานจากโรงงานผลิตแผ่นวงจรรวม) อยู่แล้วเป็นจำนวนมากและอยู่ไม่ไกลจากสนามบิน อันจะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมดังกล่าว ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมผลิตเพื่อการส่งออกเป็นส่วนใหญ่
5. มาตรการอื่นเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตแผ่นวงจรรวม รัฐบาลจะต้องสนับสนุนและส่งเสริมโดยมีมาตรการที่ครบวงจรในด้านต่าง ๆ แก่กิจการลงทุนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมการผลิตแผ่นวงจรรวม อุตสาหกรรมระบบสนับสนุนการผลิตวงจรรวม รวมทั้งอุตสาหกรรมการออกแบบวงจรรวม มาตรการที่เหมาะสม ได้แก่ การสนับสนุนด้านสิทธิประโยชน์เพื่อการลงทุน การสนับสนุนด้านเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ และการอำนวยความสะดวกด้านพิธีการศุลกากร เป็นต้น
นอกจากนี้ คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจยังได้มอบหมายให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม แสวงหาแนวทางในการสรรหาผู้ร่วมทุนในประเทศที่ต้องการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตแผ่นวงจรรวมต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 31 กุมภาพันธ์ 2543--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจพิจารณายุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตแผ่นวงจรรวม (Wafer Fabrication) ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ โดยเห็นว่าการสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตแผ่นวงจรรวม เป็นการวางรากฐานของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไปสู่การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อยกระดับศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม และแผนแม่บทการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้แล้ว จึงมีมติให้ความเห็นชอบแนวทางการสนับสนุนให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิตแผ่นวงจรรวม โดยคำนึงถึงปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสำเร็จ พร้อมกำหนดแนวทางดำเนินการให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิตแผ่นวงจรรวม ดังนี้
1. การชักจูงผู้ร่วมทุน
ผู้ร่วมทุนจากต่างประเทศ เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง อีกทั้งการแข่งขันในตลาดโลกต้องมีพันธมิตรทางการลงทุนที่มีความพร้อมทั้งเทคโนโลยีและการตลาดจากต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันนักลงทุนต่างชาติที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่น่าจะชักชวนให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย ได้แก่ ญี่ปุ่นและไต้หวัน เพราะเป็นประเทศที่มีอุตสาหกรรมนี้อยู่แล้ว และมีความเข้มแข็งในการแข่งขันสูง
ผู้ร่วมลงทุนในประเทศ เนื่องจากประเทศไทยมีฐานการผลิตและประกอบผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าใหญ่แห่งหนึ่งของโลก อีกทั้งยังมีบริษัทที่สนใจที่จะขยายการลงทุนเข้าสู่อุตสาหกรรมระดับต้นน้ำเพื่อยกศักยภาพความสามารถในการแข่งขันระยะต่อไป การลงทุนในอุตสาหกรรมนี้จึงสมควรที่จะสนับสนุนให้มีการร่วมทุนจากภาคเอกชนในประเทศด้วย
2. การพัฒนาบุคลากร เนื่องจากบุคลากรเป็นหัวใจสำคัญที่จะสนับสนุนให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิตแผ่นวงจรรวม ขณะนี้ประเทศไทยยังขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านอิเล็กทรอนิกส์ จึงจำเป็นต้องมีแผนพัฒนากำลังคนให้มีทักษะความชำนาญโดยเฉพาะในด้านการออกแบบและวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ในจำนวนที่เพียงพอเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์
นอกจากนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมได้ดำเนินโครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (TMEC) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 ศูนย์นี้ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศแล้วบางส่วน ขณะนี้อยู่ในระหว่างการก่อสร้างอาคาร และขออนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมจากคณะรัฐมนตรีเพื่อการจัดซื้อเครื่องจักร เมื่อแล้วเสร็จจะสามารถสร้างผู้เชี่ยวชาญระดับปริญญาตรี โท เอก ได้ปีละ 78 คน ฝึกอบรมนักออกแบบวงจรรวมปีละ 120 คน ฝึกอบรมพนักงาน กระบวนการผลิตได้ปีละ 100 คน นอกจากนี้ ยังมีการสนับสนุนหลักสูตรไมโครอิเล็กทรอนิกส์ในสถาบันการศึกษาไม่น้อยกว่า 15 แห่ง มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537
3. การพัฒนาด้านเทคโนโลยี แนวทางดำเนินการคือ เชิญชวนผู้ร่วมลงทุนต่างชาติที่มีความพร้อมทางด้านเทคโนโลยีมาเข้าร่วมลงทุน หรืออาจจะใช้วิธีการซื้อเทคโนโลยีในการเริ่มต้นและทำการพัฒนาเทคโนโลยีของตนเองในขั้นต่อไป ซึ่งศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (TMEC) ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม จะเป็นหน่วยงานหลักในการสนับสนุนร่วมกับการวิจัยและพัฒนาในภาคมหาวิทยาลัย
4. การสนับสนุนด้านสาธารณูปโภค โรงงานผลิตแผ่นวงจรรวมแต่ละโรง จำเป็นต้องใช้ระบบสาธารณูปโภคที่มีมาตรฐานสูงในราคาที่เหมาะสม ดังนี้
น้ำ : น้ำที่มีความสะอาดสูงมาก ปริมาณ 5,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน
ไฟฟ้า : มีแรงดันคงที่และมีกำลังไฟฟ้าประมาณ 10 - 14 เมกกะวัตต์
พื้นที่และอาคาร : พื้นที่ประมาณ 220,000 ตารางฟุต และถนนภายในรัศมี 1 - 2 กม. จะต้องมีความราบเรียบเพื่อลดความสั่นสะเทือน เนื่องจากแผ่นวงจรรวมต้องการความแม่นยำสูง
สิ่งแวดล้อม : มีระบบกำจัดของเสียอุตสาหกรรม
แนวทางการดำเนินการ คือ กระทรวงอุตสาหกรรมโดยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ดำเนินการพิจารณาสรรหาพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมไมโครอิเล็กทรอนิกส์ และประสานการจัดหาหรือร่วมทุนด้านสาธารณูปโภค รวมทั้งการจัดการของเสีย ตัวอย่างพื้นที่ที่เหมาะสม ได้แก่ พื้นที่กรุงเทพฯ ตอนเหนือ ปทุมธานี อยุธยา และกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออก ฉะเชิงเทรา เป็นต้น เนื่องจากพื้นที่เหล่านี้มีโรงงานอุตสาหกรรมการประกอบวงจรรวม (ซึ่งจะรับงานจากโรงงานผลิตแผ่นวงจรรวม) อยู่แล้วเป็นจำนวนมากและอยู่ไม่ไกลจากสนามบิน อันจะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมดังกล่าว ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมผลิตเพื่อการส่งออกเป็นส่วนใหญ่
5. มาตรการอื่นเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตแผ่นวงจรรวม รัฐบาลจะต้องสนับสนุนและส่งเสริมโดยมีมาตรการที่ครบวงจรในด้านต่าง ๆ แก่กิจการลงทุนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมการผลิตแผ่นวงจรรวม อุตสาหกรรมระบบสนับสนุนการผลิตวงจรรวม รวมทั้งอุตสาหกรรมการออกแบบวงจรรวม มาตรการที่เหมาะสม ได้แก่ การสนับสนุนด้านสิทธิประโยชน์เพื่อการลงทุน การสนับสนุนด้านเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ และการอำนวยความสะดวกด้านพิธีการศุลกากร เป็นต้น
นอกจากนี้ คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจยังได้มอบหมายให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม แสวงหาแนวทางในการสรรหาผู้ร่วมทุนในประเทศที่ต้องการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตแผ่นวงจรรวมต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 31 กุมภาพันธ์ 2543--